190 likes | 477 Views
http :// lib . swu . ac . th / opac /. บทเรียนสอนการสืบค้น OPAC. การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ เรื่อง การสืบค้นโอแพกของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. โดย อัญชลี ตุ้มทอง และ อัมพร ขาวบาง. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
E N D
http://lib.swu.ac.th/opac/ บทเรียนสอนการสืบค้น OPAC
การพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ เรื่อง การสืบค้นโอแพกของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดย อัญชลี ตุ้มทอง และ อัมพร ขาวบาง
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาบทเรียนผ่านเว็บ เรื่อง การสืบค้นโอแพกของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒไว้เป็นบทเรียนสำหรับ 1. ใช้ในงานส่งเสริมผู้ใช้ สำหรับอาจารย์ บุคลากร นิสิต และผู้ใช้ทั่วไป เพื่อเรียนรู้การสืบค้นด้วยตนเอง 2. เป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมสำหรับนิสิตในวิชาทักษะการรู้ สารสนเทศ(SWU 141)
วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1. การสร้างบทเรียน 2. การประเมินคุณภาพบทเรียน 3. การประเมินผลบทเรียน
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) 1. การสร้างบทเรียน - ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการสอนโดยใช้เว็บ /เทคนิค วิธีการสร้างบทเรียนผ่านเว็บจากห้องสมุดทั้งใน และต่างประเทศ - ศึกษาวิธีการสืบค้นโอแพ็กของ สำนักหอสมุดกลาง มศว ศึกษาปัญหาที่พบในการสืบค้น สรุปหลักและวิธีสืบค้นนำมาเสนอไว้ในบทเรียน - กำหนดจุดประสงค์ของบทเรียน - กำหนดเนื้อหาของบทเรียน
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) เนื้อหาของบทเรียนประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. เรื่องเกี่ยวกับโอแพกครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ เกี่ยวกับโอแพก ได้แก่ ความหมาย เมนูหลัก ข้อมูลทางบรรณานุกรม สถานภาพของทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ควรทราบ ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ รวมทั้งแบบฝึกหัดท้ายบท 2. วิธีการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ครอบคลุมวิธีการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศทั่วไป ปริญญานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความวารสารภาษาไทย รวมทั้งแบบฝึกหัดท้ายบท
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) - นำเนื้อหาของบทเรียนเสนอต่อที่ปรึกษาโครงการวิจัย เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความครอบคลุม ปรับปรุงแก้ไขก่อนสร้างบทเรียน - วางแผนและออกแบบบทเรียน โดยวางโครงร่าง รูปแบบ การเรียงลำดับ และการเชื่อมโยงเนื้อหาหลักและเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง - สร้างบทเรียน โดยใช้โปรแกรมมาโครมีเดีย ดรีมวีพเวอร์ เอ็มเอ็กซ์ 2004 และจัดเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) - นำบทเรียนที่สร้างขึ้นเสนอต่อที่ปรึกษาโครงการ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าสนใจ และ ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ - นำบทเรียนที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วส่งขึ้น (Upload) ที่ http://lib.swu.ac.th/opac/
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) 2. การประเมินคุณภาพบทเรียน ในด้านเนื้อหา ด้านการนำเสนอ ด้านภาษา ตัวอักษรและสี ด้านรูปภาพ และด้านแบบฝึกหัดและแบบทดสอบจากบุคลากร ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 5 ท่าน :- - อาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ฯ 2 ท่าน - บรรณารักษ์ชำนาญการ 1 ท่าน - อาจารย์จากภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา 2 ท่าน นำผลประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ มาแก้ไขปรับปรุงบทเรียน เช่น ภาพประกอบมีขนาดเล็กควรปรับขยายหน้าจอให้ใช้เนื้อที่ให้เต็ม
วิธีดำเนินการวิจัย (ต่อ) 3. การประเมินผลบทเรียน - การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย - สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อบทเรียน ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพนิสิต ตอนที่ 2 ความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียน ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ เป็นคำถามปลายเปิด - การเก็บรวบรวมข้อมูล
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่เข้าใช้สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 50 (68) คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) แบ่งเป็น นิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 40 (51) คน และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจำนวน 10 (17) คน
การรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลกับนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาที่เข้าใช้สำนักหอสมุดกลางในระหว่างวันที่ 20 เมษายน ถึง 31 พฤษภาคม 2552 โดยให้นิสิตทดลองใช้บทเรียนพร้อมตอบแบบสอบถามความคิดเห็นที่ศูนย์การเรียนรู้นานาชาติด้วยตนเองหรือ SALI Center ชั้น 1 และที่มุม Smart Library ชั้น 2
สรุปผลการวิจัย 1. สถานภาพของนิสิต 1.1 นิสิตส่วนใหญ่มีประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและ อินเทอร์เน็ต โดยใช้เป็นประจำทั้งใน ป.ตรีและ บัณฑิตศึกษาคิดเป็น ร้อยละ 66.20 และ 85.30 1.2 นิสิตบัณฑิตศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการสืบค้นโอแพกของ สำนักหอสมุดกลาง ร้อยละ 94.12 แหล่งที่นิสิตใช้ในเรียนรู้เกี่ยวกับการสืบค้นโอแพก คือ การทดลองใช้ด้วยตนเอง และการศึกษาจากแผ่นพับ/เว็บไซต์ ร้อยละ 81.25 เท่ากัน
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 2. ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อบทเรียนผ่านเว็บ 2.1 ด้านเนื้อหา นิสิตมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดี โดยข้อที่อยู่ในอันดับแรก คือ คำอธิบายเนื้อหามีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย รองลงมา คือ ความต่อเนื่องของเนื้อหาในแต่ละหัวข้อมีความเหมาะสม 2.2 ด้านการนำเสนอ นิสิตมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดี ข้อที่อยู่ในอันดับแรกมี 2 ข้อ คือ ความสะดวกในการเลือกเรียนในแต่ละหัวข้อได้ตามต้องการ และการเชื่อมโยงข้อมูลทำงานได้ดี (เท่ากัน) รองลงมา คือ ภาษาที่ใช้เป็นเมนูและปุ่มควบคุมหน้าจอเข้าใจได้ง่าย
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 2.3 ด้านภาษา ตัวอักษร และสี นิสิตมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดี ข้อที่อยู่ในอันดับแรกมี 2 ข้อ คือ รูปแบบตัวอักษรที่ใช้สามารถอ่านได้ง่ายและชัดเจน และ ขนาดของตัวอักษรที่ใช้มีความเหมาะสม (เท่ากัน) รองลงมา คือ ภาษาที่ใช้ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย 2.4 ด้านรูปภาพ นิสิตมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดี ข้อที่อยู่ในอันดับแรก คือ ภาพประกอบกับเนื้อหามีความสอดคล้องกัน รองลงมา คือ คำอธิบายในภาพประกอบมีความชัดเจน
สรุปผลการวิจัย (ต่อ) 2.5 ด้านแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ นิสิตมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดี ข้อที่อยู่ในอันดับแรก คือ ข้อคำถามและคำตอบมีความชัดเจน รองลงมา คือ คำชี้แจงมีความชัดเจน 2.6 ข้อเสนอแนะ นิสิตส่วนใหญ่เสนอแนะให้มีการออกแบบตกแต่งและใช้สีที่น่าสนใจมากขึ้นเพื่อดึงดูดให้คนอยากเข้ามาใช้บทเรียน รองลงมา คือ เนื้อหาละเอียด ชัดเจน กระชับและอ่านเข้าใจง่าย และบทเรียนมีประโยชน์ ควรแนะนำให้ผู้ใช้ทราบเพื่อประโยชน์ในการค้นหาหนังสือ
อภิปรายผลการวิจัย 1. ผลการวิจัยในภาพรวม นิสิตมีความคิดเห็นโดยรวมต่อบทเรียน ผ่านเว็บ ในระดับดี ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ 1.1 ศึกษาวิธีการพัฒนาบทเรียนจากเอกสาร บทความและตำราที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ 1.2 ศึกษาบทเรียนสอนการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ / การใช้ห้องสมุดบนเว็บไซต์ของห้องสมุดทั้งในและต่างประเทศ +นำมาประยุกต์ใช้ 1.3 ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านบรรณารักษ์ฯ+ เทคโนโลยี 2. ข้อสังเกตเกี่ยวกับคุณภาพของบทเรียน
ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ควรมีการปรับปรุงบทเรียนให้น่าสนใจขึ้นโดยเฉพาะในด้านสีพื้น สีอักษร และภาพประกอบ รวมไปถึงต้องปรับปรุงบทเรียนในส่วนอื่นๆ เพื่อให้บทเรียนมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยนำผลการประเมินบทเรียนจากผู้ใช้จริงมาใช้ประกอบการปรับปรุงบทเรียน