1 / 28

พ.ร.บ. การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548

พ.ร.บ. การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548. วัตถุประสงค์ของกฎหมาย. 1. ใช้บังคับแก่การให้บริการขนส่งแบบ door - to - door 2. ส่งเสริมการประกอบการและคุ้มครองผู้ใช้ บริการ 3. ใช้เป็นกฎหมายต้นแบบ ( model law ) สำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน หรือประเทศเพื่อนบ้าน. สาระสำคัญของกฎหมาย.

oded
Download Presentation

พ.ร.บ. การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พ.ร.บ. การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบพ.ศ. 2548

  2. วัตถุประสงค์ของกฎหมายวัตถุประสงค์ของกฎหมาย 1. ใช้บังคับแก่การให้บริการขนส่งแบบ door - to - door 2. ส่งเสริมการประกอบการและคุ้มครองผู้ใช้ บริการ 3. ใช้เป็นกฎหมายต้นแบบ (model law) สำหรับกลุ่มประเทศอาเซียน หรือประเทศเพื่อนบ้าน

  3. สาระสำคัญของกฎหมาย แบ่งเป็น 2 ส่วน 1. กำหนดสิทธิ หน้าที่และความรับผิดที่เกิดจากสัญญา 2. กำกับดูแลการประกอบธุรกิจ

  4. สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด ตามสัญญาขนส่ง

  5. ก. หน้าที่ของ MTO • ออกใบตราส่งต่อเนื่อง เมื่อได้รับของไว้ในความดูแล • ลงลายมือชื่อในใบตราส่งต่อเนื่อง • ส่งมอบของ

  6. ข. ความรับผิดของ MTO • เกิดขึ้นเมื่อของสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า • อยู่ภายใต้ข้อสันนิษฐานความผิด • เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า • ตน ลูกจ้าง หรือตัวแทนของตน หรือบุคคลอื่นที่ตนได้ใช้บริการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาได้ใช้มาตรการทั้งปวงซึ่งจำเป็นต้องกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุแห่งการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นจากเหตุนั้น

  7. ข. ความรับผิดของ MTO (ต่อ) • MTO ไม่ต้องรับผิดในกรณีส่งมอบชักช้า เว้นแต่ ผู้ตราส่งจะได้แจ้งก่อนที่ MTO จะรับมอบของว่า หากมีการส่งมอบชักช้า MTO จะต้องรับผิดในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และ MTO ได้ยินยอมที่จะรับผิดเช่นว่านั้นก่อนที่จะรับมอบของ

  8. ค. ขอบเขตความรับผิดของ MTO 1. ตั้งแต่ได้รับมอบของจนถึงเวลาที่ส่งมอบของนั้น 2. ร่วมรับผิดในการกระทำของลูกจ้าง ตัวแทนของตน และบุคคลอื่นที่ตนได้ใช้บริการเพื่อปฏิบัติตามสัญญา รวมถึงลูกจ้างและตัวแทนของบุคคลอื่นนั้น

  9. ง. ข้อยกเว้นความรับผิด 1. เหตุสุดวิสัย 2. การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ตราส่ง ผู้รับตราส่ง หรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าว 3. Insufficient Packing

  10. ง. ข้อยกเว้นความรับผิด (ต่อ) 4. การยกขน บรรทุก ขนถ่าย เก็บรักษาของโดยผู้ตราส่ง ผู้รับตราส่ง หรือตัวแทน 5. Inherent Vice / Latent Defect 6. การนัดหยุดงาน ปิดงานงดจ้าง ผละงาน หรือ อุปสรรค/เหตุขัดข้องด้านแรงงานอย่างอื่น

  11. ง. ข้อยกเว้นความรับผิด (ต่อ) 7. ในกรณีที่ขนส่งโดยทางทะเลหรือน่านน้ำภายใน หาก การสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าในระหว่างการขนส่งเกิดจาก - การจงใจหรือประมาทเลินเล่อ หรือการผิดพลาดในการเดินเรือหรือการบริหารจัดการเรือของนายเรือ คนประจำเรือ ผู้นำร่อง หรือลูกจ้างของผู้ขนส่ง - อัคคีภัย เว้นแต่เกิดจากความผิดหรืออยู่ในความรู้เห็นของผู้ขนส่ง

  12. ง. ข้อยกเว้นความรับผิด (ต่อ) หมายเหตุ ข้อยกเว้นตาม 7. ไม่สามารถยกขึ้นอ้างได้ ถ้าการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าเป็นผลมาจาก เรือไม่อยู่ในสภาพที่สามารถเดินทะเลได้อย่างปลอดภัย เว้นแต่ MTO จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้กระทำการตามที่ควรจะต้องกระทำเพื่อให้เรืออยู่ในสภาพดังกล่าวแล้วเมื่อเริ่มต้นการเดินทาง

  13. จ. การจำกัดความรับผิด • กรณีของสูญหาย/เสียหาย • 666.67 SDR ต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง หรือ • 2 SDR ต่อกิโลกรัม แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า • - ถ้า MT ปฏิบัติการโดยไม่มีการขนส่งทางทะเล หรือน่านน้ำภายใน • 8.33 SDR ต่อกิโลกรัมแห่งของ • - Localized Damage • ตามกม.ภายใน หรือ Convention ที่ใช้บังคับกับช่วงนั้น

  14. จ. การจำกัดความรับผิด (ต่อ) • กรณีส่งมอบชักช้า • ไม่เกินค่าระวางตามสัญญา

  15. ฉ. กรณีที่ MTO ไม่อาจจำกัดความรับผิดได้ 1. ผู้ตราส่งได้แจ้งสภาพและราคาแห่งของไว้ก่อนที่ MTO จะรับมอบของ และ MTO จดแจ้งสภาพและราคานั้นไว้ในใบตราส่งต่อเนื่อง 2. การสูญหาย/เสียหาย/ส่งมอบชักช้า เกิดจากการกระทำโดยจงใจ หรือละเลยไม่เอาใจใส่ทั้งที่รู้ว่าการสูญหาย/เสียหาย/ส่งมอบชักช้านั้นอาจเกิดขึ้นได้

  16. ช. การเรียกร้องค่าเสียหาย 1. ผู้รับตราส่งต้องแจ้งเป็นหนังสือแสดงถึงสภาพแห่ง ความเสียหายเมื่อได้รับมอบของ หรือภายใน 6 วัน ถ้าการสูญหายหรือเสียหายไม่เห็นประจักษ์ 2. อายุความ 9 เดือนนับแต่วันส่งมอบ/กำหนดเวลาอันสมควรส่งมอบ 3. โจทก์มีสิทธิในการเลือกฟ้องคดีในศาลใดศาลหนึ่ง 4. คู่สัญญามีสิทธิในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโต ตุลาการ

  17. การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจ

  18. กลไกการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจกลไกการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจ 1. การจดทะเบียน 2. การรักษาคุณสมบัติที่ได้จดทะเบียน 3. การเพิกถอนทะเบียน

  19. การจดทะเบียนเป็น MTO ทะเบียนมี 3 แบบ 1. ใบทะเบียนผู้ประกอบการขนส่ง ต่อเนื่องหลายรูปแบบ 2. ใบจดแจ้ง 3. ใบทะเบียนการเป็นตัวแทน

  20. คุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนเป็นคุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนเป็น MTO (แบบที่ 1) 1. เป็นบริษัทจำกัด/บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายไทยและมีสำนักงานใหญ่ในไทย 2. ทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า80,000 SDR 3. วางหลักประกันความรับผิดตามสัญญา เช่น กรมธรรม์ประกันภัย

  21. คุณสมบัติที่ต้องรักษาคุณสมบัติที่ต้องรักษา หลังจากได้รับจดทะเบียนเป็น MTO 1. ดำรงหลักประกันความรับผิด 2. ดำรงสินทรัพย์ขั้นต่ำไว้ไม่น้อยกว่า 80,000 SDR

  22. คุณสมบัติของผู้ขอจดแจ้งเป็น MTO (แบบที่ 2) 1. เป็น MTO ที่จดทะเบียนในต่างประเทศซึ่งประเทศไทยรับรองโดยสนธิสัญญา 2. ตั้งตัวแทนหรือสำนักงานสาขา ในราชอาณาจักร 3. แสดงหลักประกันความรับผิดตามสัญญา

  23. คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นตัวแทนของ MTO แบบที่ 2 • เป็นผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องที่จดทะเบียนตามแบบที่ 1 • เป็นบริษัทจำกัด/บริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบการขนส่ง หรือ • เป็นนายหน้า ตัวแทนหรือตัวแทนค้าต่างในกิจการขนส่ง

  24. หมายเหตุ ตัวแทนในประเทศไทยของ MTO แบบที่ 2 จะต้องดำรงหลักประกันความรับผิดของตัวการ

  25. คุณสมบัติที่ต้องรักษาตลอดอายุการเป็น MTO แบบที่ 2 1. รักษาคุณสมบัติของการเป็น MTO ในประเทศที่ตนจดทะเบียน 2. ดำรงหลักประกันความรับผิดในประเทศไทย

  26. คุณสมบัติของผู้ขอจดทะเบียนเป็น MTO แบบที่ 3 (จดทะเบียนการตั้งตัวแทน) 1. เป็นผู้ประกอบการขนส่ง หรือ MTO ในต่างประเทศ 2. ตั้ง MTO แบบที่ 1 เป็นตัวแทนในราชอาณาจักร 3. แสดงหลักประกันความรับผิดตามสัญญา

  27. คุณสมบัติที่ตัวแทนของ MTO แบบที่ 3 (ผู้ถือใบทะเบียนการเป็นตัวแทน) ต้องรักษาไว้ 1. รักษาคุณสมบัติการเป็น MTO แบบที่ 1 2. ดำรงหลักประกันความรับผิดในประเทศไทย

  28. การเข้าสู่ระบบตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนเป็น MTO ผู้ขนส่ง / MTO ต่างประเทศ จดทะเบียนตั้งตัวแทน แสดงคุณสมบัติ MTO อาเซียนจดแจ้ง ขอจดทะเบียน รักษาคุณสมบัติ

More Related