860 likes | 2.9k Views
การบัญชีต้นทุน (1). 563255 การบริหารเภสัชกิจเบื้องต้น 2 ผศ.ดนิตา ภาณุจรัส SLIDE TIME 4 2 MIN. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม. 1.บอกความหมายของต้นทุน การบัญชีต้นทุน และประโยชน์ของการบัญชีต้นทุน 2. อธิบายต้นทุนตามหน้าที่ 3. บันทึกบัญชีต้นทุนตามระบบการสะสมทุนแบบสิ้นงวด. เอกสารอ้างอิง.
E N D
การบัญชีต้นทุน(1) 563255 การบริหารเภสัชกิจเบื้องต้น 2 ผศ.ดนิตา ภาณุจรัส SLIDE TIME 42 MIN.
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม • 1.บอกความหมายของต้นทุน การบัญชีต้นทุนและประโยชน์ของการบัญชีต้นทุน • 2.อธิบายต้นทุนตามหน้าที่ • 3.บันทึกบัญชีต้นทุนตามระบบการสะสมทุนแบบสิ้นงวด
เอกสารอ้างอิง สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์,การบัญชีต้นทุน1-2, 2547 เยาวภา ณ นคร, การบัญชีต้นทุน1,2545 สมคิด แก้วสนธิ,เศรษฐศาสตร์ทางสาธารณสุข, 2534 HORNGREN, ET AL., COST ACCOUNTING : A MANAGERIAL EMPHASIS, 12TH EDITION, 2006
ความสัมพันธ์ของหัวข้อที่สอนกับหัวข้ออื่นๆความสัมพันธ์ของหัวข้อที่สอนกับหัวข้ออื่นๆ การบัญชีต้นทุนมีความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจ คือใช้ในการคำนวณต้นทุนสินค้า ใช้ในการควบคุมต้นทุนสินค้า และช่วยในการวางแผน
อะไรในภาพยนตร์ที่ไม่ได้มาจากต้นทุนอะไรในภาพยนตร์ที่ไม่ได้มาจากต้นทุน
ความหมายของต้นทุน • หมายถึง ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตหรือ การบริการ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด • หรือหมายถึง มูลค่าของทรัพยากรที่สูญเสียไปเพื่อให้ได้สินค้า หรือ บริการ โดยมูลค่านั้นต้องสามารถวัดได้เป็นหน่วยเงินตรา
การบัญชีต้นทุน • การบัญชีต้นทุน เป็นการวัด วิเคราะห์ และรายงาน เกี่ยวกับข้อมูลด้านการเงิน และข้อมูลที่ไม่ใช่ด้านการเงินซึ่งสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่าย หรือกิจกรรมที่มีการใช้ทรัพยากรในองค์กร
ประโยชน์ของการบัญชีต้นทุนประโยชน์ของการบัญชีต้นทุน 1.PRICINGทราบต้นทุนสินค้า ทำให้ธุรกิจสามารถเสนอราคาขายสู้กับคู่แข่งขันได้ 2.PRODUCTION PLANING ควบคุมและลดต้นทุน โดยเทียบกับวัตถุประสงค์และแผนงานที่ทำไว้ ได้แก่ งบประมาณ หรือ ต้นทุนมาตรฐาน
ประโยชน์ของการบัญชีต้นทุนประโยชน์ของการบัญชีต้นทุน • 3.STRATEGY FORMULATION เช่น การวางแผนขยาย หรือยกเลิกสายผลิตภัณฑ์ • COST AND EFFICIENCY ศึกษากิจกรรมองค์กร ลดงานซ้ำซ้อน หรือการใช้ OUTSOURCING (การให้กิจการภายนอกมาทำแทนกิจกรรมเดิมที่เคยมีอยู่) ในบางกิจกรรม ตัวอย่างคือ ไนกี้ จ้างโรงงานในจีน และ เมกซิโก ผลิตรองเท้าบางรุ่นให้
ประโยชน์ของการบัญชีต้นทุนประโยชน์ของการบัญชีต้นทุน 4.BUDGETING การทำงบประมาณอาจคำนวณเป็นแบบเปลี่ยนแปลงได้ ที่เรียกว่างบประมาณยืดหยุ่น สามารถบอกต้นทุนผลิตได้ทุกระดับการผลิตว่าควรจะเป็นเท่าใด
การจำแนกต้นทุนตามหน้าที่(Cost Function) • เพื่อวัตถุประสงค์ในการคำนวณต้นทุนการผลิต • เพื่อจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอกของกิจการ ช่วยให้บุคคลที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของกิจการ สามารถมองเห็นการใช้ทรัพยากรการผลิตของกิจการว่า ได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
ค่าใช้จ่ายในองค์กร • 1.ค่าใช้จ่ายในสำนักงานขายและบริหาร • 2.ค่าใช้จ่ายในโรงงาน
ต้นทุนการผลิต (ส่วนสีฟ้า) ประกอบด้วย • 1.วัตถุดิบทางตรง (DIRECT MATERIALS)หมายถึง มูลค่าวัตถุดิบหลักในการผลิต และระบุได้ชัดเจนว่าใช้ผลิตสินค้าชนิดใดเช่น ไม้เป็นวัตถุดิบทางตรงของการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ผ้าใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าการผลิตยา วัตถุดิบทางตรง คือตัวยาสำคัญ • 2.ค่าแรงงานทางตรง (DIRECT LABOR)หมายถึงค่าแรงงานที่จ่ายให้แก่คนงาน ที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า หรือบริการโดยตรง คือคนงานแผนกผลิต เช่น คนควบคุมเครื่องจักร คนงานในสายงานประกอบ
ต้นทุนการผลิต (ส่วนสีฟ้า) ประกอบด้วย • 3.ค่าใช้จ่ายการผลิต(MANUFACTURING OVERHEAD) • 3.1.วัตถุดิบทางอ้อม ไม่ใช่วัตถุดิบหลัก เช่น ตะปู กาว เข็ม ด้าย • 3.2.ค่าแรงงานทางอ้อม ไม่เกี่ยวข้องกับค่าแรงงานทางตรงที่ผลิตสินค้า เช่น ผู้ควบคุมโรงงาน พนักงานทำความสะอาด • 3.3. ค่าใช้จ่ายอื่นในโรงงาน ได้แก่ ค่าน้ำค่าไฟโรงงาน ค่าเช่าพื้นที่โรงงาน ค่าวัสดุซ่อมบำรุง ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์การผลิตและเครื่องจักร ค่าเบี้ยประกันภัย(โรงงานเครื่องจักรและสินค้า) เป็นต้น
ต้นทุนการผลิต (ส่วนสีฟ้า) • ค่าใช้จ่ายการผลิต (MANUFACTURING OVERHEAD) เรียกเป็นชื่ออื่นเช่น-ค่าใช้จ่ายโรงงาน (FACTORY OVERHEAD)-โสหุ้ยการผลิต (MANUFACTURING BURDEN)-ต้นทุนผลิตทางอ้อม (INDIRECT COSTS)
ค่าใช้จ่ายการขายและบริหาร (ส่วนสีชมพู) • ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายการขาย ค่าใช้จ่ายการบริหาร และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในสำนักงาน • ได้แก่ เงินเดือนฝ่ายขายและบริหาร ค่าน้ำค่าไฟของสำนักงาน ค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน ค่าวัสดุซ่อมบำรุงสำนักงาน ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ ค่าเบี้ยประกันภัยสำนักงาน ค่านายหน้าขาย เป็นต้น
ความหมายของสินค้าหมายรวม 3 แบบคือ • 1.สินค้าสำเร็จรูป หมายถึงสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว และพร้อมที่จะนำออกจำหน่าย • 2.สินค้าระหว่างผลิต หมายถึง 2.1.วัตถุดิบ 2.2.ค่าแรงงาน 2.3.ค่าใช้จ่ายการผลิตซึ่งยังผลิตไม่เสร็จในวันสิ้นงวดบัญชี • 3.วัตถุดิบ หมายถึงสิ่งที่นำมาใช้ประกอบหรือแปรสภาพให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป
บัญชีคุมยอด และ บัญชีย่อย บัญชีหมวดสินทรัพย์ (100-199) • 101 บัญชีเงินสด • 103 บัญชีวัตถุดิบ • 103.1บัตรวัตถุดิบ ก. (เป็นบัญชีย่อย) • 103.2 บัตรวัตถุดิบ ข. (เป็นบัญชีย่อย) • 104 บัญชีงานระหว่างผลิต • -งานระหว่างผลิตแผนก ก. (บัญชีย่อย) • -งานระหว่างผลิตแผนก ข. (บัญชีย่อย)
บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต • 504 บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต 504.1วัตถุดิบทางอ้อมในโรงงาน(เป็นบัญชีย่อย) 504.2 ค่าแรงงานทางอ้อมในโรงงาน 504.3 ค่าน้ำค่าไฟฟ้าค่าโทรศัพท์ 504.4 ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษา 504.5 ค่าเสื่อมราคาอาคาร 504.6 ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร&อุปกรณ์ 504.7 ค่าประกันภัย
บัญชีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารบัญชีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร • 505 บัญชีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 505.1 เงินเดือนฝ่ายขายและบริหาร (บัญชีย่อย) 505.2 ค่าน้ำไฟโทรศัพท์ 505.3 ค่าพาหนะฝ่ายขายและบริหาร 505.4 ค่าโฆษณาของฝ่ายขาย 505.5 ค่านายหน้าฝ่ายขาย 505.6 วัสดุสำนักงานใช้ไป 505.7 ค่าประกันภัย 505.8 บัญชีค่าเสื่อมราคา-อาคาร 505.9 บัญชีค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร&อุปกรณ์
การบันทึกบัญชีตามระบบการสะสมต้นทุนแบบสิ้นงวดการบันทึกบัญชีตามระบบการสะสมต้นทุนแบบสิ้นงวด
บริษัทศรีนครจำกัดงบดุล ณ วันที่ 1 มกราคม 2548 สินทรัพย์ • เงินสด 50,000 • สินค้าสำเร็จรูป 7,000 • งานระหว่างผลิต 8,000 • วัตถุดิบ 1,000 • ค่าประกันภัยจ่ายล่วงหน้า 1,500 หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น
1.กิจการซื้อวัตถุดิบ • ซื้อวัตถุดิบ (ทั้งวัตถุดิบทางตรงและวัตถุดิบทางอ้อม) เดบิตบัญชีวัตถุดิบ(103) • วันที่ 4: กิจการซื้อวัตถุดิบมาใช้ในการผลิตสินค้า (ทั้งวัตถุดิบทางตรงและวัตถุดิบทางอ้อม) เป็นเงินสด 5,000 บาท • Dr. บัญชีวัตถุดิบ 103 5,000 • Cr. บัญชีเงินสด 101 5,000
1.การบันทึกสมุดรายวันทั่วไป1.การบันทึกสมุดรายวันทั่วไป
2.ฝ่ายโรงงานเบิกวัตถุดิบ2.ฝ่ายโรงงานเบิกวัตถุดิบ • วันที่ 5 มกราคม: ฝ่ายโรงงานได้มีการเบิกวัตถุดิบ 2,000 บาท (เป็นวัตถุดิบทางตรง 1,500 บาท วัตถุดิบทางอ้อม 500 บาท) • บันทึกลงในบัตรวัตถุดิบ
3.เมื่อขายสินค้า • วันที่ 24 มกราคม: ขายสินค้า 45,600 บาท โดยได้รับเงินสด • Dr. บัญชีเงินสด(101)45,600 • Cr. บัญชีรายได้(401)45,600
4.การจ่ายเงินเดือน • วันที่ 30 มกราคม: จ่ายเงินเดือนและค่าแรงงาน จำนวน 5,000 บาท • Dr. บัญชีเงินเดือนและค่าแรงจ่าย(502) • Cr. บัญชีเงินสด(101)
งบทดลองก่อนการปรับปรุงงบทดลองก่อนการปรับปรุง
การปรับปรุงบัญชีระบบสิ้นงวดการปรับปรุงบัญชีระบบสิ้นงวด
5.บันทึกปรับปรุงค่าแรงที่จ่ายไปแล้ว5.บันทึกปรับปรุงค่าแรงที่จ่ายไปแล้ว • วันที่ 31 มกราคม.รายการที่1: ปรับปรุงค่าแรง 5,000 บาท • Dr.บัญชีค่าแรงทางตรง(503) 1,500 • Dr.บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต(504) 700 • Dr.บัญชี-ขายและบริหาร(505) 2,800 • Cr. บัญชีค่าแรงจ่าย(502) 5,000
6.ปรับปรุงบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต6.ปรับปรุงบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต • Dr. บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต(504) • Cr. บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม-อาคาร(123) • Cr. บัญชีค่าเสื่อมสะสม-เครื่องจักรอุปกรณ์(125) • Cr. บัญชีค่าประกันภัยจ่ายล่วงหน้า(107) • Cr. บัญชีเงินสด(101)ที่จ่ายค่าใช้จ่ายการผลิต เช่น ค่าน้ำไฟโทรศัพท์ในโรงงาน
7.ปรับปรุงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 7.ปรับปรุงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร • Dr.บัญชีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร(505) • Cr. บัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม-อาคาร(123) • Cr. บัญชีค่าเสื่อมสะสมเครื่องจักรอุปกรณ์(125) • Cr. บัญชีค่าประกันภัยจ่ายล่วงหน้า(107) • Cr. บัญชีเงินสด(101) เช่น ค่าน้ำค่าไฟฟ้าค่าโทรศัพท์ และค่านายหน้า
8.บันทึกปรับปรุงค่าภาษีจ่าย8.บันทึกปรับปรุงค่าภาษีจ่าย • วันที่ 31 มกราคม.รายการที่ 4 : ประมาณการภาษีเงินได้สำหรับเดือนมกราคม 100 บาท • Dr. บัญชีค่าภาษี(506) 100 • Cr. บัญชีค่าภาษีค้างจ่าย(202) 100