1 / 60

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การกำหนดตำแหน่ง (ว17/2552)

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การกำหนดตำแหน่ง (ว17/2552). มาตรา 47.

yana
Download Presentation

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การกำหนดตำแหน่ง (ว17/2552)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การกำหนดตำแหน่ง (ว17/2552)

  2. มาตรา 47 ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญจะมีในส่วนราชการใด จำนวนเท่าใด และเป็นตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ให้เป็นไปตามที่ อ.ก.พ. กระทรวง กำหนด โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อนและประหยัดเป็นหลัก ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ ก.พ. กำหนด และต้องเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 48 2

  3. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง การกำหนดตำแหน่งต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความไม่ซ้ำซ้อน และประหยัดเป็นหลัก การกำหนดตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้นและระดับสูง ประเภทอำนวยการ ระดับสูง ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญและระดับทรงคุณวุฒิ และ ประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ ให้ อ.ก.พ. กระทรวง แต่งตั้งคณะกรรมการ การกำหนดตำแหน่งระดับสูงของกระทรวง การกำหนดตำแหน่งอื่นนอกเหนือจากนี้ อ.ก.พ. กระทรวง อาจแต่งตั้ง คณะทำงานกลั่นกรองก่อนนำเสนอ อ.ก.พ. กระทรวง พิจารณาก็ได้ 3

  4. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง(ต่อ)หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง(ต่อ) กรณีการกำหนดตำแหน่งที่มีผลทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของส่วนราชการ เพิ่มสูงขึ้น ให้ส่วนราชการนำตำแหน่งว่างที่มีเงินมายุบเลิก โดยคำนวณจาก ค่าตอบแทนเฉลี่ยของตำแหน่งที่นำมายุบจะต้องครอบคลุมค่าตอบแทนเฉลี่ย ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการกำหนดตำแหน่งนั้น ๆ หากเป็นตำแหน่งที่มีเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้คำนวณเงินเพิ่ม ดังกล่าวมารวมเป็นค่าใช้จ่ายในค่าตอบแทนเฉลี่ยด้วย เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย ด้านบุคคลไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น 4

  5. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง(ต่อ)หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง(ต่อ) การกำหนดประเภทตำแหน่ง สายงาน ระดับ และจำนวน ตำแหน่งซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่ง ให้ดำเนินการตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. ว่าด้วย การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้รับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2551 5

  6. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่ง (ต่อ) การกำหนดตำแหน่งให้มีผลไม่ก่อนวันที่ อ.ก.พ. กระทรวง มีมติ การกำหนดตำแหน่งตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการใหม่ ให้มีผลไม่ก่อนวันที่ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการมีผลใช้บังคับ 6

  7. มติ อ.ก.พ. กระทรวง 1. แจ้งมติ อ.ก.พ. กระทรวง ให้ส่วนราชการที่ขอกำหนดตำแหน่งทราบ 2. กรณีอนุมัติการกำหนดตำแหน่ง ให้ส่งสำเนามติให้สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลาง ทราบภายใน 7 วันทำการ นับแต่วันที่แจ้งมติให้ส่วนราชการทราบ 3. จัดทำรายงานผลการกำหนดตำแหน่ง เสนอ ก.พ. ปีละ 2 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนและตุลาคม เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ตำแหน่ง 7 เพื่อประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรบุคคล เมื่อ อ.ก.พ. กระทรวง มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้

  8. หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่ง 1. ประเภทบริหาร 2. ประเภทอำนวยการ 3. ประเภทวิชาการ 4. ประเภททั่วไป 8

  9. กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่ง และระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551 • ตำแหน่งประเภทบริหาร • ระดับต้น • ระดับสูง • ตำแหน่งประเภทอำนวยการ • ระดับต้น • ระดับสูง 9

  10. กฎ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดประเภทตำแหน่ง และระดับตำแหน่ง พ.ศ. 2551 (ต่อ) • ตำแหน่งประเภทวิชาการ • ระดับปฏิบัติการ • ระดับชำนาญการ • ระดับชำนาญการพิเศษ • ระดับเชี่ยวชาญ • (5) ระดับทรงคุณวุฒิ • ตำแหน่งประเภททั่วไป • ระดับปฏิบัติงาน • ระดับชำนาญงาน • ระดับอาวุโส • ระดับทักษะพิเศษ 10

  11. หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ปลัดกระทรวง 1 ตำแหน่ง อธิบดี/เลขาธิการ/ผู้อำนวยการ ผู้ว่าราชการจังหวัด เอกอัครราชทูต 11

  12. รองปลัดกระทรวง 1. ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ให้กำหนดตำแหน่งรองปลัดกระทรวงเป็น ผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการตามที่ปลัดกระทรวงมอบหมายได้ จำนวน 1 ตำแหน่ง 2. กรณีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงมิได้จัดให้มีกลุ่มภารกิจ และมีปริมาณ งานมาก อาจกำหนดจำนวนตำแหน่งรองปลัดกระทรวงเพิ่มขึ้นเป็น 2 ตำแหน่ง ตามภารกิจ และปริมาณงานที่เพิ่มสูงขึ้น 12

  13. รองปลัดกระทรวง (ต่อ) 3. กรณีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงมีการจัดกลุ่มภารกิจตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวงว่าด้วยกลุ่มภารกิจ อาจกำหนดจำนวนตำแหน่งรองปลัด กระทรวงเพิ่มขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มภารกิจได้ 4. กรณีส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวงมีภารกิจเพิ่มขึ้น และมีความจำเป็น อย่างยิ่งต้องมีตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมากกว่าที่กำหนดตามข้อ 2 หรือข้อ 3เป็นกรณีพิเศษ ให้ดำเนินการตามมาตรา 21 วรรคเจ็ด และวรรคแปด แห่งพ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 13

  14. หัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมหัวหน้าส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม ให้กำหนดตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดได้ส่วนราชการละ 1 ตำแหน่ง ดังนี้ ส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการ แต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดี หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็น อธิบดี ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนราชการซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดี หรือ ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี ตามกฎหมายที่กำหนด เป็นการเฉพาะ 14

  15. รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมรองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ในสำนักนายกรัฐมนตรีและอยู่ในบังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เช่น รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เป็นต้น ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือ ทบวง และอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมในกระทรวงศึกษาธิการ และขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี ได้แก่ รองเลขาธิการสภาการศึกษา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และรองเลขาธิการ คณะกรรมการการอาชีวศึกษา 15

  16. รองหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรม (ต่อ) การจะกำหนดตำแหน่งให้มีจำนวนเท่าใดให้พิจารณาจาก เหตุผลความจำเป็น ลักษณะงาน ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ คุณภาพและปริมาณงาน ให้ส่งหลักเกณฑ์การกำหนดจำนวนตำแหน่งดังกล่าว ให้ ก.พ. พิจารณา เมื่อ ก.พ. พิจารณาเห็นชอบแล้ว อ.ก.พ. กระทรวง จึงสามารถพิจารณากำหนดตำแหน่ง ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ 16

  17. ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักนายกรัฐมนตรี ให้กำหนดตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายก รัฐมนตรี ซึ่งรับผิดชอบการตรวจราชการครอบคลุมทั่วประเทศ และ กรุงเทพมหานคร ได้จำนวน 13 ตำแหน่ง กระทรวงที่รับผิดชอบการตรวจราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค จำนวนมากในระดับภาค เขต จังหวัด อำเภอ และหรือตำบล และราชการ บริหารส่วนกลางที่ไปตั้งอยู่ในภูมิภาค อาจกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ตรวจราชการ ได้ไม่เกินจำนวน 12 ตำแหน่ง 17

  18. ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ต่อ) กระทรวงที่รับผิดชอบการตรวจราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค จำนวนมากในระดับภาค เขต และจังหวัด และราชการบริหารส่วนกลางที่ไปตั้ง อยู่ในภูมิภาค อาจกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ตรวจราชการได้ไม่เกินจำนวน 6 ตำแหน่ง กระทรวงที่รับผิดชอบการตรวจราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ในระดับจังหวัดบ้าง หรือมีหน่วยรับตรวจซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนกลางที่ ไปตั้งอยู่ในภูมิภาค อาจกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ตรวจราชการได้ไม่เกินจำนวน 3 ตำแหน่ง 18

  19. ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด ตำแหน่งเอกอัครราชทูต สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (ไทเป) สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ ให้กำหนดได้ 1 ตำแหน่ง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ในสำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี ให้คงการกำหนดตำแหน่งจำนวน 6 ตำแหน่ง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ในกลุ่มงาน ยุทธศาสตร์และการวางแผน ในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้คงการกำหนดตำแหน่งภายในกรอบตำแหน่งข้าราชการที่กำหนดไว้เดิม จำนวน 4 ตำแหน่ง 19

  20. หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับต้น รองหัวหน้าส่วนราชการ ที่ไม่มีฐานะเป็นกรม แต่หัวหน้าส่วนราชการ มีฐานะเป็นอธิบดี รองหัวหน้าส่วนราชการ ที่มีฐานะเป็นกรม รองผู้ว่าราชการ จังหวัด 1. ส่วนราชการหรือจังหวัดต้องวางระบบการมอบอำนาจ โดยหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมีการมอบอำนาจการปฏิบัติราชการ กรณีที่เป็นงานประจำ งานที่ไม่มีผลกระทบสูง ให้ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรม หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดปฏิบัติราชการแทน 20

  21. 2. การจะกำหนดตำแหน่งให้มีจำนวนเท่าใดให้พิจารณาจากเหตุผลความจำเป็น ลักษณะงาน ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ ใน 2 มิติ คือ (1) การจัดกลุ่มภารกิจ (2) ปริมาณงานของกลุ่มภารกิจ ให้มีการพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนราชการ อื่น ๆ ที่มีการบริหารงาน บริหารคน และบริหารเงิน ในระดับใกล้เคียงกันด้วย ทั้งนี้ 21

  22. อัครราชทูต รองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูต ส่วนราชการละ 1 ตำแหน่ง รองหัวหน้าคณะทูตถาวรแห่ง ประเทศไทยประจำองค์การ สหประชาชาติ รองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทย ประจำองค์การระหว่างประเทศ 22

  23. ตำแหน่งรองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การตำแหน่งรองหัวหน้าคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การ การค้าโลก ให้กำหนดได้โดยพิจารณาจากปริมาณงาน ตามภาระหน้าที่หลักที่จำเป็นต้องปฏิบัติจริง โดยคำนวณ ตามเกณฑ์มาตรฐานงานต่อปีต่อตำแหน่ง ตำแหน่งกงสุลใหญ่ ในสถานกงสุลใหญ่ ให้กำหนดได้ ส่วนราชการละ 1 ตำแหน่ง 23

  24. หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม 1. ให้กำหนดได้ตามจำนวนส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกองหรือเทียบกองตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่ปรากฏในกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ 2. ผ่านการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่งตามหลักเกณฑ์การประเมิน ค่างานที่ ก.พ. กำหนด 24

  25. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ส่วนราชการละ 1 ตำแหน่ง ในฐานะตัวแทนกระทรวง ปฏิบัติงานครอบคลุมภารกิจหลายด้านของกระทรวงและเป็นหน่วยยุทธศาสตร์ของ กระทรวงในระดับจังหวัด รับผิดชอบการบูรณาการแผนงานและโครงการ รับผิดชอบปฏิบัติภารกิจที่หลากหลาย โดยจำลองภารกิจหลักของ กระทรวง หรือ กรม ตามที่มีกฎหมายกำหนด นโยบายรัฐบาล พันธกิจ และยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ ไปปฏิบัติอย่างเบ็ดเสร็จในพื้นที่ และได้รับการมอบอำนาจการตัดสินใจ ทั้งในด้านการบริหารงาน ทรัพยากรบุคคล และงบประมาณ โดยต้องผ่านการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง ตามหลักเกณฑ์การประเมินค่างานที่ ก.พ. กำหนด 25

  26. หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด (ต่อ) ส่วนราชการละ 1 ตำแหน่ง ในฐานะตัวแทนกรม ปฏิบัติภารกิจที่หลากหลาย โดยจำลองภารกิจหลักส่วนใหญ่ของกรม ไปปฏิบัติเบ็ดเสร็จในพื้นที่ ลักษณะงานมีความยุ่งยากซับซ้อน มีความหลากหลายเป็นพิเศษ มีคุณภาพและ ปริมาณงานสูง และมีขอบเขตการกำกับดูแลงานในพื้นที่ถึงระดับอำเภอ โดยต้องผ่านการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่ง ตามหลักเกณฑ์การประเมินค่างานที่ ก.พ. กำหนด 26

  27. ตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานจังหวัด ให้กำหนดได้จังหวัดละ 1 ตำแหน่ง ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ประจำในต่างประเทศ (สำนักงานในต่างประเทศ) ให้กำหนดได้ส่วนราชการละ 1 ตำแหน่ง ตำแหน่งนายอำเภอ ให้กำหนดได้อำเภอละ 1 ตำแหน่ง โดยต้องผ่านการประเมินคุณภาพงานของตำแหน่งตามหลักเกณฑ์ การประเมินค่างานที่ ก.พ. กำหนด 27

  28. ผู้ตรวจราชการกรม กรมซึ่งมีขอบเขตความรับผิดชอบ และมีหน่วยงานประจำในราชการบริหาร ส่วนภูมิภาคที่ปฏิบัติภารกิจด้านบริการ หรืออนุญาต หรืออนุมัติ ตามกฎหมาย หรือปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ซึ่งมี หน่วยรับตรวจจำนวนมากอาจกำหนดให้มีตำแหน่งผู้ตรวจราชการกรมได้ ไม่เกินจำนวน 12 ตำแหน่ง กรมซึ่งมีขอบเขตความรับผิดชอบ และมีหน่วยงานประจำในราชการบริหาร ส่วนภูมิภาคที่ปฏิบัติภารกิจด้านเทคนิควิชาชีพ วิชาการเฉพาะด้าน หรือบริการประชาชนในพื้นที่ระดับจังหวัด และอำเภอ อาจกำหนดให้มีตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกรมได้ไม่เกินจำนวน 6 ตำแหน่ง 28

  29. ผู้ตรวจราชการกรม (ต่อ) กรมที่มีลักษณะงานพิเศษ หรืองานเฉพาะทาง ซึ่งมีขอบเขตความรับผิดชอบ และมีหน่วยงานประจำในราชการบริหารส่วนภูมิภาค ที่ปฏิบัติภารกิจด้าน เทคนิควิชาชีพ วิชาการเฉพาะด้าน หรือบริการประชาชนในพื้นที่ระดับ จังหวัดบ้าง หรือมีหน่วยงานในราชการบริหารส่วนกลางที่ไปตั้งอยู่ในภูมิภาค ที่ให้บริการประชาชนในพื้นที่ระดับจังหวัด อาจกำหนดให้มีตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกรมได้ไม่เกินจำนวน3 ตำแหน่ง ทั้งนี้ การกำหนดตำแหน่งผู้ตรวจราชการกรม ส่วนราชการนั้นต้องไม่มี ส่วนราชการที่เป็นศูนย์/เขต/ภาค หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่ปฏิบัติงานทางวิชาการ หรือสนับสนุนงานทางวิชาการในพื้นที่ 29

  30. ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด สำนักงานละ 1 ตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี (ฝ่ายข้าราชการประจำ) ให้คงการกำหนดตำแหน่ง ไว้ตามจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ที่มีเหตุผลความจำเป็น ให้ อ.ก.พ. กระทรวง กำหนด หลักเกณฑ์การจัดตั้ง ฯลฯ แล้วส่งให้ ก.พ. พิจารณา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป ในสังกัด สป.สาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลในสังกัด กรมการแพทย์ และกรมสุขภาพจิต ในกรณี 30

  31. ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด (ต่อ) ให้คงการกำหนดตำแหน่ง ไว้ตามจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ที่มีเหตุผลความจำเป็น ต้องจัดตั้งหน่วยงาน ต้องได้รับ ความเห็นชอบจากคณะอนุ- กรรมการโครงสร้างบุคลากรของ ไทยที่ประจำการในต่างประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ด้านต่างประเทศในระดับชาติ ตำแหน่งอัครราชทูต ประจำสถานเอกอัครราชทูต ในสังกัดกรมศุลกากร และ ในสังกัดสำนักงาน เศรษฐกิจการคลัง ในกรณี ตำแหน่งรองผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การยูเนสโก ให้คงการกำหนดตำแหน่งไว้ตามจำนวนที่กำหนดไว้เดิม 31

  32. หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับต้น หัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่า ระดับกรม หัวหน้าส่วนราชการประจำ จังหวัด 1 ตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการที่ประจำ ในต่างประเทศ นายอำเภอ 32

  33. ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนด สำนักงานละ 1 ตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี (ฝ่ายข้าราชการประจำ) • หัวหน้าหน่วยงานอื่น ๆ • กงสุล ในกรมศุลกากร • อัครราชทูตที่ปรึกษา • ในสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, • สป. กระทรวงแรงงาน และ • สป. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้คงการกำหนด จำนวนตำแหน่ง ไว้ตามจำนวน ที่กำหนดไว้เดิม 33

  34. หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งประเภทวิชาการ ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานวิชาการ ให้กำหนดตำแหน่งในลักษณะ กรอบระดับตำแหน่ง เป็นตำแหน่ง ระดับปฏิบัติการหรือชำนาญการ ได้ทุกตำแหน่ง K 2 K 1 34

  35. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ กอง/สำนัก... ผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มงาน (ชำนาญการพิเศษ) กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย ปก/ชก ปก/ชก ปก/ชก ปก/ชก 35

  36. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ(ต่อ) ทรงคุณวุฒิ K5 เชี่ยวชาญ K4 ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ ชำนาญการ พิเศษ K3 ชำนาญการ K2 ปฏิบัติการ K1 นายแพทย์/ทันตแพทย์/ นายสัตวแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 36

  37. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ (ต่อ) กอง/สำนัก... ผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มงาน (ชำนาญการพิเศษ) กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย กลุ่ม/ฝ่าย ปก/ชก ปก/ชก ปก/ชก ชำนาญการพิเศษ 37

  38. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ (ต่อ) ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ ในกลุ่มงานที่ต่ำกว่ากองหรือ เทียบกอง 1 ระดับ อาจกำหนดเป็นตำแหน่ง ระดับชำนาญการพิเศษได้ กลุ่มละไม่เกิน 1 ตำแหน่ง มีลักษณะงานเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ พัฒนา ระบบ รูปแบบ วิธีการ มาตรฐาน หรือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน 38

  39. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ (ต่อ) ภายใต้เงื่อนไข เป็นกลุ่มงานที่เกิดจากการแบ่งงานภายในส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกอง หรือเทียบกอง ออกเป็นกลุ่มงานต่าง ๆ ซึ่งมีผลทำให้เกิดตำแหน่ง ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ การจัดแบ่งงานดังกล่าว ต้องเป็นไปตามมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยเคร่งครัด และการจัดแบ่งงานนั้น อ.ก.พ. กระทรวง ได้เห็นชอบด้วยแล้ว 39

  40. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ ระดับ กระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง * * ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาระบบบริหาร * * ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบภายใน สำนัก/กอง (M1) กลุ่ม/ฝ่าย (K3) กลุ่ม/ฝ่าย (K3) ฝ่าย (O3) 40

  41. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ (ต่อ) ระดับ กระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง * ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาระบบบริหาร * ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบภายใน สำนัก/กอง (M2) * ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล * ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ กลุ่ม/ฝ่าย (K3) กลุ่ม/ฝ่าย (K3) ฝ่าย (O3) 41

  42. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ (ต่อ) ระดับ กรม สังกัดส่วนกลาง สังกัดส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกองหรือเทียบกอง ที่มีหัวหน้าส่วนราชการเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ ระดับสูง สังกัดส่วนราชการที่เป็นราชการบริหารส่วนกลาง ที่ไปตั้งอยู่ในภูมิภาค และมีหัวหน้าส่วนราชการเป็นตำแหน่ง ประเภทอำนวยการ ระดับสูง ที่มีลักษณะเป็นงานวิจัยและพัฒนา ปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ ตามนโยบายรัฐบาล และตามยุทธศาสตร์ของ ส่วนราชการ ซึ่งต้องใช้ผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูง 42

  43. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวง / กรม * ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนัก (M2) สำนัก (M2) กอง (M1) 43

  44. ตำแหน่งอื่นที่ ก.พ. กำหนดเป็น ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ด้านการปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบและยาเสพติด (นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ทรงคุณวุฒิ) ให้คงการกำหนด จำนวนตำแหน่ง ไว้จำนวน 2ตำแหน่ง 44

  45. หลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งประเภททั่วไปหลักเกณฑ์การกำหนดตำแหน่งประเภททั่วไป ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ให้กำหนดตำแหน่งในลักษณะ กรอบระดับตำแหน่ง เป็นตำแหน่ง ระดับปฏิบัติงานหรือชำนาญงาน ได้ทุกตำแหน่ง O 2 O 1 45

  46. ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ทักษะพิเศษ O4 หัวหน้างาน ผู้ปฏิบัติงานที่มีประสบการณ์ อาวุโส O3 **งานบริหารทั่วไป งานภารกิจหลักของกรม งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานเทคนิคเฉพาะด้าน งานใช้ทักษะและความชำนาญงานเฉพาะตัว **นาฏศิลปิน คีตศิลปิน ดุริยางคศิลปิน นายช่างศิลปกรรม ชำนาญงาน O2 ปฏิบัติงาน O1 46

  47. ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ กรม......... สำนัก/กอง (M2) * ทักษะพิเศษ กลุ่ม/ฝ่าย (K3) กลุ่ม/ฝ่าย (K3) ฝ่าย (O3) 47

  48. หลักเกณฑ์การเกลี่ยอัตรากำลัง (การตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือน) ภารกิจและปริมาณงานของส่วนราชการที่ตำแหน่งสังกัดอยู่เดิมลดลง หรือหมดความจำเป็น และส่วนราชการที่จะเกลี่ยอัตรากำลังไปกำหนด มีภารกิจและปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือมีเหตุผล ความจำเป็นโดยได้มีการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของงาน ไม่เป็นการเกลี่ยอัตรากำลังที่กำหนดไว้ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค หรือราชการบริหารส่วนกลางที่ไปตั้งอยู่ในภูมิภาค ไปกำหนดเป็นตำแหน่งและอัตราเงินเดือนในราชการบริหารส่วนกลาง กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง ภารกิจของส่วนราชการที่เป็นสาระสำคัญ และไม่กระทบต่อการบริการประชาชน ในส่วนภูมิภาค เว้นแต่ 48

  49. หลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงานหลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน เป็นสายงานที่ ก.พ. กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนด ตำแหน่งและสอดคล้องกับบทบาทภารกิจของส่วนราชการ หน้าที่และความรับผิดชอบ และลักษณะงานที่ปฏิบัติ ไม่เป็นการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน ที่สงวนไว้เพื่อบรรจุนักเรียนทุนรัฐบาล ไม่เป็นการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน แพทย์และสายงานที่เกี่ยวข้องกับงานบริการทางการแพทย์ ให้ดำเนินการได้เมื่อเป็นตำแหน่งว่าง 49

  50. หลักเกณฑ์การเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน (ต่อ) สำหรับกรณีที่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ให้ดำเนินการได้เมื่อผู้ดำรง ตำแหน่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด กรณีการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในสายงาน ที่มีผลเป็นการ เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของส่วนราชการให้ส่วนราชการนำตำแหน่งว่างที่มีเงินมายุบเลิกโดยคำนวณจากค่าตอบแทนเฉลี่ยของ ตำแหน่งที่นำมายุบ จะต้องครอบคลุมค่าตอบแทนเฉลี่ยที่ เพิ่มสูงขึ้นจากการกำหนดตำแหน่งนั้น ๆ 50

More Related