550 likes | 824 Views
แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2556 ในลักษณะ บูรณา การเชิงพื้นที่. สุริยา จันทร กระจ่าง สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สศช. ที่มาของแผนปฏิบัติราชการประจำปีของ จว. และ กลุ่มจว.
E N D
แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2556ในลักษณะบูรณาการเชิงพื้นที่ สุริยา จันทรกระจ่าง สำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สศช.
ที่มาของแผนปฏิบัติราชการประจำปีของ จว.และ กลุ่มจว. พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการบริหารราชการจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๑ มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๓แนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดและการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ก.น.จ. อ.ก.น.จ. กบจ. / กบก.
ขั้นตอนการของบประมาณประจำปีของ จว.และ กลุ่มจว. รัฐสภา (อนุมัติ) ส.ง.ป. (ร่างงบประมาณ) ก.น.จ. (เห็นชอบ) อ.ก.น.จ. (กลั่นกรอง) กบจ./กบก. (เห็นชอบ)
พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ปี 2551 “แผนพัฒนาจังหวัด” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานต่าง ๆ ของจังหวัดที่จำเป็นต้องจัดทำเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของจังหวัดในอนาคต “แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด” หมายความว่า รายการเกี่ยวกับโครงการและแผนงานต่าง ๆ ของกลุ่มจังหวัดที่จำเป็นต้องจัดทำเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดในอนาคต “แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด” หมายความว่า แผนที่แปลงแผนพัฒนาจังหวัดสู่การปฏิบัติโดยระบุถึงโครงการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องดำเนินการในจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของจังหวัด ทั้งนี้ ไม่ว่าโครงการนั้นจะดำเนินการโดยจังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน “แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด” หมายความว่า แผนที่แปลงแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดสู่การปฏิบัติโดยระบุถึงโครงการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องดำเนินการในกลุ่มจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ ไม่ว่าโครงการนั้นจะดำเนินการโดยจังหวัด กลุ่มจังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน
พ.ร.ฎ. ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ปี 2551 มาตรา ๖ การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการให้คำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้ (๑) การบริหารงานให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัดหรือแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แล้วแต่กรณี (๒) การสร้างโอกาสและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัด เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (๓) การกระจายอำนาจการตัดสินใจลงไปสู่ระดับผู้ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการปฏิบัติราชการ (๔) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีความพร้อมในการรองรับการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๕) การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีความโปร่งใส และมีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติราชการ (๖) การบริหารงบประมาณจังหวัดให้เป็นไปตามวิธีการบริหารงบประมาณจังหวัดแบบบูรณาการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติตามที่ ก.น.จ. กำหนดตามข้อเสนอแนะของสำนักงบประมาณ
มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ • ให้นำนโยบายของรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค รวมถึงยุทธศาสตร์รายสาขา เช่น ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม แนวทางการพัฒนาการเกษตร เป็นต้น ตลอดจนผลการศึกษาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมาเป็นกรอบหลักในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด • มุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกันทุกภาคส่วนโดยคำนึงความพร้อมของทุกภาคส่วน โดยให้พิจารณาความพร้อมของส่วนราชการต่างๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการบูรณาการแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่กำหนดไว้ และความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินโครงการพัฒนาร่วมระหว่างจังหวัด/กลุ่มจังหวัดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโครงการพัฒนาร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดและกลุ่มจังหวัดโดยสมัครใจ ตลอดจนความพร้อมของภาคเอกชนของแต่ละพื้นที่ในการสนับสนุนหรือร่วมลงทุนกับภาครัฐในการจัดโครงการ/กิจกรรม เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ) • รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด จังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องมีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด โดยให้ใช้กระบวนการประชาคมชุมชน เพื่อพิจารณาปัญหาและความต้องการของประชาชนรวมทั้งนำข้อมูลตามแผนชุมชนมาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดด้วย • ให้ความสำคัญกับกลุ่มจังหวัด จังหวัดและกลุ่มจังหวัดต้องให้ความสำคัญในแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้มากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาและกระจายความเจริญเติบโตระหว่างจังหวัด และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนในแต่ละพื้นที่ของแต่ละจังหวัด
มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)ขอบเขตของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด ขอบเขตของแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด • แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดเป็นแผนที่มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัดและนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างรายได้ให้กลุ่มจังหวัด ขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัด • แผนพัฒนาจังหวัดเป็นแผนที่มุ่งการพัฒนาจังหวัดแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทุกมิติในด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและความมั่นคง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างโอกาสและอาชีพ ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในจังหวัด
มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ) แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ความสอดคล้องเชื่อมโยง กับนโยบายของรัฐบาลแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค รวมถึงยุทธศาสตร์รายสาขารวมทั้งความสอดคล้องกับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหา และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ • คุณภาพของแผน ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่มีคุณภาพ จะต้องผ่านกระบวนการเห็นชอบร่วมกันของทุกฝ่าย และแผนดังกล่าวจะต้องมีความชัดเจน ความเป็นเหตุเป็นผลของแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่สอดคล้อง เชื่อมโยงตั้งแต่วิสัยทัศน์ ประเด็น ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ จนถึงแผนงาน/โครงการ (Logical Framework) โดยมีรายละเอียดดังนี้
มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ) แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • มีการกำหนดประเด็นปัญหาและโอกาสการพัฒนาชัดเจนทั้งในเชิงของขนาด และพื้นที่ พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและโอกาสการพัฒนานั้นๆ • มีวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในเชิงปริมาณและคุณภาพที่ชัดเจน สะท้อนให้เห็นถึงการแก้ปัญหา และการใช้โอกาสในการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด • มีประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผน โดยในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์จะต้องมีการหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อยืนยันประเด็นยุทธศาสตร์นั้น ๆ และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน • มีการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นยุทธศาสตร์ • มีแผนงาน /โครงการ ตอบสนองกับแนวทางพัฒนานั้นๆ และมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ
มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด รวมทั้งกรอบของแผนงาน/โครงการที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • กำหนดโครงการที่จำเป็นต้องดำเนินการในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ และแสดงให้เห็นถึงบทบาทและความรับผิดชอบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละโครงการชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน และสนับสนุนกัน เพื่อให้หน่วยงานดังกล่าวนำไปใช้ประกอบการจัดทำคำของบประมาณหรือจัดงบประมาณมาสนับสนุนและดำเนินกิจการโดยกำหนดว่า • โครงการใดที่ดำเนินการโดยกลุ่มจังหวัด/จังหวัด • โครงการใดที่ดำเนินการโดยกระทรวง กรม • โครงการใดที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น • โครงการใดที่ดำเนินการโดยภาคธุรกิจเอกชนหรือร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน • โครงการใดที่ดำเนินการโดยชุมชน
มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • โครงการที่ดำเนินการโดยจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี จะต้องอยู่ในแนวทางดังนี้ • เป็นโครงการที่ต้องสอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ความจำเป็นของโครงการ ต้องเป็นโครงการที่ช่วยพัฒนา (เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างรายได้ให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัด) หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และหากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหาย
มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • โครงการที่ดำเนินการโดยจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี จะต้องอยู่ในแนวทางดังนี้ (ต่อ) • ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของโครงการ ต้องมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ • ด้านเทคนิค (วิธีการหรือรูปแบบที่ใช้ในการดำเนินการ) • ด้านกายภาพ (ความพร้อมของพื้นที่ดำเนินงาน บุคลากร การบริหารความเสี่ยง และการบริหารจัดการ) • ด้านงบประมาณ (ความสมเหตุสมผลของวงเงินกับประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ) ด้านระยะเวลาที่ดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ รวมทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบทางลบในการดำเนินโครงการ • ความคุ้มค่า ผลลัพธ์หรือประโยชน์ของโครงการที่คาดว่าจะได้รับทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง อาทิ จำนวนประชากร จำนวนเกษตรกร พื้นที่เพาะปลูก รายได้ ฯลฯ โดยเฉพาะในส่วนของผลประโยชน์ที่กระทบในส่วนของประชาชนในพื้นที่
ลักษณะโครงการที่จะนำมาเป็นคำของบประมาณของจังหวัด /กลุ่มจังหวัด มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • การดำเนินเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิโครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ การเพิ่มรายได้ และสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน การพัฒนาสินค้า OTOP • การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ • การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) อาทิ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ • การพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร จังหวัด กลุ่มจังหวัด
ลักษณะโครงการที่จะนำมาเป็นคำของบประมาณของจังหวัด /กลุ่มจังหวัด มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • การฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน • การยกระดับคุณภาพชีวิต • ความมั่นคง • การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่พิเศษ อาทิ กลุ่มการค้าชายแดน กลุ่มธุรกิจและสินค้าฮาลาล • การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มการจ้างงาน และกระจายรายได้สู่ชุมชน • การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัด กลุ่มจังหวัด
มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ลักษณะโครงการจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่ไม่ควรเสนอขอเป็นคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด • พื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่สาธารณะ เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือเห็นชอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ • ไม่ควรก่อสร้างถนนที่เป็นการก่อสร้างเส้นทางใหม่ เว้นแต่เป็นการสร้างทางที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดบรรลุผลได้อย่างแท้จริง • การฝึกอบรม ดูงาน • เป็นการขุดลอกคูคลอง • เป็นการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยตรง ยกเว้นในกรณีของครุภัณฑ์ที่จัดซื้อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด
มติ ก.น.จ. ครั้งที่ ๓/๒๕๕๓ (ต่อ)แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ลักษณะโครงการจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่ไม่ควรเสนอขอเป็นคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (ต่อ) • มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ยกเว้นการฝึกอบรมด้านอาชีพ และการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ หรือการทำแผนแม่บทซึ่งมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษา • เป็นโครงการในลักษณะของกิจกรรมย่อย (ควรมีการบูรณาการภารกิจหรือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเป็นโครงการเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิผล เช่น กรณีที่เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำหรือสร้างทาง ควรจัดทำเป็นชุดโครงการ เช่น “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำหรือทางเพื่อ...” โดยรวมกิจกรรมและพื้นที่ดำเนินการในการพัฒนาแหล่งน้ำ/ทาง มารวมไว้ในโครงการเดียวกัน ไม่ควรขอเป็น ๑) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ/ทางหมู่บ้านโคกหมากมาย ตำบลหนองเหล็ก หรือ ๒) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ/ทางบ้านยางน้อย ตำบลยางน้อย เป็นต้น) • เป็นโครงการบริการสาธารณะ หรือบริการประชาชนซึ่งเป็นภารกิจประจำของหน่วยงานราชการต่างๆ หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่แล้วเว้นแต่เป็นโครงการที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์บรรลุผลอย่างแท้จริง
ข้อสังเกตแผนพัฒนาจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของจังหวัด • ขาดการวิเคราะห์ด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม ) • นำเสนอข้อมูลเพียงปีเดียว ไม่เห็นแนวโน้มของศักยภาพหรือสภาพปัญหา • ไม่มีการเปรียบเทียบข้อมูลกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มหรือของภาคหรือของประเทศ • การนำเสนอเป็นการอธิบายข้อมูลมากกว่าเหตุผล • การวิเคราะห์ SWOT • ยังไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์ หรือคลาดเคลื่อน ทั้งในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค โดยเฉพาะการแยกแยะปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก • ขาดการวิเคราะห์เชื่องโยง ระหว่างจุดแข็งกับโอกาส • การกำหนดบทบาทของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในอนาคต • ไม่ได้กำหนดบทบาทของจังหวัด • การกำหนดวิสัยทัศน์ • มีลักษณะเป็นคำขวัญ หรือเป็นเพียงภาพปัจจุบัน • ไม่เชื่อมโยงกับบทบาทที่กำหนด • ใช้ภาพปัจจุบัน ไม่มีลักษณะเชิงรุก หรือไม่มีความท้าทาย (แต่ต้องเป็นไปได้)
ข้อสังเกตแผนพัฒนาจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ต่อ) • การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ • ไม่เชื่อมโยงกับบทบาท และวิสัยทัศน์ • การกำหนดตัวชี้วัด • มีลักษณะเป็นนามธรรม วัดค่าเชิงปริมาณไม่ได้ • เน้นกระบวนการ มากกว่า output หรือ outcome • ไม่มีค่าฐาน (benchmark) ของตัวชี้วัด • บัญชีชุดโครงการ • ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ • ขาดความต่อเนื่องในระยะปานกลางหรือระยะยาว • ไม่แสดงภาพการบูรณาการระหว่างภาคีการพัฒนา (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน เอกชน)
สรุปความเห็น อ.ก.น.จ. คณะที่ 5ในการประชุมพิจารณาคุณภาพแผนและกลั่นกรองโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 • แผนพัฒนาจังหวัดยังไม่ครอบคลุมทุกมิติ • ขาดการบูรณาการโครงการระหว่างภาคส่วนต่างๆ • โครงการมีลักษณะเป็นกิจกรรมย่อยๆ มารวมกัน • โครงการส่วนใหญ่เป็นการสร้าง/ซ่อมแซมถนน ขุดลอก คูคลอง การฝึกอบรม ยังไม่สามารถบ่งบอกถึงความสำเร็จของการพัฒนา • ขาดการอธิบายเหตุผลและความจำเป็น พื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน • แนวทางการบริหารจัดการเมื่อโครงการแล้วเสร็จ
คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์
คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์
คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ (ต่อ)
คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ (ต่อ)
คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ (ต่อ)
คะแนนคุณภาพแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2555 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ (ต่อ)
การปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปีต้องเริ่มจากการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดการปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปีต้องเริ่มจากการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด
แนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดแนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด 1) ปรับแนวคิดในการจัดทำแผน/โครงการของจังหวัด • การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดมุ่งเน้น การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ พัฒนาสังคม และรักษาฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม • มุ่งเน้นให้แผนงาน/โครงการบังเกิดผลอย่างยั่งยืนในระยะยาว ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะสั้น • ให้ความสำคัญกับสังคมส่วนรวมหรือคนส่วนใหญ่ มากกว่าส่วนบุคคลหรือเฉพาะบางกลุ่ม • ถ้าเป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ควรเป็นปัญหาเรื้อรังที่ต้องใช้เวลาแก้ไข หรือปัญหาที่ต้องการความมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง หรือเป็นปัญหาเร่งด่วนกระทบคนส่วนใหญ่และไม่มีแหล่งช่วยเหลืออื่นๆ
แนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดแนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด • ปรับแนวคิดการจัดทำแผน/โครงการของจังหวัด (ต่อ) • ผลักดันการดำเนินงานของทุกฝ่าย (ส่วนราชการ สถาบันการศึกษา ประชาชน ธุรกิจเอกชน) ตามบทบาทหน้าที่ ความถนัด ความรับผิดชอบ และศักยภาพ • ส่งเสริม/ผลักดันให้เอกชน/ประชาชน เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการพัฒนา รัฐเป็นผู้สนับสนุน • ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลโครงการและตัวชี้วัดอยู่เสมอ • ควรทบทวนแผนพัฒนา จว. /กลุ่ม จว. และบัญชีโครงการ หากจำเป็นต้องปรับปรุงควรเป็นความเห็นร่วมกันของทุกภาคส่วน • สร้างความรู้ความเข้าใจสถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และแนวทางการพัฒนาจังหวัดให้แก่ภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นด้านการลงทุนในพื้นที่
แนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดแนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด • เน้นการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย • ยึดหลักความคุ้มค่า ของเวลา กำลังคน และงบประมาณที่มีอย่างจำกัด • สร้างความสอดคล้องความเชื่อมโยงหรือสนับสนุนกัน ระหว่างแผนจังหวัด และกลุ่มจังหวัด และแผนงานของส่วนราชการและท้องถิ่น 2) พัฒนาปัจจัยสนับสนุนการจัดทำแผน • พัฒนาระบบข้อมูล ข่าวสาร เชิงลึกที่จำเป็นในการวางแผน • พัฒนางานศึกษาวิจัยสนับสนุนการจัดทำแผนจังหวัด • พัฒนาเวทีประชาคม กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในระดับพื้นที่ (ชุมชน / ท้องถิ่น / อำเภอ / จังหวัด / กลุ่มจังหวัด) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือการระดมสมอง • พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ / ยุทธศาสตร์
สาระสำคัญที่ควรปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดสาระสำคัญที่ควรปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด • การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของจังหวัด • วิเคราะห์สภาพแวดล้อมให้ครบถ้วนทุกมิติ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคง • แสดงข้อมูลให้เป็นอนุกรม และวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ในระยะปานกลาง 4 - 5 ปี หรือระยะยาว (10 -15 ปี) หรือตามรอบแผนพัฒนา โดยมีฐานข้อมูลรองรับอย่างเป็นระบบ หรือเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลอื่นๆ ของจังหวัด เช่น GPP, แรงงาน, การศึกษา, สุขภาพ • การวิเคราะห์ SWOT • วิเคราะห์SWOTให้ชัดเจน ทั้งในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค สามารถใช้เครื่องมือเสริม เช่น BCG model • วิเคราะห์เชื่อมโยง ระหว่างจุดแข็งกับโอกาส • การกำหนดบทบาทของจังหวัด • กำหนดบทบาทของจังหวัดให้ชัดเจน และสอดคล้องกับศักยภาพของจังหวัด (กำหนดได้มากกว่า 1 ด้าน แต่ไม่ควรมากเกินไปจนขาดจุดเน้น)
สาระสำคัญที่ควรปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด(ต่อ)สาระสำคัญที่ควรปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด(ต่อ) • การกำหนดวิสัยทัศน์ • ควรเป็นภาพในอนาคตของจังหวัดที่ประชาคมต้องการ มีความท้าทาย (แต่ต้องเป็นไปได้) • การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ • ต้องเชื่อมโยงกับผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม วิสัยทัศน์ และบทบาทของจังหวัด • ควรเชื่อมโยงกับแผนชาติ แผนภาค และแผนกลุ่มจังหวัดและแผนรายสาขา • การกำหนดตัวชี้วัด • มีลักษณะเป็นตัวเลขเชิงประจักษ์ วัดค่าได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยแสดงค่าฐานและทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมา • สามารถตอบสนองวิสัยทัศน์ และประเด็นยุทธศาสตร์ • มีการกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด • ควรเป็นผลผลิต (output) หรือผลลัพท์ (outcome) มากกว่า ผลสำเร็จของกิจกรรม (process)
สาระสำคัญที่ควรปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด (ต่อ) • บัญชีชุดโครงการ • มีความสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์/กลยุทธในการพัฒนาจังหวัด • มีความต่อเนื่องในระยะปานกลางหรือระยะยาว • มีการบูรณาการระหว่างภาคีการพัฒนา (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน เอกชน) • จัดลำดับความสำคัญของโครงการ ตามความจำเป็นหรือความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา
ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด • วิเคราะห์สภาพแวดล้อมให้ครบทุกมิติ (เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคง (เพิ่มเติมตามข้อเสนอของสภาความมั่นคงแห่งชาติ) • พิจารณาความครอบคลุมของประเด็นยุทธศาสตร์ • ปรับแนวทางการจัดทำโครงการในลักษณะห่วงโซ่คุณค่า (value chain) • บูรณาการแผนงานโครงการระหว่างภาคีการพัฒนาให้มากขึ้น โดยยึดหลัก AFP • พิจารณาความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ/ แผนพัฒนาภาค / แผนรายสาขา
ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด 1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมให้ครบทุกมิติ (เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคง (เพิ่มเติมตามข้อเสนอของสภาความมั่นคงแห่งชาติ) • ให้ความสำคัญของการวิเคราะห์เชิงพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย ในแต่ละประเด็นปัญหา และศักยภาพของจังหวัด (ภาค /กลุ่มจังหวัด / จังหวัด / พื้นที่เฉพาะจุด) • มีข้อมูลแสดงการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม (เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความมั่นคง) ตามช่วงเวลาแผนพัฒนาฯ (5 ปี) ที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของการเปลี่ยนแปลงของจังหวัดได้ สามารถเปรียบเทียบในระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด และในระดับภาค • การนำเสนอผลการวิเคราะห์ควรชี้ประเด็นขีดความสามารถ ปัญหาหรือข้อจำกัด หรือสิ่งที่ต้องแก้ไข • Swotและสรุปผลวิเคราะห์โดยเชื่อมโยงศักยภาพ (s)และโอกาส (o)
หนองคาย เลย นครพนม อุดรธานี สกลนคร หนองบัวลำภู แหล่งท่องเที่ยวยุคก่อนประวัติศาสตร์ ขอนแก่น มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ ยโสธร ชัยภูมิ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด • 2. พิจารณาความครอบคลุมของประเด็นยุทธศาสตร์ • ด้านเศรษฐกิจ : สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก้ปัญหาความเดือดร้อน (เน้นเสริมสร้างผู้ประกอบการทุกสาขาอาชีพ) 1. โอกาสจากความร่วมมือของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) และกรอบความร่วมมือ อิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง (ACMECS) โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนว EWEC 2. นโยบายด้านการเกษตร เช่น เกษตรอินทรีย์ พืชพลังงาน ยางพารา เป็นต้น 3. ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และอื่นๆ • 4. ศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ไหมแพรวา และ อื่นๆ 5. ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ประตูการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่อนุรักษ์ ไม้ผล ยางพารา พืชผัก เมล็ดพันธุ์ ประตูการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน ประตูการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน อุตสาหกรรมหลักของภาค พื้นที่อนุรักษ์/แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ประตูการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน ประตูการค้ากับ ประเทศเพื่อนบ้าน แหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมขอม ปศุสัตว์/ยางพารา/ไม้ยืนต้น พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่อนุรักษ์ ทางหลวง เส้นทางรถไฟ
ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด 2. พิจารณาความครอบคลุมของประเด็นยุทธศาสตร์ (ต่อ) • ด้านสังคม : สร้างสังคมอยู่ดีมีสุข โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหา 1. ปัญหาโอกาสทางการศึกษาของประชาชน 2. ปัญหาสุขภาวะ 3. ปัญหาผู้ด้อยโอกาส ปัญหาผู้สูงอายุ ปัญหาเด็กและเยาวชน 4. ปัญหาด้านแรงงาน 5. เมือง/ชุมชนน่าอยู่
ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด 2. พิจารณาความครอบคลุมของประเด็นยุทธศาสตร์ (ต่อ) • ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : การอนุรักษ์ ดูแล รักษา ฟื้นฟูเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนา 1. ป่าไม้ และความหลากหลายทางชีวภาพ 2. แหล่งน้ำ 3. น้ำเสีย 4. ขยะ 5. ฝุ่นละออง และอากาศเสีย 6. มลพิษอื่นๆ • ด้านความมั่นคง (เพิ่มเติมตามข้อเสนอของสภาความมั่นคงแห่งชาติ) : เน้นการมีส่วนร่วมโดยชุมชนและท้องถิ่น 1. ยาเสพติด 2. ความสมานฉันท์ 3. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4. การปกป้องสถาบันฯ ฯลฯ
ข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดข้อเสนอการปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัด 3. ปรับแนวทางการจัดทำโครงการในลักษณะห่วงโซ่คุณค่า (value chain) • มิติเศรษฐกิจ • มิติสังคม • มิติสิ่งแวดล้อม 4. เน้นการบูรณาการโครงการระหว่างภาคีการพัฒนา (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม) โดยยึดหลัก AFP 5. เตรียมการปรับแผนจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และยุทธศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11
ข้อเสนอการปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2556 • ให้ความสำคัญกับ มติ ก.น.จ. - โครงการที่ไม่ควรดำเนินการ ได้แก่ การก่อสร้างถนน ซ่อมถนน ขุดลอกคูคลอง ฝึกอบรม หากจำเป็นต้องดำเนินการต้องระบุเหตุผลที่ชัดเจน หรือให้เป็นเพียงกิจกรรมสนับสนุนโครงการ หรือเพื่อแก้ไขอุปสรรคของโครงการเท่านั้น - การบริหารจัดการหลังเสร็จสิ้นโครงการ หากเป็นโครงการก่อสร้างหรือจัดซื้อครุภัณฑ์ จะต้องมีหนังสือข้อตกลงของหน่วยงานที่จะรับช่วงดูแลรักษาต่อไป • เน้นการบูรณาการโครงการระหว่างภาคส่วนต่างๆ • ปรับปรุงตัวชี้วัดโครงการให้สะท้อนผลการกำเนินงานและเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ • การเสนอวงเงินควรยึดหลักเกณฑ์ของสำนักงบประมาณ โดยมีการแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่าย และใช้ราคาต่อหน่วยที่สอดคล้องกับอัตรากลาง
แนวทางการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมแนวทางการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ตารางที่ 1 : โครงสร้างกสิกรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • ภาคเกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งผลิตพืชหลักของประเทศ แต่ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ โดยพืชหลักของภาคได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และยางพารา ได้ผลผลิตมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.8 5.3 8.2 และ 4.3 ตามลำดับ โดยภาคเกษตร ในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มีการขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 3.6 ต่อปี โดยกสิกรรมขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 3.7 ต่อปี ปศุสัตว์เฉลี่ย ร้อยละ 9.4 และประมง เฉลี่ยร้อยละ 0.4 ต่อปี
แนวทางการปรับปรุงตัวชี้วัดความสำเร็จแนวทางการปรับปรุงตัวชี้วัดความสำเร็จ ตัวอย่าง 1. ควรตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่เชื่อมโยงกันในแต่ละระดับ 2. ควรเป็นตัวเลขเชิงปริมาณ ที่นับหน่วยได้ 3. ให้ความสำคัญของตัวชี้วัดตามลำดับ - ผลลัพท์(outcome) - ผลผลิต (output) - ขั้นตอนการดำเนินงาน (process) 4. ควรมีข้อมูลค่าฐาน (benmark) ของตัวชี้วัดย้อนหลังก่อนที่จะมีโครงการ 5. กำหนดค่าที่เป็นไปได้จากค่าฐาน เป้าหมายรวม ตัวชี้วัดรวม GPPรวม เป้าหมายยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ มูลค่าเพิ่มการผลิตข้าว เป้าหมายโครงการ ตัวชี้วัดโครงการ ผลผลิตต่อไร่ของข้าวหอมมะลิ ย. การยกระดับการผลิตภาคเกษตร / โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการปลูกข้าวหอมมะลิ
แนวทางการปรับปรุงตัวชี้วัดโครงการ/ยุทธศาสตร์แนวทางการปรับปรุงตัวชี้วัดโครงการ/ยุทธศาสตร์ ตารางที่ 2 : ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายโครงการ
การรวมกลุ่ม (Cluster) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรม มีระบบตลาด ที่ได้รับพัฒนาให้ มีประสิทธิภาพ มีการประยุกต์ใช้ ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงในการ ประกอบอาชีพ มีกลไก การบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มมูลค่า มีการวิจัย และพัฒนาการผลิต ให้มีคุณภาพ มีสินค้าที่ได้รับรอง มาตรฐานจากหน่วยงานสากล ความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการสร้างคุณค่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แนวคิดการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) การวิเคราะห์แผนงานโครงการต้องพิจารณาทุกขั้นตอนสำคัญตลอดกระบวนการ (ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ) เพื่อออกแบบแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (ตามกระบวนการส่งมอบคุณค่า) ที่มีลักษณะบูรณาการ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างแท้จริง
การวางแผนห่วงโซ่การผลิต (ผ้าไหม)
ตัวอย่างเบื้องต้น การบูรณาการโครงการ โดยยึดหลัก AFP(Area Function Participation)