230 likes | 363 Views
Ethnic Diversity and Culture in EU : France. รศ.ดร. กฤษณา ไวสำรวจ Krisana Vaisamruat. ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศส : ดินแดนแห่งผู้ลี้ภัย และการเพิ่มประชากร. ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นกรณีพิเศษในยุโรป ด้านที่เกี่ยวข้องกับผู้อพยพ
E N D
Ethnic Diversity and Culture in EU : France รศ.ดร. กฤษณา ไวสำรวจ Krisana Vaisamruat
ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศส : ดินแดนแห่งผู้ลี้ภัย และการเพิ่มประชากร ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นกรณีพิเศษในยุโรป ด้านที่เกี่ยวข้องกับผู้อพยพ เป็นประเทศเดียวที่เป็นแหล่งหรือดินแดนที่ได้ฉายาว่า “ดินแดนแห่งผู้ลี้ ภัย” Terre d’asile,Terre d’acuail นับจากศตวรรษที่ 19 การอพยพของชาวต่างด้าวเข้าไปในฝรั่งเศส เกิดจากอัตราการลดลง ของประชากร ส่วนประเทศอื่นๆ เริ่มเปิดรับผู้อพยพในภายหลัง ประมาณปลายทศวรรษที่ 50 ฝรั่งเศสจึงเป็นประเทศที่ประกอบด้วย ประชากรหลากถิ่นและวัฒนธรรม หลอมรวมอยู่ในกรอบของรัฐ
ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศส : ที่มาและการอพยพของผู้ใช้แรงงาน ( Immigration) • การอพยพจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการเคลื่อนย้ายของ ประชากรจากในยุโรปด้วยกัน • ต่อมาภายหลังรัฐบาลฝรั่งเศสได้เปิดรับผู้อพยพเพื่อตอบสนองผู้ขาดแคลนแรงงาน (ชาวโปรตุเกส สเปน อัลจีเรีย โมรอคโค ตูนีเซีย และชาวอาฟริกันผิวดำ ) นับจาก 1975 ฝรั่งเศสเปิดให้สิทธิกับผู้ใช้แรงงานต่างชาตินำครอบครัวมาพำนักอยู่ด้วย ก่อให้เกิดการไหลเทของประชากรโลกที่สาม • ตลอดทศวรรษที่ 70,80 และ 90 การอพยพทำให้องค์ประกอบชาวต่างชาติในฝรั่งเศสเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยมีกลุ่มประชากรจากโลกที่สามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศส : ที่มา • ในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 ประชากรผู้อพยพมีจำนวน 1.5 ล้าน เป็นชาวยุโรป จำนวน 1.4 ล้านจากอาฟริกาเหนือ และ 4 แสนจากเอเชีย โดยมีประชากรฝรั่งเศสทั้งหมด 52 ล้าน • นับจากช่วงนี้ไปจำนวนชาวอัลจีเรียที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นถึง 8 แสนคน และเป็นกลุ่มประชากรเชื้อสายต่างชาติที่สำคัญยิ่งในฝรั่งเศส ขณะเดียวกันประชากรชาวโมรอคโค ได้อพยพตามเข้าไปเป็นจำนวนประมาณ 6 แสนคน ตามการสำรวจประชากรในปี 1990
ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศสความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศส • ดังนั้น ประชากรผู้อพยพจึงเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศสในทศวรรษที่ 90 จึงเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากประชากรส่วนหนึ่งประกอบขึ้นด้วยผู้อพยพจากต่างถิ่น • จากการค้นคว้าโดย INED ในปี 1991 จึงกล่าวได้ว่า ประชากรของฝรั่งเศสประมาณ 20% มีบิดามารดาเชื้อสายต่างด้าว ทำให้ฝรั่งเศสเป็นชาติเดียวในยุโรป ที่มีการไหลเทของประชากรผู้อพยพ ในสัดส่วนที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่มา INED = Institut National des Etudes Démographiques (National Institute of Demographic Studies) M. Tribalat, Cents Ans d’immigration. Étrangers d’hier, Français d’aujourd’hui, Paris, PRU/INED, 1991, p. 13
ผู้ใช้แรงงานจากอาฟริกาตอนเหนือ - Maghrebien • ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนประชากรชาวตูนีเซียน และจากอาฟริกาผิวดำ ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัดส่วนของผู้ใช้แรงงานที่พำนักอย่างถาวร ซึ่งมิใช่ชาวยุโรปเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง : โดยเพิ่มขึ้นจาก 3.7 ล้าน ในปี 1982 จนถึง 4.2 ล้านในปี 1990 คิดเป็นสัดส่วนเกินกว่า 7% ของจำนวนประชากรทั้งหมด • ในจำนวน 4.2 ล้านคนของผู้อพยพ รวมถึงประชาชนผู้ถือสัญชาติฝรั่งเศส 55% มาจากยุโรป 8% มาจากเอเชีย และ 34% มาจากอาฟริกัน (รวมไปถึงกลุ่มประชากรที่มาจากแถบ Maghreb) โดยมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของประชากรผู้อพยพทั้งหมด (1999) ที่มาYvan Gastaut, « Des trente glorieuses à la crise des banlieues », L’Histoire, n° 229, fev. 99, p. 49
เปรียบเทียบสัดส่วนประชากรต่างชาติและผู้มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ จำแนกตามรายประเทศ Source : OECD, Trends in International Migration , 2000
สัดส่วนประชากรเชื้อสายต่างด้าวในฝรั่งเศส ปี 2002 • · French population: 58.5 million • · Non-French national population: 3.2 million (5.4% of total) • · Population of African origin: 1.4 million • · Mainly originate from former French colonies including • Senegal, Mali, Algeria and Morocco.
สถิติล่าสุดและถิ่นที่พักอาศัยของกลุ่มประชากรอพยพ • ปัจจุบัน สถิติล่าสุดของผู้อพยพต่างชาติ ที่พำนักอยู่ในฝรั่งเศส มี ประมาณ 4.9 ล้านคน • คิดเป็นสัดส่วน 8.1% ของจำนวนประชากร • มีเพิ่มขึ้นจากปี 1990 ถึง 760,000 คน • ผลจากการสำรวจประชากรระหว่างปี 2004-2005 • 4 ใน 5 พำนักอาศัยอยู่ในบริเวณ L’le – de – France • จำนวนน้อยอยู่ในเขตตะวันตกของประเทศ • น้อยกว่า 3 % ใน Bretagne, Normandy ตอนใต้และแถบ la Loire ที่มา : I’institut national de la statistique et des etudes economiques, L’Insee
L’immigration clandestine en Franceผู้ลักลอบเข้าประเทศในฝรั่งเศส
นโยบายการเปิดรับผู้อพยพของฝรั่งเศสนโยบายการเปิดรับผู้อพยพของฝรั่งเศส • 1850 – 1870 การอพยพมีส่วนสำคัญในการพัฒนาของฝรั่งเศส เหตุผลสำคัญสุดมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและความต้องการแรงงาน เพื่อขยายความยิ่งใหญ่ • ดำเนินต่อเนื่องไปถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) เพื่อช่วยในการสงคราม • เป้าหมายทางด้านแรงงานยุติลงด้วยสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 • ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รื้อฟื้นนโยบายรับผู้อพยพแรงงานขึ้นใหม่ • มีการเลือกสรร เน้นผู้อพยพที่มาจากผู้ใช้แรงงานในยุโรปมากกว่าจาก อาฟริกา เพื่อลดทอนอิทธิพลของผู้อพยพต่อสังคม • ประเด็นความต้องการแรงงาน ที่มาจากเศรษฐกิจ เปลี่ยนมาเป็นประเด็นทางการเมืองนับจาก 1960 เป็นต้นมา เมื่อผู้อพยพที่เข้ามาเป็นแรงงานมีถิ่นที่มาจากอาฟริกาตอนเหนือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นโยบายการเปิดรับผู้อพยพของฝรั่งเศส (ต่อ) • นับจาก 1960 เป็นต้นมา ประชากรที่อพยพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นำปัญหาในเรื่องความแตกต่างระหว่างประชากรต่างเชื้อชาติในฝรั่งเศส • รัฐบาลฝรั่งเศสตระหนักในเรื่องนี้จึงเริ่มควบคุมการอพยพเข้ามาของผู้ใช้แรงงานที่มาจากอาฟริกา โดยการพยายามขัดขวางการอยู่รวมกันแบบครอบครัวของผู้อพยพ • ในช่วงทศวรรษ 1980 นโยบายค่อนข้างเข้มงวดต่อผู้อพยพ โดยเน้นไปที่การพยายามที่จะควบคุมค่านิยมทางวัฒนธรรมของชาวด่างด้าวในประเทศ French Citizenship Policy • ในปี 1998 นโยบายต่อผู้อพยพของฝรั่งเศสมุ่งไปที่บูรณาการชาวต่างด้าว ให้ยอมรับวัฒนธรรมฝรั่งเศส โดยมุ่งไปที่เจเนอเรชั่นใหม่ เปิดโอกาสให้เด็กที่มีพ่อแม่ต่างด้าว ได้รับสัญชาติฝรั่งเศส
การเดินทางเข้าประเทศของบุคคลจากประเทศนอกกลุ่ม EU ระหว่างปี 1999- 2004 (1)
การเดินทางเข้าประเทศของบุคคลจากประเทศนอกกลุ่ม EU ระหว่างปี 1999- 2004 (2)
แหล่งที่มาของผู้อพยพ – แรงงาน และชาวต่างด้าวในฝรั่งเศส ซึ่งแสดงให้เห็นการขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ต้นเหตุปัญหาต่างๆ ของความรุนแรง FRENCH IMMIGRATION BILL proposed by Sarkozy * การเสนอกฎหมายเกี่ยวกับผู้อพยพใหม่เสนอโดย นายSarkozy • ผู้มีคุณสมบัติได้สิทธิในการพำนักอาศัย ต้องเป็นพวก มีทักษะ และ ความสามารถพิเศษ สำหรับพำนัก • ชาวต่างด้าวจะได้รับสิทธิในการทำงานเท่านั้น แต่ไม่ได้รับสวัสดิการของรัฐในกรณีว่างงาน • คู่สมรสของชาวต่างด้าวต้องใช้เวลานานกว่าเดิมเพื่อรับใบอนุญาตเพื่อพำนักอาศัย • ชาวด่างด้าวอพยพต้องยินยอมเรียนภาษาฝรั่งเศส • ต่างด้าวต้องลงนามในสัญญายินยอมรับวิถีชีวิตแบบฝรั่งเศส • ยกเลิกกฎหมายให้ผู้ใช้แรงงานสามารถเปลี่ยนสัญชาติเป็นฝรั่งเศสหลังพำนักอยู่ในประเทศเกิน 10 ปี *ปัจจุบันข้อเสนอกฎหมายฉบับนี้ถูกตีตกไปแล้ว
ต้นตอปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจระหว่างประชากรต่างเชื้อชาติ วัฒนธรรม • นโยบายการผสมกลมกลืนตามที่กฎหมายได้เปิดช่อง ไม่สามารถแก้ความรู้สึกแบ่งแยกในสังคมฝรั่งเศสที่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่แตกต่างจากตนเอง • ความยากจนของกลุ่มประชาชน ซึ่งเป็นชนชั้นผู้ใช้แรงงานเชื้อสาย Maghrebien และจากอาฟริกาตะวันตก • การถดถอยในการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมและการสูญเสียทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ ของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน • ปัญหาสืบเนื่องที่เกิดจากประชากรที่เป็นเยาวชนวัยหนุ่มสาวที่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพรุ่นแรก ซึ่งได้รับการเรียกขานว่าเป็น Les Jeunes du Banlieu • ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยของรุ่นพ่อแม่ กับวัยรุ่นปัจจุบัน
ความรู้สึกแบ่งแยกมีสูงขึ้นเกิดจาก : • ประชากรฝรั่งเศสเริ่มมีความรู้สึกว่า กลุ่มประชากรเชื้อสายอาหรับกำลังพยายามยัดเยียดค่านิยมต่างชาติเข้ามาวัฒนธรรมของประเทศ • ประชากรกลุ่มน้อยถูกผลักไสให้ไปอยู่ในพื้นที่ต่างหาก แยกจากศูนย์กลางตัวเมืองMarginalization (Urban culture)ก่อให้เกิดวัฒนธรรมรองในตัวเมือง(street culture) • ประชากรฝรั่งเศสต่างเชื้อสายไม่ค่อยมีสัดส่วนในการเป็นตัวแทนในพื้นที่ทางการเมือง หรือเป็นpressure groupที่มีบทบาทเหมือนในสหรัฐอเมริกา • ลักษณะครอบครัวที่มีผู้ปกครองเดี่ยว
ความรู้สึกแบ่งแยกมีสูงขึ้นเกิดจาก(ต่อ) : • เป็นปัญหาที่สืบทอดมาจากความแตกต่างทางด้านศาสนาหรือจากอิทธิพลของขบวนการ islamicที่นิยมใช้ความรุนแรง • อาจตีความได้ว่าเป็นเพียงการต่อต้านนโยบายต้านผู้อพยพของ Sarkozyเมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย • Voyous, Musulmans Faux Francais petit caidsมีการใช้คำเรียกที่เหยียดหยามกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวเชื้อสายอาหรับส่วนใหญ่ เพื่อสื่อความรุนแรงของกลุ่มที่ไร้การอบรมมารยาท • การกีดกันในที่ทำงานต่อหนุ่มสาวฝรั่งเศสเชื้อสายจากผู้อพยพหลังอาณานิคม
ความเกี่ยวพันระหว่างสภาพทางเศรษฐกิจกับความรุนแรงความเกี่ยวพันระหว่างสภาพทางเศรษฐกิจกับความรุนแรง • เป็นกลุ่มที่ถูกทอดทิ้งและไม่มีงานทำหรือว่างงานและไม่ได้รับการเอาใจใส่จากสังคม • การประท้วงต่อต้านที่ประทุขึ้นถึงใช้ความรุนแรง ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวไปทั่วประเทศเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2000
ทางออกและการแก้ปัญหา • เพิ่มความเอาใจใส่ในปัญหาการว่างงานของเยาวชนฝรั่งเศสที่มีบิดามารดา เชื้อสายต่างด้าว • เปิดประตูให้กับการจ้างงานของชนกลุ่มน้อยสัญชาติฝรั่งเศสเชื้อสายต่างด้าวในระดับที่สูงขึ้นแทนที่จะคงอยู่ในภาคก่อสร้างและในโรงงาน • ใช้นโยบาย Affirmative Actionคือเปิดโอกาสให้สิทธิกับการว่าจ้างบุคลากรหลากหลายเชื้อชาติ • มีการยกเลิกการระบุเชื้อชาติแม้แต่ชื่อในประวัติของบุคคลผู้ประสงค์จะสมัครเข้าทำงาน