490 likes | 2.28k Views
โรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา. THEEPARATPITTAYA SHCOOL. ยินดีต้อนรับสู่ ประวัติ จังหวัดภูเก็ต. อำเภอต่างๆของจังหวัดภูเก็ต. อำเภอเมืองภูเก็ต มี 8 ตำบล ตลาดใหญ่ ( Talat Yai ) ตลาดเหนือ ( Talat Nuea ) เกาะแก้ว ( Ko Kaeo ) รัษฎา ( Ratsada ) วิชิต ( Wichit ) ฉลอง ( Chalong )
E N D
โรงเรียนทีปราษฎร์พิทยาโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา THEEPARATPITTAYA SHCOOL ยินดีต้อนรับสู่ ประวัติ จังหวัดภูเก็ต
อำเภอต่างๆของจังหวัดภูเก็ตอำเภอต่างๆของจังหวัดภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต มี 8 ตำบล ตลาดใหญ่ (TalatYai) ตลาดเหนือ (TalatNuea) เกาะแก้ว (KoKaeo) รัษฎา (Ratsada) วิชิต(Wichit) ฉลอง(Chalong) ราไวย์(Rawai) กะรน(Karon) อำเภอถลาง มี 6 ตำบล เทพกระษัตรี (ThepKrasattri) ศรีสุนทร (Si Sunthon) เชิงทะเล (ChoengThale) ป่าคลอก (Pa Khlok) ไม้ขาว (Mai Khao) สาคู (Sakho) อำเภอกะทู้ มี 3 ตำบล กะทู้ (Kathu) ป่าตอง (Pa Tong) กมลา (Kamala)
คำขวัญและตราประจำจังหวัด คำขวัญ ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม
ประวัติความเป็นมา ภูเก็ต เป็นชื่อที่ใช้ในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้เราใช้คำว่า "ภูเก็จ" แปลว่า เมืองแก้ว ซึ่งตรงกับความหมาย เดิม ที่ชาวทมิฬเรียกเมืองนี้ว่า "มณีคราม" ตามหลักฐานที่ปรากฏเมื่อ พ.ศ. 1568 ปัจจุบัน ภูเก็ตเป็น จังหวัดหนึ่ง ทางภาคใต้ของประเทศไทย ที่มีประวัติความเป็นมา ปรากฎในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีนานนับพันปี เป็นที่รู้จักของนักเดินเรือ ที่ใช้เส้นทางระหว่างจีน กับอินเดียโดยผ่าน แหลมมาลายู มีหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือหนังสือภูมิศาสตร์ และแผนที่เดินเรือของปาโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทาง จากแหลมสุวรรณภูมิ ลงมาแหลมมาลายู ต้องผ่านแหลม "จังซีลอน" ซึ่งก็คือ เกาะภูเก็ตนั่นเอง นอกจากนี้ ยังปรากฎในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยว่า ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่ง ของอาณาจักรตามพรลิงค์
ประวัติความเป็นมา ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย และในสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่า "เมืองตะกั่วถลาง" เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักกษัตร โดยใช้ตราประจำเมืองเป็นรูปสุนัข จนถึง สมัยสุโขทัย เมืองถลางขึ้นอยู่กับ เมืองตะกั่วป่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่ ที่เก็บสินค้า เพื่อรับซื้อแร่ดีบุกที่เมืองภูเก็ต ดังนั้นเกาะภูเก็ตทางตอนเหนือ และตอนกลางเป็น เมืองถลาง ที่มีคนไทยปกครอง ส่วนทางวันตก และตอนใต้ ของเกาะ เป็นเมืองภูเก็ต ที่มีชาวต่างชาติเข้ามารับ ซื้อแร่ดีบุก จนกระทั่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ทางใต้เรื่อยมาถึงเมืองถลางขณะนั้น เจ้าเมืองถลางเพิ่งถึงแก่กรรมลง คุณหญิงจัน ภรรยาและ คุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังพลต่อสู้กองทัพพม่า จนแตกพ่ายไปในที่สุด เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งคุณหญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร ต่อมาเมืองภูเก็ตก็ได้เจริญเติบโตมากขึ้น จากการค้าและเหมืองแร่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้รวบรวม หัวเมือง ชายทะเลตะวันตกเป็น "มณฑลภูเก็ต" และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกมณฑลภูเก็ต และ เปลี่ยนมาเป็น "จังหวัดภูเก็ต" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต เกาะสิเหร่ เป็น เกาะขนาดเล็กอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต อยู่ห่างจากตัวเมืองรวม 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันนี้ถือเป็นพื้นที่อันเดียวกับเกาะภูเก็ต มีคลองเล็กๆ ชื่อคลองท่าจีนคั่นเท่านั้น ประชากรที่เกาะสิเหร่นี้ส่วนหนึ่งเป็นชาวเล หรือชาวน้ำ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในจำนวนชาวเลที่อาศัยอยู่ในเกาะภูเก็ต เกาะสิเหร่ เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์มีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่อยู่บนยอดเขา ชายหาดไม่เหมาะสำหรับการการเล่นน้ำ พื้นทรายมีโคลนปน สะพานหินสถานที่ พักผ่อนหย่อนใจภายในตัวเมือง อยู่สุดถนนภูเก็ตซึ่งยื่นลงไปในทะเลเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์หลัก 60 ปี ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัสไมล์ ชาวออสเตรเลียผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาใช้ขุดแร่ดีบุกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2452
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต หาดราไวย์อยู่ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 17 กิโลเมตร เส้นทางจาห้าแยกฉลองไปสู่หาดราไว (ทางหลวง 4024) เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดสายหนึ่งของภูเก็ต หาดราไว เป็นหาดที่สวยงามและมีชาวเลอาศัยอยู่ อนุสาวรีย์วีรสตรีอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีย์และท้าวศรีสุนทร ตั้งอยู่ที่สี่แยกท่าเรือ เขตอำเภอถลาง ก่อนถึงตัวเมืองภูเก็ต 12 กิโลเมตร เกาะแก้วอยู่ ห่างจากหาดราไวประมาณ 3 กิโลเมตร นั่งเรือจากหาดราไวประมาณ 30 นาที มีหาดทรายและธรรมชาติใต้น้ำสวยงามมาก บนเกาะมีรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่ด้วย
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต แหลมพรหมเทพอยู่ ห่างจากหาดราไวประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่าแหลมเจ้า บริเวณแหลมพรหมเทพเป็นส่วนที่สวยงามที่สุดส่วนหนึ่งของเกาะภูเก็ต เหนือแหลมพรหมเทพเป็นที่ราบสำหรับจอดรถซึ่งอยู่บนหน้าผาสูงริมทะเล จากหน้าผานี้จะมองเห็นแหลมพรหมเทพทอดยาวออกไปในทะเล จะเห็นเกาะหลายเกาะรวมทั้งเกาะแก้ว ทางด้านขวามือจะเห็นแนวหาดทรายของหาดในหานชัดเจน จากบนหน้าผามีทางเดินลงเขาไปจนถึงสุดแหลมพรหมเทพได้ เป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกได้งดงามยิ่งนัก หาดกมลาอยู่ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 26 กิโลเมตร จากอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีย์ท้าวศรีสุนทร เลี้ยวซ้ายผ่านหาดสุรินทร์ แหลมสิงห์ ก็จะถีงหาดกมลาเป็นแนวหาดทรายยาวประมาณ 2 กิโลเมตร นับเป็นหาดหนึ่งที่สงบเงียบ มีสถานที่พักไม่มากนัก
สถานแสดงพันธ์สัตว์น้ำ สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต Phuket Aquariumเป็นสถานที่จัดแสดงเกี่ยวกับสัตว์น้ำจืด และสัตว์ทะเล มีมากกว่า 100 ชนิดโดยการจัดแสดงในตู้ทรงรูปแบบและขนาดต่างๆและชมการแสดงสัตว์ทะเลในตู้อุโมงค์ที่จุน้ำทะเล200 ตัน และตู้ขนาดใหญ่จุน้ำทะเล 140 ตัน แสดงสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ ต่างๆมากมายชมการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต หมู่บ้านไทยและสวนกล้วยไม้ภูเก็ตอยู่ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร บนถนนเทพกษัตรีย์ ภายในมีการแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน การแสดงของช้าง ฟาร์มกล้วยไม้ ฯลฯ
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต วัดพระนางสร้างอยู่ ห่างจากตัวเมือง 20 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางถนนเทพกษัตรีย์ ถึงสี่แยกอำเภอถลาง ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายเป็นวัดที่เก่าแก่ และเป็นแหล่งประวัติศาสตร์เมืองถลางที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นค่ายสู้รบกับพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2328 นอกจากนี้ภายในอุโบสถเก่าแก่ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ และใหญ่ที่สุดในโลก 3 องค์เรียกว่า “พระในพุง” หรือ “พระสามกษัตริย์” ซึ่งอยู่ในพระอุทรของพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ 3 องค์อีกชั้นหนึ่ง อ่าวป่าตองห่าง จากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนวิชิตสงคราม หรือ ทางหลวง 4020 ไป 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวง 4029 ไปอีก 6 กิโลเมตร เป็นอ่าวที่มีความโค้งมาก หาดทรายงดงามเป็นแนวยาว 9 กิโลเมตร น้ำทะเลใสสะอาด เหมาะแก่การเล่นน้ำมากที่สุด
โรงเรียนทีปราษฎร์พิทยาโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา THEEPARATPITTAYA SHCOOL จัดทำโดย ด.ญ.กลุปริยา เวชกามาเลขที่ 9 ด.ญ.วราภรณ์ ทองคำ เลขที่ 19 ด.ญ.วารี พลพุ่ม เลขที่ 20 ด.ญ.สโรชา นครไทย เลขที่ 25 ด.ญ.จันทิมา ไชยเดช เลขที่ 26 ขอบคุณที่รับชมค่ะ Thank You very much