1 / 38

Technology Crime Suppression Division

Technology Crime Suppression Division. กฎหมายคอมพิวเตอร์กับสิทธิมนุษยชน. Royal Thai Police. โดย.. พันตำรวจเอก สมพร แดงดี รองผู้บังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี. ประวัติวิทยากร. ชื่อตัว พ.ต . อ . สมพร แดงดี

tudor
Download Presentation

Technology Crime Suppression Division

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Technology Crime Suppression Division กฎหมายคอมพิวเตอร์กับสิทธิมนุษยชน Royal Thai Police โดย.. พันตำรวจเอก สมพร แดงดี รองผู้บังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

  2. ประวัติวิทยากร ชื่อตัว พ.ต.อ.สมพร แดงดี คุณวุฒิ ปริญญาตรีนิติศาสตร์ (มร.) ปริญญาโทนิติศาสตร์ (จุฬา ฯ ) ตำแหน่งในอดีต • รอง สว.สืบสวนสอบสวน สน.บางพลัด สน.บางขุนเทียน • สารวัตรสอบสวน สน.ปทุมวัน • สารวัตรสอบสวน (หน.งานสอบสวน) สน.บางบอน • สารวัตรงาน 2 กก.1 บก.สศก. • รอง ผู้กำกับการ 2 กองบังคับการสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ • ผู้กำกับการงานพิเศษ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการสอบสวนสอบสวนกลาง • ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ 4 กองบัญชาการสอบสวนสอบสวนกลาง • ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการตำรวจรถไฟ • ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ กองบังคับการปราบปราม • ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการอาชญากรรมทางเทคโนโลยี • ตำแหน่งปัจจุบัน • รองผู้บังคับการปราบปรามการอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

  3. ประวัติวิทยากร (ต่อ) ประวัติการทำงาน • พนักงานสอบสวน คดีการก่อความไม่สงบภายในฯ ( กบฎ 9 ก.ย.2528 ) • พนักงานสอบสวน และเลขานุการอนุกรรมการก่อความไม่สงบฯ (พฤษภาทมิฬ 2535) • พนักงานสอบสวน คดีฆาตกรรม สองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขันธ์ • คณะทำงานศูนย์ติดตามเครื่องเพชรของราชวงศ์ซาอุดิอารเบีย • พนักงานสอบสวน คดีทุจริตยักยอกทรัพย์ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ ฯ ( B.B.C.) • อนุกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนข้อเท็จจริงความผิดของนักการเมือง กรณีทุจริตจัดซื้อยา และเวชภัณฑ์ กท.สาธารณสุข • เป็นพนักงานสอบสวนคดีปั่นหุ้น และ กรณีล้มบนฟูกหลายคดี • เป็นพนักงานสอบสวนคดีลักลอบโอนเงินออกนอกประเทศ (ฟอกเงิน 7,000 ล้าน ) • เป็นอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีตากใบ ฯลฯ ผลงานดีเด่น • เป็นพนักงานสอบสวนดีเด่นของ บช.น และตร. ประจำปี 2535 , 2536 , 2539 • เป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น ของ ตร. ประจำปี 2539 (ได้รับครุฑทองคำจากนรม.) • เป็นข้าราชการตำรวจดีเด่น ปี 2540

  4. ลำดับการนำเสนอ • พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ • ผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล • กลุ่มความผิด/บทกำหนดโทษ • กรณีศึกษา

  5. กองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี www.facebook.com www.youtube.com internet www.sanook.com

  6. กองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ความเกี่ยวพันของข้อเท็จจริง 4Blocks Model ผลลัพธ์ เครื่อง ระบบ คน

  7. กองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ปลายทาง ต้นทาง กลางทาง ISP

  8. รูปแบบของพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

  9. กองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีกองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กฎเกณฑ์ทางธุรกิจ/สังคม (Business Logic) ร่องรอย (Traces) อิเลคทรอนิคส์ (E-Evidence) พฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviour)

  10. ความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 แบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่.- ก. ความผิดต่อการควบคุม กำกับดูแล = ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ( ISP) ข. ความผิดต่อการทุจริต = ผู้ใช้บริการ และ บุคคลทั่วไป ในส่วน ความผิดที่เกิดจากการทุจริตประกอบด้วยฐานความผิด 3 กลุ่ม ดังนี้.- ๑. กลุ่มความผิดที่มุ่งกระทำต่อระบบ หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ ๒. กลุ่มที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหรือปัจจัยในการกระทำความผิด ๓. กลุ่มความผิด การนำเข้า หรือ เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความผิดผ่านคอมพิวเตอร์

  11. กลุ่มความผิด (ต่อ) กลุ่มความผิดที่มุ่งกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ ( แฮกเกอร์ ) - เจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ หรือ เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น มาตรา ๕ – ๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ - ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น มาตรา ๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ - ทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือ กระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ มาตรา ๙ -๑๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  12. กลุ่มความผิด (ต่อ) มาตรา ๑๒ ถ้าเป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาตรา ๑๑

  13. กลุ่มความผิดที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหรือปัจจัยในการกระทำโดยตรงกลุ่มความผิดที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหรือปัจจัยในการกระทำโดยตรง - การส่ง Spam Mail(จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ส่ง (ซึ่งมักจะ ไม่ปรากฏชื่อและที่อยู่) ได้ส่งไปยังผู้รับอย่างต่อเนื่องโดยส่งจำนวนครั้งละมากๆ และมิได้รับความยินยอมจากผู้รับ โดยการส่ง spam mail นั้น อาจมีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ก็ได้) - ฟิชชิง : phishingคือ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อได้ข้อมูลที่สำคัญ เช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลล์ หรือเมสเซนเจอร์ (มาตรา ๑๔)

  14. ๓. กลุ่มความผิด การนำเข้า หรือ เผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฯ มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม หรือ เท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์เท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ข้อสังเกตุ – การนำเข้า หรือ เผยแพร่ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ = ผิดตาม (๑). (๒).(๕)

  15. มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการที่จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด ตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ (ตัวการร่วม) มาตรา ๑๖ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ยอมความได้)

  16. Technology Crime Suppression Division มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน ในกรณีที่มีเหตุอัน ควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด (๑) มีหนังสือสอบถาม หรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ (๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์ หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง (๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ (๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิด (๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่

  17. Technology Crime Suppression Division • (๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด และสั่งให้บุคคลนั้น ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้ • (๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว • (๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง

  18. Technology Crime Suppression Division • มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับ การทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ • มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด - ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ • มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  19. Technology Crime Suppression Division ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปี เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย และเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ผู้ให้บริการที่ไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท (มาตรา ๒๖) ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาล หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง(มาตรา ๒๗)

  20. Technology Crime Suppression Division กรณีศึกษา แม๊กซิม

  21. Technology Crime Suppression Division Royal Thai Police จับกุม ผู้หมิ่นเบื้องสูงผ่านเว็บไซต์ นปช. USA นายธันย์ฐวุฒิ หรือ หนุ่ม ทวีวโรดมกุล ผู้จัดรายการ “ทางออกประเทศไทย” ซึ่งมีข้อความในลักษณะหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์อันเป็นเท็จ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เผยแพร่ในเว็บไซต์ http://www.norporchorusa.comและwww.norporchorusa2.com และถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์เพื่อประชาชน พีเพิลชาแนลล์ ( เมื่อ เม.ย.2553 )

  22. Technology Crime Suppression Division Royal Thai Police จับกุม อากง หรือนายอำพล ตั้งนพกุล คดีหมิ่นเบื้องสูง นายอำพล ตั้งนพกุล ผู้ต้องหา ได้ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือไปยังโทรศัพท์มือถือของ นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข โดยมีเนื้อหาลักษณะหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาต มาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท ( เมื่อ มิ.ย.2553 )

  23. จับกุม ผู้กระทำการหมิ่นเบื้องสูงผ่านระบบ Facebook จับกุม นายสุรภักดิ์ ภูไชยแสน ผู้ต้องหา ในคดีหมิ่นสถาบันฯ เจ้าของ facebook ชื่อ “ เราจะครองแผ่นดิน โดยทำรัฐประหาร” ( ตามคดีอาญาที่ 407/2554 ที่มณียาแมนชั่น ซอยลาดพร้าว 122 เมื่อ 2 กันยายน 2554) 23

  24. Technology Crime Suppression Division Royal Thai Police จับกุม ผู้ลักลอบเล่นการพนันผ่านอินเตอร์เน็ต (บาคาราออนไลน์) • วันที่ 22 ก.ค. 55 เวลา 16.30 น. • จับกุม 1 ราย ผู้ต้องหา 2 นาย บริเวณ ร้าน 3579 หลังวัดหลวง เลขที่ 1450/๘ ถ.ศรีสุมังค์ ต.เมืองใต้ อ.ศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ แจ้งข้อกล่าวหา ลักลอบเล่นการพนัน (บาคาราออนไลน์) พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต นำส่ง พงส.สภ.เมืองศรีสะเกษ ดำเนินการตามกฎหมาย 24

  25. จับกุม ผู้ลักลอบจำหน่ายปืนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต กก.3 บก.ปอท. ร่วมกับ สภ.พุทธมณฑล จับกุมผู้ต้องหาลักลอบจำหน่ายอาวุธปืนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต พบของกลาง อาวุธปืนยาว ขนาด .177 มม. จำนวน 11 กระบอก พร้อมกล้องติดปืนและอุปกรณ์เก็บเสียง รวม 4 ชุด และกระสุนปืน 33 ตลับ รวมประมาณ 40,000 นัด ณ ที่ทำการไปรษณีย์ศาลายา (เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2554) 25

  26. จับกุม ชาวต่างชาติลักลอบเล่นพนันผ่านอินเตอร์เน็ต • วันที่ 28 มิ.ย. 55 • จับกุมผู้ต้องหา ชาวอินโดนีเซีย • จำนวน 9 คน • สถานที่ บ้านเลขที่ 99/305 คอนโดเพรสซิ เด้นท์พาร์ค ห้อง 15 B ซ. สุขุมวิท 24 ถ. สุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ • ฐานความผิด ร่วมกันประกาศโฆษณา, ชักชวนและร่วมจัดให้มีการเล่นการพนัน รับอนุญาตเป็นเจ้ามือรับกิน-รับใช้เล่นการพนัน (ทายผลฟุตบอลออนไลน์, คาสิโนออนไลน์) พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต

  27. จับกุม ยากลูต้าฯ ฉีด และยาผิดกฎหมาย

  28. จับกุมเครือข่ายการพนันออนไลน์รายใหญ่จับกุมเครือข่ายการพนันออนไลน์รายใหญ่

  29. จับกุมผู้ค้าอาวุธปืนบนอินเทอร์เน็ต • กก.3 บก.ปอท. ร่วมกับ สภ.พุทธมณฑล พร้อมด้วยของกลางอาวุธปืนยาว ขนาด .177 มม.จำนวน 10 กระบอก พร้อมกล้องติดปืน และอุปกรณ์เก็บเสียง รวม 4 ชุด และกระสุนปืน 33 ตลับ รวมประมาณ 40,000 นัด ขณะกำลังนำเข้าไปในที่ทำการไปรษณีย์ศาลายา เพื่อนำส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์

  30. จับกุม ยากลูต้าฯ ฉีด และยาผิดกฎหมาย

  31. จับกุม ร้านอินเตอร์เน็ตลามก

  32. รูปแบบการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ตรูปแบบการฉ้อโกงทางอินเทอร์เน็ต • ส่งอีเมล์ของเป็นเพื่อน หรือ แชทกันทางอินเทอร์เน็ต แล้วอ้างว่าชอบพอหรือหลงรัก จะมาแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยา ระหว่างนั้นหลอกลวงให้มีความเชื่อใจ แล้วหลอกลวงให้หญิงไทยโอนเงินให้ บางกรณีจะส่งของเล็กๆน้อยๆมาให้ก่อน หลังจากนั้นอ้างว่าส่งสิ่งของมีค่ามาให้แล้วถูกยึด ถูกกักไว้ที่ด่านศุลกากร หรือตามหน่วยงานต่างๆ แล้วให้หญิงไทยโอนเงินไปไปชำระค่าภาษีอากร หรือ อื่น ๆ • บางกรณีส่งรูปถ่าย นายทหารราชนาวี หรือ ทหารอากาศ แห่งอเมริกา หุ่นสมาร์ท มาให้ดูอ้างว่าเป็นตัวเอง แต่พอจำได้ปรากฎว่าเป็นกลุ่มผิวสี

  33. ดักรับข้อมูล ดักรับข้อมูลระหว่างส่งอีเมล์ และแก้ไขข้อมูลดังกล่าวในสาระสำคัญ เช่น บัญชีรับโอนเงิน แล้วเลียนแบบอีเมล์ของผู้ขายส่งไปยังผู้ซื้อ ผู้ซื้อหลงเชื่อ จึงโอนเงินชำระค่าสินค้าไปยังบัญชีที่คนร้ายแจ้งเปลี่ยนแปลง ก่อนหน้านี้มักจะแจ้งให้โอนไปยังบัญชีที่ต่างประเทศ แต่ระยะหลังพบว่าพัฒนาขึ้น โดยให้โอนมายังบัญชีในประเทศไทย

  34. ปลอม จริง

  35. Technology Crime Suppression Division Royal Thai Police ได้ผู้ต้องหา 2 ราย คือ Mr.Chainaja Ifeanyi Chris Mr.Amadi Onyekachi Nathaniel

  36. จับกุม ผู้จำหน่ายยาไอซ์ผ่านอินเทอร์เน็ต • เนื้อหาค้นเอา แบงค์พอรู้อยู่แล้ว

  37. Technology Crime Suppression Division Royal Thai Police

  38. ด้วยความยินดี ในการประสานงาน พ.ต.อ.สมพร แดงดี รอง ผบก.ปอท.

More Related