1 / 55

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community (AEC)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community (AEC). โดย นางสาวพูลศรี คุลีเมฆิน ผู้อำนวยการสำนักเอเชียตะวันออก วันที่ 18 มกราคม 2548 โรงแรมริชมอนด์ จ. นนทบุรี . อาเซียน (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN).

siobhan
Download Presentation

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community (AEC)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนASEAN Economic Community(AEC) โดย นางสาวพูลศรี คุลีเมฆิน ผู้อำนวยการสำนักเอเชียตะวันออก วันที่ 18 มกราคม 2548 โรงแรมริชมอนด์ จ. นนทบุรี

  2. อาเซียน (Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) • อาเซียนก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 • ปัจจุบันมีสมาชิก 10 ประเทศ • สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ดารุสซาลาม • สมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)

  3. วัตถุประสงค์ของอาเซียนวัตถุประสงค์ของอาเซียน • อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยาย ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ หลัก 3 ประการ ดังนี้ • ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม • รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค • ใช้เป็นเวทีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาค

  4. วิวัฒนาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียนวิวัฒนาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียน ASEAN Economic Cooperation

  5. ปี 2535AFTA (ASEAN Free Trade Area) ลดภาษีนำเข้าสินค้าทุกประเภทให้เหลือ 0-5% และยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีภายในเวลาที่กำหนดยกเว้นสินค้าที่มีผลต่อศีลธรรมชีวิตและสุขภาพของมนุษย์สัตว์พืชศิลปะโบราณวัตถุ เป้าหมาย

  6. เงื่อนไขของสินค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์อาฟต้าเงื่อนไขของสินค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์อาฟต้า • อยู่ในแผนการลดภาษีของทั้งประเทศส่งออกและนำเข้าและลดภาษีลงเหลือ 20% หรือต่ำกว่า • เป็นสินค้าอาเซียนคือมีสัดส่วนการผลิตภายใน อาเซียน 40%

  7. กำหนดการลดภาษี • สินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูป แบ่งออกเป็น 2 บัญชี 1. บัญชีลดภาษี(Inclusion List: IL) แยกเป็น 2 ประเภท 1.1 สินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) จะต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 7 ปี (1 มกราคม 2543 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2543-2550 สำหรับสมาชิกใหม่) 1.2 สินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 10 ปี (1 มกราคม 2543 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2549-2553 สำหรับสมาชิกใหม่) 2. บัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) สมาชิกสามารถขอยกเว้นการลดภาษีชั่วคราวสำหรับสินค้าบางรายการได้ โดยนำสินค้านั้นไว้ใน บัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว แต่ต้องเริ่มทยอยนำเข้ามาลดภาษีปีละ 20% ของจำนวนรายการที่ขอ ยกเว้นทั้งหมด โดยเริ่มนำเข้ามาลดภาษีช้ากว่ารายการใน IL 3 ปี

  8. สินค้าเกษตรไม่แปรรูป • เริ่มนำเข้ามาลดภาษีช้ากว่าสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูป คือ เริ่มในปี 2539 (สมาชิกเดิม) และปี 2542-2546 (สมาชิกใหม่) แต่จะต้องสิ้นสุดพร้อมกันกับสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูป คือ ในปี 2546 (สมาชิกเดิม) และปี 2549-2553 (สมาชิกใหม่) ยกเว้น สินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวสูง

  9. กำหนดการลดภาษีในอาฟต้ากำหนดการลดภาษีในอาฟต้า

  10. สถานะล่าสุด สมาชิกเดิม • 1 ม.ค.2003 ลดภาษีเหลือ 0%ร้อยละ 60 ของ Inclusion List (IL) • 1 ม.ค.2010 ลดภาษีเหลือ 0% ร้อยละ 100 ของ Inclusion List (IL)

  11. สมาชิกใหม่ • ลดภาษีเหลือ 0-5% ให้มากรายการที่สุดภายใน 1 ม.ค. 2003 สำหรับเวียดนาม 1 ม.ค. 2005 สำหรับลาวและพม่า และ 1 ม.ค. 2007 สำหรับกัมพูชา • 1 ม.ค. 2015 ลดภาษีเหลือ 0% ทุกรายการใน IL โดยยืดหยุ่นบางรายการได้จนถึงปี 2018

  12. ปี 2538AIA(ASEAN Investment Area) เพื่อจัดตั้งเขตการลงทุนที่มี ศักยภาพในการแข่งขัน วัตถุประสงค์ มีบรรยากาศการลงทุนที่เสรี และโปร่งใส ครอบคลุมเฉพาะการลงทุนโดยตรง ไม่รวมการลงทุนในหลักทรัพย์

  13. หลักการ กรอบเวลา เปิดเสรีการลงทุนในอุตสาหกรรม อาเซียนเดิม ปี 2010 ให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติแก่ นักลงทุน อาเซียนใหม่ ปี2015

  14. ปี 2538 AFAS(ASEAN Framework Agreement on Services) เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการเป็น ผู้ให้บริการในภูมิภาค วัตถุประสงค์ สาระสำคัญ : เปิดเสรีการค้าบริการ ทั้งในทาง ลึกและกว้างให้มากกว่าในGATS

  15. สถานะปัจจุบัน ในการประชุม AEM ครั้งที่ 36 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2547 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามพิธีสารเพื่อเปิดเสรีเพิ่มเติมในความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ซึ่งจะมีผลในการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเข้าสู่ตลาดในธุรกิจบริการ 5 สาขา คือ บริการธุรกิจ (เช่น วิชาชีพ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น) การก่อสร้าง การสื่อสารโทรคมนาคม การท่องเที่ยว และการขนส่งทางทะเล ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการขยายการค้าบริการในอาเซียนให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น

  16. ปี 2539AICO (ASEAN Industrial Cooperation) วัตถุประสงค์ 1. ขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนของอาเซียน 2. เพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของอาเซียน 3. สนับสนุนการแบ่งผลิต 4. ลดต้นทุนการผลิตโดยการลดภาษีนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป และวัตถุดิบ 5. เพิ่มการลงทุนระหว่างอาเซียนและการลงทุนจากนอกอาเซียน 6. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมของอาเซียน

  17. สิทธิประโยชน์ 1. ในปี 2548 สินค้าและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่เกี่ยวข้องเสีย ภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0 ยกเว้นประเทศเวียดนามจะให้ สิทธิดังกล่าวในปี 25492. สินค้านั้นได้รับการยอมรับเสมือนเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ3. สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ทิ่มิใช่ภาษีได้ตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขของประเทศที่ให้สิทธิประโยชน์4. ไม่ถูกจำกัดด้วยระบบโควตาหรือมาตรการกีดกันทางการค้า ที่มิใช่ภาษี

  18. สถานะปัจจุบัน • ในส่วนของไทย ปัจจุบันมีคำขอเข้าร่วมโครงการและได้รับอนุมัติ 62 โครงการ แยกเป็นคำขอโครงการในอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนี้ • อุตสาหกรรมยานยนต์ 60 คำขอ • อุตสาหกรรมอาหาร 1 คำขอ • อุตสาหกรรมเกษตร 1 คำขอ • ผลการดำเนินงานภายใต้โครงการ AICO ของบริษัทต่างๆ ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2547 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้นประมาณ 138 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่านำเข้าทั้งสิ้นประมาณ 81 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยเกินดุลการค้าประมาณ 57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  19. ปี 2540 ASEAN Vision 2020 • กำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) โดยมี เป้าหมายในด้านเศรษฐกิจ คือ สร้างอาเซียนให้เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีความสามารถในการแข่งขันสูง มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการและการลงทุน รวมทั้งเงินทุนอย่างเสรี

  20. ปี 2541 จัดทำแผนปฏิบัติการฮานอย • ประเทศสมาชิกได้เห็นชอบให้จัดทำแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action: HPA) ระยะเวลา 6 ปี (2543-2547) เพื่อเป็นแผนปฏิบัติการให้บรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาด้านสังคม และการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค

  21. ปี 2543IAI(Initiative for ASEAN Integration) • ประกาศความริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกใหม่ของอาเซียน (CLMV) ในการปรับตัวรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนได้ตามกำหนดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งส่งเสริมความร่วมมือใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การขนส่งและพลังงาน) การพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค

  22. นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศยังให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences: AISP)แก่ประเทศสมาชิกใหม่ (CLMV) ซึ่งประเทศสมาชิกใหม่จะได้รับการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวเป็นรายปี อัตราภาษีอยู่ในระหว่าง ร้อยละ 0-5 โดยระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 2545 (ค.ศ. 2002) ถึง 31 ธันวาคม 2552 (ค.ศ. 2009) • สำหรับจำนวนรายการสินค้าที่ไทยให้ AISP กับประเทศ CLMV ในปี 2547 มี ดังนี้ กัมพูชา 309 รายการ ลาว 187 รายการ พม่า 460 รายการ และเวียดนาม 34 รายการ โดยในปี 2548 ประเทศลาวขอเพิ่มรายการสินค้าใน AISP อีก 88 รายการ พม่า 341 รายการ และเวียดนาม 5 รายการ

  23. ปี 2544RIA(Roadmap for Integration of ASEAN) • จัดทำแผนงานการรวมกลุ่มของอาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN: RIA) ประกอบด้วยแนวทาง ขั้นตอน และกรอบเวลา ในการดำเนินการให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์อาเซียน รวมทั้งให้ศึกษาเรื่องความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน (ASEAN Competiveness Study) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและเร่งรัดการรวมกลุ่มของอาเซียน

  24. แนวคิดของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแนวคิดของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • แนวคิดของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit)ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา • ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานที่แน่ชัดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งอาจเป็นไปในทำนองเดียวกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในระยะเริ่มต้น

  25. เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ • อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี 2563 (ค.ศ.2020) โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (single market and single production base) และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี (free flows of goods, services, investment, and skilled labors, and freer flow of capital)

  26. แนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Towards ASEAN Economic Community

  27. 1. การเร่งรัดการดำเนินงานรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน • ด้านสินค้า- มุ่งลดภาษีสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกให้เป็น 0 ภายในปีค.ศ. 2010 สำหรับสมาชิกเดิม และปีค.ศ. 2015 สำหรับสมาชิกใหม่ • ด้านบริการ- ยกเลิกข้อจำกัดในการประกอบการด้านการค้าบริการในอาเซียน ภายในปีค.ศ. 2020 • ด้านการลงทุน- เปิดให้มีการลงทุนเสรีในอาเซียนและให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติต่อนักลงทุนอาเซียน ภายในปีค.ศ. 2010 • ด้านแรงงาน- ให้แรงงานฝีมือ (skilled labour) สามารถเคลื่อนย้ายภายในอาเซียนได้อย่างเสรี • ด้านเงินทุน- มุ่งให้มีการไหลเวียนของเงินทุนเสรีมากขึ้น

  28. 2. แนวทางใหม่เพื่อเร่งรัดการเปิดเสรีการค้าสินค้าและบริการ (New Initiatives) • มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในกระบวนการผลิตสินค้าด้วยการซื้อ(outsourcing)วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศสมาชิกของอาเซียน รวมทั้งให้มีการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนภายในประเทศอาเซียนหลายประเทศมาประกอบกันเพื่อผลิตสินค้าของอาเซียน • กำหนดสาขาสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขาที่จะดำเนินการโดยเร่งด่วน (priority sectors) ซึ่งเป็นสาขาที่มีศักยภาพในการแข่งขันของอาเซียน เพื่อเป็นการนำร่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการเปิดเสรีและขยายความร่วมมือระหว่างกัน

  29. สาขาสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา • ประเทศสมาชิกที่ทำหน้าที่รับผิดชอบประสานการดำเนินงานในแต่ละสาขา มี ดังนี้ • พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร (Agro-based products) สาขาประมง (Fisheries) • มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง (Rubber-based products) สาขาสิ่งทอ (Textiles and Apparels) • อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ (Automotives) สาขาผลิตภัณฑ์ไม้ (Wood-based products)

  30. ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) สาขาสุขภาพ (Healthcare) ไทย สาขาการท่องเที่ยว (Tourism) สาขาการบิน (Air Travel) ไทยได้รับเป็นประเทศผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยวและ การบิน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลาง การท่องเที่ยวและการบินในภูมิภาคนี้

  31. 3. การปรับปรุงสถาบัน/กลไกการดำเนินงานของอาเซียน • จัดตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน • จัดตั้งหน่วยงานดูแลแก้ไขปัญหาของเอกชน (ASEAN Consultation to Solve Trade and Investment Issues: ACT) ในแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่งในส่วนของไทย ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง • จัดตั้งหน่วยงานติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของสมาชิกอาเซียน (ASEAN Compliance Body: ACB) เพื่อให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีอยู่อย่างจริงจัง • ปรับปรุงกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพ

  32. กลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน • อาเซียนให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน (ASEAN Dispute Settlement Mechanism) ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานตามพันธกรณีต่างๆ ของอาเซียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความน่าเชื่อถือของอาเซียนในประชาคมโลกมากยิ่งขึ้น • ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป. ลาว รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนฉบับใหม่ โดยพิธีสารนี้จะมีผลบังคับใช้ทันทีภายหลังจากการลงนาม

  33. สาระสำคัญของพิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียนสาระสำคัญของพิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน • สมาชิกที่เป็นฝ่ายแพ้คดีจะต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของคณะผู้พิจารณา(Panel)และองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) ทันที หรือ ภายใน 60 วันหรือภายในระยะเวลาที่ยาวนานกว่านั้นตามที่คู่พิพาทได้ ตกลงกันหากไม่สามารถทำได้จะต้องเจรจากับสมาชิกที่ชนะคดีเพื่อให้ การชดเชยที่เหมาะสม • กำหนดให้ตั้งกองทุนกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน (ASEAN DSM Fund) เพื่อสำรองเป็นค่าใช้จ่ายของคณะผู้พิจารณาและองค์กรอุทธรณ์ในการพิจารณาคดี โดยให้สมาชิกทุกประเทศร่วมกันออกเงินเพื่อจัดตั้งกองทุนในจำนวนที่เท่ากัน และกำหนดให้คู่พิพาทและฝ่ายที่สามต้องจ่ายเงินคืนเข้ากองทุนตามที่คณะผู้พิจารณา หรือองค์กรอุทธรณ์กำหนดด้วย

  34. การรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขาของอาเซียน 11 Priority Sectors

  35. ผลการเจรจาการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนผลการเจรจาการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน • เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนได้เจรจาเพื่อจัดทำแผนงานการรวมกลุ่มของสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (Roadmap for Integration of 11 Priority Sectors) โดยได้จัดการประชุมสมัยพิเศษ (Special Senior Economic Officials Meeting: Special SEOM)รวม 4 ครั้ง ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม 2547 นอกเหนือจากการประชุมตามวาระปกติที่จัดขึ้นปีละ 4 ครั้ง

  36. กรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน • ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน(ASEAN Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors)และรัฐมนตรีที่รับผิดชอบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารรายสาขา 11 ฉบับ (ASEAN Sectoral Integration Protocol) • กรอบความตกลงฯ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 สิงหาคม 2548 สำหรับมาตรการที่จะต้องเริ่มดำเนินการก่อนที่ความตกลงจะมีผลบังคับใช้ ให้สมาชิกอาเซียนเริ่มดำเนินการตามข้อผูกพันได้ทันที

  37. แผนการดำเนินงานที่สำคัญตามกรอบความตกลงแผนการดำเนินงานที่สำคัญตามกรอบความตกลง 1. การเร่งลดภาษีสินค้าใน 9 สาขาหลัก (ผลิตภัณฑ์เกษตร/ ประมง/ ผลิตภัณฑ์ไม้/ ผลิตภัณฑ์ยาง/ สิ่งทอ/ ยานยนต์/ อิเล็กทรอนิกส์/ เทคโนโลยีสารสนเทศ/ สาขาสุขภาพ) ซึ่งครอบคลุมสินค้าจำนวน 4,273 รายการ ให้เร็วขึ้นจากกรอบอาฟต้าเดิม 3 ปี ดังนี้ • สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ เร่งลดภาษีจากเดิมปีค.ศ. 2010 เป็นปีค.ศ. 2007สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ เร่งลดภาษีจากเดิมปีค.ศ. 2010 เป็นปีค.ศ. 2007 • สมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ(CLMV)เร่งลดภาษีจากเดิมปีค.ศ. 2015 เป็นปีค.ศ. 2012

  38. 2. การขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี โดยการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ WTO ในเรื่องอุปสรรคทางเทคนิค มาตรฐานสุขอนามัย และการขออนุญาตนำเข้า รวมทั้งพัฒนาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าวสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำไปสู่การลด/เลิกมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้า 3. การปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าให้มีความโปร่งใส มีมาตรฐานที่เป็นสากล และอำนวยความสะดวกให้แก่เอกชนมากขึ้น อาทิ การจัดทำกฎการได้แหล่งกำเนิดสินค้าโดยวิธีการแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation) และกฎการได้แหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียนแบบสะสมบางส่วน (Partial Cumulation Rule of Origin) มาใช้เป็นทางเลือกสำหรับการคำนวณแหล่งกำเนิดสินค้า

  39. 4. การค้าบริการ ตั้งเป้าหมายการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการอย่างชัดเจน เพื่อให้การค้าบริการของอาเซียนเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น และพัฒนาระบบการยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบวิชาชีพในสาขาบริการ รวมทั้งส่งเสริมการร่วมลงทุนของอาเซียนไปยังประเทศที่สาม 5. การลงทุน เร่งเปิดเสรีสาขาการลงทุนภายใต้กรอบความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (Framework Agreement on the ASEAN Investment Area: AIA) โดยการลด/ยกเลิกข้อจำกัดด้านการลงทุนต่างๆ ส่งเสริมการร่วมลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายด้านการลงทุนของอาเซียนที่มีประสิทธิภาพ

  40. 6. การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการด้านศุลกากร ให้นำระบบการจำแนกพิกัดศุลกากรแบบ AHTN(ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature) มาใช้กับประเทศสมาชิกภายนอกกลุ่มอาเซียน (extra-ASEAN trade) และพัฒนาระบบพิธีการศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการค้าให้มากยิ่งขึ้น (Single window) รวมทั้งพัฒนาเอกสารด้านการค้าและศุลกากรให้มีความเรียบง่ายและสอดคล้องกัน 7. การพัฒนามาตรฐานและความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ พัฒนาการยอมรับมาตรฐานซึ่งกันและกัน (MRA) ในด้านคุณภาพสินค้า การตรวจสอบ การออกใบรับรอง และปรับปรุงกฎเกณฑ์/กฎระเบียบ/ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์สาขาต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น

  41. 8. การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ แรงงานมีฝีมือ และผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่นักธุรกิจ อาทิ การจัดทำ ASEAN Business Card และการเร่งพัฒนามาตรฐานเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้ามาประกอบวิชาชีพของผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ แรงงานมีฝีมือ และผู้มีความสามารถพิเศษภายในอาเซียน 9. การพัฒนาระบบข้อมูล/สถิติการค้าและการลงทุนภายในอาเซียน เพื่อติดตามการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค และพัฒนาข้อมูลของอุตสาหกรรม (industry profiles)ในสาขาต่างๆ ให้สมบูรณ์และครบถ้วน

  42. 10. การส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (Industrial Complementation) เพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญในด้านกระบวนการผลิต การวิจัยและพัฒนา และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการทดสอบ ส่งเสริมการผลิตและการใช้วัตถุดิบ/ชิ้นส่วนต่างๆ ภายในอาเซียน 11. การพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลากรในสาขาต่างๆ โดยการฝึกอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านต่างๆ

  43. 12. การส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา ขยายขอบเขตความร่วมมือด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียนให้ครอบคลุมเรื่องลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตร การแลกเปลี่ยนข้อมูล และการบังคับใช้กฎหมาย 13. การอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางภายในอาเซียน โดยการปรับประสานกระบวนการ/พิธีการในการออก visa ให้กับนักเดินทางต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในอาเซียนและการยกเว้น visa ให้กับผู้เดินทางสัญชาติอาเซียนที่เดินทางภายในอาเซียน

  44. การค้าของไทยกับอาเซียนการค้าของไทยกับอาเซียน Thailand’s trade with ASEAN

  45. มูลค่าการค้าของไทยกับอาเซียนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2544-2546) มีมูลค่าเฉลี่ยกว่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าโดยเฉลี่ยปีละกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ • ในปี 2547 ระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ไทยมีมูลค่าการค้ากับอาเซียนรวม 30,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคิดเป็นยอดการส่งออก 19,403.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยอดการนำเข้า 14,559.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  46. ตลาดส่งออกสำคัญของไทยในอาเซียนตลาดส่งออกสำคัญของไทยในอาเซียน หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  47. สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูง 10 อันดับแรกในปี 2547 • คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ • ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ • น้ำมันสำเร็จรูป • แผงวงจรไฟฟ้า • เคมีภัณฑ์ • ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า • เม็ดพลาสติก • เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ • ยางพารา • เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล

  48. เมื่อพิจารณาสัดส่วนการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2546 ไปยังอาเซียน ซึ่งมีมูลค่า 13,570 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจำนวนนี้ เป็นสินค้าเร่งลดภาษีทั้ง 9 สาขา มูลค่ากว่า 8,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 52 % ของมูลค่าส่งออกไปอาเซียน และ 10.8 % ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทย สำหรับสินค้าเร่งลดภาษี ทั้ง 9 สาขา ที่ไทยสามารถส่งออกไปอาเซียนได้จากมากไปน้อยตามลำดับ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ยานยนต์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ยาง ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์เกษตร และผลิตภัณฑ์ไม้

  49. แหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียนแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  50. สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าสูง 10 อันดับแรกในปี 2547 • เคมีภัณฑ์ • เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ • แผงวงจรไฟฟ้า • คอมพิวเตอร์อุปกรณ์ และส่วนประกอบ • น้ำมันดิบ • เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม • สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ • ไม้ซุง ไม้แปรรูป และไม้อื่นๆ • หลอดภาพโทรทัศน์ • เครื่องใช้ไฟฟ้า

More Related