210 likes | 358 Views
ทิศทางการบริหาร งบหลักประกันสุขภาพขาลง 2557. กลุ่มประกันสุขภาพ ๑๙ มิถุนยาน ๒๕๕๖. สถานการณ์และทิศทาง. ผลการศึกษาซึ่งผ่านความเห็นทั้งภายในและภายนอกของกระทรวงสาธารณสุขสอดคล้องกับ สวรส. ให้กระจายอำนาจสู่เขตบริการสุขภาพ (AREA HEALTH BOARD) เป็นนโยบายสำคัญในการปฏิรูประบบสุขภาพ
E N D
ทิศทางการบริหารงบหลักประกันสุขภาพขาลง 2557 กลุ่มประกันสุขภาพ ๑๙ มิถุนยาน ๒๕๕๖
สถานการณ์และทิศทาง • ผลการศึกษาซึ่งผ่านความเห็นทั้งภายในและภายนอกของกระทรวงสาธารณสุขสอดคล้องกับสวรส.ให้กระจายอำนาจสู่เขตบริการสุขภาพ (AREA HEALTH BOARD) เป็นนโยบายสำคัญในการปฏิรูประบบสุขภาพ • ปัญหาการเงินการคลังในระบบสุขภาพ ทำให้มีโรงพยาบาลในสังกัดสป.ประสบปัญหาวิกฤตการเงินในวงกว้าง ต้องมีกลไกไปสู่ประสิทธิภาพของระบบบริการ • สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอให้มีปรับประสิทธิภาพการบริหารงบผลักประกันสุขภาพให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาวิกฤตการเงินรพ. • ทิศทางการปฏิรูปและเอกภาพในระบบสุขภาพ ต้องมีความร่วมมือทุกฝ่ายในการการบริหารงบหลักประกันสุขภาพในเขตเครือข่ายบริการสุขภาพ ๑๒ เขต • แนวทางการจัดสรรงบหน่วยบริการโดยรมว. : ให้จัดสรรงบหน่วยบริการตามต้นทุนหน่วยบริการ ไม่ใช่จัดสรรตาม DRG
บทบาทกระทรวงสาธารณสุขบทบาทกระทรวงสาธารณสุข • ปรับตัวเองกลับมาทำบทบาทที่ถูกต้องในระบบสุขภาพอย่างยั่งยืนในฐานะ National Health Authority • เป็นหน่วยประสานดำเนินการด้านสุขภาพของประเทศให้เป็นไปตามประโยชน์แห่งรัฐ • มุ่งเน้นประสานความสมดุลและสร้างเอกภาพในภาคีเครือข่ายสุขภาพ • กำกับให้หน่วยบริการอันเป็นระบบบริการภาครัฐส่วนใหญ่ให้จัดบริการอย่างความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพเชิงระบบ • สร้างกลไกร่วมเพื่อนำไปสู่ความสามารถแก้ปัญหาในระบบสุขภาพที่ผ่านมาอย่างเบ็ดเสร็จยั่งยืน
หลักการสำคัญตามบทบาท • การกระจายอำนาจลงสู่เขตเครือข่ายบริการสุขภาพของทุกภาคีลงสู่การบริหารจัดการสุขภาพเบ็ดเสร็จครบวงจรระดับเขต(ทั้งสปสธ.และสปสช.) • การจัดบริการเบ็ดเสร็จครบวงจรตั้งแต่ปฐมภูมิจนถึงขั้นสูงสุดร่วมกัน • การบริหารบุคลากร ครุภัณฑ์สิ่งก่อสร้าง และงบประมาณ โดยเครือข่ายเขต • การบริหารงบหลักประกันสุขภาพ ในระดับเขต • ประสานทุกภาคีทั้งกรม กองทุน สำนักและเครือข่ายสุขภาพระดับประเทศให้มีเป้าหมายสุขภาพร่วมกันลดการกำหนดเป้าหมายแยกย่อย ซึ่งทำให้มีกระบวนการทำงานหลากหลายต่อหน่วยบริการรัฐแต่ละหน่วยจนเกินกำลังสามารถ ทั้งซ้ำซ้อนสิ้นเปลือง และขาดผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง • ประสานทุกภาคีจัดทำนโยบายชาติร่วมกัน • กำหนดตัวชี้วัดเชิงบูรณาการร่วมก่อนลงพื้นที่ • จัดลำดับแผนงานโครงการชาติตามปัญหาของชาติและสมรรถนะของหน่วยบริการ • พัฒนากลไกร่วมกับภาคีเพื่อแก้ปัญหาในระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน • ปัญหาการเงินการคลังระดับชาติในระบบสุขภาพ • ปัญหาวิกฤตการเงินในหน่วยบริการภาครัฐ • ความหลากหลายระบบที่ขาดการจัดระเบียบก่อนลงสู่หน่วยบริการ ทั้งกองทุน ภาคีสุขภาพ
หลักการสำคัญในการบริหารงบหลักประกันสุขภาพขาลงหลักการสำคัญในการบริหารงบหลักประกันสุขภาพขาลง • จัดสรรงบหลักประกันภาพรวมเขตเครือข่ายบริการสุขภาพแก้ปัญหาค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ และกระจายความเสมอภาคในทรัพยากรบริการสุขภาพ • วงเงินต่อประชากรเหมาะสม เพียงพอต่อการจัดสรรอย่างเสมอภาค บริหารทรัพยากรร่วมระบบเครือข่าย • หักเงินเดือนระดับเขต ลดความเสี่ยงหน่วยบริการ ลดความยุ่งยากการหักเงินเดือนในกองทุนย่อยที่หลากหลาย • จัดสรรตามต้นทุนขั้นต้นปรับด้วยเกณฑ์ระดับค่าใช้จ่ายตามขนาดบริการ(HRG)ให้ดำเนินได้ทุกหน่วย จ่ายตามผลงานตามหลัง • ลดการแบ่งกองทุนและการจัดสรรแยกย่อย จัดทำเป็นIntegrated Package of KPI เพื่อให้มีความเพียงพอในหมวดบริการหลัก ลดภาระงานหน่วยบริการ กันความเสี่ยง และเงินจูงใจหมวดย่อยรวมเป็นค่าตอบแทนระเบียบค่าตอบแทนใหม่ • บริหารงบ IP: บริหารเป็นกองทุนระดับเขต • บริหารงบ OP :บริหารเป็นกองทุนระดับจังหวัด • บริหารงบ PP :กองทุนระดับจังหวัดและอำเภอ • งบบริหาร (เงินกันความเสี่ยง ปรับประสิทธิภาพ,ลงทุน,ม.41,P4P) : ระดับเขต • เครือข่ายเขตบริการสุขภาพเป็นผู้จัดเสนอแผนสุขภาพ อปสข.อนุมัติงบภายใต้ข้อตกลงตัวชี้วัดหรือผลลัพธ์ด้านสุขภาพระดับชาติ และระดับพื้นที่ร่วมกัน
HARMONIZED NATIONAL HEALTH KPI SERVICE BUDGET SERVICE ONTOP กิจกรรมปกติ กิจกรรมเร่งรัด PERSONAL P4P
งบประมาณหลักประกันสุขภาพรายเขตงบประมาณหลักประกันสุขภาพรายเขต ภาพรวมการบริหารงบประมาณหลักประกันสุขภาพรายเขต R-Minimal Budget งบผลงานทั้งปี =งบใช้จ่ายขั้นต่ำ +งบเพิ่มเติมปลายปี R-MC • ตามจ่าย • หน่วยอื่น • R-LC1 • R-LC2 Regional Criteria & Plan For Expenditure Budget 8% HOSPITAL MIN BUDGET • H1..n MC H1..n LC1 • H1..n LC2 Central Reimbursement Budget • H1..n OPD H1..n IP • H1..n PP HOSPITAL PERFORMANCE • CF Regional Category & Criteria For Performance Budget • P4P งบเพิ่มเติมปลายปี =ผลงานทั้งปี -ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 40% 40% 12% • DEPLECIATION • R-OPD R-IP • R-PP • ม.๔๑ R-Performance Budget • RISK & DISASTER
ให้จัดสรรงบบริการตามค่าใช้จ่ายพื้นฐานขั้นต้นเพียงพอก่อน จึงจัดสรรงบส่วนที่เหลือตามผลงาน งบUC2555
การกระจายงบเหมาจ่ายรายหัว 2555จัดสรรภาพรวมและหักเงินเดือนระดับเขต งบUC2555
ความแตกต่างรายได้UCเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับจริงจากบัญชีความแตกต่างรายได้UCเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับจริงจากบัญชี
ให้จัดสรรงบบริการตามค่าใช้จ่ายพื้นฐานขั้นต้นเพียงพอก่อน จึงจัดสรรงบส่วนที่เหลือตามผลงาน งบUC2555
การกระจายงบเหมาจ่ายรายหัว 2556จัดสรรภาพรวมและหักเงินเดือนระดับเขต เขต 9 : Max 1,394/ปชก เขต12 : Min 1,103/ปชก
แนวทางบริหารจัดการงบค่าตอบแทนส่วนเพิ่มแนวทางบริหารจัดการงบค่าตอบแทนส่วนเพิ่ม ของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2557
ความเดิม • ในการเสนอขอรับงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557 ในชั้นต้น สปสช.ไม่ได้ตั้งงบประมาณเพิ่มเติมในรายการ“งบเพิ่มเติมด้านค่าแรงของหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข” • กระทรวงสาธารณสุขได้ขอตั้งงบประมาณเพิ่มเติม และได้รับอนุมัติ ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 จัดสรรค่าตอบแทนส่วนเพิ่มสำหรับหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แทนประกาศกระทรวงสาธารณสุขแทนฉบับ 4,6,7 (ในระบบและนอกระบบUC) จำนวน 3,000 ล้านบาท
กรอบแนวทางและวัตถุประสงค์กรอบแนวทางและวัตถุประสงค์ การจัดสรรค่าตอบแทนส่วนเพิ่มวงเงิน 3,000 ล้านบาท • รัฐบาลปรับแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านการสาธารณสุข ตามมติครม.เมื่อวันที่ 31มีนาคม 2556โดยยกเลิกหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน (ฉบับที่ 4,6,7)ซึ่งเบิกจ่ายจากเงินบำรุง มาเป็น (ฉบับที่ 8) ให้จ่ายตามอัตราเหมาจ่ายคงที่ตามพื้นที่ต่างๆ ที่กำหนด ใหม่ และ (ฉบับที่ 9) จ่ายตามผลการปฏิบัติงานในหน่วยบริการ (P4P) และให้กระทรวงสาธารณสุขใช้จ่ายจากเงินบำรุงของโรงพยาบาลก่อน หากไม่เพียงพอให้เสนอขอใช้เงินงบประมาณต่อไป • วัตถุประสงค์เงินหมวดนี้เดิมจัดสรรจากงบประมาณแผ่นดินไม่ผ่านงบค่าหัวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงต้องยืนยันว่าจัดสรรให้กับการบริการทุกสิทธิไม่เฉพาะสิทธิหลักประกันสุขภาพทั้งนี้เพื่อสอดคล้องทิศทางในระบบหลักประกันของรัฐในอนาคต ที่ทุกสิทธิและกองทุนมีการจัดสรรผ่าน National Clearing House เดียว
กรอบแนวทางและวัตถุประสงค์กรอบแนวทางและวัตถุประสงค์ การจัดสรรค่าตอบแทนส่วนเพิ่มวงเงิน 3,000 ล้านบาท • ค่าตอบแทนส่วนเพิ่มจำนวน 3,000 ล้านบาทดังกล่าวกำหนดเฉพาะเป็นค่าตอบแทน ตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน (ฉบับที่ 8) และ(ฉบับที่ 9) ซึ่งต้องจ่ายด้วยเงินบำรุงเป็นสำคัญ แต่โรงพยาบาลจำนวนหนึ่งมีเงินบำรุงไม่เพียงพอในการจ่าย • การจัดสรรตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน(ฉบับที่ 8) และ(ฉบับที่ 9) พึงอยู่บนฐานของความเป็นธรรมและฐานประสิทธิภาพของหน่วยบริการ • การจัดสรรค่าตอบแทนส่วนเพิ่มดังกล่าวพึงจัดสรรในภาพของการบริหารระบบบริการสุขภาพเป็นเครือข่ายระดับเขตโดยมุ่งเน้นให้มีบริการเบ็ดเสร็จครบวงจรในทุกระดับบริการ ภายใต้ขนาดประชากรที่มากพอต่องบต่อหัวประชากรที่สามารถรองรับประสิทธิภาพความคุ้มค่าเชิงระบบ และความเสี่ยงในประเด็นความไม่เสมอภาคด้านค่าใช้จ่าย • ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายรับรองความเป็นนิติบุคคลของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับเขต จึงไม่สามารถดำเนินการโอนงบใดๆให้ผู้บริหารเขต แต่คณะกรรมการการเงินการคลังระดับเขตทำหน้าที่ตรวจสอบประเมินวงเงินจัดสรรชดเชยค่าตอบแทนส่วนเพิ่มให้โรงพยาบาลภายในเขต โดยมีผู้บริหารเขตเป็นผู้รับรอง แล้วแจ้งผลการประเมินและยอดจัดสรรให้กองทุนถือโอนตรงไปยังหน่วยบริการในลำดับถัดไป
หลักเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินการหลักเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินการ • เขตบริการสุขภาพเป็นผู้ประเมินภาระค่าใช้จ่ายส่วนค่าตอบแทนของรายหน่วยบริการตามที่จ่ายจริงตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน (ฉบับที่ 8) และ (ฉบับที่ 9) โดยการสำรวจตามข้อมูลประเมินค่าใช้จ่ายจากหน่วยบริการในพื้นที่ • เขตบริการสุขภาพแจ้งข้อมูลค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนตามข้อ 1 รายโรงพยาบาลในเขตให้กระทรวงสาธารณสุขทราบเพื่อตรวจสอบ แล้วจัดทำสัดส่วนตามวงเงินที่ได้รับจัดสรรจากวงเงิน 3,000 ล้านบาทโดยแบ่งเป็น 2งวด ดังนี้
ข้อเสนอเพื่อพิจารณา • กระทรวงอาจพิจารณาให้งบค่าตอบแทนส่วนเพิ่มจำนวน 3,000ล้านบาทนี้สนับสนุนเฉพาะการจ่ายค่าตอบแทนฉบับที่ 8ก่อน หากเพียงพอแล้วจึงสนับสนุนตาม ฉบับที่ ๙ หรือสนันสนุนทั้ง ๒ ฉบับ ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมในการบริหารจัดการ และนโยบายเรื่องแรงจูงใจในเพดานเงิน P4P • อาจพิจารณาการจัดสรรเหมาตามรายหัวระดับเขต ตามสถานการณ์ปฏิรูปกระทรวงจัดบริการเป็นเครือข่าย ซึ่งควรรับผิดชอบตาม Economy Scale หลัก คือจำนวนประชากร แต่พึงทบทวนวัตถุประสงค์ที่เสนอขอคือการเพิ่มเติมส่วนค่าตอบแทนที่ไม่เพียงพอรายโรง • งบค่าตอบแทนส่วนเพิ่มจำนวน 3,000ล้านบาทส่วนนี้พึงพิจารณาบูรณาการให้สอดคล้อง โดยไม่ซ้ำซ้อนกับงบปรับประสิทธิภาพหรืองบสำหรับหน่วยบริการที่มีต้นทุนสูง ซึ่งอนุมัติในกรอบงบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาด้วย 900ล้านบาท
ข้อมูลบัญชี ผังแนวคิดการบริหารความเพียงพอค่าใช่จ่าย หักเงินเดือนที่เขต การปรับเกลี่ยระหว่างรพ. เกลี่ยจังหวัด MEAN&SD • การบริหารระดับจังหวัด การประเมิน งบรายหัวขาลง การบริหารการจัดสรรระดับเขต จัดสรรตามผลงาน 100% การประเมิน งบรายหัวขาขึ้น ลดกองทุนย่อย งบ ต้นทุนสูง900ล. ตามจ่ายกำหนดเพดาน700 ลดค้างท่อ งบขั้นต่ำปรับHGRรายรพ. ข้อมูลบริการ นโย บาย5% เร่งเบิก120 วัน โอนเงินเหลือ งบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี ๒๕๕๗