940 likes | 2.59k Views
Engineering Graphics II [WEEK10]. การเขียนแบบท่อ. ระบบท่อ. กล่าวนำ. ระบบท่อคือระบบที่ใช้ในการส่งถ่ายของไหลโดยอาศัยความแตกต่างของความดันด้านต้นทางและปลายทางเพื่อใช้ประโยชน์ในเงื่อนไขต่างๆ
E N D
Engineering Graphics II [WEEK10] • การเขียนแบบท่อ
กล่าวนำ • ระบบท่อคือระบบที่ใช้ในการส่งถ่ายของไหลโดยอาศัยความแตกต่างของความดันด้านต้นทางและปลายทางเพื่อใช้ประโยชน์ในเงื่อนไขต่างๆ • ในอุตสาหกรรม เช่น ระบบท่อที่ใช้สำหรับการส่งน้ำนมในกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ ระบบท่อที่ใช้ในการส่งน้ำมันดิบในกระบวนการกลั่นน้ำมัน เป็นต้น
กล่าวนำ • ในเครื่องจักร เช่น ระบบท่อสารทำความเย็นในเครื่องทำความเย็น ระบบท่อที่ใช้ในการส่งเชื้อเพลิงในเครื่องจักรกล เป็นต้น
กล่าวนำ • ในอาคาร เช่น ระบบท่อน้ำประปา ระบบท่อน้ำดับเพลิง ระบบท่อน้ำเสีย ระบบท่อน้ำโสโครก ระบบท่อน้ำฝน ระบบท่ออากาศ ระบบท่อน้ำสำหรับระบบปรับอากาศ ระบบท่อลม ฯลฯ
กล่าวนำ • ระบบท่อในงานทางวิศวกรรมยังมีอีกมากมาย จนไม่สามารถกล่าวถึงได้ทั้งหมด • ดังนั้นในบทนี้จึงขอกล่าวถึงระบบท่อในมุมกว้างๆ สำหรับระบบท่อของเหลวในอาคารซึ่งเรามักพบเห็นในชีวิตประจำวัน โดยอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ 1. ระบบท่อส่งของเหลว ระบบท่อน้ำประปา 2. ระบบท่อระบายของเหลว ระบบท่อน้ำเสีย ระบบท่อน้ำโสโครก (อันนี้อาจไม่เหลวเท่าไหร่)
กล่าวนำ [ระบบท่อส่งของเหลว] • เราจะศึกษาระบบท่อส่งของเหลว ในลักษณะของการส่งน้ำประปาเข้าสู่อาคารเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค • รูปแบบของการส่งของเหลวชนิดต่างๆ ในกระบวนการผลิตและในทางอุตสาหกรรมอาจแตกต่างกันกับระบบน้ำประปาบ้างในลักษณะของกระบวนการผลิต แต่หลักการและแนวทางการเดินท่อโดยทั่วไปจะแทบไม่มีความแตกต่างกันเลย • ดังนั้นระบบน้ำประปาจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับระบบท่อส่งของเหลวต่างๆในทางอุตสาหกรรม
กล่าวนำ [ระบบท่อระบายของเหลว] • ระบบท่อระบายของเหลว มักพบในกระบวนการระบายของเหลวปนเปื้อนในกระบวนการผลิตออกจากพื้นที่ควบคุม • ระบบท่อน้ำเสีย คือระบบที่ระบายน้ำเสียจากการซักล้างออกจากอาคาร • ระบบท่อน้ำโสโครก คือระบบที่ระบายสิ่งปฏิกูลจากอาคารเช่น อุจจาระ ปัสสาวะ • ระบบท่อน้ำเสียและระบบท่อน้ำโสโครกจะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษาสำหรับระบบท่อระบายของเหลวต่างๆ ในอุตสาหกรรม
การจ่ายน้ำประปา • วิธีการจ่ายน้ำประปาจากโรงผลิตน้ำประปามายังชุมชนสามารถแบ่งได้เป็น 3 วิธีดังนี้ 1. วิธีอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก 2. วิธีสูบจ่ายน้ำโดยตรง 3. วิธีอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกร่วมกับการสูบจ่ายน้ำ
การจ่ายน้ำประปา [วิธีอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก] ทำได้โดยใช้เครื่องสูบน้ำสูบน้ำเก็บไว้บนหอสูงแล้วทำการจ่ายน้ำประปาเข้าสู่อาคารต่างๆ
การจ่ายน้ำประปา [วิธีสูบจ่ายน้ำโดยตรง] อาศัยเพียงเครื่องสูบน้ำสูบจ่ายน้ำไปยังอาคารต่างๆ
การจ่ายน้ำประปา [วิธีอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกร่วมกับการสูบ] อาศัยทั้งสองหลักการข้างต้น สามารถเลือกในการจ่ายน้ำจากหลักการใดหลักการหนึ่งได้ หรืออาจใช้ทั้งสองหลักการพร้อมกันในกรณีที่มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณที่มากเช่นเกิดเพลิงไหม้
การจ่ายน้ำประปา [วิธีอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกร่วมกับการสูบ]
การจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคารการจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคาร • การจ่ายน้ำประปาเข้าสู่อาคารแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ • ระบบจ่ายน้ำประปาขึ้น (Upfeed Distribution System) • ระบบจ่ายน้ำประปาลง (Downfeed Distribution System
การจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคาร [ระบบจ่ายน้ำประปาขึ้น] ต้องอาศัยความดันในท่อประธานเพียงพอที่จะจ่ายน้ำประปาเข้าสู่สุขภัณฑ์ ในกรณีที่ความดันในท่อปลายทางมีไม่มากอาจต้องใช้เครื่องสูบและถังอัดความดันติดตั้งไว้ตอนล่างเพื่อช่วยเพิ่มความดันให้กับน้ำ มักพบในอาคารสูงไม่เกิน 10 ชั้น
การจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคาร [ระบบจ่ายน้ำประปาขึ้น] ภาพการเดินท่อน้ำประปาในแนวดิ่ง (Riser)
การจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคาร [ระบบจ่ายน้ำประปาลง] ต้องอาศัยเครื่องสูบน้ำสูบน้ำไปเก็บไว้ที่ถังเก็บน้ำบนหลังคา และน้ำประปาจะจ่ายน้ำลงไปสู่สุขภัณฑ์ทั่วอาคาร กรณีอาคารสูงมากๆ อาจต้องใช้ถังอัดความดันและเครื่องสูบน้ำช่วยเพิ่มความดันให้น้ำที่อยู่ในชั้นสูงๆ เนื่องจากความดันน้ำน้อยเกินควร และต้องอาศัยวาล์วลดความดันทำการลดความดันสำหรับชั้นที่อยู่ต่ำๆ เนื่องจากความดันน้ำมีมากเกินควร
การจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคาร [ระบบจ่ายน้ำประปาลง] ภาพการเดินท่อน้ำประปาในแนวดิ่ง (Riser)
ท่อประปาภายในอาคาร • การแสดงท่อประปาภายในอาคารในสากลมักนิยมแสดงด้วย 2 มุมมองคือ • มุมมองด้านบน เรียกว่า ภาพแปลน(Floor Plan) เพื่อแสดงตำแหน่งการวางสุขภัณฑ์ “ช่องท่อ” และแนวการเดินท่อจากช่องท่อสู่สุขภัณฑ์ในแต่ละจุด • ภาพฉายไอโซเมตริก เพื่อสามารถเห็นภาพการเดินท่อได้ชัดเจนขึ้น ตลอดจนแสดงอุปกรณ์ข้องอ ข้อต่อ และ วาล์ว ต่างๆ
ท่อประปาภายในอาคาร ช่องท่อ คือช่องที่มีไว้เพื่อการเดินท่อในแนวดิ่ง ดังนั้นภาพจากมุมมองด้านบน(ภาพแปลน) ภาพฉายไอโซเมตริก และภาพการเดินท่อในแนวดิ่งจะต้องมีพิกัดตำแหน่งสอดคล้องกัน
สรุประบบท่อน้ำประปา • งานเขียนแบบหลักของระบบท่อน้ำประปาในอาคารประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1. ภาพการเดินท่อประปาในแนวดิ่ง ซึ่งหมายถึงภาพการเดินท่อน้ำประปาจากมุมมองด้านข้างหรือมุมมองด้านหน้าของอาคาร 2. ภาพแปลนและภาพไอโซเมตริกส์ ภาพแปลนและภาพไอโซเมตริกส์จะแสดงการเดินท่อจากช่องท่อเข้าสู่สุขภัณฑ์
ระบบท่อน้ำเสียและท่อโสโครก ท่ออากาศ
ระบบท่ออากาศ • วัตถุประสงค์ ระบายแก็สเหม็นจากระบบท่อน้ำเสียและน้ำโสโครกออกจากอาคาร และลดความดันแปรเปลี่ยนในท่อน้ำเสียและท่อโสโครกให้น้อยที่สุดเพื่อให้การระบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ • ดังนั้นระบบท่ออากาศจึงมีความสำคัญต่อการระบายของเสียรูปแบบต่างๆ ออกจากอาคารและจะต้องพบเสมอในแบบระบบท่อน้ำเสียและท่อโสโครก
ระบบท่อน้ำเสียและท่อโสโครกระบบท่อน้ำเสียและท่อโสโครก • ระบบท่อน้ำเสีย ท่อโสโครก และท่ออากาศ โดยทั่วไปมักแสดงอยู่ในภาพเดียวกัน • เพื่อให้การไหลของของเสียเป็นไปได้โดยสะดวกจะ “ต้อง” ใช้ข้องอ 45 องศาแทนข้องอ 90 องศา • เรามักจะพบช่องล้างท่อที่พื้น (Floor Cleanout ;FCO; ) ที่ปลายสุดของท่อโสโครกและท่อน้ำเสียเสมอเพื่อใช้ในการแก้ไขในกรณีอุดตัน
ภาพแปลนและภาพไอโซเมตริกภาพแปลนและภาพไอโซเมตริก
ภาพแสดงการเดินท่อในแนวดิ่งภาพแสดงการเดินท่อในแนวดิ่ง
คำย่อและสัญลักษณ์ ต่างๆ ที่ควรรู้ • Tubing is commonly referred to according to its Outside Diameter (O.D.) • Pipe is commonly referred to according to its Inside Diameter (I.D.) • ชั้นคุณภาพ หรือ Class เช่น ท่อ PVC 5
คำย่อและสัญลักษณ์ ต่างๆ ที่ควรรู้ • NPS : Nominal Pipe Size (Inch) • DN : Diameter Nominal(mm) • Schedule : ตารางมาตรฐานขนาดและคุณสมบัติของท่อ เช่น Schedule 40 PVC
คำย่อและสัญลักษณ์ ต่างๆ ที่ควรรู้