250 likes | 441 Views
การประเมินผล โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2552. ส่วนประเมินผลพืช ศูนย์ประเมินผล. วันที่ 10 กันยายน 2553. การประเมินผล. ศูนย์ประเมินผล สศก. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ ด้านการติดตามและประเมินผลเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
E N D
การประเมินผลโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2552 ส่วนประเมินผลพืช ศูนย์ประเมินผล วันที่ 10 กันยายน 2553
การประเมินผล ศูนย์ประเมินผล สศก. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ ด้านการติดตามและประเมินผลเพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ กอปรกับความสอดคล้องกับนโยบายสำคัญ จึงทำการประเมินผล เพื่อนำผลสู่การปรับปรุงการดำเนินงานต่อไป • วัตถุประสงค์ของการประเมินผล • เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและผลกระทบเบื้องต้นที่มีต่อเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ • เพื่อให้ข้อเสนอแนะ สำหรับเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินโครงการในระยะต่อไป ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ขอบเขตการประเมินผล 1. พื้นที่เป้าหมายของโครงการ ทำการประเมินผลครอบคลุมพื้นที่จังหวัดต่างๆ ตามเป้าหมายของโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 23 จังหวัด ภาคใต้ 14 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ขอบเขตการประเมินผล 2. ประชากรเป้าหมาย 1) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหลักของโครงการฯ 2) กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ แบ่งเป็น เกษตรกรรายเก่า เกษตรกรรายใหม่ และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน 3. ช่วงเวลาของข้อมูล 1) ด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยนำเข้า และผลได้จากโครงการใช้ข้อมูลในช่วง 2 ปี แรก (ปี 2551 – 2552) 2) การประเมินผลกระทบเบื้องต้น เป็นการประเมินผลจากการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรที่ได้รับการอบรมในปี 2551 ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ผลกระทบ การบริหารจัดการ ผลได้ ปัจจัยนำเข้า วิธีการประเมินผล รูปแบบการประเมินผล M I O I Model ประเภทการประเมินผล การประเมินผลครั้งนี้ เป็นการประเมินผลในระหว่างการดำเนินงานโครงการฯ (On-going Evaluation) ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
กรอบแนวคิดการประเมินผลกรอบแนวคิดการประเมินผล ผลกระทบระยะยาว (I) ผลผลิตปาล์มน้ำมันมีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องความต้องการของโรงงาน ผลกระทบระยะสั้น (E) เกษตรกรผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมี ประสิทธิภาพและมีรายได้เพิ่ม ผลได้ (O) - การผ่านการถ่ายทอดความรู้จากโครงการ ของ เจ้าหน้าที่ เกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร - การนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติ เกษตรกรนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ - การประชาสัมพันธ์โครงการ - รับสมัครเกษตรกรร่วมโครงการ - การถ่ายทอดความรู้แก่เจ้าหน้าที่ - การถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร - การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิต ปาล์มน้ำมัน ผลการประเมินโครงการในภาพรวมตามตัวชี้วัดเปรียบเทียบกับ เป้าหมายและเกณฑ์ที่กำหนด ปัจจัยนำเข้า (I) - งบประมาณโครงการ - เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการ - เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร - พื้นที่จัดทำโครงการ - หลักสูตรในการถ่ายทอดความรู้ ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานโครงการ ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการโครงการ (M) - องค์กรบริหารโครงการ - การดำเนินงานโครงการ - การติดตามกำกับงาน ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
การบริหารจัดการ 1. องค์กรบริหารโครงการ กรมส่งเสริมการเกษตรไม่ได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรในการบริหารโครงการฯ แต่ได้ดำเนินโครงการตามภาระหน้าที่ของหน่วยงาน แบ่งเป็น ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 2. การวางแผนการปฏิบัติงาน มีการวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 3. การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน สามารถจัดกิจกรรมและดำเนินงานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในแผนปฏิบัติงาน ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
การบริหารจัดการ (ต่อ) 4. การติดตามนิเทศงานโครงการ การติดตามนิเทศงานจากส่วนกลางในพื้นที่ดำเนินงาน ร้อยละ 84.85 ไม่มีการติดตามนิเทศงานจากส่วนกลาง ร้อยละ 15.15 มีการติดตามนิเทศงานจากส่วนกลาง มีจำนวนครั้งที่ลงพื้นที่เฉลี่ย 1 ครั้ง การลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้า รวมถึงการร่วมกิจกรรมต่างๆ เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ฯ ได้มีการลงพื้นที่ร้อยละ 78.79 มีจำนวนครั้งที่ลงพื้นที่เฉลี่ย 3.51 ครั้ง 5. การประสานแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ฯ มีเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดร้อยละ 88.89 ของจังหวัดทั้งหมด ได้มีประสานงานกับ ธ.ก.ส. ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
การบริหารจัดการ (ต่อ) 6. การประชาสัมพันธ์โครงการฯ - ผู้ดำเนินการประชาสัมพันธ์หลัก พบว่า ร้อยละ 47.37 คือ เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ ร้อยละ 42.10 คือ เจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัด - สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อให้เข้าถึงเกษตรกรเป้าหมาย พบว่า - ลักษณะที่เป็นบุคคลในชุมชน อันดับแรก ร้อยละ 100.00 คือ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน รองลงมา ร้อยละ 66.67 คือ แกนนำเกษตรกร - ลักษณะที่เป็นการประกาศหรือเอกสาร พบว่า อับดับแรก ร้อยละ 66.67 คือ เอกสารหรือแผ่นพับ และรองลงมา ร้อยละ 44.44 มี 3 สื่อ คือ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว และป้ายโปสเตอร์ติดตามหน่วยงานราชการ ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ปัจจัยนำเข้า 1. งบประมาณโครงการ ได้รับงบประมาณจากงบกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรฯ จำนวน 19.00 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้ดำเนินการโครงการฯ มา 2 ปี มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น 7.60 ล้านบาท (ปีละ 3.80 ล้านบาท) 2. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการ เจ้าหน้าที่ กสก. เป็นผู้รับผิดชอบหลัก โดยมีเจ้าหน้าที่จาก กวก. พด. กสส. ชป. สปก. สศก. และ ธกส. ร่วมสนับสนุน ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ปัจจัยนำเข้า (ต่อ) 3. เกษตรกรและกลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการ - มีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 23,172 ราย คิดเป็นร้อยละ 115.86 - ซึ่งเป็นเกษตรกรใน 23 จังหวัดแหล่งผลิต 4. หลักสูตรในการถ่ายทอดความรู้ จัดอบรมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ใน 2 หลักสูตร คือ 4.1 หลักสูตร “การปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน” 4.2 หลักสูตร “การปฏิบัติดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน” รวมทั้ง ดำเนินการจัดการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน 5. แหล่งสินเชื่อเงื่อนไขพิเศษ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่มีสาขาตั้งอยู่ในจังหวัดหรือในพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ผลได้ของโครงการฯ 1. การส่งเสริมเกษตรกรรายใหม่ 1.1 การอบรม/ดูงาน หลักสูตร “การปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน” จำนวน 4,888 ราย จากการสัมภาษณ์เกษตรกรรายใหม่ที่ตกเป็นตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 45.50 เห็นว่าได้รับความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.00 เห็นว่าเนื้อหาที่ได้รับมีความชัดเจน ฯ ในระดับมาก ร้อยละ 49.50 เห็นว่าเอกสารประกอบการอบรมมีความเหมาะสม ในระดับมาก และ ร้อยละ 53.50 เห็นว่าระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม ในระดับมาก 1.2 การปลูกสร้างสวนปาล์มน้ำมัน เกษตรกรรายใหม่ ร้อยละ 63.05 มีการปลูกสร้างสวนปาล์มหรือขยายพื้นที่สวนปาล์มเพิ่ม ในพื้นที่จำนวนเฉลี่ย 15.47 ไร่ต่อราย ซึ่งขณะนี้สวนปาล์มมีอายุเฉลี่ย 1.59 ปี 1.3 การขอรับสินเชื่อ - เกษตรกรรายใหม่ ร้อยละ 18.23 ได้ขอกู้เงิน ธ.ก.ส. เพื่อนำไปปลูกสร้างสวนปาล์มใหม่ - จำนวนเงินที่ได้รับเฉลี่ย 116,945.95 บาทต่อราย หรือ ร้อยละ 91.02 ของจำนวนเงินที่ขอกู้ ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ผลได้ของโครงการฯ (ต่อ) 2. การส่งเสริมเกษตรกรรายเก่า 2.1 การอบรม/ดูงาน หลักสูตร “การปฏิบัติดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน” จำนวน 11,450 ราย จากการสัมภาษณ์เกษตรกรรายเก่าที่เป็นตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 62.19 เห็นว่าได้รับความรู้ความเข้าใจในระดับมาก ร้อยละ 62.90 เห็นว่าเนื้อหาที่ได้รับมีความชัดเจน ฯ ในระดับมาก ร้อยละ 59.72 เห็นว่าเอกสารประกอบการอบรมมีความเหมาะสม ในระดับมาก และ ร้อยละ 66.08 เห็นว่าระยะเวลาในการอบรมมีความเหมาะสม ในระดับมาก 2.2 การนำความรู้ไปปฏิบัติดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 76.06นำความรู้ไปปฏิบัติปรับปรุงดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันในระดับมาก ร้อยละ 20.42 ไปปฏิบัติระดับปานกลาง และร้อยละ 3.52 นำปฏิบัติระดับน้อย 2.3 การขอรับสินเชื่อ - เกษตรกรรายเก่า ร้อยละ 13.38 ได้ขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. เพื่อไปปรับปรุงบำรุงดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันของตนเอง - จำนวนเงินที่ได้รับเฉลี่ย 167,026.32 บาทต่อราย หรือ ร้อยละ 97.42 ของจำนวนเงินที่ขอกู้ ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ผลได้ของโครงการฯ (ต่อ) 3. การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน - กลุ่มเกษตรกร ร้อยละ 76.00 มีการจัดการกระบวนการเรียนรู้ มีการกำหนดแผนการเรียนรู้ และมีประเด็นที่ชัดเจนที่ทางกลุ่มต้องการเรียนรู้ - ร้อยละ 47.36 สามารถที่จะดำเนินการปฏิบัติตามแผนการเรียนรู้ได้ครบ - ร้อยละ 52.64 ปฏิบัติได้บางส่วน ของกลุ่มที่มีการจัดทำแผนการเรียนรู้ นอกจากนี้ พบว่า กลุ่มร้อยละ 56.00 มีเครือข่ายการผลิตปาล์มน้ำมัน ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ผลกระทบเบื้องต้น ตารางที่ 19 ต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมัน ช่วงก่อนให้ผล อายุ 1 ปี ของ เกษตรกรรายใหม่ที่เข้าร่วมโครงการฯ ** มีความใกล้เคียงกับต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันในช่วงอายุเดียวกันเฉลี่ยทั้งประเทศ ปี 2552 ที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4,986.01 บาทต่อไร่ ส่วนประเมินผลพืช ศปผ. ที่มา : จากการสำรวจ
ตารางที่ 20 ต้นทุนการผลิต ช่วงให้ผล อายุ 4 ปีขึ้นไป ของ เกษตรกรรายเก่า ที่เข้าร่วมโครงการฯ หน่วย : บาทต่อไร่ (ร้อยละ) ส่วนประเมินผลพืช ศปผ. ที่มา : จากการสำรวจ
ผลกระทบเบื้องต้น (ต่อ) การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยต้นทุนการผลิต และปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันก่อนและหลังเข้ารับการถ่ายทอดความรู้จากโครงการฯ (แตกต่าง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ไม่แตกต่าง) ส่วนประเมินผลพืช ศปผ. ที่มา : จากการสำรวจ
การบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ สรุปจากผลการประเมินในระยะ 2 ปีแรก การดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมามีแนวโน้มที่นำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ เนื่องจาก ผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรมีทิศทางเพิ่มขึ้น จากการนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปฏิบัติ 1. ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมัน - ต้นทุนการผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้น 181.34 บาท/ไร่ (จาก 4,167.49 บาท/ไร่ เป็น 4,348.83 บาท/ไร่) - ต้นทุนการผลิตต่อตัน ลดลง 370 บาท/ตัน(จาก 1,710 บาท/ตัน เป็น 1,340 บาท/ตัน) - ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้น 810 กิโลกรัม/ไร่ * (จาก 2.43 ตัน/ไร่ เป็น 3.24 ตัน/ไร่ เป้า 3.00 ตัน/ไร่*) 2. ด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร - ผลตอบแทนสุทธิ เพิ่มขึ้น 3,067.64 บาท/ไร่ *(61.35% จากเป้า 5,000 บาท/ไร่*) ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ปัญหาและอุปสรรค 1. เกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมบางส่วนคิดว่าความรู้ในการดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันในแต่ละช่วงอายุ ยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะช่วง 1 - 3 ปีแรกในการปลูกสร้างสวนปาล์ม 2. เกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมบางส่วนคิดว่ายังขาดความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน การทำปุ๋ยชีวภาพ และสารกำจัดศัตรูพืช 3. เกษตรกร และเจ้าหน้าที่บางส่วนยังไม่ค่อยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบของการเปิดตลาดการค้าเสรีที่มีต่อการผลิตปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้ไม่ตื่นตัวในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเท่าที่ควร 4. เกษตรกรในพื้นที่ จ.หนองคาย ยังคงขาดความมั่นใจที่จะทำการปลูกปาล์มหรือขยายพื้นที่เพิ่ม เนื่องจากปัญหาแหล่งรองรับผลผลิต ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ข้อเสนอแนะ 1. กรมส่งเสริมการเกษตร ควรมีการอบรมอย่างต่อเนื่อง และพิจารณาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่และช่วงอายุของปาล์มน้ำมัน และควรมีการติดตามดูแลให้คำปรึกษาถึงการนำความรู้ไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่เริ่มปลูกปาล์มน้ำมันรายใหม่ 2. กรมส่งเสริมการเกษตร ควรเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับผลกระทบที่จะได้รับจากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) ให้เจ้าหน้าที่ผู้เป็นวิทยากรนำไปถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีความตื่นตัวในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันต่อไป 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาที่ดิน ควรให้ความรู้แก่เกษตรกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงบำรุงดิน การทำปุ๋ยชีวภาพ และสารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น 4. ควรมีการสนับสนุน/ส่งเสริมให้มีแหล่งรวบรวมผลผลิตหรือมีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนเพื่อรองรับผลผลิตที่จะเริ่มทยอยออกสู่ตลาดในช่วง 1 - 2 ปีข้างหน้า ส่วนประเมินผลพืช ศปผ.
ส่วนประเมินผลพืช ศปผ. ขอบคุณทุกท่านที่รับฟังการนำเสนอครับ