1 / 61

GMO

GMO. สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม. ประวัติความเป็นมา > GMO <.

chesna
Download Presentation

GMO

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. GMO • สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

  2. ประวัติความเป็นมา > GMO < หลักการทั่วไปของการผลิต GMO คือการเติมองค์ประกอบทางพันธุกรรมเข้าไปในจีนของสิ่งมีชีวิตเพื่อสร้างลักษณะใหม่ขึ้นมา การศึกษาทางด้านพันธุวิศวกรรมทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์หลายประการด้วยกันรวมไปถึงการค้นพบดีเอ็นเอและการสร้างแบคทีเรียตัวแรกที่ถูกรีคอมบิแนนท์ใน พ.ศ.2516 เป็นแบคทีเรียอีโคไลที่แสดงยีนแซลมอนเนลลาออกมา ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงกันในแวดวงนักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากพันธุวิศวกรรม ซึ่งนำไปสู่การถกประเด็นอย่างละเอียดในการประชุมอสิโลมาร์ที่เมืองแปซิฟิกโกรฟมล รัฐแคริฟอล์เนีย สหรัฐอเมริกา คำแนะนำที่สรุปได้จากการประชุมเสนอว่าให้รัฐบาลทำการเฝ้าสังเกตการวิจัยรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอจนกว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะได้ถูกรับรองว่าปลอดภัย จากนั้นเฮอร์เบิร์ตบอยเออร์ ทำการก่อตั้งบริษัทแห่งแรกที่ใช้เทคโนโลยีการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ คือบริษัทจีเน็นเทค และใน พ.ศ.2521 ทางบริษัทจึงประกาศถึงการสร้างแบคทีเรียสายพันธุ์อีโคไลที่สามารถผลิตอินซูลินที่เกิดจากโปรตีนในร่างกายมนุษย์ได้ ในปี พ.ศ.2529 บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขนาดเล็กชื่อว่า Advanced Genetic Sciences แห่งเมืองโอ๊คแลนด์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ทำการทดลองภาคปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าแบคทีเรียที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมแล้วจะสามารถป้องกันพืชจากความเสียหายที่เกิดจากแบคทีเรียไอซ์ไมนัสได้หรือไม่ ซึ่งการทดลองนี้ถูกชะลอไปหลายต่อหลายครั้งจากคู่แข่งในวงการเดียวกัน ในปีเดียวกัน การทดลองภาคปฏิบัติโดยบริษัท Monsanto เพื่อทดสอบว่า จุลินทรีย์ดัดแปลงพันธุกรรมสามารถป้องกันแมลงได้หรือไม่ ได้ถูกยกเลิกไป

  3. GMO คืออะไร ได้มีการนำเทคโนโลยีทางด้านพันธุวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยนำหน่วยพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งถ่ายเข้าไปรวมหรือร่วมอย่างถาวรกับหน่วยพันธุกรรมกับหน่วยพันธุกรรม ของพืชอีกชนิดหนึ่ง ทำให้สามารถแสดงลักษณะที่ไม่เคยมีอยู่ในธรรมชาติสำหรับพืชชนิดนั้น พืชชนิดนั้นจึงเรียกว่าเป็น พืชที่ได้รับตัดต่อสารพันธุกรรม ( Genetically Modified Plants ) ปัจจุบันมีพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมหลายชนิดที่เป็นที่ยอมรับและได้มีการปลูกเป็นการค้าในต่างประเทศหลายชนิด เช่น มะละกอ, ข้าวโพด, ฝ้าย และถั่วเหลือง เป็นต้น อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมดังกล่าวแล้ว ก่อให้เกิดความกังวลในหมู่สาธารณชนและนักวิชาการ ในการควบคุมภยันตรายซึ่งอาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงกำหนดมาตรการ เพื่อควบคุมการนำเข้าพืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม

  4. การแสดงออกของยีน หมายถึง การถอดรหัสพันธุกรรมของยีนจากดีเอ็นเอเป็น mRNA แล้วเกิดการแปลรหัสเป็นโปรตีน รหัสพันธุกรรมของยีนในดีเอ็นเอ เป็นตัวกำหนดชนิดของโปรตีนที่เซลล์สร้าง โดยเริ่มจากการถอดรหัสพันธุกรรมที่อยู่ในดีเอ็นเอเป็น mRNAในนิวเคลียส และแปลรหัสเป็นโปรตีนในไซโตพลาสซึมซึ่งโปรตีนนี้มีความเกี่ยวข้องในทุกกระบวนการของสิ่งมีชีวิต เช่น เป็นเอ็นไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหาร เป็นส่วนประกอบของตัวรับสัญญาณ (receptor) และ แอนติบอดี้ (antibody) ที่ปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมต่างๆ จีโนมของคนประกอบด้วยยีนประมาณ 30,000 ชนิดแต่จะมีเพียงบางยีนเท่านั้นที่สามารถใช้งานได้ในแต่ละเซลล์ เพราะมีการควบคุมการแสดงออกของยีนให้เกิดขึ้นเฉพาะส่วนที่ต้องการเท่านั้น เรียกกระบวนการในการควบคุมให้มีการแสดงออกเฉพาะยีนที่ต้องการ ว่าการควบคุมการแสดงออกของยีน

  5. วิธีการทำ GMO มี 2 ขั้นตอนดังนี้ 1. เจาะจงโดยการค้นหายีนตัวใหม่หรือจะใช้ยีนที่เป็น TRAITS (มีคุณลักษณะแฝง) ก็ได้ ตามที่เราต้องการ ยีนตัวนี้อาจจะมาจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ก็ได้ 2. นำเอายีนจากข้อที่ 1. ถ่ายทอดเข้าไปอยู่ในโครโมโซมของเซลล์ใหม่ ซึ่งทำได้หลายวิธีพืช GMO วิธีหลักที่ใช้กันในปัจจุบัน มี 2 วิธีคือ 2.1 ใช้จุลินทรีย์ เรียกว่า Agro-Bacterium เป็นพาหะช่วยพายีนเข้าไป ซึ่งคล้ายกับการใช้รถลำเลียงสัมภาระเข้าไปไว้ในที่ที่ต้องการ 2.2 ใช้ปืนยีน (GENE GUN) ยิงยีนที่เกาะอยู่บนผิวอนุภาคของทอง ให้เข้าไปในโครโมโซมเซลล์พืช กระสุนที่ยิงเข้าไปเป็นทองและนำ DNA ติดกับผิวของกระสุนที่เป็นอนุภาคของทอง และยิงเข้าไปในโครโมโซมด้วยแรงเฉื่อย จะทำให้ DNA หลุดจากผิวของอนุภาคของทอง เข้าไปอยู่ในโครโมโซม ส่วนทองก็จะอยู่ภายใน เนื้อเยื่อโดยไม่มีปฏิกิริยาใดๆ

  6. วิธีการทำ GMO ( ต่อ ) เมื่อเข้าไปที่ใหม่ จะโดยวิธี 2.1 หรือ 2.2 ก็ตาม ยีนจะแทรกตัวรวมอยู่กับโครโมโซมของพืช จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมพืช การถ่ายทอดยีนเข้าสู่พืชนั้นมิได้เป็นการถ่ายทอดเฉพาะยีนที่ต้องการเท่านั้น แต่เป็นการถ่ายทอดชุดของยีนเรียกว่า GENE CASSETTE โดยนักวิทยาศาสตร์ที่นำเอายีนที่ต้องการนั้น ไปผ่านขบวนการเสริมแต่ง เพื่อเพิ่มตัวช่วย ได้แก่ ตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นและยุติ และตัวบ่งชี้ปรากฏการณ์ของยีน ซึ่งตัวช่วยทั้งสองเป็นสารพันธุกรรมหรือยีนเช่นกัน ทั้งหมดจะถูกนำมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นชุดของยีนก่อนจะนำชุดของยีนนั้น ไปฝากไว้กับเชื้ออะโกรแบคทีเรียมหรือนำไปเคลือบลงบนผิวอนุภาคของทองอีกทีหนึ่งนักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องพ่วงตัวช่วยเหล่านั้นกับยีนที่ต้องการเพื่อใส่ยีนเข้าไปในเซลล์พืช ให้สามารถทำงานได้ หรือสามารถควบคุมให้มีการสร้างโปรตีนได้ เมื่อมีตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นหรือให้ยุติ ก็เปรียบเหมือนกับสวิตช์ที่เปิดปิดได้นั่นเอง นอกจากนี้ยังต้องมีวิธีการติดตามหรือสะกดรอยชุดยีนที่ใส่เข้าไป พืช gmo โดยตรวจหาสัญญาณตัวบ่งชี้การปรากฏของยีน ซึ่งตัวบ่งชี้นี้ช่วยให้สามารถ คัดแยกเซลล์พืชหรือต้นพืชที่ได้รับการใส่ชุดยีนได้

  7. วิธีการตรวจหา GMO ในพืชหรือในอาหาร วิธีการดูด้วยตาเปล่าไม่สามารถบอกได้ว่าพืชชนิดใดเป็น GMO ต้องใช้เทคนิคชั้นสูง ต้องมีแลบ มีเครื่องมือ มีนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญตรวจหาสาร GMO คือ ยีนที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิดคือ 35 S PROMOTER และส่วนที่เป็นสวิตซ์ปิดเรียกว่า NOS TERMINATOR หรือตรวจยีนตัวเลือก เรียกว่า MARKER GENE หรือ SELECTABLE MARKE GENE จะค่อนข้างยุ่งยากและลำบากในการตรวจพอสมควร

  8. อันตรายของพืช GMOS อันตรายที่ มีต่อสุขภาพ อนามัยของมนุษย์ มีอะไรบ้าง ? เมื่อนักวิทยาศาสตร์ใส่ยีนแปลกปลอมเข้าไปในสิ่งมีชีวิตใครก็ตาม ยีนจะไปรบกวนกระบวนการทำงาน ที่ละเอียดอ่อน ในสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นและสร้างคุณลักษณะใหม่ๆ ขึ้นมา ซึ่งอาจทำให้เกิด สภาพที่เป็นพิษ หรือเป็นต้นเหตุของอาการภูมิแพ้ได้ เช่น ในกรณีของประเทศสหรัฐ ต้องหาทางป้องกัน ไม่ให้เมล็ดถั่วเหลือง จีเอ็มโอ ที่มียีนบราซิลนัท ออกสู่ตลาดหลังจากพบว่าคนที่เคยแพ้บราซิลนัทแล้ว มาบริโภคถั่วเหลืองจีเอ็มโอ โดยไม่รู้ว่ามียีนบราซิลนัทอยู่ เกิดอาการแพ้ถั่เหลืองนั้นทันที ที่บริโภคเข้าไป อีกตัวอย่าง คือ ข้าวโพด สตาร์ลิงค์ ที่แม้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหารมนุษย์ เนื่องจากอาจก่อให้เกิด โรคภูมิแพ้ได้ ก็ยังพบว่า มีการปนเปื้อนอยู่ ในอาหารในหลายๆ ประเทศสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมอีกมากมาย ที่กระตุ้นให้ร่างกายดื้อยาปฏิชีวนะ สมาคมแพทย์และรัฐบาล ของหลายๆ ประเทศทั่วโลกร่วมกันประณามการใช้ยีนดังกล่าว เนื่องจากอาจทำให้ ยารักษาโรคโดยทั่วไป ใช้ไม่ได้ผล ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการทดสอบผลกระทบ ต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ อย่างเหมาะสม

  9. อันตรายของพืช GMO ( ต่อ ) อันตราย ที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง? GMO เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์ต่อไปได้ ดังนั้นหากปล่อยจีเอ็มโอออกสู่สิ่งแวดล้อม แล้วมีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นจะไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อีกเลย - พืช GMO อาจกลายเป็น "พืชพิเศษ" ที่สามารถต่อสู้เพื่อดำรงชีวิตได้เหนือกว่าพืชธรรมชาติ และสามารถ ทำลาย พืชธรรมชาติและระบบนิเวศน์ - พืช GMO จะผลิตเมล็ดพันธุ์และละอองเกสร ไปปนเปื้อนกับเมล็ดพันธุ์อื่นๆ และปนเปื้อนอยู่ในดิน - การวิจัยพบว่า พืช GMO บางชนิดสร้างขึ้นเพื่อผลิตยาฆ่าแมลงได้ด้วยตัวเองนั้น มีอันตราย ต่อตัวอ่อน ของผีเสื้อโมนาร์ค แมลงเต่าทอง ทั้งยังมีผลกระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์อีกมากมาย นอกจากนี้เกสรของพืช GMO บางชนิด ที่ผลิตสารฆ่าแมลงได้ด้วยตัวเอง ยังเป็นอันตรายกับผึ้ง ซึ่งเป็นสัตว์ ที่มีประโยชน์ ตามธรรมชาติ

  10. อันตรายของพืช GMO ( ต่อ ) จนกระทั่งถึงตอนนี้ พบว่าสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมส่วนมากที่เพาะปลูกกันอยู่ ต้องใช้ควบคู่ กับ ยากำจัดวัชพืช ที่มีพลังสูง ซึ่งมันหมายถึงว่า เมื่อไรที่เกษตรกรปลูกถั่วเหลือง GMO ที่ทนทานต่อยาฆ่าหญ้า ราวด์อัพเร็ดดี้ เกษตรกรก็ต้องฉีดยาฆ่าแมลงราวด์อัพเร็ดดี้ ถั่วเหลือง GMO นั้นจะทนทานและมีชีวิตอยู่ แต่ว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อยู่บริเวณนั้นจะตาย เท่ากับว่า เป็นการทำลาย แหล่งอาหารของแมลงและสัตว์ อีกมากมายที่อาศัยพืชเหล่านั้นในการดำรงชีวิต และเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ นอกจากนี้มีการศึกษาพบว่าเกษตรกรใช้ยาฆ่าหญ้า เพิ่มขึ้น ๒-๕ เท่า ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณสารเคมี ในสิ่งแวดล้อม และพืชอาหารมากยิ่งขึ้น

  11. อันตรายของพืช GMO ( ต่อ ) อันตรายต่อเกษตรกร มีอะไรบ้าง? บรรดาเกษตรกรและองค์กรเกษตรกรอีกมากมายออกมาต่อต้านเมล็ดพันธุ์ GMO เนื่องจากมีการผูกมัดว่า เกษตรกรที่ใช้ เมล็ดพันธุ์ GMO ต้องใช้ยากำจัดแมลง ที่บริษัทเป็นผู้ผลิตควบคู่กันไป เช่น กรณีของเกษตรกร ชาวอเมริกัน ที่ปลูกถั่วเหลือง GMO ของบริษัท มอนซานโต้ จำกัด ต้องเซ็นสัญญาซื้อยาฆ่าแมลง ของ มอนซานโต้ และยังต้องปฏิบัติ ตามกฎของ มอนซานโต้ รวมไปถึงต้องอนุญาต ให้เจ้าหน้าที่ของ มอนซานโต ้เข้าออกไร่นาของพวกเขาด้วย อีกทั้งยังห้ามเกษตรกร เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ เพื่อเพาะปลูกในฤดูต่อไป เท่ากับว่า บรรดาเกษตรกร อยู่ในกำมือของ กลุ่มบริษัท อุตสาหกรรมเคมี ข้ามชาติเหล่านั้นแล้วนอกจากนี้พืชพันธุ์ GMO ยังสามารถปนเปื้อนกับพืชพันธุ์อื่นๆ ของเกษตรกรได้ด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่า เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น จะขายไม่ได้ อย่างกรณีการปนเปื้อน ของพืช GMO โดยไม่ได้ตั้งใจ ในไร่ของเกษตรกร ชาวคานาดา ผลปรากฏว่า มอนซานโต้ ฟ้องร้องให้เกษตรกรผู้นั้น จ่ายค่าสิทธิบัตรในการปลูกพืช GMO นั้น ถึงแม้ว่าเกษตรกรผู้นั้น จะไม่เคยเรียกร้อง หรือต้องการปลูกพืช GMO ในที่นาของตนเลย

  12. ข้อดีของ GMOs ประโยชน์ต่อเกษตรกร 1. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมีความสามารถในการ ป้องกันตนเองจากศัตรูพืช เช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย แมลงศัตรูพืช หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช หรือในบางกรณีอาจเป็นพืชที่ทนแล้ง ทนดินเค็ม ดินเปรี้ยว คุณสมบัติ เช่นนี้เป็นประโยชน์ ต่อเกษตรกร เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าเป็น agronomic traits 2. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น มะเขือเทศที่สุกช้า หรือแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็ง และกรอบ ไม่งอมหรือเละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค ลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็น agronomic traits เช่นเดียวกัน เพราะให้ประโยชน์ แก่เกษตรกรและผู้จำหน่าย สินค้า GMOs ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ อยู่ในจำพวก ข้อ 1 หรือ ข้อ 2 ที่กล่าวมานี้

  13. ข้อดีของ GMOs ( ต่อ ) ประโยชน์ต่อผู้บริโภค 3. ทำให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ เช่น ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามินซีเพิ่ม มากขึ้น หรือผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ให้ผลมากกว่าเดิม ลักษณะเหล่านี้เป็นการเพิ่มคุณค่าเชิงคุณภาพ (quality traits) 4. ทำให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพืชจำพวกไม้ประดับสายพันธุ์ใหม่ที่มี รูปร่างแปลกกว่าเดิม ขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม หรือมีความคงทนกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็น quality traits เช่นกัน

  14. ข้อดีของ GMOs ( ต่อ ) ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม 5. คุณสมบัติของพืชที่ทำให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง วัตถุดิบที่มาจากภาคเกษตร เช่น กากถั่วเหลือง อาหารสัตว์จึงมีราคาถูกลง ทำให้เพิ่มอำนาจในการแข่งขัน 6. นอกจากพืชแล้ว ยังมี GMOs หลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอ็นไซม์ที่ใช้ ในการผลิตน้ำผักและน้ำผลไม้ หรือเอ็นไซม์ ไคโมซิน ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งแทบทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้จาก GMOs และมีมาเป็นเวลานานแล้ว 7. การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs แทบทั้งสิ้น อีกไม่นานนี้ เราอาจมีน้ำนมวัวที่มีส่วนประกอบของยาหรือฮอร์โมนที่จำเป็นต่อมนุษย์ ซึ่งผลิตจาก GMOs ลักษณะที่กล่าวถึง ตั้งแต่ข้อ 6-8 ล้วน มีส่วนทำให้ลดต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้องใช้ลงทั้งสิ้น

  15. ข้อดีของ GMOs ( ต่อ ) ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม 5. คุณสมบัติของพืชที่ทำให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง วัตถุดิบที่มาจากภาคเกษตร เช่น กากถั่วเหลือง อาหารสัตว์จึงมีราคาถูกลง ทำให้เพิ่มอำนาจในการแข่งขัน 6. นอกจากพืชแล้ว ยังมี GMOs หลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอ็นไซม์ที่ใช้ ในการผลิตน้ำผักและน้ำผลไม้ หรือเอ็นไซม์ ไคโมซิน ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งแทบทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้จาก GMOs และมีมาเป็นเวลานานแล้ว 7. การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs แทบทั้งสิ้น อีกไม่นานนี้ เราอาจมีน้ำนมวัวที่มีส่วนประกอบของยาหรือฮอร์โมน ที่จำเป็นต่อมนุษย์ ซึ่งผลิตจาก GMOs ลักษณะที่กล่าวถึง ตั้งแต่ข้อ 6-8 ล้วนมีส่วนทำให้ลดต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้องใช้ลงทั้งสิ้น

  16. ข้อเสียของ GMOs ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค 1. สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่า กรดอะมิโน L-Tryptophan ของบริษัท Showa Denko ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็น ผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ (quality control) ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่ หลังจาก กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย 2. ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ เช่น ความกังวลที่ว่า DNA จากไวรัสที่ใช้ในการทำ GMOs อาจเป็นอันตราย เช่น การทดลองของ Dr.Pusztaiที่ทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มี lectinและพบว่าหนูมีภูมิคุ้ม กันลดลง และมีอาการบวมผิดปกติของลำไส้ ซึ่งงานชิ้นนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง โดยนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการออกแบบการทดลองและวิธีการทดลองบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐานตามหลักการวิทยา ศาสตร์ ในขณะนี้เชื่อว่ากำลังมีความพยายามที่จะดำเนินการทดลอง ที่รัดกุมมากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ มากขึ้น และจะสามารถสรุปได้ว่าผลที่ปรากฏ มาจากการตบแต่งทางพันธุกรรมหรืออาจเป็นเพราะเหตุผลอื่น

  17. ข้อเสียของ GMOs ( ต่อ ) 3. สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น รายงานที่ว่าถั่วเหลืองที่ ตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavoneมากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็นphytoestrogen (ฮอร์โมนพืช) ทำให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน estrogen อาจทำให้เป็นอันตรายต่อ ผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณของสาร isoflavineต่อกลุ่มผู้บริโภคด้วย 4. ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น ตัวอย่าง ที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์ จากการศึกษาที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการผลิตออกจำหน่าย พบว่าถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้ เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut บริษัทจึงได้ระงับการพัฒนา GMOs ชนิดนี้ไป อย่างไร ก็ตามพืช GMOs อื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในโลกในขณะนี้ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น ได้รับการประเมิน แล้วว่า อัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

  18. ข้อเสียของ GMOs ( ต่อ ) 5. การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่? ในบางกรณี วัว หมู รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับ recombinant growth hormone อาจมีคุณภาพที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ และ/หรือมีสารตกค้างหรือไม่ ขณะนี้ยัง ไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม สัตว์มีระบบสรีระวิทยาที่ซับซ้อนมากกว่าพืช และเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้ โดยอาจทำให้สัตว์มีลักษณะและ คุณสมบัติเปลี่ยนไป และมีผลทำให้เกิดสารพิษอื่นๆ ที่เป็นสารตกค้างที่ไม่ปรารถนาขึ้นได้ การตบแต่งพันธุกรรม ในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง จึงควรต้องมีการพิจารณาขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่า เชื้อจุลินทรีย์และพืช 6. ความกังวลเกี่ยวกับการดื้อยา กล่าวคือเนื่องจากใน marker gene มักจะใช้ยีนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะ (antibiotic resistance) ดังนั้นจึงมีผู้กังวลว่าพืชใหม่ที่ได้อาจมีสารต้านปฏิชีวนะอยู่ด้วย ทำให้มีคำถามว่า 6.1 ถ้าผู้บริโภคอยู่ในระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ อาจจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือไม่ เนื่องจากมีสารต้าน ทานยาปฏิชีวนะอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย และสามารถแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงได้ 6.2 ถ้าเชื้อแบคทีเรียที่ตามปกติมีอยู่ในร่างกายคน ได้รับ marker gene ดังกล่าวเข้าไปโดยผนวก (integrate) เข้าอยู่ในโครโมโซมของมันเอง ก็จะทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อยาปฏิชีวนะได้ ข้อนี้มีโอกาสเป็นไปได้ น้อยมากแต่เมื่อมีความกังวลเกิดขึ้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นวิธีใหม่ ที่ไม่ต้องใช้ selectable marker ที่เป็นสาร ต่อต้านปฏิชีวนะ หรือบางกรณีก็สามารถนำยีน ส่วนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะออกไปได้ก่อนที่จะเข้าสู่ห่วงโซ่ อาหาร

  19. ข้อเสียของ GMOs ( ต่อ ) 7. ความกังวลเกี่ยวกับการที่ยีน 35S promoter และ NOS terminator ที่อยู่ในเซลล์ของ GMOs จะหลุดรอดจากการ ย่อยภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ เข้าสู่เซลล์ปกติของคนที่รับประทานเข้าไป แล้วเกิด active ขึ้นทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของยีนในมนุษย์ ซึ่งข้อนี้จากผลการทดลองที่ผ่านมายืนยันได้ว่า ไม่น่ากังวลเนื่องจากมีโอกาส เป็นไปได้น้อยที่สุด 8. อย่างไรก็ตาม อาจจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังบ้างในบางกรณี เช่น เด็กอ่อนที่มีระบบทางเดินอาหารที่สั้นกว่า ผู้ใหญ่ทำให้การย่อยอาหารโดยเฉพาะ DNA ในอาหาร เป็นไปโดยไม่สมบูรณ์เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ในข้อนี้แม้ว่า จะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่ก็ควรมีการวิจัยโดยละเอียดต่อไป

  20. ข้อเสียของ GMOs ( ต่อ ) ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม 9. มีความกังวลว่า สารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืช เช่น Bt toxin ที่มีอยู่ใน GMOs บางชนิดอาจมีผล กระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ เช่น ผลการทดลองของ Loseyแห่งมหาวิทยาลัย Cornell ที่กล่าวถึงการ ศึกษาผลกระทบของสารฆ่าแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis (บีที) ในข้าวโพดตบแต่งพันธุกรรมที่มีต่อผีเสื้อ Monarch ซึ่งการทดลองเหล่านี้ทำในห้องทดลองภายใต้สภาพเงื่อนไขที่บีบเค้น และได้ให้ผลในขั้นต้นเท่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทดลองภาคสนามเพื่อให้ทราบผลที่มีนัยสำคัญ ก่อนที่จะมีการสรุปผลและนำไปขยาย ความ 10. ความกังวลต่อการถ่ายเทยีนออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจาก มีสายพันธุ์ใหม่ที่เหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ หรือลักษณะสำคัญบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์ ที่ไม่พึงประสงค์ หรือแม้กระทั่งการทำให้เกิดการดื้อต่อยาปราบวัชพืช เช่น ที่กล่าวกันว่าทำให้เกิด super bug หรือ super weed เป็นต้น ในขณะนี้มีการวิจัยจำนวนมาก เกี่ยวกับการถ่ายเทของยีน แต่ยังไม่มีข้อยืนยันในเรื่องนี้

  21. ข้อเสียของ GMOs ( ต่อ ) ความกังวลในด้านเศรษฐกิจ-สังคม 11. ความกังวลอื่นๆ นั้นมักเป็นเรื่องนอกเหนือวิทยาศาสตร์ เช่น ในเรื่องการครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติที่มีสิทธิ บัตร ถือครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ GMOs ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทาง อาหาร ตลอดจนปัญหาความสามารถในการพึ่งตนเองของประเทศในอนาคต ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงโดย NGOs และปัญหาในเรื่องการกีดกันสินค้า GMOs ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาของ ประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี กรณี GMOs เป็นโอกาสที่ดีในการที่ประชาชนในชาติได้มีความตื่นตัวและเร่งสร้างวุฒิภาวะ โดย เฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการตัดสินใจใดๆ ของสังคมควรเป็นไปโดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ และโดยขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การให้ความสำคัญกับที่มา ของข้อมูลและการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล มิใช่เป็นไปโดยความ ตื่นกลัว หรือการตามกระแส

  22. พันธุวิศวกรรม พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) หรือความรู้ที่ได้จากการศึกษาชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) จนทำให้สามารถประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้าย หรือตรวจสอบสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) และผลิตภัณฑ์ของสารพันธุกรรม (อาร์เอ็นเอและโปรตีน) ได้ การประยุกต์ใช้พันธุวิศวกรรมแบบหนึ่งที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางได้แก่ การเคลื่อนย้ายยีน (transgenesis)จากสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นในสปีชีส์เดียวกันหรือสปีชีส์อื่น ซึ่งทำให้เกิดการถ่ายทอดยีนและลักษณะที่ยีนนั้นควบคุมอยู่ ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ (novel)ซึ่งอาจไม่เคยปรากฏในธรรมชาติมาก่อน ตัวอย่างเช่น การใส่ยีนสร้างฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปในแบคทเรียหรือยีสต์ เพื่อให้ผลิตสารดังกล่าว ซึ่งสามารถนำมาสกัดบริสุทธิ์เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน เป็นต้น สิ่งมีชีวิตที่ได้จากกระบวนการเคลื่อนย้ายยีน เรียกว่า สิ่งมีชีวิตเคลื่อนย้ายยีน (transgenic organisms) ซึ่งอาจเป็นได้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการต่ำอย่างจุลินทรีย์ ไปจนสิ่งมีชีวิตชั้นสูงอย่างพืชและสัตว์ชนิดต่างๆ ในวงการสื่อ มักเรียกสิ่งมีชีวิตเคลื่อนย้ายยีน (transgenic organisms) ว่าเป็น สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (geneticallymodified organims,GMOs)

  23. ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพ ด้านเกษตร การขยายพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์และพืชโดยใช้เทคนิคต่างๆ • การคัดเลือกพันธุ์ผสม • การโคลนนิ่ง • การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ • การใช้พันธุวิศวกรรม • การฝากถ่ายตัวอ่อน ด้านอุตสาหกรรม ผลผลิตจากด้านเกษตรกรรมการใช้จุลินท รีย์ และการปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ ด้านอาหาร เป็นผลพลอยได้จากด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ การผลิตฮอร์โมน การผลิตวัคซีน วิตามินและยาปฏิชีวนะที่มีคุณภาพดีปลอดภัยและมีปริมาณที่มากพอสำหรับผู้ป่วยการตรวจสอบสภาวะพันธุกรรมของโรคต่างๆ จากการผลิตชิ้นส่วนของยีนการแก้ไขภาวะผิดปกติและการรักษาโรคต่างๆ ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากการทำาแผนที่ยีน การรักษาด้วยยีนหรือยีนบำบัด

  24. พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือ พืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามินโปรตีนไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ

  25. ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรมตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม วอลนัท หลังจากที่ทำการตัดต่ออะไรสักอย่างทางพันธุกรรมแล้ว จึงทำให้เม็ดวอลนัทนั้นมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นคือทนทานต่อโรค

  26. ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) สตรอเบอรี่ การตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO) ส่งผลให้ • เน่าเร็วลง ทำให้ไม่สะดวกต่อการขนส่ง • เพิ่มสารอาหาร

  27. ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) แอปเปิล ผลของการตัดต่อทางพันธุกรรมที่มีต่อแอปเปิลคือ • ทำให้ความสดและความกรอบของผลแอปเปิลมีระยะเวลานานขึ้น ( delay ripening ) • ทนต่อแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูพืช

  28. ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) มะเขือเทศ หลังจากที่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้ว มีดังนี้ • ทนทานต่อโรคมากขึ้น • เพิ่มความแข็งของเนื้อมะเขือเทศมากขึ้น ทำให้ลดปัญหาผลผลิตเสียหายขณะขนส่ง • ผลผลิตที่ได้จากการ เก็บเกี่ยวจะเกิดการ เน่าเสียช้าลง

  29. ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) ข้าวโพด ข้าวโพด นับว่าเป็นพืชทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่เรานำมาทำการตัดต่อทางพันธุกรรม โดยการตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillus thuringiensisเข้าไปในยีนของเมล็ดข้าวโพด จึงทำให้ข้าวโพดที่ได้ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถสร้างสารพิษ ต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้โดย เมื่อแมลงมากัดกินข้าวโพดนี้ แมลงก็จะตาย

  30. ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) มันฝรั่ง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีการตัดต่อทางพันธุกรรมเช่นเดียวกันกับข้าวโพด โดยใช้การตัดต่อยีนของแบคทีเรียที่ชื่อว่า Bacillusthuringiensisเข้าไปในยีนของมันฝรั่ง ทำให้มันฝรั่งที่ได้รับการตัดต่อทางพันธุกรรมแล้วมีคุณค่าทางสารอาหารเพิ่มขึ้น (เพิ่มปริมาณโปรตีน) และในบางชนิดยังสามารถผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์ ต่อมนุษย์อีกด้วย

  31. ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) ถั่วเหลือง มีการดัดแปลงพันธุกรรมถั่วเหลืองเพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถทนต่อสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิด Roundup ได้ดีกว่าถั่วเหลืองทั่วไป ทำให้ผู้ปลูกสามารถใช้สาเครมีชนิด Roundup ได้มากขึ้น มีผลทำให้ได้ผลผลิต มากขึ้นตามไปด้วย

  32. ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) มะละกอ มีการตัดต่อพันธุกรรมมะละกอ เพื่อให้สามารถต้านทานโรคห่าได้ และมีเมล็ดมากขึ้น

  33. ตัวอย่างพืชดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) ฝ้าย เป็นฝ้ายที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมโดยใส่ยีนของแบคทีเรียBacillus thuringiensis var. kurataki (B.t.k) เข้าไปในโครโมโซมของต้นฝ้าย ทำให้สามารถผลิตโปรตีนCry 1A ซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่า หนอนที่เป็นศัตรูฝ้ายได้

  34. สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม คือ สิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรมที่เรียกว่าเทคโนโลยีการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant) ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว โมเลกุลดีเอ็นเอจากต้นกำเนิดต่างๆ กันจะถูกรวมเข้าด้วยกันในหลอดทดลอง แล้วใส่ลงไปในโมเลกุลหนึ่งตัวเพื่อสร้างยีนขึ้นมาใหม่ จากนั้นดีเอ็นเอที่ถูกดัดแปลงก็จะถูกถ่ายลงไปในสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดการแสดงลักษณะที่เกิดขึ้นจากการดัดแปลงที่แปลกใหม่ นิยามของคำว่า GMO ในอดีตถูกใช้เพื่อเรียกสิ่งมีชีวิตที่ถูกตัดแต่งทางพันธุกรรมผ่านการผสมข้ามพันธุ์ที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป หรือการผสมพันธุ์แบบมิวเตเจนีซิส (การให้กำเนิดแบบกลายพันธุ์) เนื่องจากวิธีการเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนการค้นพบเทคนิคการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ GMO นั้นมีความหลากหลายอย่างมาก ซึ่งรวมไปถึงสัตว์ทีได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมโดยวิธีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอเช่น หนู,ปลาพืชตัดแต่งพันธุกรรม หรือจุลินทรีย์หลายชนิดเช่นแบคทีเรีย และเชื้อรา สาเหตุของการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ GMO นั้นมีหลายประการด้วยกัน โดยมีประการสำคัญคือการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในการวิจัยเพื่อตอบคำถามเชิงพิ้นฐานหรือเชิงประยุกต์ของชีววิทยาและวิชาแพทยศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การผลิตเอนไซม์ทางเภสัชกรรมและอุตสาหกรรม และการนำไปใช้โดยตรง (ซึ่งมักตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์) เพื่อการพัฒนาสุขภาพของมนุษย์ (เช่น การบำบัดยีน) หรือผลผลิต ทางเกษตรกรรม (เช่น ข้าวสีทอง)

  35. สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) นิยามของคำว่า "สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม" ไม่จำเป็นที่จะต้องรวมไปถึงการบรรจุยีนเป้าหมายจากสายพันธุ์หนึ่งไปยังอีกสายพันธุ์หนึ่งเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น ยีนจากแมงกะพรุน ประกอบไปด้วยโปรตีนเรืองแสงเรียกว่า GFP (Green Fluorescent Protein) ซึ่งสามารถนำไปเชื่อมต่อกับยีนอื่นโดยตรงได้และทำให้ยีนนี้สามารถแสดงลักษณะร่วมกันกับยีนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพื่อระบุถึงตำแหน่งของโปรตีนที่ถูกสร้างขึ้นโดยยีนที่มี GFP เชื่อมอยู่ในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วิธีการเหล่านี้รวมถึงวิธ๊การอื่นๆ ล้วนเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักชีววิทยาในหลายๆ สาขาการวิจัย รวมไปถึงผู้ที่ศึกษากลไกของมนุษย์และโรคอื่นๆ หรือกระบวนการพื้นฐานเชิงชีววิทยาในเซลล์ยูคาริโอตและโพรคาริโอต

  36. ตัวอย่างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม ปลาม้าลาย (Zebrafish) ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้สามารถเรืองแสงได้กำลังเป็นที่นิยมในตลาดสหรัฐฯโดยไม่ต้องผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา

  37. ตัวอย่างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) หมูเอนไวโร (Enviropig) ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมให้ผลิตฟอสฟอรัสน้อยกว่าหมูปกติ หมูเอนไวโรนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกูเอลฟ (University of Guelph) ในมณฑลออนตาริโอ (Ontario) โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูให้สามารถใช้มูลหมูชนิดนี้เป็นปุ๋ยได้โดยที่ไม่ขัดกับกฎหมายด้านการจัดการ ธาตุอาหาร (Nutrient Management Laws) ของแคนาดา กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่จะนำมาใช้ในเขตเพาะปลูก ซึ่งโดยปกติแล้วฟอสฟอรัสในมูลของหมูจะมีปริมาณมากกว่าไนโตรเจนถึงหนึ่งส่วนสามเท่า ดังนั้นปริมาณฟอสฟอรัสจึงเป็นองค์ประกอบหลักที่จำกัด ปริมาณของมูลหมูที่จะนำมาใช้ เป็นปุ๋ยในเขตเพาะปลูก

  38. ตัวอย่างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) ปลาแซลมอนอควู แอดแวนเทจ (AquAdvantage) จะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าปลาแซลมอนปกติถึงสองเท่าดังแสดงในรูป ซึ่งปลาแซลมอนทั้งสองตัวในรูปที่แสดงมีอายุเท่ากัน สัตว์ดัดแปลงพันธุกรรมอีกชนิดที่อยู่ในช่วงการพิจารณาการรับรองจากองค์การอาหารและยาคือปลาแซลมอนที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมชนิดนี้เป็นปลาแซลมอนแอตแลนติค (Atlantic Salmon) ซึ่งประกอบไปด้วยยีนที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต จากปลาแซลมอนชีนุคและโปรโมเตอร์จากปลาน้ำเย็นที่มีชื่อว่า โอเชียนเพาท์ ปลาแซลมอนอควู แอดแวนเทจ จะเจริญเติบโตได้เร็วกว่า แต่ไม่ได้ มีขนาดใหญ่ไปกว่าปลาแซลมอน ธรรมดา นอกจากนี้มีวงจรชีวิตที่ สั้นกว่า ดังนั้นจึงมีโอกาสได้รับสาร ปนเปื้อนหรือเชื้อโรคในสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าปลาแซลมอนธรรมดา

  39. ตัวอย่างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) แมว ( Cats glow ) แมวเรืองแสงเกิดจาก ดัดแปลงพันธุกรรมโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเกาหลีใต้ ทำให้แมวมีสามารถเรืองแสงได้ในความมืดเมื่อสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเลต โดย กง อิลคุน ผู้เชี่ยวชาญด้านโคลนนิ่ง มหาวิทยาลัยแห่งชาติยองซัง ได้สร้างแมวขึ้นมา  3  ตัว แมวเหล่านี้ถูกดัดแปลงพันธุกรรมในส่วนของยีนที่ผลิตโปรตีนฟลูออเรสเซนต์ นับเป็นครั้งแรกในโลกที่มีการโคลนแมวที่ถูกดัดแปลงยีนดังกล่าวตอนแรกพวกเขา ได้แมว 3 ตัว แต่ตอนนี้เหลือรอดชีวิตเพียง 2 ตัว และเติบโตจนมีน้ำหนัก 3 กก. และ 3.5 กก. โดยวัตถุประสงค์ใน การทดลองนี้ก็เพื่อนำเทคโนโลยีไปใช้ในการโคลน แมวที่มียีนผิดปกติ รวมทั้งมี ประโยชน์ในการพัฒนาการรักษาโรคโดยใช้เซลล์ ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์หรือจะนำมาใช้ใน การโคลน สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ชนิดต่างๆ เช่น เสือ เสือดาว และแมวป่าก็ยังได้

  40. ตัวอย่างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) แมว Lemurat ความมั่งคั่งของคนรวยชาวจีนกำลังเพิ่มขึ้น พวกเขากำลังมองสัตว์เลี้ยงที่แปลกใหม่เอาไว้โอ้อวดเงินทองของพวกเขา และนั้นเองจึงเป้นที่มาของบรัษัทวิจัยทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์จีนในการ แข่งขันผลิตสัตว์ข้ามสายพันธุ์ให้ประสบผลสำเร็ขมากที่สุด(เพื่อการเงิน) จนที่ที่สุดพวกเขาก็ได้แมวพันธุ์ใหม่ที่เกิดจากการผสมระหว่างพวกลิงและแมว ทำให้ได้สัตว์ที่มีขนนุ่มหลายสีของแมว และหางลายและตาเหลืองทึ่มัก พบในสัตว์จำพวกลิง โดยทั่วไป มันไม่อันตราย

  41. ตัวอย่างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) แมงมุม Fern Spider แมงมุม เฟิร์นไม่ซ้ำกันในรายการที่เอาสัตว์และพืชมารวมกัน เป็นการดัดแปลงพันธ์กรรมโดยใช้ แมงมุมพันธุ์ในอิตาลีชื่อ Wolf spider (Lycosa tarantula) และ ponga fern (Cyatheadealbata) วัตถุประสงค์ในการผสมพันธุ์มหัศจรรย์นี้คือการศึกษาอัตราการรอดของแมงมุมใน ธรรมชาติ การทดลองนี้เป็นของ ในนิวซีแลนด์ แต่ผลการศึกษา ยังไม่เผยแพร่

  42. ตัวอย่างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) สิงโต Dolion มันน่าจะเป็นตัวอย่างที่โดดเด่น ที่ สุดของวิทยาศาสตร์ที่ สามารถนำ DNA มาใช้ได้อย่างเหลือเชื่อ Dolionเป็นการ ดัดแปลงพันธุกรรมระหว่างสิงโตและสุนัข จนได้ผลิตผลสัตว์เหลือเชื่อนี้(บนโลกมีสัตว์ชนิดนี้แค่สามตัวและมันอยู่ใน ห้องปฏิบัติการ ภาพข้างบนมีชื่อว่า Rex ซึ่งเป็นตัว แรก) และข้อมูลของมัน ไม่ค่อยมีมากเท่าไหร่ (มันจะดุเหมือนสิงโตไหมนี้)

  43. ตัวอย่างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม ( ต่อ ) ตุ๊กแก Umbuku Lizard เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่ไม่มี เหตุผลหรือวัตถุประสงค์ ในการดัดแปลงพันธ์กรรม แต่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าสามารถทำได้ โดยพันธุกรรมในซิมบับเว ได้จัดการดัดแปลงให้ตุ๊กแกสัตว์พื้นเมืองที่มีขนาดเล็กและหายากในแอฟริกา โดยทำให้มันบินได้ แล้วตั้ง ชื่อใหม่ว่า UmbukuLizard

  44. การตัดต่อทางพันธุกรรมหรือการดัดแปรพันธุกรรมนั้นทำอย่างไร มีการใช้สารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ การดัดแปรพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต คือ การนำสารพันธุกรรม (หรือที่เรียกว่า ยีน) ที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการ ถ่ายใส่เข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เราต้องการดัดแปรพันธุกรรมวิธีการถ่ายยีน มีด้วยกันหลายวิธี แล้วแต่ว่าเราจะถ่ายยีนเข้าสู่สิ่งมีชีวิตชนิดใด พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม หลักสำคัญของการถ่ายยีน ก็คือ- ยีนที่จะถ่ายเข้าไปนั้นจะต้องมีความบริสุทธิ์ไม่มีสารใดปนเปื้อน เพราะสิ่งสกปรกจะลดประสิทธิภาพของการถ่ายยีน- วิธีที่ใช้ถ่ายยีน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระแสไฟฟ้า หรือสารเคมีที่ไม่เป็นอันตราย หรือการยิงกระสุนทองคำเคลือบชิ้นยีน โดยใช้แรงดันลมจากก๊าซเฉื่อย หรือการใช้แบคทีเรียชื่อ “อะโกรแบคทีเรีย” วิธีต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะต้องมีประสิทธิภาพดีในการนำพาชิ้นยีนเข้าสู่เซลล์แล้ว ยังต้องไม่ทำอันตรายต่อเซลล์ เพราะมิฉะนั้นแล้วเซลล์ที่ได้รับการถ่ายยีนจะไม่สามารถเจริญขึ้นเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่สมบูรณ์ได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าในขั้นตอนของการดัดแปรพันธุกรรมนั้น ย่อมมีสารเคมีหรือสารชีวภาพบางตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สารเหล่านั้นจะถูกกำจัดออกไปใน ขั้นตอนการทำความสะอาดชิ้นยีนก่อนการถ่ายยีน ส่วนสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับ การถ่ายยีนนั้น เป็นสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์และสิ่งมีชีวิต

  45. อาหารประเภทใดบ้าง ที่มีส่วนประกอบเป็น GMO อาหารที่มีอาจมีส่วนประกอบเป็น GMOที่มีอยู่ในปัจจุบัน และพบได้ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น แคนาดา และอื่นๆ ได้แก่ อาหารประเภทถั่วเหลือง ข้าวโพด มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะละกอ และผักบางชนิด เป็นต้น แต่อาหารเหล่านี้ได้ผ่านขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวดมาแล้ว จึงสามารถผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ ในกรณีน้ำนมจากแม่โคที่ได้รับฮอร์โมนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนั้น ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าพบสารนี้ตกค้างในน้ำนม อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมนี้ ไม่ใช่ GMO

  46. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารที่มีส่วนประกอบเป็น GMO ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารทุกชนิด รวมถึงอาหารจีเอ็มโอ โดยมีมาตรการความปลอดภัยของอาหารทุกชนิด รวมถึงอาหารจีเอ็มโอ โดยมีมาตรการความปลอดภัยคือ อาหารที่มีจีเอ็มโอเป็นส่วนประกอบจะต้องผ่านการพิจารณาประเมินความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดยผู้เชี่ยวชาญก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ อย.ยังได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 251) พ.ศ.2545 เรื่องการแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิกการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค โดยประกาศฯ ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เทื่อวันที่ 11 พ.ค. 2546 ส่วนหน่วยงานในประเทศไทยที่ให้บริการตรวจสอบจีเอ็มโอในผลิตภัณฑ์อาหารได้แก่ห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และสถาบันอาหาร

  47. มะละกอต้านไวรัส โรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวนเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Papaya ringspot virus (PRSV) พบในไทยครั้งแรกที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อปีพ.ศ. 2518 ในตอนนั้นไม่เฉพาะประเทศไทยที่พบปัญหาการระบาดของไวรัสชนิดนี้ ประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะละแวกเดียวกันอย่างไต้หวัน หรือข้ามทวีปไปยังฮาวาย ประเทศสหรัฐฯ ต่างประสบปัญหาการระบาดของโรคนี้ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว แต่การระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนก็ยังไม่ลดลง ดังเห็นได้จากการสำรวจการปลูกมะละกอในจังหวัดขอนแก่น พบว่าในปีพ.ศ. 2548–มกราคม 2550 เกือบทุกอำเภอพบการระบาดของโรคใบด่างจุดวงแหวน โดยบางหมู่บ้านพบมะละกอที่ปลูกเป็นโรคทุกต้นเหตุการณ์เช่นนี้ ไม่ได้เกิดเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่พบการระบาดของโรคอีก ในหลายพื้นที่ทั้งจังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และชุมพร

  48. มะละกอต้านไวรัส ( ต่อ ) ไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมีความน่ากลัวมีอยู่หลายประการ ประการแรก คือ ความสามารถในการเข้าทำลายมะละกอได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับสภาพและอายุของมะละกอ อาการเกิดได้ในทุกส่วนของต้น แต่จะเห็นชัดในส่วนของใบและผล โดยเฉพาะใบจะด่างเหลือง บิดเบี้ยว หงิกงอ เหมือนหางหนู ถ้าติดเชื้อรุนแรงใบจะเหลือแต่เส้นใบเหมือนเส้นด้าย บริเวณก้านมีจุดฉ่ำน้ำและเส้นประ ส่วนผลมะละกอจะสังเกตเห็นวงเล็กๆ ทั่วทั้งผล เป็นอาการที่เรียกว่า “วงแหวน” บริเวณที่เป็นจุดจะมีลักษณะเป็นไตแข็ง ผิวขรุขระ ยิ่งผลใกล้สุกจะยิ่งเห็นชัดเจน ความเสียหายจากการระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวน อาจถึงขั้นมะละกอนั้นไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ และตายในที่สุด ความน่ากลัวประการที่สอง ของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนคือ เป็นโรคพืชที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยใช้สารเคมี วิธีแก้ปัญหาที่ทำได้คือต้องทำลายทิ้ง หรือใช้วิธีปลูกแบบกลางมุ้งให้มะละกอเพื่อป้องกันเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นพาหะนำโรคไม่ให้เข้าไปได้ หรือใช้วิธีย้ายแหล่งปลูกไปเรื่อยๆ เมื่อมีการระบาดของมะละกอ ในพื้นที่หนึ่ง ก็ทำการย้ายไปยังพื้นที่อื่นๆ

  49. มะละกอต้านไวรัส ( ต่อ ) ดังนั้น หากพิจารณาถึงพื้นที่รวมทั้งหมดของมะละกอและผลผลิตในแต่ละปีแล้ว พบว่าไม่ได้ลดลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้เกิดจากการย้ายพื้นที่ใหม่ในแต่ละปี ปัญหาที่สำคัญคือ เมื่อไวรัสระบาดไปในทุกพื้นที่จนไม่สามารถย้ายไปได้แล้วจะมีที่ปลอดการระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนให้เราปลูกมะละกออยู่อีกหรือไม่เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอจากชุมพร ยึดอาชีพการปลูกมะละกอมากว่า 20 ปีเล่าให้ฟังว่าการปลูกมะละกอทำได้ยากขึ้นจากที่เคยเก็บได้ 2 รอบเมื่อก่อนปีพ.ศ. 2530 มาวันนี้เก็บได้เพียงรอบเดียว ผลผลิตที่ได้น้อยลงมาก บางต้นก็ไม่ให้ผล แม้ว่าจะลองใช้วิธีปลูกพืชอื่นสลับ ก็ยังไม่ได้ผล ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมาขาดทุน ถ้ามีวิธีที่ที่ดีกว่าก็อยากจะลองหากย้อนดูตัวเลขพื้นที่การปลูกมะละกอ พบว่าลดลงจาก 150,000 ไร่ในปีพ.ศ. 2546  เหลือต่ำกว่า 100,000 ไร่ในปีพ.ศ. 2549 ผลผลิตมะละกอรวมของประเทศลดลงกว่าครึ่ง แม้ว่าผลผลิตปีพ.ศ. 2549 เพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2548 แต่เกิดจากการย้ายพื้นที่ปลูกไปยังแหล่งใหม่ เช่นที่จังหวัดจันทบุรี และฉะเชิงเทราในขณะที่พื้นที่ เดิมต้องเว้นช่วง ไม่สามารถปลูกมะละกอได้ นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของ โรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวน

  50. มะละกอต้านไวรัส ( ต่อ ) นักวิจัยได้พยายามหาวิธีป้องกันกำจัดโดยใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ หลายวิธี เช่น     1. การกำจัดเพลี้ยอ่อนที่นำโรคมายังมะละกอ แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผล เพราะเพลี้ยอ่อนไม่ได้อาศัยอยู่บนต้นมะละกอ และยังใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีก็ทำให้มะละกอเป็นโรคได้     2. การขุดรากถอนโคนทำลายต้นเป็นโรค วิธีนี้ได้ผลดีเฉพาะพื้นที่ปลูกที่ห่างไกลจากแหล่งปลูกมะละกอ หรือมีพืชกำบังเพื่อป้องกันไม่ให้เพลี้ยอ่อนจากนอกพื้นที่เข้ามาเท่านั้น     3. หาพันธุ์ต้านทานโรคในธรรมชาติ หรือปรับปรุงพันธุ์ต้านทานโดยวิธีผสมเกสร ซึ่งเป็นวิธีที่ดี แต่ยังไม่สามารถพัฒนาพันธุ์ที่ต้านทานโรคได้     4. การทำมะละกอจีเอ็ม ซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย และเป็นที่ยอมรับของหลายประเทศ และถือเป็นความหวังหนึ่งของเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาการระบาด ของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนอยู่ …. ถ้าเรายอมแพ้ต่อเชื้อโรคนี้ คงไม่มีพื้นที่ปลูกมะละกอเหลือรอดให้ได้เก็บผล ส้มตำมะละกอคงหายไปจากเมนูอาหารยอดนิยมของคนไทย….

More Related