1.42k likes | 1.67k Views
30 JULY 2013 MERS-CoV Phuket. วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖. Emerging and Re-Emerging Diseases. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ราชบัณฑิต สาขาแพทยศาสตร์ ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่
E N D
30 JULY 2013 MERS-CoV Phuket วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖
Emerging and Re-Emerging Diseases. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ราชบัณฑิต สาขาแพทยศาสตร์ ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ประธานมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่ งานประชุมวิชาการ
คำจำกัดความโรคติดเชื้ออุบัติใหม่EMERGING INFECTIOUS DISEASES (EIDs) โรคติดเชื้อชนิดใหม่ๆ ที่ปรากฏมีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในระยะเวลาประมาณสองสามทศวรรษที่ผ่านมา หรือ โรคติดเชื้อที่มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้ ตัวอย่างเช่น โรคติดเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ไข้หวัดนกสายพันธุ์ใหม่ H7N9 โรคติดเชื้อแบคทีเรีย ในกระแสโลหิตในทารกแรกเกิด Cronobacter sakazakiiฯลฯ และไวรัสติดเชื้อระบบหายใจ Enterovirus 68
คำจำกัดความโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ RE-EMERGING INFECTIOUS DISEASES โรคที่เคยระบาดในอดีต แล้วสงบ แต่กลับมาระบาดใหม่ หรือโรคที่เคยไวต่อปฏิชีวนะแล้วดื้อต่อยาต่างๆ เกิดการระบาดขึ้นโรคที่เคยสงบเพราะประชาชนทั่วไปได้รับวัคซีนป้องกันโรค เวลาผ่านไปนาน “ภูมิคุ้มกันต่ำลง” หรือ “หมดภูมิ”โรคก็กลับมาระบาด
ตัวอย่าง โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ • MERS-CoV • H7N9 Avian Flu • Cronobacter sakazakii Infection • ฯลฯ โรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ วัณโรค....วัณโรคดื้อยาหลายขนาน โรคคอตีบ คางทูม หัด หัดเยอรมัน ไอกรน โรคไข้ออกผื่นปวดข้อ H5N1 Avian Flu ฯลฯ
ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ MERS-CoV
**** *** บริเวณที่โรคอุบัติใหม่
จอร์แดน เหตุอุบัติตั้งแต่ปลายมีนาคม-ต้นเมษายน ๒๕๕๕ • มีการเปิดเผยจริงๆ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ โรคอุบัติจริงๆก่อนหน้านั้น • จนถึงวันที่บรรยาย ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เป็นเวลากว่า ๑ ปีเศษแล้ว • ยังเอาไม่อยู่
วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕ จอร์แดน • รัฐมนตรีสาธารณสุขจอร์แดนแถลงอ้างว่า ได้รับการยืนยันว่ามีผู้ป่วยรวม ๑๑ ราย (บางรายงานว่ามี ๑๓ ราย)ที่เกิดติดโรคประหลาดโรคหนึ่งที่ไอซียู รพ. ซาร์ก้า กรุงอัมมาน • ๔ รายได้รับการรักษา ฟื้นโรคและหาย อีก ๖ รายอนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว • มีพยาบาลในหอผู้ป่วยไอซียูเสียชีวิต ๑ ราย ต่อมามีน้องของพยาบาล (อยู่บ้านเดียวกันหรือไม่ก็ไม่ทราบ ข่าวรายนี้ยังสับสน ไม่ชัดเจน) เสียชีวิตตามมาอีก ๑ คน • ถ้าไม่มีใครตาย ป่านนี้คงปิดปากเงียบ
จากเมษายน ไป กันยายน • รายงานครั้งแรกจากจอร์แดนเมษายน • เดือนกันยายนก็ข้ามไปปรากฏมีรายงานผู้ป่วยที่ซาอุดิ อาระเบีย
๑๕ กันยายน ๒๕๕๕ พบไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ จากผู้ป่วยในประเทศซาอุดิอาระเบีย • ประเทศซาอุดิ อาระเบีย: วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศาสตราจารย์ ดร. อาลี โมฮัมเม็ด ซาคี ศาสตราจารย์จุลชีววิทยา ปฏิบัติงานที่ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาของโรงพยาบาล ดร. ซอล แมน ฟาคีห์ ที่นครเจ็ดดะห์ ประเทศซาอุดิ อาระเบียรายงานในข่าว “อินเทอร์เน็ทโปรเม็ดเมล์” ของสมาคมโรคติดเชื้อนานาชาติ ว่าพบไวรัสที่เพาะแยกได้จากมนุษย์ เป็นไวรัสชนิดใหม่คล้ายไวรัสก่อโรค “ซาร์ส”
๑๕ กันยายน ๒๕๕๕ ซาอุดิ อาระเบีย • ผู้ป่วยรายที่ ๑:ผู้ป่วยชายอายุ ๖๐ ปี ที่ป่วยเป็นโรคปอดบวมและไตวายปัจจุบัน เพาะแยกเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งได้จากเสมหะโดยเพาะเชื้อได้ทั้งบนเซลล์ Vero cells และเซลล์ไตลิง LLC-MK2 cells ไวรัสที่เพาะแยกได้นี้ ได้รับการชันสูตรขั้นสุดท้ายแล้วว่า ไม่ใช่ • ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอ, ไวรัสไข้หวัดใหญ่ บี,ไวรัสพาราอินฟลูเอ็นซา ไวรัสเอ็นเทอโร ไวรัสอะเดโน • แต่ให้ผลบวกในการตรวจทดสอบไวรัสโคโรนารวมๆ (pancoronavirus) โดยวิธีขยายห่วงลูกโซ่ (RT-PCR)
Real Time PCR • คือเห็นว่ามีแถบโปรตีนที่ปรากฎในการทดสอบ น่าจะเป็นโปรตีนที่มีน้ำหนักอณูเข้าได้กับไวรัสโคโรนา จึงได้ส่งตัวอย่างตรวจยืนยันเพิ่มเติม ที่ห้องปฏิบัติการของ ศ. ดร.รอน ฟูชิเอร์ (Prof. Ron Fouchier) ผู้เชี่ยวชาญไวรัสโรค SARS ที่มหาวิทยาลัย อีรัสมุส (Erasmus) ประเทศเนเธอร์แลนด์ • ปรากฎว่าแยกได้ไวรัสอาร์เอ็นเอ และชันสูตรได้ว่า เป็น “ไวรัสโคโรนาชนิดใหม่” ที่เป็นสมาชิกใหม่ของไวรัส จีนัส บีตาโคโรนาไวรัส (genus betacoronavirus)ซึ่งสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไวรัสโคโรนาของค้างคาว
ภาพถ่ายวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๕ที่เมือง Valencia, Spain. Prof.Ron Fouchier, Erasmus Medical Center
วันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ • ผู้ป่วยรายที่ ๒: Health Protection Agency-HPA สหราชอาณาจักรได้ออกแถลงการณ์ว่า • มีการชันสูตรยืนยันการแยกเชื้อ “ไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ - Novel Corona virus- nCoronaV” อีกหนึ่งสายพันธุ์ ที่สัมพันธ์กับโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน (acute respiratory illness) จาก ผู้ป่วยรายหนึ่งจากตะวันออกกลางที่เดินทางเข้าไปในประเทศนั้นเมื่อไม่นานนี้ กำลังได้รับการรักษาอยู่ในหอผู้ป่วย ไอซียู ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในมหานครลอนดอน
การวิเคราะห์ไวรัสที่ได้จากรายที่ ๒ • HPA ได้วิเคราะห์เชื้อไวรัสจากผู้ป่วยชายรายดังกล่าวแล้ว เปรียบเทียบกับไวรัสที่มีการเพาะแยกได้มาก่อนแล้วที่ Erasmus University, the Netherlands จากตัวอย่างตรวจที่เป็นเนื้อเยื่อปอดของผู้ป่วยชาย อายุ ๖๐ ปีที่เสียชีวิตจากโรคกลุ่มอาการระบบหายใจเฉียบพลันรุนแรงและไตวาย ที่ซาอุดิอาระเบีย • ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่จากลอนดอนมีความละม้ายคล้ายคลึงกับไวรัสที่เคยแยกได้ที่ Erasmus นั้นถึง ๙๙.๕% • มีนิวคลีโอไทด์ที่ไม่เหมือนกันอยู่เพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น
วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๕ องค์การอนามัยโลก • องค์การอนามัยโลกประกาศว่าองค์การฯ ได้รับรายงานว่า มี ผู้ป่วยหนึ่งรายที่ป่วยด้วย “กลุ่มโรคอาการระบบหายใจเฉียบพลันและไตวาย” เป็นชาวกาตาร์ เริ่มมีอาการป่วยในกรุงโดฮาร์ ป่วยหลังจากที่เดินทางกลับจากประเทศซาอุดิอาระเบีย” “ผู้ป่วยชายอายุ ๔๙ ปี ชาวกาตาร์ ปกติเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงดีมาก่อน หลังเดินทางกลับจากซาอุดิ อาระเบีย เริ่มป่วยเมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๕ วันที่ ๗ กันยายน มีอาการหนักได้เข้ารับการรักษาในไอซียู ที่ โรงพยาบาลในโดฮาร์ และส่งต่อโดยเครื่องบิน air ambulance ไปรักษาในโรงพยาบาลที่ลอนดอน”
ไวรัสยังแพร่เชื้อติดต่อยากไวรัสยังแพร่เชื้อติดต่อยาก • โรงพยาบาลได้รับผู้ป่วยไว้ในห้องแยกเข้มงวดเด็ดขาด • ๑๐ วันหลังจากได้สัมผัสโรคครั้งสุดท้าย (พ้นระยะฟักโรค) ได้ทำการตรวจผู้สัมผัสโรคทั้งสิ้น ๖๔ รายไม่มีผู้ใดเจ็บป่วยร้ายแรง • มีอยู่ ๑๓ รายที่มีอาการระบบหายใจอ่อนๆ • ผู้สัมผัสโรค ๑๐ คนที่มีอาการอ่อนๆ นั้น ไม่มีรายใดที่เพาะแยกเชื้อไวรัสโคโรนาได้. • แสดงว่ายังไม่มีการแพร่เชื้อได้ง่าย จากผู้ป่วยไปยังผู้สัมผัสใกล้ชิด ต่างจากไวรัสซาร์สโคโรนา ซึ่งแพร่เชื้อง่ายมาก
รายแรกจากซาอุดิ อาระเบีย รายที่ ๒ จากกาตาร์ • ในขณะที่รายงานนี้เพิ่งจะอุบัติขึ้น (ไม่นับรายจอร์แดน) และมีการชันสูตรยืนยันแล้วในผู้ป่วยเพียง ๒ รายนี้เท่านั้น ยังไม่มีการแพร่โรคติดต่อไปยังผู้อื่นและบุคลากรทางแพทย์ที่ปฏิบัติการบริบาลที่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเลย • แถลงการณ์ฉบับของ HPAได้แจ้งเตือนไปยังองค์การอนามัยโลกและประเทศต่างๆในสหภาพยุโรปแล้ว และเท่าที่ได้ติดตามเฝ้าระวังติดตามสอบสวนโรค ก็ยังไม่มีนักทัศนาจรรายใดที่กลับจากตะวันออกกลางป่วยด้วยโรคทำนองนั้นอีกเลย • รายงานข่าวตั้งข้อสงสัยว่าน่าจะติดเชื้อมาจากค้างคาว
ไวรัสโคโรน่าคืออะไร • Human coronaviruses เพาะแยกได้เป็นครั้งแรกจากอาสาสมัครที่ the Medical Research Council Common Cold Unit in Salisbury, ประเทศอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๘ • The family _Coronaviridae_ เป็นไวรัสอาร์เอ็นเอกลุ่มใหญ่ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาวะติดเชื้อของระบบหายใจทั้งของมนุษย์และสัตว์ได้แก่ สุกร แมว สุนัข หนู ไก่ ค้างคาว มีอยู่ ๓ จีนัสด้วยกัน • ที่พื้นผิวของอณุภาคไวรัสมีปุ่มยื่นโดยรอบทำให้แลดูคล้ายมงกุฏฝรั่งจึงหรือพระอาทิตย์ทรงกลด (solar corona) จึงให้ชื่อว่า ไวรัสโคโรนา (Coronaviruses, corona=crown)
คุณสมบัติของCORONAVIRUS เป็นไวรัส อาร์เอ็นเอ ก่อโรคในมนุษย์และสัตว์หลายประเภท รูปพรรณสัณฐานกลม หรือมีหลายรูปขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘๐-๑๔๐ นาโนเมตร มีเปลือกหุ้ม ที่เปลือกหุ้มมีปุ่มยื่นคล้ายกระบองขนาด ๑๐ นาโนเมตรจึงแลดูคล้ายมงกุฏฝรั่ง มีเยื่อเม็มเบรนหุ้ม ๒ ชั้น เป็นแอนติเจนคือ: S, M, HE, SM (S or spike; M or integral membrane protein; HE or hemagglutinin-esterase and SM or small membrane protein)
ไวรัสโคโรน่า • ไวรัสโคโรนาเป็นไวรัสกลุ่มใหญ่ที่ก่อโรคระบบหายใจ • ก่อโรคชนิดที่มีอาการอ่อนๆ (หวัดธรรมดา) • ไปจนถึงโรคที่มีอาการรุนแรงดังที่เคยระบาดอย่างหนักทั่วโลกมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนคือ “โรคซาร์ส - SARS” • ไวรัสที่เพาะแยกได้ใหม่ในคราวนี้มีลักษณะไม่เหมือนกับไวรัสที่เคยเพาะแยกได้มาแล้วในอดีตจากผู้ป่วยโรค SARS เสียเลยทีเดียว ไวรัสไม่เหมือนซาร์ส แต่ก็ก่อโรคได้
ทำไมโลกจึงต้องระวังไวรัสโคโรน่าทำไมโลกจึงต้องระวังไวรัสโคโรน่า • ไวรัสโคโรนา เป็นไวรัสที่ก่อโรคที่มีอาการได้กว้างขวางรวมถึงโรค ซาร์ส ด้วย องค์การฯ จึงติดตามอย่างใกล้ชิด ว่าจะมีแพร่การระบาดและมีผลกระทบต่อภาวะสุขอนามัยของประชากรโลกอย่างไรหรือไม่ • ยังไม่มีการจำกัดการเดินทางเข้าออกประเทศในตะวันออกกลาง • แต่มีประกาศคำแนะนำปฏิบัติตัวของผู้ที่จะเดินทางไปแสวงบุญในประเทศซาอุดิ อาระเบีย
โครงสร้างของไวรัสโคโรน่าของหนูโครงสร้างของไวรัสโคโรน่าของหนู
ไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคในมนุษย์ (human coronavirus) มีอยู่ ๓ จีนัส • Alphacoronavirus มีสมาชิกเป็นไวรัสของค้างคาว ไวรัสของมนุษย์ ไวรัสของสุกร • Betacoronavirus มีสมาชิกเป็นไวรัสของหนู และของค้างคาว • Gammacoronavirus มีสมาชิกเป็นไวรัสของสัตว์ปีกและของหนูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
การเตรียมความพร้อมของ WHO • จัดให้มีข้อกำหนด คำนิยามโรค เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังและการรายงานโรค • แจ้งเตือนประเทศสมาชิก เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการระบาด การสอบสวนโรค ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ โดยไม่ปิดบัง • ประสานงานสร้างเครือข่ายทางห้องปฏิบัติการชันสูตร • เผยแพร่วิธีการชันสูตร • จัดการเรื่องการวิจัยในแง่ประเด็นต่างๆที่ยังมืดมน • ยังไม่ห้ามการเดินทางเข้า-ออกประเทศซาอุดิ อาระเบีย
องค์การอนามัยโลกได้ให้ “คำนิยามโรค” เอาไว้เพื่อเฝ้าระวังและสอบสวนโรคWHO Case Definition for People to Be Investigated for Infection • มีอาการระบบหายใจและมีไข้ (A person with an acute respiratory infection, which may include fever (≥ 38°C, 100.4°F) and cough;) AND และ • สงสัยมีรอยโรคที่เนื้อปอด จากลักษณะทางเวชกรรมหรือภาพรังสีทรวงอก (suspicion of pulmonary parenchymal disease (eg, pneumonia or Acute Respiratory Distress Syndrome [ARDS]) based on clinical or radiological evidence of consolidation;) AND และ • เดินทางเข้าออกไปถิ่นที่มีโรค (travel to or residence in an area where infection with novel coronavirus has recently been reported or where transmission could have occurred;) AND และ • หาสาเหตุของโรคเท่าที่ทดสอบกว้างขวางแล้วไม่พบ (not already explained by any other infection or aetiology, including all clinically indicated tests for community‑acquired pneumonia according to local management guidelines).
การเตรียมความพร้อมของประเทศไทยการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕ กระทรวงสาธารณสุขได้ออแถลงการณ์แจ้งข่าวเพื่อสื่อมวลชน “ปลัด สธ” สั่งเจ้าหน้าที่จับตา “ไวรัสตัวใหม่คล้ายซาร์ส” ในต่างประเทศอย่างใกล้ชิด ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ กำหนดการประชุม ปรึกษาหารือ เรื่อง การพบเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในต่างประเทศ วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ ณ ห้องประชุมธีระรามสูตร อาคาร ๘ ชั้น ๓ กรมควบคุมโรค ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญประธานที่ประชุม(ทวี,จริยา, ธีรวัฒน์, สุจิตรา, ศุภมิตร, พิไลพันธุ์, มาลินี, วรยา, รจนา ผู้แทน WHO, CDC, ผู้แทนด่านกักกันโรค) ได้ร่วมกันพิจารณาในประเด็นต่างๆ คือ
๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ วาระที่ ๓. เรื่องเพื่อพิจารณา ประเด็นมาตรการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ๓.๑ การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ๓.๒ การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ ๓.๓ การดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ๓.๔ การดูแลผู้เดินทาง (ผู้เดินทางจากตะวันออกกลาง และผู้ที่จะไปแสวงบุญ) ๓.๕ การสื่อสารความเสี่ยง ๓.๖ การประสานวิชาการและการ update ข้อความรู้ ข่าวสาร ๓.๗ การอำนวยการยุทธศาสตร์ และสนับสนุน ระดับ ๑ เตรียมพร้อม ระดับ ๒ มีผู้ป่วยในประเทศแต่ยังไม่แพร่ระบาด ระดับ ๓. มีการระบาดหลายพื้นที่ แต่ความสูญเสียในด้านการป่วยเสียชีวิตใกล้เคียงโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ อาจใช้แนวทางไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน ระดับ ๕ มีการระบาดในลงกว้าง พบผู้ป่วยอาการรุนแรงมาก เสียชีวิตมาก
อธิบดีกรมคร.แถลงข่าว ห้องประชุมธีระรามสูตร กรมควบคุมโรค ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕
อันตรายหรือความเสี่ยงของประเทศไทยอันตรายหรือความเสี่ยงของประเทศไทย • อีกไม่กี่วันข้างหน้า ชาวไทยมุสลิมกำลังจะทยอยเดินทางไปแสวงบุญในประเทศซาอดิอาระเบีย จำนวนนับหมื่นคน • ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ ยังไม่มีความชัดเจนอีกหลายประเด็น ถ้าโรคติดต่อแพร่ได้ง่าย ชาวไทยกลุ่มนั้นก็จะเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง และอาจนำโรคกลับมาประเทศไทยได้ • เช่นเดียวกันชาวมุสลิมจากประเทศอื่นๆ ก็จะเสี่ยงทำนองเดียวกัน จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่องค์การอนามัยโลก ยังไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทาง • จะต้องเร่งศึกษาให้เข้าใจให้แก่บุคลากรทางแพทย์ คณะแพทย์ติดตามผู้แสวงบุญ และประชาชน เฝ้าระวังอย่างเข้มงวด และเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ
ชาวมุสลิมกำลังเข้าร่วมพิธีแสวงบุญชาวมุสลิมกำลังเข้าร่วมพิธีแสวงบุญ
So, What Thailand can do? Wait and See! • Keep Alertตระหนักโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรคส่วนกลางและด่านกักกันโรค การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย • Surveillanceเฝ้าติดตาม เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด • Preparednessเตรียมความพร้อม จัดให้มีข้อกำหนดในการเฝ้าระวัง เตรียมห้องปฏิบัติการ เตรียมเรื่องการรักษา เครื่องมือเครื่องใช้ เวชภัณฑ์ จัดเตรียมเรื่องการกักกันผู้ป่วย/ผู้สัมผัสโรค การประชาสัมพันธ์ป้องกันการแตกตื่น • Immediate Response, Case Finding and Investigation including International Collaborationตอบโต้ให้ทันเหตุการณ์ ค้นหาผู้ป่วย สอบสวนโรค ติดตามการแพร่โรค ประสานงานกับเครือข่ายระดับสากลทุกระดับ
สอน แสดง ให้ทำได้ การสวมใส่ การถอด การฆ่าเชื้อทำลายเชื้อ เครื่องป้องกันตัวส่วนบุคคล (PPE) ต้องเตรียมพร้อมไว้ให้เจ้าหน้าที่ให้พอเพียง
วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๒.๑๑ น. • ผู้ป่วยรายที่ ๓ กระทรวงสาธารณสุข ซาอุดิอาระเบียรายงานว่า มีผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลในขณะนี้อีก ๑ รายที่ได้รับการชันสูตรยืนยันว่าป่วยเป็นโรคปอดบวมและได้ชันสูตรแล้วว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ [novel Coronavirus (nCoV)]. ผู้ป่วยรายนี้ไม่มีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับ ๒ รายแรกแต่อย่างใด • ผู้ป่วยรายนี้ ขณะนี้มีอาการดีขึ้น ออกจากห้องไอซียูได้แล้ว ไม่มีผู้ที่ใกล้ชิดรวมทั้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ติดโรค ผู้ป่วยไม่เคยเดินทางออกนอกพื้นที่ ไม่ได้ไปเยี่ยมฟาร์มสัตว์ ยังไม่มีรายละเอียดอื่นๆอีก
วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๒.๑๑ น. • การวิเคราะห์ไวรัสระดับอณูของรายที่ ๓ พบว่า เป็นไวรัสคล้ายกับที่เคยแยกได้จากผู้ป่วย ๒ รายแรก (ซาอุฯ และ ลอนดอน) • คาดว่าคงจะติดจากไวรัสของค้างคาว
ตุลาคม ๒๕๕๕ มีรายงานย้อนหลังเพิ่มเติมอีก • มีผู้ป่วยจากกาตาร์อีก ๑ รายไปรับการรักษาในห้องไอซียูของโรงพยาบาลใน นอร์ธ ไรห์น เวสฟาเลีย เยอรมนี รายนี้รักษาอยู่ ๔ สัปดาห์ รายนี้รอด แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ • สอบสวนว่า ติดโรคจากที่ใดก็ยังไม่ทราบ
๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ • รายงานข่าวจากจอร์แดนว่า คลัสเตอร์ที่จอร์แดนเดือนเมษายน๒๕๕๕ มี ๑๑ คน เป็นบุคลากรทางแพทย์ ๘ คน น่าสงสัยว่ามีการติดต่อแพร่เชื้อจาก-คน-สู่คนด้วย • องค์การอนามัยโลกประกาศผลการชันสูตรยืนยันของผู้ป่วยจากจอร์แดนเมื่อ ๒๔ พฤศจิกายนว่า เป็นการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่แน่นอน • ทั้งหมดมี ๒ คลัสเตอร์คือ ๑.บุคคลในครอบครัวเดียวกันในกรุงริยาดซาอุดิอาระเบีย และ ๒.กรณีผู้ป่วยในห้องไอซียู โรงพยาบาลซาร์กาในกรุงอัมมาน จอร์แดน • ทั้ง ๒ คลัสเตอร์นี้ ไม่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลย
ประเทศไทย • ปลายเดือนตุลาคม ถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ มีผู้ชาวไทยที่กลับจากการเดินทางไปแสวงบุญซาอุดิอาระเบีย ป่วยที่มีอาการของโรคระบบทางเดินหายใจ • ได้รับการตรวจชันสูตรจากสถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดที่ได้รับการชันสูตรยืนยันว่าติดเชื้อ MERS-CoV มีดังนี้
คนไทย กลับจากการแสวงบุญมีอาการป่วย ๕ รายผลการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ให้ผลลบทั้งหมด จังหวัด อายุ/เพศ วันที่เริ่มมีอาการป่วย อาการ ๑. ภูเก็ต หญิง/๗๐ ปี ๕ พย. ๕๕ หวัด ไข้ ไอ หายใจลำบาก ปอดบวม ๒. เชียงใหม่ ชาย/๗๗ ปี ๔ พย. ๕๕ ไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก ๓. ปัตตานี หญิง/๕๑ ปี ๒๕ตค. ๕๕ ไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก ปวดศีรษะ เพลีย ๔. ปัตตานี หญิง/๕๘ ปี ๒ พย. ๕๕ ไข้ ไอ น้ำมูก ปวดศีรษะ ๕. ภูเก็ต หญิง/๕๘ ปี ๒๕ ตค. ๕๕ ไข้ ไอ เพลีย ปวด ศีรษะ
สถานการณ์โลกจนถึงวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ • จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการชันสูตรยืนยันในขณะนี้ คือ ๙ ราย • ประเทศซาอุดิ อาระเบียรายงานผู้ป่วย ๕ ราย • ประเทศกาตาร์รายงานผู้ป่วย ๒ ราย • ประเทศจอร์แดนรายงานผู้ป่วย ๒ ราย • ทั้งรายมีอาการหนัก (อาการทางระบบหายใจ-ปอดบวม และไตวาย) ตายแล้ว ๕ ราย
ในผู้ป่วยรุนแรงที่ตาย มีอยู่รายหนึ่งมีเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) ด้วย และ • มีผู้ป่วยอีก ๑ ราย นอกจากอาการระบบหายใจแล้ว ยังมีภาวะแทรกซ้อนคือ DIC (disseminated intravascular blood coagulation) ด้วย
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ทางการสหราชอาณาจักรรายงานไปยังองค์การอนามัยโลกว่า มีผู้ป่วยได้รับการชันสูตรยืนยันว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่novel coronavirus (NCoV) ผู้ป่วยชายอายุ ๖๐ ปีเป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในยูเค เริ่มมีอาการเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม การตรวจชันสูตรปรากฏว่ามีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุใหม่ Influenza A(H1N1)pdm09 ร่วมกับการติดเชื้อ nCoV แพทย์รับผู้ป่วย แพทย์รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยไอซียูของโรงพยาบาลควีนส์ อะลิซาเบธ นครแมนเชสเตอร์
การสอบสวนเบื้องต้นเปิดเผยว่า ผู้ป่วยมีประวัติเดินทางไปยังปากีสถาน และ ซาอุดิ อาระเบีย มีอาการป่วยหลังเดินทางกลับมาได้ ๑๐ วัน จากรายละเอียดอื่นๆ กำลังดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม
จนถึงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ มีรายงานยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่แล้ว ๑๑ ราย วันที่ ๒๖ มีนาคม มีผู้ป่วย ๑๗ ราย วันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ มีผู้ป่วยรวม ๕๕ ราย มีรายงานการติดเชื้อเป็นคลัสเตอร์ในครอบครัวด้วย
สรุปผู้ป่วย ๑๑ รายที่ป่วยด้วย nCoronaVข้อมูลล่าสุด ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ CLUSTER Apr 12 F/45 Jordan Rep on 30/11/12 Dead Cluster YES/Hospital A Apr 12 M/25 30\11\12 Dead Cluster YES/Hospital A 03 Jun 12 M/60 KSA 20/09/12 Dead 03 09 12 M/49 Qatar-KSA 23/09/12 Alive hospitalized in UK 10/10/12 M/45 KSA 04/11/12 Alive NO cluster 12/10/12 M/45 Qatar 23\11\12 Alive/Hosp Germany no cluster 3-5/11/12 M/31 KSA 23/11/12 Alive YES Family A 28/1/12 M/39 KSA 23/11/12 Dead YES Family A Oct 12 M/ukn KSA 28/11/12 Dead YES Family A 24/1/13 M/60 Pakist/KSA 08/1/13 Alive/HospYES Family B 06/2/13 M/ukn UK 12/02/13 Alive/HospYES Family B Ukn=unknown
วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ๑๗ ราย ๔ คลัสเตอร์