470 likes | 897 Views
IFRS และมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับปรับปรุงที่จะมี ( คาดว่าจะมี ) การประกาศใช้ใน 2551. ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี.
E N D
IFRS และมาตรฐานการบัญชีไทยฉบับปรับปรุงที่จะมี (คาดว่าจะมี) การประกาศใช้ใน 2551 ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกลั่นกรองมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี
IFRS (International Financial Reporting Stds) • Narrowly, IFRSs refers to the new numbered series of pronouncements that the IASB is issuing, as distinct from the International Accounting Standards (IASs) series issued by its predecessor.
IFRS • More broadly, IFRSs refers to the entire body of IASB pronouncements, including • standards and interpretations approved by the IASB and • IASs and SIC interpretations approved by the predecessor International Accounting Standards Committee.
TAS • ปัจจุบันTAS ที่มีผลบังคับใช้มี 30 ฉบับ การตีความ 3 ฉบับ และแม่บทการบัญชี 1 ฉบับ • ส่วนใหญ่อ้างอิงจาก IFRS ฉบับที่มีการแก้ไขในเดือนธันวาคม 2546 และมีนาคม 2547 • บางฉบับอ้างอิงจาก US GAAP • TAS 26 การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ • TAS 34 การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา • TAS 40 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน • TAS 42 การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้าน การลงทุน
TAS • บางฉบับไม่ได้อ้างอิงจากมาตรฐานสากล • TAS 11 หนี้สงสัยจะสูญ จะยกเลิกเร็วๆ นี้ แล้วเอาแนวคิดของ IAS 39 เข้ามาใส่
TAS • ปัจจุบันมีประกาศยกเว้น TAS สำหรับกิจการที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน จำนวน 8ฉบับ • TAS 24 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน • TAS 25 งบกระแสเงินสด • TAS 36 การด้อยค่าของทรัพย์สิน • TAS 44 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • TAS 45 เงินลงทุนในบริษัทร่วม • TAS 46 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า • TAS 47 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง • TAS 48 การแสดงรายการสำหรับตราสารการเงิน
TAS ฉบับปรับปรุงที่ได้มีการประกาศใช้ใน 2550 • TAS 44 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • TAS 45 เงินลงทุนในบริษัทร่วม • TAS 46 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า
TAS ฉบับปรับปรุงที่ได้มีการประกาศใช้ใน 2551 • TAS 25 งบกระแสเงินสด • TAS 29 สัญญาเช่า • TAS 31 สินค้าคงเหลือ • TAS 33 ต้นทุนการกู้ยืม • TAS 35 การนำเสนองบการเงิน • TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด
TAS ฉบับปรับปรุงที่ได้มีการประกาศใช้ใน 2551 • TAS 41 งบการเงินระหว่างกาล • TAS 43 การรวมธุรกิจ • TAS 51 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
TAS ฉบับปรับปรุงที่คาดว่าจะมีการประกาศใช้ใน 2551 • TAS 30 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ • TAS 32 ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ • TAS 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์ • TAS 37 รายได้ • TAS xx ผลประโยชน์ของพนักงาน
TAS ฉบับปรับปรุงที่ประกาศใช้ในปี 2551
TAS 29 สัญญาเช่า • TAS 29 ฉบับเดิมได้ให้ตัวอย่างของสถานการณ์ซึ่งตามปกติจะทำให้สัญญาเช่าต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงินไว้สี่ข้อ • สัญญาเช่าโอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเช่า • ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ณ วันที่สิทธิเลือกมีผลบังคับใช้ โดยราคาตามสิทธิเลือกนั้นมีจำนวนต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์มากเพียงพอที่จะทำให้เกิดความแน่ใจอย่างสมเหตุสมผล ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าว่าผู้เช่าจะใช้สิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์นั้น • ระยะเวลาของสัญญาเช่าครอบคลุมอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสินทรัพย์ แม้ว่าจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้น
TAS 29 สัญญาเช่า • TAS 29 ฉบับเดิมได้ให้ตัวอย่างของสถานการณ์ซึ่งตามปกติจะทำให้สัญญาเช่าต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงินไว้สี่ข้อ (ต่อ) • ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายมีจำนวนเท่ากับหรือเกือบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า
TAS 29 สัญญาเช่า • ได้เพิ่มสถานการณ์เพื่อช่วยในการจำแนกสัญญาเช่าการเงิน (financial lease) อีกหนึ่งข้อ และข้อบ่งชี้อีกสามข้อ • สินทรัพย์ที่เช่ามีลักษณะเฉพาะจนกระทั่งมีผู้เช่าเพียงผู้เดียวที่สามารถใช้สินทรัพย์นั้นโดยไม่จำเป็นต้องนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาทำการดัดแปลงที่สำคัญ • หากผู้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาเช่าได้ และผู้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบผลเสียหายที่เกิดกับผู้ให้เช่าเนื่องจากการยกเลิกนั้น • ผู้เช่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกำไรหรือผลขาดทุนจากการผันผวนของมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าคงเหลือ • ผู้เช่าสามารถต่อสัญญาเช่าครั้งที่สองด้วยการจ่ายค่าเช่าที่มีจำนวนต่ำกว่าค่าเช่าในตลาดอย่างเป็นนัยสำคัญ
TAS 29 สัญญาเช่า • ตัวอย่างและข้อบ่งชี้ 8 ข้อไม่ถือเป็นข้อยุติ ถ้าเป็นที่แน่ชัดว่ายังมีลักษณะอื่นที่แสดงให้เห็นว่ามิได้มีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ที่เช่า สัญญาเช่านั้นต้องจัดเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน ตัวอย่างเช่น มีการจ่ายค่าเช่าที่ไม่กำหนดแน่นอน (ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น) อันเป็นผลให้ผู้เช่ามิได้รับโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ที่เช่า
TAS 29 สัญญาเช่า • TAS ฉบับเดิมกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลสำหรับค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้น แต่ไม่ได้ให้ข้อกำหนดที่ชัดเจนว่ากิจการต้องรวมค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นในการคำนวณจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายหรือไม่ TAS ฉบับนี้กำหนดให้กิจการไม่ต้องนำค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นมารวมในการคำนวณจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่าย
TAS 29 สัญญาเช่า • TAS ฉบับเดิมไม่ได้ให้ข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้เช่า TAS ฉบับนี้กำหนดให้รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้เช่าเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนที่รับรู้เป็นสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าการเงินนั้น
TAS 29 สัญญาเช่า • TAS ฉบับเดิมได้ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้ให้เช่าโดยจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันที หรือปันส่วนไปหักจากรายได้ทางการเงินนั้นตลอดอายุสัญญาเช่าการเงินก็ได้ แต่ TAS ฉบับนี้กำหนดให้รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกเป็นส่วนหนึ่งของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินโดยไม่ต้องบันทึกเป็นรายการแยกต่างหาก
TAS 29 สัญญาเช่า • การเช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงินหรือสัญญาเช่าดำเนินงานในลักษณะเดียวกับการจัดประเภทสัญญาเช่าสำหรับสินทรัพย์อื่น • หากคาดว่าจะไม่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปให้ผู้เช่า ณ วันสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่าจะไม่ได้รับความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด จำนวนที่จ่ายเพิ่มให้กับการเช่าดังกล่าว (สิทธิการเช่า) จึงถือเป็นการจ่ายค่าเช่าล่วงหน้าซึ่งต้องตัดจำหน่ายตลอดอายุของสัญญาเช่าตามรูปแบบของประโยชน์ที่ได้รับ
TAS 31 สินค้าคงเหลือ • ไม่อนุญาตให้นำผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจากการซื้อสินค้าคงเหลือนั้นด้วยสกุลเงินตราต่างประเทศไปรวมเป็นต้นทุนในการซื้อสินค้า • ในกรณีที่มีการซื้อสินค้าคงเหลือโดยมีเงื่อนไขการจ่ายชำระเงินนานเกินกว่าระยะเวลาการได้สินเชื่อตามปกติ ผลต่างระหว่างจำนวนเงินที่จ่ายจริงและราคาซื้อที่ผู้ซื้อต้องจ่ายตามระยะเวลาการให้สินเชื่อตามปกติ ให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายตลอดระยะเวลาการจัดหาเงิน
TAS 31 สินค้าคงเหลือ • กำหนดให้ใช้วิธีการคำนวณต้นทุนวิธีเดียวกันสำหรับสินค้าคงเหลือทุกประเภทซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน • ไม่อนุญาตให้ใช้วิธีเข้าหลังออกก่อนในการวัดมูลค่าต้นทุนสินค้าคงเหลือ • ยกเลิกอ้างอิงถึงหลักการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย • อธิบายถึงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดการกลับรายการสินค้าที่มีการปรับมูลค่าลงในงวดบัญชีก่อน
TAS 35 การนำเสนองบการเงิน • กำหนดการเปิดเผยแหล่งข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการประมาณการ • ยกเลิกการแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นรายการพิเศษ • ยกเลิกการแสดงกำไรหรือขาดทุนจากกิจกรรมตามปกติ • ยกเลิกการแสดงจำนวนพนักงาน • ยกเลิกหัวข้อนโยบายการบัญชี และข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลือกใช้นโยบายการบัญชี
TAS 35 การนำเสนองบการเงิน • เพิ่มคำนิยามความมีสาระสำคัญ • ความมีสาระสำคัญ (materiality) หมายถึง ผลกระทบต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงินจากการไม่แสดงรายการหรือการแสดงรายการผิดพลาดไม่ว่าจะเป็นรายการเดียวหรือหลายรายการรวมกันความมีสาระสำคัญขึ้นอยู่กับจำนวนเงินและลักษณะของรายการที่ไม่แสดงหรือแสดงผิดพลาดภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ขณะนั้นปัจจัยที่ใช้พิจารณาความมีสาระสำคัญคือจำนวนเงินหรือลักษณะของรายการหรือทั้งสองปัจจัยร่วมกัน • เพิ่มคำนิยามมาตรฐานการบัญชี • มาตรฐานการบัญชี หมายถึง หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นทั้งนี้รวมถึงการตีความมาตรฐานการบัญชี
TAS 35 การนำเสนองบการเงิน • กำหนดให้กิจการต้องจัดประเภทหนี้สินทางการเงินที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเป็นหนี้สินหมุนเวียนแม้ว่ามีหลักฐานเป็นสัญญาที่แสดงถึงการชำระหนี้โดยการก่อหนี้สินระยะยาวใหม่ หรือมีการต่ออายุหนี้ให้เป็นหนี้ระยะยาว ซึ่งสัญญาดังกล่าวจัดทำเสร็จสมบูรณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงินและก่อนวันที่งบการเงินได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน
TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ข้อกำหนดในการเลือกและใช้นโยบายการบัญชีใน TAS 35 ได้นำมาเป็นข้อกำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ โดยปรับขั้นตอนของแนวทางที่ฝ่ายบริหารใช้ในการเลือกนโยบายการบัญชีกรณีที่ยังไม่มีมาตรฐานการหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีเฉพาะเรื่องนั้นๆ • ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการความไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องที่เป็นสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ • กิจการไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการบัญชีตามที่กำหนดไว้ใน TAS หากผลกระทบของการใช้นโยบายดังกล่าวไม่มีสาระสำคัญ ซึ่งจะสอดคล้องกับ TAS 35 เกี่ยวกับข้อกำหนดของการเปิดเผยข้อมูลในมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดว่ากิจการไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเมื่อข้อมูลดังกล่าวไม่มีสาระสำคัญ
TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการความไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องที่เป็นสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ (ต่อ) • งบการเงินจะไม่เป็นไปตาม TAS หากปรากฏว่ามีข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญ • ข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญในงวดก่อน จะต้องแก้ไขด้วยวิธีปรับย้อนหลังงบการเงินในงวดแรกหลังจากค้นพบข้อผิดพลาดดังกล่าว
TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้ใช้วิธีปรับย้อนหลังสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่เป็นไปโดยความสมัครใจ และการปรับงบการเงิน ย้อนหลังสำหรับการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อน โดยยกเลิกวิธีปฏิบัติที่อาจเลือกได้ที่มีอยู่ใน TAS ฉบับเดิม • ให้รวมรายการปรับปรุงซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี หรือผลของการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อนในกำไรขาดทุนสำหรับงวดปัจจุบัน และ • ให้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบจากงบการเงินปีก่อนที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุง
TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ยังคงให้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับ “การไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ” สำหรับการยกเว้นการแก้ไขข้อมูลเปรียบเทียบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อน โดยได้รวมคำนิยามของ “การไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ” และแนวปฏิบัติในการตีความไว้ด้วย
TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ได้กล่าวรวมถึงกรณีที่ไม่สามารถคำนวณผลกระทบสะสม ณ วันต้นงวดของปีปัจจุบัน ของเหตุการณ์ต่อไปนี้ • การใช้นโยบายการบัญชีใหม่กับทุกงวดที่ผ่านมา หรือ • ข้อผิดพลาดในงวดก่อน ๆ กิจการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเปรียบเทียบเสมือนหนึ่งได้ใช้นโยบายการบัญชีใหม่มาโดยตลอดหรือไม่เคยมีข้อผิดพลาดในงวดก่อนเกิดขึ้น โดยย้อนหลังให้ไกลที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ • ได้ตัดหลักการของข้อผิดพลาดที่สำคัญและข้อแตกต่างระหว่างข้อผิดพลาดที่สำคัญกับข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญอื่น และได้กำหนดคำนิยามของข้อผิดพลาดในงวดก่อนไว้ด้วย
TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่กิจการกำลังจะนำมาถือปฏิบัติเมื่อกิจการเริ่มนำ TAS หรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่มาปฏิบัติก่อนการบังคับใช้ นอกจากนี้ ยังกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบหรือประมาณการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่องบการเงินของงวดบัญชีที่มีการนำ TAS หรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ไปปฏิบัติ
TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินของรายการปรับปรุงบัญชีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อนโดยให้เปิดเผยสำหรับรายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งกำไรต่อหุ้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดหากกิจการต้องปฏิบัติตาม มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง กำไรต่อหุ้น
TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • ข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำเสนอกำไรขาดทุนสำหรับงวดได้กำหนดไว้ใน TAS 35 • สอดคล้องกับ SIC-18 Consistency-Alternative Method ดังนี้ • กิจการต้องเลือกใช้และนำนโยบายการบัญชีมาถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอกับรายการ เหตุการณ์และเงื่อนไขทางบัญชีที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เว้นแต่ TAS หรือการตีความมาตรฐานการบัญชีได้กำหนดหรืออนุญาตให้จัดประเภทรายการตามนโยบายการบัญชีที่แตกต่างกันได้ และ • หาก TAS หรือการตีความมาตรฐานการบัญชีกำหนดหรืออนุญาตให้ทำดังกล่าว กิจการต้องเลือกและนำนโยบายการบัญชีที่เหมาะสมมาถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอสำหรับรายการแต่ละประเภท
TAS 39 นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กล่าวรวมถึงคำนิยามของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี • กล่าวรวมถึงข้อยกเว้นในการรวมผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีที่มีต่องบกำไรหรือขาดทุน โดยกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงประมาณการที่ทำให้สินทรัพย์หรือหนี้สินเพื่อขึ้นหรือมีผลต่อรายการในส่วนของเจ้าของ ให้กิจการรับรู้ผลกระทบดังกล่าวในยอดคงเหลือของสินทรัพย์ หนี้สิน หรือส่วนของเจ้าของที่เกี่ยวข้องในงวดบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง
TAS 41 งบการเงินระหว่างกาล • ได้ปรับปรุงถ้อยคำใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2549) เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล (IAS No. 34, Interim Financial Reporting (2006)) โดยไม่มีข้อแตกต่าง • กิจการต้องใช้นโยบายการบัญชีเดียวกันสำหรับงบการเงินระหว่างกาล และงบการเงินประจำปี เว้นแต่นโยบายการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงภายหลังวันที่ในงบการเงินประจำปีล่าสุดนั้นจะใช้ในงบการเงินประจำปีถัดไป
TAS 41 งบการเงินระหว่างกาล • กิจการต้องไม่รับรู้รายได้ที่ได้รับตามฤดูกาล รายได้ที่ได้รับเป็นวัฏจักร หรือรายได้ที่ได้รับเป็นครั้งคราวในระหว่างปีบัญชีเป็นรายได้หากรายได้นั้นยังไม่เกิดแต่คาดการณ์ว่าจะเกิด • กิจการต้องไม่บันทึกรายได้ที่ยังไม่เกิดเป็นรายได้ค้างรับและต้องไม่บันทึกรายได้ที่เกิดแล้วเป็นรายได้รอการรับรู้ หากมาตรฐานการบัญชียังไม่อนุญาตให้ทำได้ ณ วันสิ้นงวดปีบัญชี
TAS 41 งบการเงินระหว่างกาล • ต้นทุนที่เกิดขึ้นอย่างไม่สม่ำเสมอในระหว่างปีบัญชี ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นหรือบันทึกเป็นต้นทุนรอตัดบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานระหว่างกาลได้ก็ต่อเมื่อต้นทุนนั้น ณ วันสิ้นงวดปีบัญชีจะมีการคาดการณ์หรือบันทึกเป็นต้นทุนรอตัดบัญชีได้ด้วย
TAS ที่คาดว่าจะประกาศใช้ในปี 2551(แถมให้)
IAS 19 Employee Benefits(TAS xx) (คาดว่าจะประกาศใช้) • แบ่งผลประโยชน์ของพนักงานออกเป็น 4 ประเภท • ผลประโยชน์ระยะสั้น เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน กองทุนเงินสมทบประกันสังคม เงินที่จ่ายระหว่างลาพักผ่อนประจำปีและลาป่วย ส่วนแบ่งกำไรและโบนัส และผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน (เช่น การรักษาพยาบาล ที่พักอาศัย ยานพาหนะ และสินค้าหรือบริการที่ช่วยเหลือหรือให้เปล่าแก่พนักงาน) สำหรับพนักงานปัจจุบัน • ผลประโยชน์หลังออกจากงาน เช่น บำนาญ ผลประโยชน์อื่นเมื่อเกษียณอายุ เบี้ยประกันชีวิตและค่ารักษาพยาบาลหลังออกจากงาน
IAS 19 Employee Benefits(TAS xx) • แบ่งผลประโยชน์ของพนักงานออกเป็น 4 ประเภท (ต่อ) • ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นๆ ของพนักงานรวมถึง ผลตอบแทนในรูปการลางานสำหรับพนักงานที่ทำงานให้กับกิจการเป็นเวลานาน เช่น ลาบวช ลาศึกษาต่อ ลาเพื่อรับราชการทหาร ผลประโยชน์ครบรอบ 50 ปีหรือผลประโยชน์การให้บริการที่ยาวนานอื่นๆผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับความทุพพลภาพระยะยาวซึ่งเป็นการจ่ายตั้งแต่ 12 เดือนหลังวันสิ้นงวด นอกจากนี้ยังรวมส่วนแบ่งกำไร โบนัส และค่าตอบแทนที่จะจ่ายด้วย • ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง
IAS 19 Employee Benefits(TAS xx) • ให้รับรู้ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานเมื่อพนักงานได้ให้บริการแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์นั้น • สำหรับโครงการสมทบเงิน (Defined Contribution Plan) ให้รับรู้การจ่ายเงินสมทบเมื่อพนักงานได้ให้บริการเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินสมทบนั้น • สำหรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นๆ (Defined Benefit Plan) (โครงการบำเหน็จบำนาญ หรือกิจการมีการกำหนดให้พนักงานออกจากงานเมื่อเกษียณอายุ) ให้ • บันทึกบัญชีทั้งภาระผูกพันทางกฎหมายและภาระผูกพันจากการอนุมานอื่นๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติของกิจการ
IAS 19 Employee Benefits(TAS xx) • สำหรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นๆ ให้ (ต่อ) • กำหนด PV ของภาระผูกพันของผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอเพียงพอเพื่อมิให้จำนวนที่รับรู้ในงบการเงินแตกต่างอย่างเป็นสาระสำคัญจากจำนวน ณ วันที่ในงบดุล • ใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method) เพื่อวัดมูลค่าภาระผูกพันและต้นทุน • จัดสรรผลประโยชน์ให้ปีที่ให้บริการตามสูตรคำนวณผลประโยชน์ของโครงการ เว้นแต่การให้บริการในปีหลังๆ จะนำไปสู่ผลประโยชน์ที่มากขึ้นกว่าปีก่อนๆ อย่างเป็นสาระสำคัญ
IAS 19 Employee Benefits(TAS xx) • สำหรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นๆ ให้ (ต่อ) • ใช้ข้อสมมติจากการประมาณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่เป็นกลางและเป็นอิสระในการเปรียบเทียบกันได้เกี่ยวกับตัวแปรทางประชากรศาสตร์ (เช่น อัตราการออกจากงานและการมรณะ) และตัวแปรทางการเงิน (เช่น เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต การเปลี่ยนแปลงต้นทุนค่ารักษาพยาบาลและผลประโยชน์บางอย่างของรัฐ) • กำหนดอัตราคิดลดโดยอ้างอิงกับอัตราผลตอบแทนในตลาดของหุ้นกู้ภาคเอกชนที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับดี ณ วันที่ในงบดุล และใช้สกุลเงินและเงื่อนไขที่สอดคล้องกับสกุลเงินและเงื่อนไขของภาระผูกพันผลประโยชน์หลังออกจากงาน • รับรู้ต้นทุนบริการในอดีตด้วยวิธีเส้นตรงตลอดระยะเวลาเฉลี่ยจนกว่าพนักงานจะได้รับผลประโยชน์ที่ปรับเปลี่ยนอย่างเด็ดขาด
คำพิพากษาฎีกาที่ 6966-6971/2542 • ระบุว่าการกำหนดให้ลูกจ้างเกษียณอายุเมื่ออายุ 60 ปี ถือเป็นการเลิกจ้างอย่างหนึ่ง ดังนั้น นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้างตามอัตราที่กำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 • กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
Model การคำนวณ Employee Benefit Obligation • สภาวิชาชีพบัญชีได้จัดทำ Model การคำนวณ Employee Benefit Obligation อย่างง่ายให้กิจการต่าง ๆ นำไปใช้ได้โดยไม่ต้องจ้าง actuarial อย่างไรก็ดี Model ดังกล่าวอาจไม่เหมาะกับกิจการที่มีลักษณะการให้ผลประโยชน์พนักงานแบบซับซ้อน หากกิจการเหล่านั้นนำ Model อย่างง่ายไปใช้ อาจทำให้มูลค่า Employee Benefit Obligation ที่คำนวณได้ไม่ถูกต้อง