210 likes | 770 Views
บทที่ 1 ความหมายและแนวทางของนโยบายสาธารณะ. ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร www.ballchanchai.com. ความหมายของนโยบายสาธารณะ. คำ ว่า “ นโยบายสาธารณะ ” หรือ “Public Policy ” “ หมายถึง การตัดสินใจของรัฐบาลในการเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำกิจกรรมใดๆ เพื่อประโยชน์สุขต่อประชาชน ”. ประเภทของนโยบายสาธารณะ.
E N D
บทที่ 1ความหมายและแนวทางของนโยบายสาธารณะ ดร.ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร www.ballchanchai.com
ความหมายของนโยบายสาธารณะความหมายของนโยบายสาธารณะ • คำว่า “นโยบายสาธารณะ” หรือ “Public Policy” • “หมายถึง การตัดสินใจของรัฐบาลในการเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำกิจกรรมใดๆ เพื่อประโยชน์สุขต่อประชาชน”
ประเภทของนโยบายสาธารณะประเภทของนโยบายสาธารณะ • 1 แบ่งประเภทตามลักษณะเนื้อหา และวัตถุประสงค์ของนโยบาย มีนักวิชาการที่แบ่งตามนี้ เช่น Theodore Lowiได้แบ่งไว้ 3 ประเภท คือ นโยบายเกี่ยวกับการจัดระเบียบกฎเกณฑ์ นโยบายเกี่ยวกับการ กระจายทรัพยากร นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรใหม่ • 2 แบ่งประเภทตามลักษณะขอบข่ายผลกระทบของนโยบาย นักวิชาการที่แบ่งตามลักษณะนี้ เช่น David Easton (1953) โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นโยบายเฉพาะกลุ่ม และนโยบายส่วนรวม
ประเภทของนโยบายสาธารณะประเภทของนโยบายสาธารณะ • 3 แบ่งประเภทตามลักษณะกระบวนการของนโยบายสาธารณะ นักวิชาการที่แบ่งตามลักษณะนี้ เช่น Ira Sharkansky (1970) แบ่งไว้ 3 ประเภท ขั้นนโยบายสาธารณะ ขั้นผลผลิตของนโยบายสาธารณะ และขั้นผลกระทบของนโยบาย • 4 แบ่งประเภทตามลักษณะกิจกรรม หรือภารกิจสำคัญของรัฐบาล นักวิชาการที่แบ่งตามลักษณะนี้ เช่น Thomas Dye (1978) แบ่งตามภารกิจของสหรัฐอเมริกา ไว้ 12 ประเภท มีนโยบายป้องกันประเทศ นโยบายต่างประเทศ นโยบายการศึกษา นโยบายสวัสดิการ นโยบายการรักษาความสงบภายใน นโยบายทางหลวง นโยบายภาษีอากร นโยบายการเคหะ นโยบายประกันสังคม นโยบายสาธารณะสุข นโยบายพัฒนาชุมชน/ตัวเมือง และนโยบายทางเศรษฐกิจ
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ • คณิตศาสตร์ • มานุษยวิทยา • เศรษฐศาสตร์ • รัฐศาสตร์ • ประวัติศาสตร์ • จิตวิทยา • อื่นๆ
แนวทางสำหรับการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะแนวทางสำหรับการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
ขั้นตอนของการวิเคราะห์นโยบายขั้นตอนของการวิเคราะห์นโยบาย
ประโยชน์ของการวิเคราะห์นโยบายประโยชน์ของการวิเคราะห์นโยบาย • ประการแรก ช่วยให้ทราบถึงความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากนโยบายทุกฝ่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่มีความเป็นไปได้สูงขึ้นและสามารถสนองตอบต่อความต้องการที่แท้จริง • ประการต่อมา ทำให้ทราบถึงมูลเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Causes) อันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกนโยบายหรืออนุมัตินโยบายของผู้นำหรือผู้มีอำนาจ
ประโยชน์ของการวิเคราะห์นโยบายประโยชน์ของการวิเคราะห์นโยบาย • ประการที่สาม ช่วยลดความผิดพลาดในการเลือกหรือการตัดสินใจต่อนโยบาย เพราะการวิเคราะห์นโยบายจะช่วยทำให้เกิดข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอต่อการตัดสินใจมากขึ้น • ประการที่สี่ ทำให้การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการยุตินโยบายกระทำขึ้นอย่างเป็นระบบ ลดความอคติต่อนโยบาย จนนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อนโยบาย
แนวโน้มในการการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะแนวโน้มในการการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ • ประการแรก เน้นความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ (Objective) มากขึ้น • ประการที่สอง ให้ความสำคัญต่อเรื่องค่านิยม (Value) ทางสังคมมากขึ้น • ประการที่สาม พยายามประยุกต์ศาสตร์สาขาต่างๆ ในรูปของสหวิทยาการ อาทิ สังคมวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ รัฐศาสตร์ ปรัชญา วิทยาการจัดการ สถิติศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ เป็นต้น • ประการที่สี่ เน้นการวิเคราะห์แบบมีส่วนร่วมมากขึ้น (Participation) ซึ่งสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
แนวโน้มในการการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะแนวโน้มในการการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ • ประการที่ห้า ใช้วิธีวิเคราะห์นโยบายที่ง่าย และแม่นตรง (Validity) เชื่อถือได้ (Reliability) • ประการที่หก การวิเคราะห์นโยบายเชิงธุรกิจ (Cost - Benefit) มีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ • ประการที่เจ็ด ให้ความสำคัญต่อบทบาทนักวิเคราะห์นโยบายมากขึ้น โดยเน้นให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การเป็นนักเจรจาต่อรอง การอำนวยความสะดวก และการเป็นนักประสานงานที่ดี