700 likes | 829 Views
Wealth Journal ธันวาคม 2554. การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่างๆ 11 เดือนแรก ปี 2554. Chart : Relative return since Jan to Nov 2011. Quarterly Return.
E N D
การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่างๆ 11 เดือนแรก ปี 2554 Chart : Relative return since Jan to Nov 2011 Quarterly Return
ภายหลังจากภาวะน้ำท่วมคลี่คลาย และ6 ธนาคารกลางใหญ่ร่วมกันอัดฉีดสภาพคล่องในตลาดเงินทั่วโลกตลาดทุนไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตามในระยะต่อไป ปัจจัยลบเช่นการครบกำหนดของหนี้ของรัฐบาลในกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาสแรกของปี 2555 และการปรับพอร์ทของนักลงทุนที่ถือครองกองทุน LTF อาจกดดันตลาดได้ในระยะสั้น จึงแนะนำลงทุนเท่าตลาดในเดือนธันวาคม แนะนำทยอยลดน้ำหนักลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ (Slightly Underweight)ไปถือครองกองทุนตลาดเงินเพิ่มเติมแล้วค่อยปรับเพิ่มสถานะลงทุนตราสารหนี้ระยะปานกลางถึงระยะยาวเมื่ออัตราตอบแทนปรับสูงขึ้น แนะนำเพิ่มน้ำหนักการถือครองตราสารหนี้เอกชน (Overweight) เนื่องจากจะยังคงได้อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มมากกว่าการถือครองตราสารหนี้ภาครัฐอยู่ค่อนข้างมาก ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมส่งผลต่อรายได้ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ปรับลดลง ประมาณ 3 เดือน แต่คาดว่าจะทำให้ Dividend Yield ลดลงชั่วคราวและสามารถกลับมามีรายได้ปกติได้ใน 3-6 เดือนข้างหน้าและปัจจุบัน Net yield ของกองทุนอยู่ที่ประมาณ 5.5-6% ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เริ่มกลับมามีความน่าสนใจมากขึ้น แนะนำ Neutral แนวโน้มการลงทุนในเดือนธันวาคม
แนวโน้มการลงทุนในเดือนธันวาคมแนวโน้มการลงทุนในเดือนธันวาคม ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นจะ Rebound ขึ้นมาได้อย่างมีนัยสำคัญจากมาตรการของ Central Bank แต่ปัญหาเศรษฐกิจ และหนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมในระยะยาว แนะนำคงน้ำหนักการลงทุนเท่าตลาด (Neutral) สำหรับ ทั้ง Developed market และ Emerging market แนะนำเน้นการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำต่อไป และเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพสูงขึ้นบางส่วน เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดทุนสูง และ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเครดิต (credit spread) ที่กว้างขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตราสารดังกล่าวยังมีอัตราผลตอบแทนที่ดี โดยปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนผลตอบแทนสูง เนื่องจาก credit spread ของหุ้นกู้ดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงที่จะกว้างขึ้น ราคาน้ำมันได้ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมากที่ระดับ $98-$100 แต่แนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบางและปริมาณการผลิตที่ยังคงสูงทำให้คาดการณ์ราคาน้ำมันปรับลดลงได้แนะนำลดน้ำหนัก Underweight ในเดือนธันวาคม การที่สภาพคล่องในตลาดเงินทั่วโลกมีมากขึ้นหลังจากธนาคารกลางใหญ่ 6 แห่งทั่วโลกประกาศอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบการเงินต้นเดือนธันวาคม ทำให้คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นได้ แนะนำ Overweightในเดือนธันวาคม
แนวโน้มการลงทุนในเดือนธันวาคมแนวโน้มการลงทุนในเดือนธันวาคม ภาวการณ์ลงทุนโดยรวมของหุ้นอสังหาริมทรัพย์ (REITs) คาดว่าจะยังคงถูกกดดันจากความกังวลเรื่องปัญหาหนี้ยุโรป และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะทำให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับสูงขึ้นได้ไม่มากนัก และยังคงมีความผันผวนที่สูงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านในขาลงก็น้อยลงเช่นเดียวกันจากมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐและธนาคารกลาง แนะนำน้ำหนักการลงทุนเท่าตลาด Neutral คาดว่าช่วงสิ้นปีมีแรงซื้อดอลลาร์ สรอ. จากบริษัทแม่ในสหรัฐเพื่อปิดงบการเงินสิ้นปีทำให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มแข็งค่าได้แต่อาจถูกจำกัด ที่ระดับ 78-80 ส่วนค่าเงินยูโรอาจถูกกดดันให้อ่อนค่าได้ที่ระดับ 1.30-1.36 ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโรโดยมีปัจจัยเสี่ยงภาคธนาคารของยุโรปต่อการเพิ่มทุนและการแก้ปัญหาหนี้ของอิตาลีซึ่งอาจต้องได้รับความช่วยเหลือจาก IMF รวมทั้งโอกาสการเข้าสู่สภาวะถดถอยของเศรษฐกิจยุโรปในปี 2012 นอกจากนี้คาดว่าการไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติในตลาดทุนไทยจะชะลอตัว เนื่องจากเป็นช่วงใกล้สิ้นปี และการขยายตัวของการส่งออกที่ลดลงจากผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้คาดการณ์ว่าค่าเงินบาท ต่อ ดอลลาร์ สรอ. มีแนวโน้มอ่อนค่าที่ระดับ 31.00-31.50 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.
กลยุทธการลงทุนตามความเสี่ยงกลยุทธการลงทุนตามความเสี่ยง พอร์ตการลงทุนแบบ Conservative พอร์ตการลงทุนแบบ Moderate พอร์ตการลงทุนแบบ Aggressive Performance 101.82 100.70 97.90 Note : Performance is calculated by using 2011 year to date historical data
กลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้ากลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า พอร์ตการลงทุนแบบ Conservative Conservative Tactical Asset Allocation Dec Nov Conservative Portfolio Performance 101.82 101.18 Note : MFC Wealth ยึดถือ Strategic Asset Allocation (SAA) ซึ่งเป็นเป้าหมายการลงทุนระยะยาว มาเป็น Benchmark ในการลงทุน โดยจะเปรียบเทียบกับ Tactical Asset Allocation (TAA) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการลงทุนตามเป้าหมายระยะสั้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภานการปัจจุบัน
กลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้ากลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า พอร์ตการลงทุนแบบ Moderate Moderate Tactical Asset Allocation Nov Dec Moderate Portfolio Performance 100.70 99.48 Note : MFC Wealth ยึดถือ Strategic Asset Allocation (SAA) ซึ่งเป็นเป้าหมายการลงทุนระยะยาว มาเป็น Benchmark ในการลงทุน โดยจะเปรียบเทียบกับ Tactical Asset Allocation (TAA) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการลงทุนตามเป้าหมายระยะสั้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภานการปัจจุบัน
กลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้ากลยุทธการลงทุนในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้า พอร์ตการลงทุนแบบ Aggressive Aggressive Tactical Asset Allocation Nov Dec Aggressive portfolio performance 99.74 97.90 Note : MFC Wealth ยึดถือ Strategic Asset Allocation (SAA) ซึ่งเป็นเป้าหมายการลงทุนระยะยาว มาเป็น Benchmark ในการลงทุน โดยจะเปรียบเทียบกับ Tactical Asset Allocation (TAA) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการลงทุนตามเป้าหมายระยะสั้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภานการปัจจุบัน
ภาวะตลาดทุนในประเทศเดือนพฤศจิกายนภาวะตลาดทุนในประเทศเดือนพฤศจิกายน • ตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆระหว่าง 950-1,000 จุด จากการที่นักลงทุนรอดูความชัดเจนของการลงทุน ก่อนที่จะปิดบวกเล็กน้อย แม้ว่าจะเผชิญกับแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศ • ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเล็กน้อยท่ามกลางการขายของนักลงทุนต่างชาติ โดยที่ดัชนีตลาดฯ ในเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.11% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 11,458 ล้านบาท • ปัญหาหนี้สินในยุโรปยังคงเป็นประเด็นที่เข้ามากระทบบรรยากาศการลงทุนในเดือนพฤศจิกายนเป็นระยะๆ ปัญหาในกรีซและอิตาลีกดดันให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ / รัฐบาลเฉพาะกิจตามมา อีกทั้งสถานการณ์ในหลายประเทศของยุโรปยังอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงต่อไป ทั้งอิตาลี สเปน ฝรั่งเศส หรือแม้แต่เยอรมัน ที่ประสบปัญหาในการออกพันธบัตรด้วยต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นอย่างมีนัยยะ • ประเด็นปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ กลับมากดดันตลาดอีกครั้ง เมื่อ Super Committee ไม่สามารถหาข้อสรุปแนวทางการลดการขาดดุลงบประมาณจำนวน 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ตามกำหนดในวันที่ 23 พ.ย. • ตัวเลข GDP ของไทย ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพียง 3.5% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.5% ค่อนข้างมาก รวมถึงการส่งออกเดือน ต.ค. ที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 2 ปี เพียง 0.3% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 10% เช่นเดียวกับตัวเลข GDP
ภาวะตลาดทุนไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 • ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2554 SET Index ปรับตัวลดลง 3.62% ในขณะที่ SET50 Index ปรับลง 3.17% • Sector ที่มี performance ที่ดีกว่าตลาดหุ้นโดยรวมในช่วง 11 เดือนแรก ยังคงเป็นกลุ่ม Domestic และ Consumption Play อันได้แก่หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมวดพาณิชย์ หมวดอุตสาหกรรมอาหาร และหมวดสื่อและสิ่งพิมพ์
แนวโน้มตลาดทุนในประเทศเดือนธันวาคมแนวโน้มตลาดทุนในประเทศเดือนธันวาคม ปัจจัยการเมืองในประเทศ • ปัจจัยการเมืองภายในประเทศอาจกลับมามีปัญหาอีกครั้งหากมีความพยายามแก้รัฐธรรมนูญ / พ.ร.บ. กลาโหม ภาวะเศรษฐกิจ • เศรษฐกิจโลกค่อนข้างเปราะบาง โดยเฉพาะเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งน่าที่จะมีการเติบโตที่ชะลอตัวลงในปี 2555 และยังคงมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งกว่า • เศรษฐกิจไทยยังคงมีแนวโน้มเติบโตจากการบริโภคภายในประเทศ รัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐในระบบสาธารณูปโภคเพื่อฟื้นฟูหลังน้ำลด และคาดว่ายังคงดำเนินนโยบายประชานิยมตามที่ได้หาเสียงไว้ต่อไป ซึ่งจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่อุปสงค์จากภายนอกประเทศจะชะลอตัว โดยคาดการณ์ GDP ของไทยเติบโตที่ 1.5-2.0% ในปีนี้ จากผลกระทบของอุทกภัย และ 4.0-4.5% ในปี 2555 • ปัญหาหนี้สาธารณะของกลุ่มประเทศ PIIGS เป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด แม้ว่าปัญหาดังกล่าวจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากความคาดหวังการเข้ามาช่วยเหลือของ EU ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน • ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนของไทยคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตในระดับ 15-18% ในปี 2554 นี้ และเติบโตต่อเนื่องไปอีก 12% ในปีหน้า โดยที่อัตราการเติบโตในปีนี้ ได้ถูกปรับลดลงจาก 20% จากผลของอุทกภัย • อย่างไรก็ตาม ประมาณการของปี 2555 อาจได้รับผลกระทบหากภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มแย่ลงกว่าที่คาด ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในตราสารทุนในประเทศสำหรับช่วงเดือนธันวาคม คือ Neutral
การเคลื่อนไหวตลาดตราสารหนี้ภาครัฐการเคลื่อนไหวตลาดตราสารหนี้ภาครัฐ Thai Government bond Yield Movement เดือนพฤศจิกายน อัตราผลตอบแทนตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้ปรับตัวลดลง ธุรกรรมที่เบาบางของนักลงทุนต่างชาติในสถานการณ์ที่ความกังวลฝั่งยุโรปกลับมาอีกครั้ง ปัญหาน้ำท่วมในไทยที่ขยายวงกว้าง ทำให้ตลาดคาด ธปท. มีโอกาสคงดอกเบี้ย หรือ ลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้ในอนาคต อุปทานพันธบัตรในตลาดแรกที่เริ่มเปิดประมูลหลังจากไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลเลยในเดือนตุลาคม 54 ที่ผ่านมา ผลประมูลออกมาค่อนข้างแย่กว่าตลาดคาดการณ์
การเคลื่อนไหวตลาดตราสารหนี้เอกชนการเคลื่อนไหวตลาดตราสารหนี้เอกชน Thai Corporate bond Spread Movement เดือนพฤศจิกายน ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนและตราสารหนี้ภาครัฐปรับตัวแคบลง การปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาครัฐอย่างรวดเร็วทำให้มีความต้องการลงทุนหุ้นกู้เอกชนมากขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยให้กับพอร์ตลงทุน อุปทานหุ้นกู้เอกชนอายุ 1 -5 ปีในตลาดแรกค่อนข้างมีน้อย โดยส่วนใหญ่บริษัทเอกชนนิยมเสนอขายหุ้นกู้ระยะยาวเกิน 5 ปี ในตลาดแรกมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา
แนวโน้มและกลยุทธ์การลงทุนเดือนธันวาคมแนวโน้มและกลยุทธ์การลงทุนเดือนธันวาคม • นักลงทุนคลายกังวลปัญหาหนี้ยุโรปลงเล็กน้อยภายหลังบรรดาธนาคารกลางให้ความร่วมมือในการอัดฉีดสภาพคล่อง จึงส่งผลให้ Fund Flow ไหลกลับเข้ามาได้บ้าง • ทิศทางเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก สำหรับนักลงทุนภายในประเทศ และอุปทานพันธบัตรระยะยาวในไตรมาส 4 ปี 2554 มีค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ต่ำเกินไป และธุรกรรมของนักลงทุนที่เบาบางช่วงปลายปี อาจเป็นเหตุให้อัตราผลตอบแทนค่อยๆปรับตัวสูงขึ้นในระหว่างเดือนธันวาคม 54 • สำหรับตราสารหนี้เอกชน ด้วย Credit Spread ที่ยังคงกว้างอยู่มาก ทำให้นักลงทุนบางส่วนยังคงมีความต้องการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนเพิ่มมากขึ้นเพื่อผลตอบแทนส่วนเพิ่ม กลยุทธการลงทุนเดือนธันวาคม : แนะนำให้นักลงทุนทยอยลดน้ำหนักลงทุน (Slightly Underweight) ไปถือครองกองทุนตลาดเงินเพิ่มเติมแล้วค่อยปรับเพิ่มสถานะลงทุนตราสารหนี้ระยะปานกลางถึงระยะยาวเมื่ออัตราตอบแทนปรับสูงขึ้น แนะนำเพิ่มน้ำหนักการถือครองตราสารหนี้เอกชน (Overweight) เนื่องจากจะยังคงได้อัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มมากกว่าการถือครองตราสารหนี้ภาครัฐอยู่ค่อนข้างมาก
ภาวะตลาดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เดือนธันวาคมภาวะตลาดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เดือนธันวาคม • ปัจจัยบวก • การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้น จากมาตรการฟื้นฟูความเสียหายหลังน้ำท่วมและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐส่งผลดีโดยตรงต่อธุรกิจค้าปลีก (CPNRF, FUTUREPF, MJLF) • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวน่าจะกลับมาฟื้นตัวและมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในระยะอันใกล้ ส่งผลดีโดยตรงต่อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับโรงแรม สนามบิน เป็นต้น (SPF, DTCPF) • หลังจากดัชนีกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (SETPFUND) ได้ปรับตัวลดลงในเดือนกันยายน-ตุลาคมส่งผลให้ Dividend yield ปรับตัวสูงขึ้น โดย Gross yield ของกองทุน MPROP อยู่ที่ประมาณ 7-8% และ Net yield อยู่ที่ประมาณ 5.5-6% ประกอบกับแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้สิ้นสุดลง ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เริ่มกลับมามีความน่าสนใจมากขึ้น • ปัจจัยลบ • ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมส่งผลต่อรายได้ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่กองทุนลงทุนอยู่ปรับลดลง ประมาณ 3 เดือน แต่คาดว่าจะทำให้ Dividend Yield ลดลงชั่วคราวและสามารถกลับมามีรายได้ปกติได้ใน 3-6 เดือนข้างหน้า • กลยุทธ์การลงทุนในตลาดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จึงขอคงกลยุทธ์การลงทุนเป็น Neutral
ตลาดตราสารทุนต่างประเทศตลาดตราสารทุนต่างประเทศ
ภาวะตลาดตราสารทุนต่างประเทศรายภูมิภาคเดือนพฤศจิกายนภาวะตลาดตราสารทุนต่างประเทศรายภูมิภาคเดือนพฤศจิกายน • ดัชนีตลาดหุ้นต่างประเทศในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวลดลงอีกครั้ง หลังจากมีการ Rebound ขึ้นมาในเดือนตุลาคม โดยดัชนี MSCI AC World Index ปรับตัวลง 2.7% จากเดือนตุลาคม เนื่องจากตลาดผิดหวังจากมาตรการแก้ปัญหาหนี้ในยุโรป ประกอบกับเศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มชะลอตัว • ความกังวลเรื่องหนี้สาธารณะของยุโรปยังเป็นปัจจัยลบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้ตลาดหุ้นยุโรปเป็นหนึ่งในตลาด Underperforms ในช่วงเดือนที่ผ่านมา • ตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ปรับตัวลดลงมากกว่าตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว เนื่องจากตลาดดังกล่าวเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กกว่า ส่งผลให้ราคาปรับตัวลงมากในช่วงที่มีการขายเพื่อลดสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงลง • ราคาสินทรัพย์เสี่ยงยังคงมีความผันผวนสูง เนื่องจากยังไม่มีแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และหนี้สาธารณะที่เป็นรูปธรรม แต่อย่างไรก็ตาม ราคาสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตราสารทุนปรับตัวลดลงไม่มากนักในเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากข่าวร้ายต่างๆ ได้สะท้อนไปในราคาสินทรัพย์มากแล้ว และตลาดคาดว่าภาครัฐฯอาจจะมีมาตรการออกมาช่วยเหลือ รวมถึงนักการเมืองในยุโรป และสหรัฐฯ น่าจะถูกกดดันให้ออกมาตรการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อมาช่วยเหลือเศรษฐกิจ และภาคการเงิน • แต่อย่างไรก็ตาม พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาดในระยะยาวอยู่ เนื่องจากการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องที่ธนาคารกลางต่างๆประกาศออกมาไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาหนี้ในระยะยาว November October ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 21 -
Global Equities – Regional (YTD) ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 22 -
Global Equities – Regional (MTD) ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 23 -
Global Equities - Sector ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 24 -
แนวโน้มภาวะตลาดตราสารทุนต่างประเทศเดือนธันวาคมแนวโน้มภาวะตลาดตราสารทุนต่างประเทศเดือนธันวาคม • Valuation อยู่ในระดับที่ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะ Valuation ของหุ้นใน Develop Market (+) • ภาครัฐ และธนาคารกลางในหลายประเทศออกมาให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่ยุโรป (+) • แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนี้ภาครัฐของยุโรปยังคงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว (-) • แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลง (-) • ความเสี่ยงที่จะมีการปรับตัวเลขการคาดการณ์ของผลกำไรบริษัทจดทะเบียนลงในอนาคตตามแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ (-) • แนะนำคงน้ำหนักการลงทุนเท่าตลาด (Neutral) สำหรับ ทั้ง Developed market และ Emerging market ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นจะ Rebound ขึ้นมาได้อย่างมีนัยสำคัญจากมาตรการของ Central Bank แต่ปัญหาเศรษฐกิจ และหนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมในระยะยาว Forward P/E MSCI World Forward P/E MSCI Emerging ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 25 -
S&P 500 • เศรษฐกิจสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่ต่ำลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นมี Upside ที่จำกัด แต่อย่างไรก็ตาม Momentum ของเศรษฐกิจในปี 2012 น่าจะปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ S&P 500 มี Downside Risk ที่จำกัดเช่นเดียวกัน โดย S&P 500 น่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 1,100 – 1,350 ในปี 2012 S&P 500 Target 2012 @1,320 - 1,370 ($105 EPS and 12.5x – 13x PE Assumption) Source: Bloomberg, Goldman Sachs
S&P 500 PE & Trialing EPS EPS Target 2012 @$105 (10% Earning Growth Assumption) Ave 16x Target 12.5x -13x PE Current $95 Current 12.5x Ave $77 PER EPS
MSCI Developed Market • เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับที่ต่ำลง ส่งผลให้ตลาดหุ้นมี Upside ที่จำกัด แต่อย่างไรก็ตาม Momentum ของเศรษฐกิจในปี 2012 น่าจะปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ MSCI Developed Market (MXWO) มี Downside Risk ที่จำกัดเช่นเดียวกัน โดย MXWO น่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 1,100 – 1,400 ในปี 2012 • ตลาดหุ้นสหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะ Out Perform เนื่องจากการขยายตัวของกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ตลาดหุ้นในญี่ปุ่น และยุโรปน่าจะ Under Perform เนื่องจากปัญหาหนี้ภาครัฐฯยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม และคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับที่ต่ำมาก Target 1,303 (EUR 102.6 and 12.7x PE Assumption)
MSCI Developed Market PE & Trialing EPS PER Ave 17x Target 12.7x Current 12.7x EPS Target EUR 102.6 (10% EPS Growth Assumption Current EUR 93.3 Ave EUR 80.1
ตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศ
สภาวะตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศเดือนพฤศจิกายนสภาวะตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศเดือนพฤศจิกายน • ในเดือนที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศเคลื่อนไหวผันผวนเกือบตลอดเดือน มูลค่าพันธบัตรรัฐบาลแกว่งตัวในแดนบวก จากความกังวลวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปอย่างต่อเนื่อง • เริ่มตั้งแต่ปัญหาการเมืองในกรีซ และอิตาลี ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี เส้นอัตราผลตอบแทนของประเทศกลุ่มยูโรยังคงปรับตัวสูงขึ้น ผลการประมูลพันธบัตรที่มีความต้องการต่ำกว่าคาดการณ์ของกลุ่มประเทศในยูโร รวมถึงเยอรมัน และการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารพาณิชย์ในเยอรมัน • ต่อมาตลาดได้รับข่าวดีในวันที่ 30 พ.ย. ธนาคารกลางใหญ่ 6 ประเทศได้แก่ FED, Bank of Canada, Bank of England, Bank of Japan, European Central Bank และ Swiss National Bank ร่วมกันลดดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างกัน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบธนาคาร ทำให้นักลงทุนหันมาเพิ่มน้ำหนักการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยง มูลค่าดัชนีพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลก หุ้นกู้เอกชน และตราสารหนี้แปลงสภาพจากสินเชื่อที่อยู่อาศัย ปรับลดลง ขณะที่ พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ยังให้ผลตอบแทนเป็นบวก 370.5 351.2 ที่มา MFC, Bloomberg
US & EU Yield Curves เดือนพฤศจิกายน US twisted down and EU yields have twisted up amid series of concerns Euro sovereign debt crises. 10-Yr Yield 2.07% 10-Yr Yield 2.33% Source: Bloomberg
No M&A Cycle in Sight, Good for Credit ภาคเอกชนยังคงมีเงินสดอยู่ในระดับสูง ไม่มีการนำไปใช้ในควบรวมกิจการ จึงน่าจะเป็นผลดีต่อหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพสูง (เครดิตบอนด์) Source: Societe Generale Cross Asset Research
Corporate Bonds IG: The Best Risk/ Reward Profile หุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพสูง (Investment Grade)ให้ผลตอบแทนเทียบกับความเสี่ยงดีกว่า หุ้นสามัญ และ พันธบัตรรัฐบาล
แนวโน้มตลาดตราสารหนี้เดือนธันวาคมแนวโน้มตลาดตราสารหนี้เดือนธันวาคม อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรรัฐบาลน่าจะเคลื่อนไหวแกว่งตัวลงจากความกังวลปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปที่ยังไม่คลี่คลาย ยังคงทำให้นักลงทุนสนใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล จึงควรเน้นการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำต่อไป ขณะที่ควรเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่มีคุณภาพสูงขึ้นบางส่วน เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดทุนสูง และ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเครดิต (credit spread) ที่กว้างขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตราสารดังกล่าวยังมีอัตราผลตอบแทนที่ดี ขณะที่ควรลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกู้เอกชนผลตอบแทนสูง เนื่องจาก credit spread ของหุ้นกู้ดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงที่จะกว้างขึ้น
การลงทุนทางเลือกต่างประเทศการลงทุนทางเลือกต่างประเทศ
ภาวะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เดือนพฤศจิกายนภาวะตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เดือนพฤศจิกายน • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวมปรับบวกตัว4.1% จากช่วงต้นปี 2554 กลุ่ม ทองคำในกลุ่มสินค้าโลหะมีค่าปรับตัวบวกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ โดยปรับตัวบวก 22.8% ในจากช่วงต้นปี 2554 ได้เป็นอันดับสองกลุ่มสินค้าโลหะมีค่าปรับตัวโดยปรับตัวบวกถึง 20.5% • ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวมปรับบวก 1.2% ในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยมีราคาน้ำมันดิบปรับตัวบวกเป็นอันดับหนึ่งโดยปรับตัวขึ้นถึง 7.7% • ในช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายนธนาคารกลางจีนประกาศปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ลง 0.50% มาที่ระดับ 21% เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปี เป็นการบ่งชี้ว่า จีนได้ปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง และเงินเฟ้อเริ่มแผ่วลง ก่อนหน้านี้ธนาคารกลางจีนได้ลดสัดส่วนการกันสำรองของสถาบันการเงินในชนบทกว่า 20 แห่งลง 0.5% • ธนาคารกลางยุโรป ร่วมมือกันบรรเทาภาวะตึงตัวในระบบการเงินโลกและบรรเทาผลกระทบของภาวะดังกล่าวที่มีต่อการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคครัวเรือนและภาคเอกชน โดยธนาคารทั้ง 6 แห่งเห็นพ้องต้องกันว่า จะลดอัตราดอกเบี้ยในการสวอปเงินดอลลาร์ลง 0.5% • เราคาดว่าข่าวดังกล่าวจะส่งผลดีต่อสินทรัพย์สินค้าโภคภัณฑ์ในเดือนนี้ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ตามตลาดหุ้น แนะนำลงทุนเท่าตลาด (Neutral)ในเดือนธันวาคม - 38 - ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011
ราคาน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวบวก 7.7% ในเดือนพฤศจิกายน ราคาน้ำมันปรับตัวบวกเพราะได้แรงหนุนจากปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐ การอ่อนค่าของดอลลาร์และความหวังต่อการแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มแกว่งบวกลบในช่วงสั้นแต่ราคาได้ปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมากที่ระดับ $98-$100 แนะนำน้ำหนัก Underweight ในเดือนธันวาคม - 39 -
Only speculation, Fundamental has priced in • WTI forward yield curve to end 2012 • CFTC Money Manager net long position is 34% above 3 yrs mean - 40 -
Supply is Back • Supply / demand data end-Oct shows supply returning • Supply / demand reading 1x or above seems to be spot crude negative - 41 -
ราคาทองคำ ราคาทองคำปรับตัวบวก 1.2% ในเดือนพฤศจิกายน ธนาคารกลางยุโรป ร่วมมือกันบรรเทาภาวะตึงตัวในระบบการเงินโลกและบรรเทาผลกระทบของภาวะดังกล่าวที่มีต่อการปล่อยสินเชื่อให้แก่ภาคครัวเรือนและภาคเอกชน โดยธนาคารกลางทั้ง 6 แห่งได้แก่FED, Bank of Canada, Bank of England, Bank of Japan, European Central Bank และ Swiss National Bankเห็นพ้องต้องกันว่า จะลดอัตราดอกเบี้ยในการสวอปเงินดอลลาร์ลง 0.50% โดยคาดว่า Money Supply ในตลาดระบบจะมีมากขึ้น กองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุนทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไม่มีการเทขายทองคำออก โดยกองทุนดังกล่าวยังถือครองทองคำ อยู่ถึง 1,241 ตันอยู่เท่าเดิม ปัจจัยพื้นฐานของทองคำในฐานะ Asset Allocation นั้นยังไม่เปลี่ยนไป 1) ความผันผวน และไม่แน่นอนของเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงวิกฤตหนี้สินในยุโรป 2) ภาวะ negative real interest rates (ดอกเบี้ยในสหรัฐฯ และยุโรป จะยังคงอยู่ในระดับใกล้ 0% ไปจนถึงกลางปี 2013) แนะนำน้ำหนัก Overweight ในเดือนธันวาคม - 42 -
Morgan Stanley has revised up Gold Price Source: Morgan Stanley Nov 2011 - 43 -
REITs • โดยรวมDJ Global Selected Real Estate Index ปรับตัวลดลง 4.3% ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา • REITs ซึ่งมีการลงทุนในทวีปยุโรปปรับตัวลดลงมากที่สุดโดยปรับตัวลง 7.9% เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวลงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ ในขณะที่ REITs ซึ่งมีการลงทุนในทวีปเอเชียปรับตัวลดลง 7.8% และ REITs ซึ่งมีการลงทุนในทวีปอเมริกาเหนือปรับตัวลดลง 3.9% • ในช่วงเดือนพฤศจิกายน REITs ปรับตัวลดลงหลังจากมีการ Rebound ขึ้นในเดือนตุลาคม ทิศทางโดยรวมของ REITs ยังคงปรับตัวตามตลาดหุ้นโดยรวมที่ถูกเทขายจากความกังวลเรื่องการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และปัญหาหนี้ของยุโรป ซึ่งนักลงทุนยังคงมีความกังวลว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม • ภาวการณ์ลงทุนโดยรวมของหุ้นอสังหาริมทรัพย์ (REITs) คาดว่าจะยังคงถูกกดดันจากความกังวลเรื่องปัญหาหนี้ยุโรป และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ซึ่งน่าจะทำให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับสูงขึ้นได้ไม่มากนัก และยังคงมีความผันผวนที่สูงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านในขาลงก็น้อยลงเช่นเดียวกันจากมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐและธนาคารกลาง แนะนำน้ำหนักการลงทุนเท่าตลาด Neutral ที่มา: Bloomberg as of November 30, 2011 - 45 -
สภาวะค่าเงินเดือนพฤศจิกายนสภาวะค่าเงินเดือนพฤศจิกายน • ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ตลาดเงินยังคงถูกชี้นำด้วยปัจจัยจากยุโรป และ สหรัฐอเมริกา ดังนี้ 1. วิกฤตหนี้ยุโรปที่ยืดเยื้อ และปัญหาการเมืองภายในของยุโรปของกรีซ และ อิตาลี ซึ่งกระทบต่อการแก้ไขปัญหาการขาดดุลทางการคลัง รวมทั้งการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีที่แตะระดับ 7% ซึ่งเป็นระดับที่สูง และการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารเล็กในเยอรมัน 2. ความล้มเหลวของ Super committee ของรัฐบาลและฝ่ายค้านต่อการเสนอแผนปรับลดงบประมาณเพื่อลดการขาดดุลทางการคลังต่อสภา ซึ่งทำให้เข้าสู่การปรับลดงบประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้รายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาออกมาค่อนข้างดี 3. ในช่วงสิ้นเดือนพฤศจิกายน มีความร่วมมือของ 6 ธนาคารกลางของสหรัฐ (Fed), อังกฤษ,ยุโรป,ญี่ปุ่น,แคนาดา และสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่ยุโรปและธนาคารในยุโรป • ค่าดัชนีชี้วัดค่าเงินดอลลาร์ สรอ. (Dollar Index) เคลื่อนไหวแข็งค่ามาอยู่ที่ระดับ 78.384 ณ วันที่ 30/11/11 จากที่ระดับ 77.261 ณ วันที่ 1/11/11 และสูงสุดที่ระดับ 79.686 ณ วันที่ 25/11/11 เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เทขายสินทรัพย์เสี่ยงและหันเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างสกุลดอลลาร์ สรอ. แต่ในช่วงปลายเดือนปัญหาการเมืองภายในยุโรปคลี่คลายและมาตรการความร่วมมือของธนาคารกลาง 6 ประเทศดังกล่าว ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงเล็กน้อย ดัชนีดอลลาร์ สรอ. (DXY Index) 78.384 ที่มา : Bloomberg
สภาวะค่าเงินกลุ่ม G-10 เดือนพฤศจิกายน • ค่าเงินกลุ่ม G-10 เทียบกับดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่อ่อนค่าค่าเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ยกเว้นค่าเงินเยน • ค่าเงินยูโรอ่อนค่าที่ 2.10% มาอยู่ที่ 1.3448 ณ วันที่ 30/11/11จาก 1.3737ดอลลาร์ สรอ. ต่อยูโร ณ วันที่ 1/11/11 โดยค่าเงินยูโรร่วงลงต่ำสุดที่ระดับ 1.3241 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโรในวันที่25/11/11 เป็นผลจากความกังวลต่อปัญหาหนี้ในประเทศอิตาลี เนื่องจากประเทศอิตาลีเป็นตลาดพันธบัตรที่ใหญ่สุดของยุโรป ในขณะที่ประเทศฝรั่งเศสมีสัดส่วนการถือครองพันธบัตรอิตาลีสูงสุดในกลุ่มยุโรป ทำให้ฝรั่งเศสมีความเสี่ยงต่อการถูกปรับลดอันดับเครดิตลงจาก AAA ณ ปัจจุบัน • ค่าเงินเยนกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 77.57 ณ วันที่ 30/11/11 จาก 78.29 เยน ต่อ ดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 1/11/11 โดยค่าเงินเยนแข็งค่าสูงสุดที่ 76.93 ในวันที่18/11/11 ซึ่งเป็นผลจาก risk off ต่อความกังวลในยุโรปทำให้นักลงทุนเข้าถือครองสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างสกุลเยน • ค่าเงิน ดอลลาร์ ออสเตรเลีย เคลื่อนไหวอ่อนค่า 0.95% มาอยู่ที่ระดับ 1.0253 ณ วันที่30/11/10 จาก1.0351 ณ วันที่ 1/11/11 ซึ่งเคลื่อนไหวตามความผันผวนค่าเงินยูโร โดยซื้อขายต่ำสุดที่ระดับ 0.97 ดอลลาร์ ต่อดอลลาร์ ออสเตรเลีย ณ วันที่ 25/11/11 % การอ่อนค่าของค่าเงิน 01/11/11- 30/11/11 % การแข็งค่าของค่าเงิน ที่มา : Bloomberg
สภาวะค่าเงินสกุลเอเชียและเงินบาทเดือนพฤศจิกายนสภาวะค่าเงินสกุลเอเชียและเงินบาทเดือนพฤศจิกายน โดยภาพรวมค่าเงินเอเชียเคลื่อนไหวอ่อนค่าตามปัจจัยต่างประเทศโดยเฉพาะวิกฤตหนี้ยุโรปและการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างชาติในตลาดทุนซึ่งมีความผันผวนตามข่าวยุโรปและสถานการณ์ risk off ทำให้ตลาดหุนเอเชียปรับฐานลง โดยค่าเงินรูปี อ่อนค่าถึง 5.69% ตามด้วยวอนอ่อนค่า 1.71%, ค่าเงินรูเปี๊ยะและริงกิต ที่อ่อนค่า 1.55% และ 1.50% ตามลำดับ ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าที่ 0.13% ซึ่ง Outperform เมือเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆในเอเชีย จากเดิมค่าเงินบาที่ระดับ 30.92 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 1/11/11 มาอยู่ที่ 30.88บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 30/11/11 ในเดือนนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน จากแตะระดับแข็งค่ามากที่สุด 30.62บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ 3/11/11 และกลับมาอ่อนค่ามากสุดถึง 31.40 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 25/11/11 จากปัจจัยยุโรป และปริมาณซื้อขายในตลาดเงินภายในประเทศที่ค่อนข้างเบาบางจากปัญหาวิกฤตน้ำท่วมในกรุงเทพช่วงต้นเดือน รวมทั้งความผันผวนของเงินทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยและตลาดตราสารหนี้ไทยที่มีแรงเทขายจากต่างชาติในช่วงต้นเดือนถึงกลางเดือน 1/11/11 - 30/11/11 กราฟค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตั้งแต่ 1/12/10 – 30/11/11 % การอ่อนค่าของค่าเงิน % การแข็งค่าของค่าเงิน 30.88 ที่มา : Bloomberg
การเคลื่อนไหวค่าเงินตั้งแต่ต้นปี 2554 ถึง 1 ธ.ค.2554 ค่าเงินกลุ่ม G-10 % การอ่อนค่าของค่าเงิน % การแข็งค่าของค่าเงิน ค่าเงินกลุ่มเอเชีย % การแข็งค่าของค่าเงิน % การอ่อนค่าของค่าเงิน ที่มา : Bloomberg