460 likes | 694 Views
http://www.teacher.ssru.ac.th/chantana_in/. Advertising Films. เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อชักจูงใจให้คนรับรู้และยอมรับสินค้าที่ผลิตออกสู่ตลาด โดยมีรูปแบบการนำเสนอดังนี้. GRAPHIC DESIGN 5. Advertising Films. 1.The story
E N D
http://www.teacher.ssru.ac.th/chantana_in/ Advertising Films เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อชักจูงใจให้คนรับรู้และยอมรับสินค้าที่ผลิตออกสู่ตลาด โดยมีรูปแบบการนำเสนอดังนี้ GRAPHIC DESIGN 5
Advertising Films 1.The story เป็นการนำเสนอเรื่องราวโดยการสร้างปัญหาหรือเงื่อนไขให้เกิดขึ้น และนำสินค้านั้นเข้าไปเป็นตัวแก้ปัญหา GRAPHIC DESIGN 5
Advertising Films 2. The slice of life เป็นการนำเสนอเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตจริง เพื่อให้คนดูเกิดความรู้สึกคล้อยตาม และเกิดการจดจำและนำไปใช้เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ GRAPHIC DESIGN 5
Advertising Films 3.The testimonial เป็นการยืนยันหรือรับประกันสินค้าโดยการนำบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือผู้ที่เคยใช้สินค้านั้นมานำเสนอความรู้สึกที่มีต่อสินค้า GRAPHIC DESIGN 5
Advertising Films 4.The demonstrate เป็นการแสดงให้เห็นขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เช่น กระบวนการผลิต ผลของการใช้สินค้า การทดสอบคุณภาพของสินค้าด้วยวิธีต่างๆ GRAPHIC DESIGN 5
Advertising Films 5.The announcer เป็นการนำเสนอคุณสมบัติของสินค้าอย่างชัดเจนโดยใช้ผู้ประกาศ GRAPHIC DESIGN 5
Advertising Films 6.The song and dance เป็นการนำเสนอเพลงและการเต้นรำมาเป็นโครงสร้างหลักในการดำเนินเรื่อง อาจมีการแต่งเพลงขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบโฆษณาโดยเฉพาะ และในเพลงมักมีการย้ำถึงชื่อสินค้าเสมอ GRAPHIC DESIGN 5
Advertising Films 7.The special effect เป็นการนำเสนอโดยใช้เทคนิคพิเศษ เช่น animation หรือการใช้ภาพการแสดงจากคนจริงๆมาประกอบกับเทคนิค animation GRAPHIC DESIGN 5
Advertising Films ประโยชน์ 1.ทำให้ผู้บริโภคทราบว่ามีสินค้าและบริการใหม่ๆ เกิดขึ้นในตลาด 2.ทำให้ผู้บริโภคทราบแหล่งที่ตั้งของสถานที่จำหน่ายสินค้าและบริการนั้นๆ GRAPHIC DESIGN 5
Advertising Films ประโยชน์ 3.ทำให้ผู้บริโภคทราบข้อมูลบางประการของสินค้าและบริการที่ทำการโฆษณา ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ 4.ช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจสินค้าและบริการนั้นๆ GRAPHIC DESIGN 5
Advertising Films ประโยชน์ 5.ช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความอยากซื้อสินค้าและบริการ 6.ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจในการซื้อสินค้าและบริการนั้นๆได้ง่ายขึ้น GRAPHIC DESIGN 5
กระบวนการสร้างและผลิตภาพยนตร์ กระบวนการสร้างและผลิตภาพยนตร์ แบ่งออกได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1.ขั้นตอนก่อนการถ่ายทำภาพยนตร์ ( pre-production ) 2.ขั้นตอนการถายทำภาพยนตร์ ( production ) 3.ขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ( post-production) GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production 1.ขั้นตอนก่อนการถ่ายทำภาพยนตร์ ( pre-production ) 1.1.การแยกบทภาพยนตร์ ( script breakdown ) เป็นงานขั้นแรกที่ต้องทำอย่างละเอียด โดยจะต้องแยกบทภาพยนตร์ทั้งเรื่องออกมา จะนำมาใช้เพื่อจัดวางงบประมาณ และการจัดตารางการถ่ายทำ โดยดูรายละเอียดต่างๆจากภาพยนตร์ โดยบุคลากรผู้มีหน้าที่แยกบทภาพยนตร์จะได้แก่ ผู้ช่วยผู้กำกับ และผู้จัดการสร้าง ซึ่งจะกำหนดแบบฟอร์มขึ้นมาใช้ในแต่ละบริษัท GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production ช็อต ( shot) หรือ คัต (cut) หมายถึงภาพ 1 ภาพ ที่ปรากฎในภาพยนตร์ นับตั้งแต่กล้องภาพยนตร์เริ่มถ่ายจนกระทั่งหยุดถ่ายใน 1 ครั้ง คำว่า คัต (cut) นั้นยังใช้ในความหมายว่าเป็นคำสั่งจากผู้กำกับภาพยนตร์ให้หยุดเดินกล้อง GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production ฉาก (scene) คือ เหตุการณ์หนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่องโดยมีเวลาและสถานที่ที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเป็นตัวกำหนด ในฉากหนึ่งประกอบด้วยช็อตตั้งแต่ 1 ช็อต ขึ้นไป GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production ตอน (sequence) คือ ช่วงของภาพยนตร์แต่ละช่วงซึ่งมีเหตุการณ์ต่างๆเชื่อมโยงกัน โดยที่สามารถสังเกตุจุดเริ่มต้นและจุดจบของเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างชัดเจนว่าเหตุการณ์นั้นๆจะเป็นช่วงตอนเดียวกันและแบ่งแยกได้จากช่วงตอนอื่น โดยประกอบด้วยฉากตั้งแต่ 1 ฉากขึ้นไป GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production 1.2.การจัดตารางการถ่ายทำ ( production schedule ) เป็นการกำหนดเพื่อแสดงถึงภาระงานที่จะต้องทำเมื่อต้องออกกองถ่าย เป็นการจัดลำดับฉากเพื่อการถ่ายทำในแต่ละครั้งว่าต้องถ่ายอะไรบ้าง โดยดูรายละเอียดจากใบแยกบทภาพยนตร์ GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production สิ่งที่ต้องคำนึงในการจัดตารางการถ่ายทำได้แก่ -การโยกย้ายในขณะปฏิบัติงานถ่ายทำ -ความต่อเนื่องทางการแสดง -ความต่อเนื่องของเรื่องราวตามบทภาพยนตร์ -การใช้คนให้มีได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพที่สุด GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production สิ่งที่ต้องคำนึงในการจัดตารางการถ่ายทำได้แก่ -ฉากและการจัดฉาก -การใช้เครื่องมือในการถ่ายทำให้คุ้มค่าที่สุด -การเดินทางไปยังสถานที่ถ่ายทำ -ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเฉพาะหน้า -เวลาตามท้องเรื่อง GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production 1.3.การกำหนดงบประมาณ ( budget ) เป็นการคำนวนค่าใช้จ่ายทุกอย่างอย่างละเอียด โดยจะทำเมื่อการจัดตารางการถ่ายทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production 1.4.การคัดเลือกผู้แสดง ( casting ) เป็นการพิจารณาดูรูปร่างหน้าตาตามบทที่ต้องการ ดูความสามารถในการถ่ายทอดความเข้าใจของผู้แสดงในบทที่ได้รับ โดยอาจจะต้องใช้เวลาพูดคุยกับผู้แสดงเพื่อรู้จักตัวตน และดูว่าสามารถแสดงตัวตนนั้นออกมาได้มากเพียงใด ผู้ที่ทำหน้าที่คัดเลือกผู้แสดงคือ แผนกคัดเลือกผู้แสดง ( casting department ) ร่วมกับผู้กำกับและผู้อำนวยการสร้าง GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production 1.5.การเลือกโรงถ่าย ( indoor/studio ) ในกรณีที่บริษัทไม่มีโรงถ่ายเป็นของตนเอง ต้องใช้วิธีเช่าพื้นที่ในโรงถ่ายของผู้อื่น ซึ่งจะต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเลือกโรงถ่ายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production -ขนาดของพื้นที่ที่ต้องการใช้ -ความสะดวกในการเดินทาง -คุณสมบัติในการเก็บเสียงของโรงถ่าย -ความสะดวกในการเข้าออก -สภาพของโรงถ่าย และอุปกรณ์ต่างๆ ต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production 1.6.การเลือกสถานที่ถ่ายทำนอกโรงถ่าย ( outdoor/location ) การถ่ายทำโดยใช้สถานที่จริงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะบางครั้งค่าใช้จ่ายในการสร้างฉากถ่ายทำในโรงถ่ายสูงมาก และบางครั้งให้ผลไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย เวลา และแรงงานที่เสียไป แต่การพิจารณาเลือกสถานที่ถ่ายทำนอกโรงถ่ายนั้นยุ่งยากกว่า ผู้ที่ทำหน้าที่เลือกสถานที่ถ่ายทำคือ โลเคชั่น เมเนเจอร์ ( location manager ) โดยจะต้องพิจารณาดังนี้ GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production -สภาพแวดล้อมกลางแจ้ง จะต้องสอดคล้องกับเรื่องราวตามบทภาพยนตร์ -สิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน -ปัญหาเสียงรบกวนระหว่างถ่ายทำ -ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่และประชาชนในท้องถิ่น -สภาพอากาศ GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production 1.7.การเลือกสถานที่ถ่ายทำในต่างประเทศ เป็นสิ่งที่ต้องกระทำอย่างรอบคอบ ทั้งในด้านการเลือกสถานที่ถ่ายทำและการติดต่อเตรียมการถ่ายทำ สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในการตัดสินใจเลือกสถานที่ถ่ายทำคือ -ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ของรัฐ GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production -การคมนาคมทั้งระหว่างประเทศและภายในประเทศ -กฎระเบียบทั้งทางด้านศุลกากรและหน่วยงานอื่นๆ ภายในประเทศ -สภาพภูมิอากาศ -อุปกรณ์การถ่ายทำที่มีอยู่ในท้องถิ่น GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production -คุณภาพโรงถ่ายและความชำนาญของทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์ของท้องถิ่น -ที่พักและอาหาร -ความร่วมมือของสมาพันธ์หรือสมาคมภาพยนตร์ท้องถิ่น -คุณสมบัติของสถานที่ที่จะใช้ถ่ายทำทั้งภายในและภายนอก GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production 1.8.การเลือกทีมงาน เป็นงานที่สำคัญที่จะต้องพิจารณา ตั้งแต่จำนวนของทีมงาน ประสบการณ์การทำงาน รสนิยม คุณสมบัติเฉพาะตัว และค่าแรง โดยพิจารณาเลือกจากสิ่งดังต่อไปนี้ GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production -พิจารณาความสามารถและประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา -พิจารณาแนวถนัดในการทำงาน -พิจารณานิสัยและอัธยาศัย -พิจารณาค่าแรง GRAPHIC DESIGN 5
Pre-Production 1.9.การเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายทำ หมายถึงการเลือกอุปกรณ์ กล้อง และฟิล์ม ให้เหมาะสมกับลักษณะของภาพยนตร์ที่จะใช้ถ่ายทำ หรือการเลือกเช่าอุปกรณ์ ต้องพิจารณาถึงการให้บริการว่ามีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้อย่างแท้จริงในการใช้อุปกรณ์แต่ละชิ้นคอยให้บริการด้วย GRAPHIC DESIGN 5
Production 2.ขั้นตอนการถ่ายทำภาพยนตร์ ( production ) เป็นขั้นตอนการลงมือถ่ายทำ หลังจากที่มีการเตรียมงานในขั้นตอนการถ่ายทำเสร็จเรียบร้อย และได้ตารางการถ่ายทำที่สมบูรณ์ออกมาแล้ว การถ่ายทำภาพยนตร์จึงจะเริ่มขึ้น หรือที่เรียกกันว่า “ออกกองถ่าย” ซึ่งจะมีการปฏิบัติงานดังนี้ GRAPHIC DESIGN 5
Production 2.1.การนัดผู้แสดงและทีมงาน เมื่อตารางการถ่ายทำเสร็จสมบูรณ์ เราจะทราบวันถ่ายทำภาพยนตร์ ผู้แสดงและทีมงานจะได้รับใบนัดหมายการถ่ายทำ(shooting call หรือ call sheet )แต่ละครั้ง หรือแต่ละวันที่มีบทแสดงของตนเพื่อนัดหมายเวลา สถานที่ และฉากที่จะถ่ายทำ พร้อมกับแนบบทภาพยนตร์แต่ละตอนไปให้ล่วงหน้า ซึ่งเมื่อใกล้วันถ่ายทำจะต้องมีการยืนยันความแน่นอนกับนักแสดงอีกครั้งหนึ่ง GRAPHIC DESIGN 5
Production 2.2.การประชุมทีมงานก่อนยกกองถ่าย เป็นการประชุมเพื่อทำความเข้าใจในการปฏิบัติงาน แจ้งลำดับงาน และติดตามงานที่ได้ทำไปล่วงหน้าว่าเสร็จพร้อมจะให้ถ่ายทำตามกำหนดหรือไม่ ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์จะเป็นผู้ดำเนินการเรียกประชุมเฉพาะระดับหัวหน้าฝ่ายต่างๆ GRAPHIC DESIGN 5
Production ส่วนการประชุมในด้านการสร้างสรรค์ศิลปะ ผู้กำกับภาพยนตร์จะประชุมร่วมกับผู้กำกับภาพ ผู้ถ่ายภาพ ผู้กำกับศิลป์ ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์ เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องการถ่ายทำ มุมกล้อง การจัดแสง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้กำกับภาพยนตร์ จะต้องมีการตรวจสอบงานด้านออกแบบฉาก และออกแบบเสื้อผ้า การประชุมในครั้งนี้ จะใช้ storyboard เพื่อเป็นแนวทางในการประชุมเพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนยกกองถ่าย GRAPHIC DESIGN 5
Production 2.3.การยกกองถ่าย เมื่อถึงวันถ่ายทำหรือก่อนวันถ่ายทำ ทีมงานทุกคนจะต้องไปถึงจุดนัดหมายตามเวลาที่กำหนด เพื่อออกเดินทางยังสถานที่ถ่ายทำโดยพาหนะที่ทางบริษัทจัดไว้ให้ ทีมงานฝ่ายต่างๆ จะมีรถขนอุปกรณ์ของตนแยกเป็นสัดส่วน ส่วนดารามักจะไปยังสถานที่ถ่ายทำเอง หรืออาจขอให้บริษัทจัดรถรับส่งให้เป็นกรณีพิเศษ เวลาที่นัดหมายดารา จะเป็นเวลาหลังจากที่ทีมงานไปจัดเตรียมงานไว้เรียบร้อยแล้ว GRAPHIC DESIGN 5
Production 2.4.การปฏิบัติงานถ่ายทำประจำวัน 2.4.1.การปฏิบัติงานของแต่ละฝ่ายในกองถ่าย -ฝ่ายฉาก เมื่อรับรู้มุมกล้องและสถานที่ตั้งกล้องแล้ว ผู้กำกับศิลป์จะดูว่าส่วนประกอบของฉากนั้นสมบูรณ์หรือไม่ หากต้องมีการโยกย้ายอุปกรณ์ที่ตกแต่งฉากที่จัดไว้แล้ว ทีมงานจัดวางและโยกย้าย ( swing gang man)จะเป็นผู้ทำตามคำสั่ง ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลอุปกรณ์ประกอบฉาก ( prop master ) ก็จะจัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบฉากไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยจะต้องรับผิดชอบในการจัดหา เก็บรักษา และจัดวางเข้าฉาก GRAPHIC DESIGN 5
Production -ฝ่ายถ่ายภาพ จะต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับกล้องทั้งหมด จัดเตรียมแบบฟอร์มรายงานการถ่ายทำ เตรียมกระดานสเลต ( slate ) ผู้กำกับภาพจะสั่งจัดแสง โดยมีตัวแทนของดาราที่เรียกว่า “stand-in” เป็นผู้อยู่ในฉากแทนดาราในการให้ผู้กำกับภาพจัดแสง และเมื่อมีการเคลื่อนกล้องเพื่อดูการเคลื่อนที่ของดารา ตัว stand-in จะเป็นผู้เดินให้ตรวจสอบทางกล้อง เพื่อความพร้อมของผู้ถ่ายภาพ ผู้กำกับภาพจะเล็งกล้องและสั่งให้เคลื่อนกล้องเหมือนการถ่ายทำจริง เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของภาพที่จะปรากฎในเฟรม จนเป็นที่น่าพอใจ GRAPHIC DESIGN 5
Production -ฝ่ายแต่งตัวและแต่งหน้า ( wardrobe and make-up) ฝ่ายแต่งตัว จะรับผิดชอบการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับให้นักแสดง รวมไปถึงการตกแต่งเสื้อผ้าให้สอดคล้องกับบทแสดง ส่วนฝ่ายแต่งหน้า จะทำงานด้านแต่งหน้าดาราและนักแสดงให้ดูเป็นธรรมชาติ และลบริ้วรอย ข้อบกพร่องบนใบหน้า ตามร่างกายของผู้แสดงที่จะปรากฎในภาพ รวมทั้งการตกแต่งพิเศษ ( special effect make-up ) ด้วย GRAPHIC DESIGN 5
Production 2.4.2.การปฏิบัติการร่วมกันของฝ่ายต่างๆ เมื่อจะเริ่มลงมือถ่ายทำ ผู้กำกับภาพยนตร์จะถามความพร้อมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานถ่ายคือ ฝ่ายเสียง ฝ่ายถ่ายภาพ และฝ่ายผู้แสดง เมื่อทุกฝ่ายพร้อม ผู้กำกับจะเริ่มสั่งการ ในขั้นตอนการถ่ายทำภาพยนตร์นี้ ผู้กำกับเป็นผู้มีอำนาจสิทธ์ขาดในการตัดสินใจแต่เพียงผู้เดียว เพราะผู้กำกับเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อคุณภาพของภาพยนตร์ทั้งเรื่อง มีอำนาจในการตัดสินใจทุกเรื่อง การตัดสินใจและคำชี้ขาดถือเป็นข้อยุติ ในระหว่างการดำเนินงานถ่ายทำ ผู้กำกับมีสิทธิ์ที่จะไม่รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือข้อโต้แย้งของใครๆเลย GRAPHIC DESIGN 5
Post Production 3.กระบวนการและขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ( post production ) เป็นงานที่ปฎิบัติหลังหรือต่อมาจากงานถ่ายทำภาพยนตร์ โดยจะเริ่มตั้งแต่การถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จสิ้นในแต่ละวัน โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถ่ายทำเสร็จทั้งเรื่อง โดยมีงานต่อเนื่อง ดังนี้ GRAPHIC DESIGN 5
Post Production 3.1.งานตัดต่อลำดับภาพ เมื่อนำฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในแต่ละวันส่งล้าง และพิมพ์เป็น work print ออกมา ผู้กำกับภาพยนตร์จะต้องดูแลและเลือกเทคที่พอใจ เพื่อให้ผู้ตัดต่อลำดับภาพดำเนินการต่อดังนี้ GRAPHIC DESIGN 5
Post Production -การเรียงคัต ( assembly ) -การตัดต่อครั้งที่ 1 ( rough cut ) -การตัดต่อครั้งที่ 2 ( fine cut ) -การตัดต่อขั้นสมบูรณ์ ( final cut ) GRAPHIC DESIGN 5
Post Production 3.2.งานพิมพ์ฟิล์มภาพยนตร์ นำ work print ไปใช้ในการตัดฟิล์มต้นฉบับ เมื่อตรวจฟิล์มต้นฉบับเสร็จเรียบร้อยล้ว ก็จะทำการพิมพ์ออกมาเป็นฟิล์มภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง เป็นจำนวน 1 ก๊อปปี้ เราเรียกก๊อปปี้แรกที่ได้ว่า answer print หรือหรือ copy A GRAPHIC DESIGN 5
Post Production ผู้สร้างภาพยนตร์จะตรวจสอบความสมบูรณ์ของภาพ และสี หากไม่พอใจหรือต้องการแก้ไขสีในส่วนใด ก็สั่งแก้ได้โดยอาศัยก๊อปปี้แรกเป็นหลัก จนเป็นที่พอใจ ก็จะพิมพ์ก๊อปปี้ต่อๆไปออกมาจนครบจำนวนที่สั่งพิมพ์ ก๊อปปี้เหล่านี้คือฟิล์มที่ส่งออกฉายตามโรงภาพยนตร์ ซึ่งเราเรียกว่า release print GRAPHIC DESIGN 5