570 likes | 1.11k Views
การประเมิน PISA 2012. กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. แนวทางการประเมินของโครงการ PISA.
E N D
การประเมิน PISA 2012 กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36
แนวทางการประเมินของโครงการ PISA PISA (Program for International Student Assessment) เป็นโครงการประเมินผลนักเรียนระดับนานาชาติ ที่ดำเนินการ โดยองค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ตั้งแต่ ปี 2000 โดยจะประเมินต่อเนื่องกันทุก 3 ปี จุดมุ่งหมาย : เพื่อประเมินว่านักเรียนอายุ 15 ปี ที่เรียนในสถานศึกษาทุกสังกัดของประเทศนั้น ๆ ได้รับการเตรียมพร้อม ด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการเป็นประชาชนที่มีคุณภาพในอนาคต และมีส่วนร่วมสร้างสังคมหรือไม่
คณิตศาสตร์ 60% การอ่าน 20% วิทยาศาสตร์ 20%
กลุ่มเป้าหมายของการประเมินกลุ่มเป้าหมายของการประเมิน • นักเรียนที่มีอายุ 15 ปี ณ วันที่ 1 มกราคม ของปีที่เก็บข้อมูล (จบการศึกษาภาคบังคับแล้ว) • นักเรียนที่เกิดระหว่างเดือนมิถุนายน 2539 (อายุ 16 ปี 2 เดือน) ถึงพฤษภาคม 2540 (15 ปี 3 เดือน) ประเมินในช่วงเดือนสิงหาคม 2555
กรอบการสุ่ม PISA 2012 12,098 โรง 240 โรง สังกัด
กรอบการสุ่ม PISA 2012 12,098 โรง 240 โรง อนุภูมิภาค สพม. 7 โรง
ลักษณะข้อสอบ PISA • ข้อสอบมี 13 ฉบับ เป็นลักษณะคู่ขนาน (นักเรียน 1 คน ทำ 1 ฉบับ) • ข้อสอบจะไม่ถามเนื้อหาสาระโดยตรงตามหลักสูตร • ข้อสอบจะกำหนดข้อมูลหรือสถานการณ์มาให้ เป็นการอ่านเอาเรื่อง มีทั้งข้อสอบประเภทความจำและการคิด แต่ละข้อให้น้ำหนักคะแนนไม่เท่ากัน • รูปแบบข้อสอบมีทั้งแบบเลือกตอบ เลือกตอบแบบเชิงซ้อน สร้างคำตอบอิสระ สร้างคำตอบแบบปิด และเขียนตอบสั้น ๆ โดยให้เหตุผลสนับสนุนคำตอบ • สามารถใช้เครื่องช่วยคำนวณได้ในกรณีวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่โจทย์ไม่ได้ถามเพื่อหาคำตอบตรง ๆ แต่ต้องการค่าโดยประมาณ และ บอกเหตุผลที่ตอบ • ทำไม่ถูก กับ ไม่ได้ทำ มีความหมายต่างกัน ถ้านักเรียนทำไม่ได้หรือทำไม่ทัน ให้ข้ามไป • โรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจะมีนักเรียนเข้าสอบไม่เกิน 35 คน
การรายงานผลของ PISA 2009 1. คะแนนเฉลี่ย OECD การอ่าน Mean= 493 S.D.= 93 คณิตศาสตร์ Mean= 496 S.D.= 92 วิทยาศาสตร์ Mean= 501 S.D.= 94 2. ระดับสมรรถนะ ระดับ 2 ถือว่าเป็นระดับพื้นฐาน (Base Line) ที่บอกว่านักเรียนเริ่มรู้เรื่องและสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียนรู้ ในชีวิตจริงและในอนาคต การอ่าน ระดับ 1 - ระดับ 6 วิทยาศาสตร์ ระดับ 1 - ระดับ 6 คณิตศาสตร์ ระดับ 1 - ระดับ 6
ร้อยละของนักเรียนในเอเชียที่มีระดับสมรรถนะต่ำกว่าระดับ 2 (PISA 2009)
นักเรียนไทยไม่เคยชินกับข้อสอบในลักษณะนักเรียนไทยไม่เคยชินกับข้อสอบในลักษณะ การเขียนตอบหรือให้คำอธิบายยาว ๆ การตีความ คิด วิเคราะห์ และสะท้อนเอาความคิดหรือปฏิกิริยาของตนที่ตอบสนองต่อข้อความที่ได้อ่าน หรือข้อมูลที่ให้มา สิ่งเหล่านี้แทบจะไม่เคยปรากฏในการสอบของประเทศไทย
ข้อสอบการอ่าน • ค้นหาหรือสรุปสาระสำคัญจากเรื่องที่อ่าน การค้นสาระ • ตีความหรือแปลความจากเรื่องที่อ่าน • วิเคราะห์เนื้อหาหรือข้อความที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งต่าง ๆ การตีความ • วิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอของข้อความ • ประเมินและให้ความเห็นหรือโต้แย้งด้วยมุมมอง ของตนเองต่อบทความที่อ่าน การวิเคราะห์ และประเมิน
ข้อสอบคณิตศาสตร์ • ระบุตัวแปรหรือประเด็นที่สำคัญจากสถานการณ์ในโลกจริง • รับรู้ถึงโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ในปัญหาหรือสถานการณ์ • ทำปัญหาหรือสถานการณ์ให้อยู่ในรูปอย่างง่าย หรือแปลงโมเดลทางคณิตศาสตร์ การกำหนดปัญหาทางคณิตศาสตร์ • เลือกและใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ • ใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์หาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา • ประยุกต์ใช้ข้อเท็จจริง กฎ ขั้นตอนและโครงสร้างในการแก้ปัญหา การนำกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ • นำผลที่ได้จากการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตจริง • ประเมินความเหมาะสมของวิธีแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในบริบทของความเป็นจริง • ระบุและวิจารณ์ข้อจำกัดของรูปแบบที่ใช้ในการแก้ปัญหา การแปลผลลัพธ์ ทางคณิตศาสตร์
เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่ครอบคลุมเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ที่ครอบคลุม • ปริภูมิและรูปทรงสามมิติ • การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ • ปริมาณ • ความไม่แน่นอน
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ • รู้ว่าประเด็นปัญหาหรือคำถามใด ตรวจสอบได้ด้วยวิทยาศาสตร์ • บอกคำสำคัญสำหรับการค้นคว้า • รู้ลักษณะสำคัญของการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ การระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ • ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลและสอดคล้อง กับประจักษ์พยาน • บรรยายหรือตีความปรากฏการณ์และพยากรณ์การเปลี่ยนแปลง ในเชิงวิทยาศาสตร์ • ระบุได้ว่าคำบอกเล่า คำอธิบาย และการพยากรณ์ใดที่สมเหตุสมผล การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ • ตีความหลักฐานประจักษ์พยานหรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ลงข้อสรุป และสื่อสารข้อสรุป • ระบุข้อตกลงเบื้องต้น ประจักษ์พยานที่อยู่เบื้องหลังข้อสรุป • แสดงให้เห็นว่าเข้าใจแนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ไปใช้ในสถานการณ์หรือบริบทต่างๆ • สะท้อนถึงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีนัยต่อสังคม การใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์
เนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ที่ครอบคลุมเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ที่ครอบคลุม • ระบบกายภาพ • ระบบสิ่งมีชีวิต • ระบบโลกและอากาศ • ระบบเทคโนโลยี • การค้นคว้าหาความรู้ • กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนการเตรียมความพร้อมของโรงเรียน
ประกาศ สพฐ. เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน สู่การยกระดับผลการประเมินนักเรียนนานาชาติ (PISA) ปี 2012 กำหนดนโยบายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนดำเนินการ ดังนี้ • โรงเรียนจัดช่วงเวลาอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง ส่งเสริมการอ่านเอาเรื่อง จับใจความสำคัญ ตีความและคิดวิเคราะห์ ครอบคลุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน • ให้โรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การสอบ PISA แก่นักเรียนชั้น ม.3 , ม.4 อย่างต่อเนื่อง ทั้งในและนอกเวลาเรียน และรายงานผลต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นระยะ ๆ • โรงเรียนต้องจัดให้มีการประเมินผลนักเรียนนานาชาติก่อนสอบจริง (Pre-PISA) แก่นักเรียนชั้น ม.3 และ ม.4 • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการติดตามให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้การสอบ PISA แก่โรงเรียนอย่างใกล้ชิดทุกสัปดาห์ และรายงานผลต่อ สพฐ. ทุกวันที่ 15 ของเดือน • โรงเรียนใดที่ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้การสอบ PISA มีผลการประเมินสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับกลาง จะถือว่าปฏิบัติงานประสบความสำเร็จ ควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป
สิ่งที่โรงเรียนต้องดำเนินการสิ่งที่โรงเรียนต้องดำเนินการ ประชุมครูในโรงเรียน เพื่อเตรียมการนำข้อสอบไปใช้ฝึกนักเรียน ชี้แจงให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการฝึกทำข้อสอบ PISAอาจกำหนดมาตรการ จูงใจ หรือยกย่องให้กำลังใจนักเรียน จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การสอบ PISA ให้นักเรียนที่เกิดระหว่างเดือนมิถุนายน 2539 (อายุ 16 ปี 2 เดือน) ถึงพฤษภาคม 2540 (15 ปี 3 เดือน) ทุกคน เพื่อให้ได้ฝึกทำข้อสอบ PISA ในการฝึกทำข้อสอบของนักเรียน ให้ดำเนินการดังนี้ 3.1 ให้นักเรียนทำข้อสอบการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 3.2 ครูนำข้อสอบมาอภิปรายกับนักเรียนเป็นรายข้อ โดยให้นักเรียนชี้แจงว่าคิดเห็นอย่างไร ให้คำตอบนี้ด้วยเหตุผลใด เห็นด้วยหรือไม่ อย่างไรกับคำตอบของเพื่อน 3.3 ให้นักเรียนช่วยกันสรุปคำตอบแต่ละข้อว่าควรเป็นอย่างไร โดยไม่ให้ครูเฉลยก่อน 4. จัดให้มีการประเมินผลนักเรียนนานาชาติก่อนสอบจริง (Pre-PISA)
กิจกรรมที่โรงเรียนต้องรายงานให้ สพม.เขต 36 ทราบ การประชุมครูในโรงเรียน เพื่อเตรียมการนำข้อสอบไปใช้ฝึกนักเรียน การประชุมชี้แจงให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการฝึกทำข้อสอบ PISA การประเมินผลนักเรียนนานาชาติ ก่อนการเตรียมความพร้อม (Pre-test) ตรวจกระดาษคำตอบ และบันทึกผลคะแนน แยกเป็นรายคน/รายวิชา เพื่อ**ประมาณฉบับละ 20 ข้อ** การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การสอบ PISA เพื่อให้ได้ฝึกทำข้อสอบ PISA การประเมินผลนักเรียนนานาชาติหลังการเตรียมความพร้อม (Post-test) ตรวจกระดาษคำตอบ และบันทึกผลคะแนน แยกเป็นรายคน/รายวิชา เปรียบเทียบความก้าวหน้า Posttest – Pretest การปรับปรุงซ่อมเสริมนักเรียนตามจุดอ่อน จุดด้อย เป็นรายคน ตามประเด็นที่ค้นพบจากการทำแบบทดสอบ
วางแผนทำเมื่อไหร่ อย่างไร ผู้รับผิดชอบเป็นใคร กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นใด กี่คน เมื่อดำเนินการแล้วผลเป็นอย่างไร (ควรมีคำสั่ง/ภาพกิจกรรมประกอบ)
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การสอบ PISA การประเมินผลนักเรียนนานาชาติก่อนสอบจริง (Pre-PISA) CD : PISA
สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเพิ่มเติมสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเพิ่มเติม
นักเรียนสะกดคำผิดและขาดทักษะในการเขียนภาษาไทยนักเรียนสะกดคำผิดและขาดทักษะในการเขียนภาษาไทย ตัวอย่างที่ 1 : ในขั้นตอนที่4ของกระบวนการทำความสะอาด คลอรีนถูกเติมลงไปในน้ำทำไมจึงเติมคลอรีนลงไปในน้ำ ตัวอย่างที่2 : ตรวจดูก๊าซที่ปล่อยออกมาจากเครื่องแปลงไอเสีย วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ ที่ทำเครื่องแปลงไอเสียเพื่อให้ผลิตก๊าซที่เป็นอันตรายน้อยลงยังมีปัญหาที่ควรต้องแก้ไข ปัญหาหนึ่งนั้นคืออะไร
ตัวอย่างที่ 3 : สุวรรณและมาริกาต้องการใช้เชื้อเพลิงที่ไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เชื้อเพลิงชนิดไหนที่ควรจะแนะนำให้สุวรรณและมาริกาใช้ ไม้ หรือ โพรเพน ให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนคำแนะนำของนักเรียนด้วย ตัวอย่างที่4 : จงอธิบายว่าทำไมเครื่องมือผ่าตัดที่ใช้ในห้องผ่าตัดจึงถูกทำให้ปลอดเชื้อ
ตัวอย่างที่ 6 : ตัวอย่างที่ 7 :
นักเรียนแสดงทัศนคติที่ไม่ดีต่อการสอบนักเรียนแสดงทัศนคติที่ไม่ดีต่อการสอบ ตัวอย่างที่ 15 : นักหนังสือพิมพ์เขียนว่า “รถไฟลอยด้วยแรงแม่เหล็กวิ่งด้วยความเร็ว 500 กม./ชม. วิ่งผ่านไปอย่างเงียบๆ เหมือนกับไม่มีความต้านลม” นักเรียนเห็นด้วยกับข้อความของนักหนังสือพิมพ์หรือไม่จงให้เหตุผล
ตัวอย่างที่ 16 : ข้อสนเทศใดในตารางที่แสดงว่า ม้าในยุคปัจจุบันมีวิวัฒนาการมาจากซากฟอสซิลทั้งสามชนิดในตาราง จงอธิบาย ตัวอย่างที่ 17 : อมันดาซื้อเครื่องเป่าผมใหม่ ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าเครื่องเก่า ทำไมอมันดาอาจจะใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่าเมื่อเธอเป่าผมด้วยเครื่องเป่าผมใหม่แทนที่จะใช้เครื่องเป่าผมเก่า