170 likes | 453 Views
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเงิน. ความหมายของเงิน.
E N D
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเงิน
ความหมายของเงิน คำว่า “เงินตรา” ตามศัพท์ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า “Money” มาจากรากศัพท์ในภาษาลาตินว่า “Moneta” ซึ่งเป็นพระนามของเทพธิดาที่สำคัญองค์หนึ่ง คือ เทพธิดา Juno Moneta ซึ่งเป็น องค์อัครมเหสีของเทพเจ้า Jupiter สันนิฐานว่าชาวโรมันได้เคยตั้งโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้น ในบริเวณพระวิหารของเทพธิดา Juno Moneta ดังนั้นด้วยเหตุนี้จึงเรียกเหรียญกษาปณ์ว่า “Moneta” ตามพระนามของธิดา Juno Monetaได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายหรือคำนิยามของเงินไว้ดังนี้ คือ
“เงิน” คือ สิ่งที่ถูกกำหนดใช้เป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน โดยมีการกำหนดมูลค่าของสิ่งที่นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สามารถรักษามูลค่าให้คงอยู่ได้ และเป็นสิ่งที่คนในสังคมหรือประเทศนั้นยอมรับ และยังขึ้นอยู่กับกาลสมัยอีกด้วย เช่น ในสมัยสุโขทัยใช้เบี้ย หอย เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนซื้อขาย สมัยกรุงศรีอยุธยาใช้เงินพดด้วง ซึ่งเงินพดด้วงนี้ได้ใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาจนได้เปลี่ยนมาเป็นเหรียญกษาปณ์และธนบัตรอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
วิวัฒนาการของเงินตรา • 1 เงินตราก่อนประวัติศาสตร์ ในอดีตก่อนที่มนุษย์จะรู้จักนำวัตถุสิ่งของ และโลหะต่าง ๆ มาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนนั้น นักประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์ใช้วิธีการแลกเปลี่ยนโดยตรง (Direct Exchange) คือการนำสิ่งของมาแลกเปลี่ยนกับสิ่งของของผู้อื่นที่เรียกว่า Barter System เช่น ปศุสัตว์ ลูกปัด เกลือ เปลือกหอย ขนนก ขวานหิน หัวลูกธนู หนังสัตว์ ฟันปลาวาฬ เครื่องประดับ ในการแลกเปลี่ยนกระทำโดยการนำเอาข้าวมาแลกเปลี่ยนกับเนื้อวัว นำมีดมาแลกเปลี่ยนกับผักผลไม้ เป็นต้น การแลกเปลี่ยนเช่นนี้ได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลานานหลายศตวรรษ จนกระทั้งในเวลาต่อมาได้มีการวิวัฒนาการระบบการแลกเปลี่ยนเรื่อยมา เนื่องด้วยสังคมมีความเจริญขึ้น และการแลกเปลี่ยนโดยระบบเดิมที่ใช้อยู่มีปัญหาเกิดขึ้น
ปัญหาของการแลกเปลี่ยนด้วยระบบเดิมนี้ปัญหาของการแลกเปลี่ยนด้วยระบบเดิมนี้ สามารถแยกได้ 2 ประเภทคือ 1.1 ปัญหาเรื่องชนิดของสิ่งของที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกัน 1.2 ปัญหาเรื่องปริมาณของสิ่งของที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกัน จากปัญหาทั้ง 2 ประการนี้เอง ทำให้มนุษย์เริ่มที่แสวงหาสิ่งต่างๆ ที่จะนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแทนระบบเดิม โดยเริ่มจากนำหนังสัตว์ เปลือกหอย กระดองเต่า ขนสัตว์ งาช้าง หินสีสวยๆ โลหะต่างๆ มาใช้เป็นสื่อกลางและได้มีการวิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนกระทั้งกลายเป็นเงินตราที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
เงินตราโลก เงินตราที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้มีการวิวัฒนาการมานาน นับพันปี ซึ่งอาจจำแนกวิวัฒนาการของเงินตราออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ • 2.1 เงินอโลหะ (Non-metallic Money) เป็นเงินตราในยุคสมัยแรกที่ • มนุษย์เริ่มนำสิ่งต่าง ๆ มาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน • 2.2 เงินโลหะ (Metallic Money) จากข้อบกพร่องของอโลหะ มนุษย์จึงได้ค้นหาสิ่งที่เหมาะสมกว่าเพื่อนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยนำโลหะต่าง ๆ มาหลอมเป็นรูปต่าง ๆ ใช้เป็นเงินตราแทนอโลหะ
2.3 เงินกระดาษ (PaperMoney) จากปัญหาความไม่เพียงพอของโลหะที่จะนำมาใช้ผลิตเงิน และราคาขึ้นลงของโลหะที่ใช้ในการผลิต ประกอบกับความไม่สะดวกในการพกพาเงินที่ทำด้วยโลหะ จึงได้มีการผลิตเงินที่ทำขึ้นด้วยกระดาษ เรียกกันว่า “ธนบัตร” จากหลักฐานเชื่อว่า จีนเป็นชาติแรกที่ผลิตเงินกระดาษขึ้นใช้ เมื่อประมาณ 140 ปี ก่อนคริสตกาล • 2.4 เงินเครดิต (Credit Money) ในขณะที่ธนบัตรและเงินเหรียญโลหะยังคงใช้อยู่อย่างแพร่หลายในระบบการแลกเปลี่ยนนั้น แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นอุสาหกรรมขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้เงินเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากจึงทำให้เกิดเงินเครดิตในรูปแบบต่างๆ เช่น พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็ค บัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ฯลฯ เงินเครดิตในรูปแบบต่างๆนี้ช่วยให้ประชาชนทั่วไป นักธุรกิจและธุรกิจต่างๆ มีความสะดวกและคล่องตัวในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อาจเนื่องมาจากความสะดวกสบายที่ได้รับเมื่อถือเงินเครดิต หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า "บัตรเครดิต"
เงินตราของไทย ชนชาติไทยมีการผลิตเงินตราของตนเองขึ้นใช้เป็นเวลานานแล้วเช่นกัน แต่การที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นและการสู้รบกับผู้มีอำนาจปกครองเจ้าของถิ่นเดิมเป็นเวลานานติดต่อกัน จึงอยากที่จะระบุได้ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด และรูปร่างเป็นอย่างไร แต่ประมาณปลายพุทธศาตวรรษที่ 18 ชนชาติไทยได้ตั้งมั่นอยู่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศ หลังจากขับไล่ขอมออกไปแล้ว ได้เริ่มผลิตเงินตราขึ้นใช้เรียกว่า "เงินพดด้วง" ในระยะแรกๆ ที่ผลิตเงินพดด้วงขึ้นนั้นมีน้ำหนักมากถึง 4 บาท และมีขายาวเรียกว่า "เงินกำไร" ต่อมาภายหลังเงินตราของอาณาจักรสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่างก็ผลิตเงินพดด้วงที่มีขนาดเล็กลง หนักเพียง 1 บาท และใช้เป็นเงินมาตรฐาน
ความเปลี่ยนแปลงของเงินตราไทยเกิดขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระ ความเปลี่ยนแปลงของเงินตราไทยเกิดขึ้นในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีชาวยุโรปเข้ามาทำการค้ากับประเทศไทย เมื่อการค้าขยายตัว มากขึ้นทำให้ปริมาณเงินพดด้วงไม่ทันต่อความต้องการใช้ เพื่อให้มีการผลิตเงินตราได้ เร็วขึ้นจึงได้มีการนำเงินกระดาษ หรือ "หมาย" ออกใช้แล้วยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สั่งซื้อเครื่องมือทำเหรียญกษาปณ์มาจากประเทศอังกฤษและเริ่มผลิตเงินตราชนิด กลมแบนขึ้นแล้วนำออกใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2399 หลังจากการผลิตเงินพดด้วงก็เริ่มค่อย ๆ ลดลงและเลิกผลิตโดยสิ้นเชิง ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย หันมาผลิตเหรียญเงินขึ้นแทน และได้นำธนบัตรออกมาใช้คู่กับเหรียญเงินเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2445 และหลังจากนั้นมา ระบบการเงินของไทยก็เริ่มเป็นสากลมากขึ้น โดย เงินตราของประเทศประกอบด้วยเหรียญและธนบัตรจนปัจจุบันนี้
คุณสมบัติของเงินที่ดีคุณสมบัติของเงินที่ดี เงินนั้นมีรูปแบบต่าง ๆ กัน แล้วแต่ว่าสังคมใดจะยอมรับให้สิ่งใด เป็นเงินหรือสิ่งที่จะนำมาให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ดังนั้น เงินจึงมี ลักษณะแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปคุณสมบัติที่ดีของเงิน ควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1 เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (Acceptability) 2 เป็นของหายาก (Scarcity) 3 มีความคงทนถาวร (Durability) 4 เป็นสิ่งที่มีความเหมือนกัน (Homogeneity)
5 สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้ง่าย (Divisibility) 6 เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตเห็นว่าเป็นเงินได้โดยง่าย (Recogizability) 7 สามารถขนย้ายได้โดยง่าย (Portability) 8 เป็นสิ่งที่มีความมั่นคงในมูลค่า (Stability of value) “เงิน” เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจโดยมีการกำหนดมูลค่าเป็นหน่วยเงินตรา และเป็นที่ยอมรับจากประชาชน โดยทั่วไปคุณลักษณะดังกล่าวจึงทำให้เงินสามารถทำหน้าที่ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ
หน้าที่ของเงิน 4.1 หน้าที่หลัก (Primary Functions) 4.1.1 เงินเป็นเครื่องวัดมูลค่า 4.1.2 เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน 4.2 หน้าที่รอง (Secondary Functions) 4.2.1 เงินเป็นเครื่องรักษามูลค่า 4.2.2 เงินเป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต
4.3 หน้าที่ประกอบ (Contingent Functions) 4.3.1 เงินเป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย 4.3.2 เงินเป็นหลักประกันความสามารถในการชำระหนี้ 4.3.3 เงินเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้ให้เป็นไปโดยสะดวก 4.3.4 เงินเป็นเครื่องโอนย้ายมูลค่า 4.3.5 เงินเป็นของให้และของให้ยืม 4.4 เงินเป็นของใช้และของให้ยืม