350 likes | 640 Views
http://www.teacher.ssru.ac.th/chantana_in/. SOUND. ช่วยสร้างความเข้าใจและช่วยสร้างอารมณ์ให้ภาพยนตร์เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น แบ่งออกได้ดังนี้ 1. เสียงพูด ( speech ) 2. เสียงประกอบ ( sound effect ) 3. เสียงดนตรี ( music ). GRAPHIC DESIGN 5. SOUND. 1. เสียงพูด ( speech )
E N D
http://www.teacher.ssru.ac.th/chantana_in/ SOUND ช่วยสร้างความเข้าใจและช่วยสร้างอารมณ์ให้ภาพยนตร์เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น แบ่งออกได้ดังนี้ 1. เสียงพูด (speech) 2. เสียงประกอบ ( sound effect) 3. เสียงดนตรี (music) GRAPHIC DESIGN 5
SOUND 1. เสียงพูด (speech) 1.1 เสียงสนทนา (dialogue) 1.2 เสียงบรรยาย (commentary or narration) GRAPHIC DESIGN 5
SOUND 2. เสียงประกอบ (sound effect) 2.1 เสียงประกอบที่อยู่ในฉาก (local sound) 2.2 เสียงประกอบที่อยู่นอกฉาก (background sound หรือambient sound) 2.3 เสียงประกอบที่สร้างขึ้น (artificial sound) GRAPHIC DESIGN 5
SOUND 3. เสียงดนตรี (music) 3.1 เสียงดนตรีที่อยู่ในฉาก (local music) 3.2 เสียงดนตรีที่อยู่นอกฉาก (background music) GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ จำแนกตามลักษณะการนำเสนอ 1. ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเป็นจริง 1.1 ภาพยนตร์ข่าว (newsreel) 1.2 ภาพยนตร์สารคดี (documentary films) 1.3 ภาพยนตร์เพื่อการศึกษา (education film) GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 2. ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหามาจาการประพันธ์ 1. Action (ภาพยนตร์แอ็คชั่น) ภาพยนตร์แบบบู๊ แอ็คชั่น ยิง ต่อสู้ ระทึกใจ เหมาะสำหรับคนชอบความแข็งแรง และศิลปะการต่อสู้ ในภาพยนตร์แนวนี้จะมีฉากยิง ระเบิด เผาสิ่งต่างๆ ที่เราอาจจะหาดูได้ยาก GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 2. Adventure (ภาพยนตร์ผจญภัย) ภาพยนตร์ แนวผจญภัย เข้าป่าฝ่าดง เจอปัญหาอุปสรรคมากมาย และต้องมีการแก้ไข ปัญหาสถานการณ์ หนังแบบนี้ก็เหมาะสมหรับผู้ชมที่ชื่นชอบการผจญ GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 3. Animation (ภาพยนตร์การ์ตูน) การทำให้วัตถุสิ่งของเกิดการเคลื่อนไหว โดยไม่ปรากฏผู้กระทำ 3.1 cel animation 3.2 cut out animation 3.3 puppet animation 3.4 model animation 3.5 object animation GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 4. Comedy (ภาพยนตร์ตลก) ภาพยนตร์ตลก เบาสมอง เหมาะกับคนที่ต้องการดูเพื่อการพักผ่อน 5. Crime (ภาพยนตร์อาชญากรรม) ภาพยนตร์แนวอาชญากรรม แนวการแก้ไข ต่อสู้คดีต่างๆ ของตำรวจ GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 6. Documentary (ภาพยนตร์สารคดี) ภาพยนตร์ที่เน้นเรื่องสาระ ในบางครั้งอาจสร้างจากข้อมูลที่มีอยู่จริง 7. Drama (ภาพยนตร์ชีวิต) ภาพยนตร์ที่ให้ความรู้สึกการดำเนินเรื่องเหมือนชีวิตจริง รู้สึกถึงอารมณ์ ซึ้ง เศร้า เคล้าน้ำตา GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 8. Erotic (ภาพยนตร์อีโรติค) ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ไม่เหมาะกับผู้ชมที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี 9. Family (ภาพยนตร์ครอบครัว) ภาพยนตร์ที่คนทุกคนในครอบครัวดูได้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความผูกพันของคนในครอบครัว แฝงแง่คิดและเดินเรื่องแบบเรียบง่าย เน้นความรักกันของคนในครอบครัว GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 10. Fantasy (ภาพยนตร์ผสมจินตนาการ) จินตนาการแบบที่เราๆ ไม่ค่อยเห็นในชีวิต จะเรียกว่า เหนือจริงก็ได้ 11. Film-Noir ภาพยนตร์ที่เน้นการใช้ภาพเป็นตัวสื่อเนื้อหา ดูง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับบุคคลที่มีประสบการณ์มาก่อน GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 12. Musical (ภาพยนตร์เพลง) มักเน้นใช้การร้องเพลงเป็นตัวดำเนินเรื่อง โดยใช้ให้สอดคล้องกับอารมณ์ของนักแสดง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 13. Mystery (ภาพยนตร์ลึกลับ) ภาพยนตร์ที่ลึกลับ ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้ ดูไปลุ้นไป แต่สุดท้ายก็อาจจะได้คำตอบเดิมก็คือ ไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้เพราะอะไร หรือบางเรื่องก็นำเสนอในมุมมองของผู้สร้างเพื่อให้ผู้ชมคล้อยตาม แต่จะเป็นจริงหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 14. Romance (ภาพยนตร์โรแมนติค) เหมาะกับคู่หนุ่มสาวและผู้ที่กำลังมีความรักทั้งหลายหรือคนที่กำลังอยากจะรักใคร ชมไว้เป็นแนวทางในการทำตน เมื่อมีคนรัก จะได้ความรู้สึกมากขึ้น หากเราเคยมีประสบการณ์และความรู้สึกเหมือนในภาพยนตร์ GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 15. Sci-Fi (ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์) ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาอ้างอิงวิทยาศาสตร์ แต่ทำออกมาให้น่าสนใจอาจจะผสมจินตนาการเข้าไปด้วย และแนวคิดของหนังแนวนี้ก็เป็นแรงกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์พยายามทำให้ได้แบบในหนัง GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 16. Thriller (ภาพยนตร์ระทึกขวัญ) ภาพยนตร์แนวสืบสวนสอบสวน ที่มีการผูกเรื่องเพื่อให้ผู้ชมลุ้นไปด้วยว่าผลสุดท้ายจะออกมาในแนวใด เหมาะกับผู้ที่ชอบการสืบสวน GRAPHIC DESIGN 5
ประเภทของภาพยนตร์ 17. War (ภาพยนตร์สงคราม) ที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์สงครามที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เน้นจุดๆ หนึ่งในสงครามนั้นๆ 18. Western (ภาพยนตร์ตะวันตก) หนังคาวบอยตะวันตก ปัจจุบันอาจจะดูไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไรเพราะความแปลกใหม่ในการนำเสนอหายากขึ้นและเสี่ยงมากที่จะทำออกมา GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทภาพยนตร์ ตามระบบการจัดระดับภาพยนตร์เอ็มพีเอเอ (MPAA film rating system) โดย สมาคมภาพยนตร์อเมริกัน (Motion Picture Association of America หรือ MPAA) ดังจะสามารถพบเห็นการกำหนดเรทได้ตาม เว็บไซต์ภาพยนตร์อย่างเห็นได้ชัด ระดับ ภาพยนตร์ หรือเรทภาพยนตร์ ได้แก่ GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทภาพยนตร์ ( G = General Audiences ) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ อาจประกอบไปด้วย ความรุนแรงทางจินตนาการ หรือความรุนแรงทางอารมณ์ขัน แต่ต้องไม่มีภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบอาจพบได้ในปริมาณน้อย แต่ไม่สามารถพบได้ในวัยเด็กและเยาวชน GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทภาพยนตร์ ( PG = Parental Guidance Suggested ) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ แต่แนะนำให้เด็กและเยาวชนนั้น มีผู้ปกครองหรือ ผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำแนะนำ เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วย ความ รุนแรงเพียงเล็กน้อย การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ยาเสพติด ภาพโป๊ ภาพเปลือย และ/หรือกิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทภาพยนตร์ ( PG 13= Parents Strongly Cautioned) อนุญาตให้ทุกวัยเข้าชมได้ แต่เนื่องจากเนื้อหาบางส่วนอาจจะไม่เหมาะสมกับ เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปี โดยเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ร่วมชมและคอยให้คำเตือน เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วย ความรุนแรงระดับปานกลาง การใช้ภาษาที่รุนแรง การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติดเพียงเล็กน้อย GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทภาพยนตร์ ( R = Restricted ) เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีจะเข้าชมได้ ต่อเมื่อมีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ไปด้วยเท่านั้น ห้ามเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปีเข้าชมเพียงลำพัง เนื่องจากเนื้อหาประกอบไปด้วย ความรุนแรงระดับมาก ภาพสยดสยอง การใช้ภาษาที่รุนแรงระดับมาก การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติด GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทภาพยนตร์ ( NC-17 = No one 17 and under admitted ) ไม่อนุญาตให้เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 17 ปี เข้าชมโดยเด็ดขาด เพราะเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาสำหรับผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่เท่านั้น เนื้อหาประกอบไปด้วย ความโหดร้าย ความรุนแรงระดับมากที่สุด ภาพสยดสยอง การใช้ภาษาที่รุนแรงระดับมากที่สุด การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ภาพโป๊ ภาพเปลือย กิจกรรมทางเพศหรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทางเพศ และ/หรือการใช้ยาเสพติด GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทภาพยนตร์ ภาพยนตร์ที่ยังไม่ได้กำหนดเรท จัดให้เป็น เอ็นอาร์ (NR = Not Rated) หรือข้อความว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังไม่ได้กำหนดเรท (This film is not yet rated) อย่างไรก็ตาม ระดับนี้ไม่นับเป็นระดับเรทอย่างเป็นทางการของสมาคมภาพยนตร์อเมริกัน GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทรายการโทรทัศน์ ในประเทศไทย เริ่มใช้ตั้งแต่ 15 ตุลาคมพ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ใหม่ โดยเปลี่ยนสีของสัญลักษณ์จัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ ให้เหลือเพียง 3 สี คือ สีเขียว สีเหลือง และสีแดง โดยโดยมีการแบ่งความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์เป็น 6 ประเภท โดยจัดวางไว้ทางมุมล่างด้านซ้ายของรายการโทรทัศน์ ดังนี้ GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทรายการโทรทัศน์ ในประเทศไทย มีสัญลักษณ์รูปจิ๊กซอว์ อยู่ในช่องสี่เหลี่ยมด้านซ้ายมือสีเขียว ด้านขวามือมีตัวอักษร "ป" รายการประเภทนี้ เป็นรายการที่ผลิตขึ้นสำหรับเด็กในวัย 3-5 ปี เช่น เจ้าขุนทอง GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทรายการโทรทัศน์ ในประเทศไทย มีสัญลักษณ์รูปเด็กยิ้ม อยู่ในช่องสี่เหลี่ยมด้านซ้ายมือสีเขียว ด้านขวามือมีตัวอักษร "ด"รายการประเภทนี้ เป็นรายการที่ผลิตขึ้นสำหรับเด็กในวัย 6-12 ปี เช่น โมเดิร์นไนน์การ์ตูน GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทรายการโทรทัศน์ ในประเทศไทย มีรูปบ้านสีขาวอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมสีเขียวซ้ายมือ ด้านขวา มีอักษร "ท" และมีคำว่า "ทุกวัย" อยู่ด้านล่างรายการประเภทนี้ เป็นรายการทั่วไป สามารถรับชมได้ทุกวัย เป็นรายการที่ไม่มีเนื้อหาที่แสดงถึงความรุนแรง หรือเนื้อหาที่ต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม เช่นละครจักร ๆ วงศ์ ๆรายการบางเรื่อง เช่นเกมวัดดวงยกสยามทีน พลัส โชว์ทูไนท์โชว์ปลดหนี้แฟนพันธุ์แท้ เป็นต้น GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทรายการโทรทัศน์ ในประเทศไทย มีเครื่องหมายถูก และเครื่องหมายผิด (กากบาท) อยู่ในช่องสี่เหลี่ยมสีเหลืองด้านซ้ายมือ ด้านขวามีตัวอักษร "น" และด้านล่างมีตัวเลข "๑๓ (เลข 13 ไทย) " และเครื่องหมายบวกรายการประเภทนี้ เป็นรายการที่เหมาะสำหรับผู้ชมที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป เป็นรายการที่อาจมีภาพ เสียง หรือเนื้อหา ที่ต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม ผู้ชมที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี ควรได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ ไม่ควรรับชมรายการประเภทนี้ตามลำพัง เช่น การ์ตูนบางเรื่อง ละครโทรทัศน์บางเรื่อง รายการชิงร้อยชิงล้าน GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทรายการโทรทัศน์ ในประเทศไทย มีเครื่องหมายถูก และเครื่องหมายผิด (กากบาท) อยู่ในช่องสี่เหลี่ยมด้านซ้ายมือ เช่นเดียวกับรายการประเภท น ๑๓+ แต่ด้านขวามือมีตัวอักษร "น" และตัวเลข "๑๘ (เลข 18 ไทย) " และเครื่องหมายบวกรายการประเภทนี้ เป็นรายการที่เหมาะสำหรับผู้ชมที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นรายการที่อาจมีภาพ เสียง หรือเนื้อหา ที่ไม่เหมาะสมด้านพฤติกรรม ความรุนแรง เพศ และการใช้ภาษา ซึ่งต้องใช้วิจารณญาณในการรับชม ผู้ชมที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ จึงไม่ควรรับชมรายการประเภทนี้ตามลำพัง GRAPHIC DESIGN 5
การจัดเรทรายการโทรทัศน์ ในประเทศไทย มีเครื่องหมายฟ้าผ่า อยู่ในช่องสี่เหลี่ยมสีแดงด้านซ้ายมือ ด้านขวามีตัวอักษร "ฉ" ด้านบน ด้านล่าง มีข้อความว่า "เฉพาะผู้ใหญ่"รายการประเภทนี้ เป็นรายการเฉพาะผู้ใหญ่ อาจมีภาพ เสียง หรือเนื้อหา ที่ไม่เหมาะสมด้านพฤติกรรม ความรุนแรง เพศ และการใช้ภาษา ซึ่งเมื่อเปิดเจอรายการที่เป็นลักษณะนี้แล้ว จึงไม่ควรให้เด็กและเยาวชนชมเพราะรายการเหล่านี้จะมีเนื้อหาที่อันตรายอย่างชัดเจน ซึ่งจะมีภาพที่ใช้ความก้าวร้าว รุนแรง น่ากลัว สะเทือนใจ มีผลกระทบทางจิตใจ หรือลักษณะที่ไม่เหมาะสม และอาจมีภาพที่มักจะเกี่ยวกับบางสิ่งที่เด็กไม่ควรเลียนแบบ GRAPHIC DESIGN 5
การกำหนดเวลาออกอากาศ ไม่จำกัดช่วงเวลา หลังเวลา 20.00 -06.00 น. หลังเวลา 22.00-05.00 น. หลังเวลา 24.00-05.00 น. GRAPHIC DESIGN 5