560 likes | 1.16k Views
ก้าวทันมาตรฐานบัญชีใหม่ปี 2552. ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี. หัวข้อการบรรยาย. - แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 32 : ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
E N D
ก้าวทันมาตรฐานบัญชีใหม่ปี 2552 ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี สภาวิชาชีพบัญชี
หัวข้อการบรรยาย - แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 32 : ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 33 : ต้นทุนการกู้ยืม (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 51 : สินทรัพย์ไม่มีตัวตน – ฉบับที่ 53 : ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
หัวข้อการบรรยาย – ฉบับที่ 37 : รายได้ รวมการรับรู้รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ – ฉบับที่ 29 : สัญญาเช่า (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 52 : เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล – ฉบับที่ 39 : นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด – ฉบับที่ 25 : งบกระแสเงินสด (ปรับปรุง 2550) – ฉบับที่ 30 : ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
TAS ในปัจจุบัน • ปัจจุบัน TAS ที่มีผลบังคับใช้มี 30 ฉบับ การตีความ 3 ฉบับ และแม่บทการบัญชี 1 ฉบับ แนวปฏิบัติทางบัญชี 2 ฉบับ (www.sec.or.th) • TAS ปัจจุบันส่วนใหญ่อ้างอิงจากมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS หรือ IFRS) ฉบับที่มีการแก้ไขในเดือนธันวาคม 2546 และมีนาคม 2547 เป็นต้นมา • TAS บางฉบับอ้างอิงจากมาตรฐานการบัญชีของประเทศสหรัฐอเมริกา (GAAP) • TAS บางฉบับไม่ได้อ้างอิงจากมาตรฐานสากล เช่น TAS 11
มาตรฐานการบัญชีไทยที่อ้างอิงจากมาตรฐานของอเมริกามาตรฐานการบัญชีไทยที่อ้างอิงจากมาตรฐานของอเมริกา • TAS 26 การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ • TAS 34 การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (IAS 39 ปี 56) เหลือ อ เดียวในการคิดลดกระแสเงินสดคือ อ ดอกเบี้ยในสัญญาเงินกู้ • TAS 40 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน (IAS 39 ปี 56) • TAS 42 การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจและเฉพาะด้านการลงทุน (IAS 39 ปี 56)
มาตรฐานการบัญชีที่ไม่ได้อ้างอิงจากมาตรฐานสากลมาตรฐานการบัญชีที่ไม่ได้อ้างอิงจากมาตรฐานสากล • TAS 11 หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2532 • ข้อกำหนดของ TAS สอดคล้องกับลักษณะของการดำเนินธุรกิจของไทยในเวลานั้น แต่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ IAS 39 ในส่วนของการด้อยค่าและการเก็บเงินไม่ได้ของเงินให้สินเชื่อของลูกหนี้ • ตาม IAS 39 กิจการต้องประมาณจำนวนเงินที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ โดยการเปรียบเทียบจำนวนลูกหนี้ตามบัญชีกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตของลูกหนี้คิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเมื่อมีการให้สินเชื่อหรือให้เครดิต • ขณะนี้สภาฯ มีแผนที่จะปรับปรุง TAS ฉบับนี้ให้เป็นไปตาม IAS 39
ทิศทาง TAS • ขณะนี้สภาวิชาชีพบัญชีอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไข TAS ให้ตรงตาม IFRS ที่มีการแก้ไขใหม่นับแต่ปี 2546 และ 2547 เป็นต้นมา (หากไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติ) • สภาวิชาชีพบัญชี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีในการประชุมครั้งที่ 9 (1/2551) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้จัดเลขระบุฉบับมาตรฐานการบัญชีของไทยให้ตรงตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
TAS ที่ยกเว้นสำหรับกิจการที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน • ปัจจุบันมีการประกาศยกเว้น TAS สำหรับกิจการที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน จำนวน 8 ฉบับ • TAS 24 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน • TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด • TAS 36 การด้อยค่าของทรัพย์สิน • TAS 44 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • TAS 45 เงินลงทุนในบริษัทร่วม • TAS 46 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า • TAS 47 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง • TAS 48 การแสดงรายการสำหรับตราสารการเงิน • TAS 12 ภาษีเงินได้
สรุปประเด็น (ที่เปลี่ยนแปลง) ของ TAS บางฉบับ
แม่บทการบัญชี • ใช้แทนแม่บทการบัญชีฉบับเดิม (กุมภาพันธ์ 2542) โดยเป็นการปรับปรุงถ้อยคำใหม่ ทั้งนี้ หลักการและเนื้อหาไม่แตกต่างจากฉบับเดิม • ไม่ใช่มาตรฐานการบัญชี • เป็นกรอบอ้างอิงที่ทำให้ TAS ตั้งอยู่บนแนวคิดของแม่บท • TAS ใดขัดกับแม่บท TAS นั้นแก้ไขตัวเอง
TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด • ได้ปรับปรุงถ้อยคำและแก้ไขรูปแบบใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย IAS 7 Cash Flows Statements (2006) ซึ่งมีข้อแตกต่างจาก TAS ฉบับเดิมคือ • “เงินสด” ตาม TAS 25 (TAS 7) ฉบับเดิมหมายถึงเงินสดในมือและเงินฝากธนาคารทุกประเภท แต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ “เงินสด” ตามTAS 25 (TAS 7) ฉบับใหม่หมายถึงเงินสดในมือและเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม
TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด • ได้ปรับปรุงถ้อยคำและแก้ไขรูปแบบใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย IAS 7 Cash Flows Statements (2006) ซึ่งมีข้อแตกต่างจาก TAS ฉบับเดิมคือ • TAS 25 (TAS 7) ฉบับเดิมได้ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินลงทุนที่จะถือเป็นรายการเทียบเท่าเงินสดจะมีวันถึงกำหนด 3 เดือนหรือน้อยกว่า แต่ไม่ได้ให้ข้อกำหนดที่ชัดเจนว่าวันถึงกำหนด 3 เดือนหรือน้อยกว่านั้นนับจากวันที่ได้มาหรือวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี TAS ฉบับนี้กำหนดให้วันถึงกำหนด 3 เดือนหรือน้อยกว่านั้นนับจากวันที่ได้มา • ได้ยกเลิกการแสดงกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับรายการพิเศษซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากมาตรฐานฉบับเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับ TAS 35 (1) ซึ่งยกเลิกการแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นรายการพิเศษ
TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด • TAS ฉบับเดิมได้สนับสนุนแต่ไม่ได้กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายสำหรับดอกเบี้ยและเงินปันผลแยกเป็นรายการต่างหากและจัดประเภทแต่ละรายการเข้าเป็นกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงินในแต่ละรอบบัญชีโดยสม่ำเสมอ TAS ฉบับใหม่ได้กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายสำหรับรายการดังกล่าวแยกเป็นรายการต่างหากโดยจัดประเภทแต่ละรายการเข้าเป็นกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน หรือกิจกรรมจัดหาเงินในแต่ละรอบบัญชีโดยสม่ำเสมอ
TAS 25 (TAS 7) งบกระแสเงินสด • TAS ฉบับเดิมได้สนับสนุนแต่ไม่ได้กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดจากภาษีเงินได้เป็นรายการแยกต่างหากและจัดประเภทไว้เป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน TAS ฉบับใหม่ได้กำหนดให้กิจการต้องเปิดเผยกระแสเงินสดจากภาษีเงินได้เป็นรายการแยกต่างหากและต้องจัดประเภทไว้เป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ยกเว้นในกรณีที่ระบุโดยเจาะจงได้ว่าเป็นของกิจกรรมจัดหาเงินและกิจกรรมลงทุน
TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า (lease) • สัญญาเช่า หมายถึง สัญญาหรือข้อตกลงที่ผู้ให้เช่าให้สิทธิแก่ผู้เช่าในการใช้สินทรัพย์สำ หรับช่วงเวลาที่ตกลงกันเพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าตอบแทนซึ่งได้รับชำระในงวดเดียวหรือหลายงวด • Hire Purchase เช่าซื้อ • Leasing • Rent
TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • กำหนดให้กิจการจัดประเภทสัญญาเช่าโดยพิจารณาถึงขอบเขตของความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ที่เช่าว่าตกอยู่กับผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า • จัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงิน (finance = capital lease) หากสัญญานั้นโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า • จัดประเภทเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน (operating lease)หากสัญญานั้นไม่ได้โอนความเสี่ยงหรือผลตอบแทนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดที่ผู้เป็นเจ้าของพึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า
TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • ในการจำแนกสัญญาเช่า TAS ฉบับเดิมได้ให้ตัวอย่างของสถานการณ์ซึ่งตามปกติจะทำให้สัญญาเช่าต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงินไว้สี่ข้อ • สัญญาเช่าโอนความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ให้แก่ผู้เช่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของสัญญาเช่า เช่าซื้อ • ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม ณ วันที่สิทธิเลือกมีผลบังคับใช้ โดยราคาตามสิทธิเลือกนั้นมีจำนวนต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์มากเพียงพอที่จะทำให้แน่ใจอย่างสมเหตุสมผล ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่าว่าผู้เช่าจะใช้สิทธิเลือกซื้อสินทรัพย์นั้น Leasing
TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • ในการจำแนกสัญญาเช่า TAS ฉบับเดิมได้ให้ตัวอย่างของสถานการณ์ซึ่งตามปกติจะทำให้สัญญาเช่าต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงินไว้สี่ข้อ (ต่อ) • ระยะเวลาของสัญญาเช่าครอบคลุมอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของสินทรัพย์ แม้ว่าจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้น • ณ วันเริ่มต้นของสัญญาเช่า มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายมีจำนวนเท่ากับหรือเกือบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่า
TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • TAS ฉบับนี้ได้เพิ่มสถานการณ์เพื่อช่วยในการจำแนกสัญญาเช่าอีก 1 ข้อและข้อบ่งชี้อีก 3 ข้อ • สินทรัพย์ที่เช่ามีลักษณะเฉพาะจนกระทั่งมีผู้เช่าเพียงผู้เดียวที่สามารถใช้สินทรัพย์นั้นโดยไม่จำเป็นต้องนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาดัดแปลงที่สำคัญ • หากผู้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาเช่าได้และผู้เช่าเป็นผู้รับผิดชอบผลเสียหายที่เกิดกับผู้ให้เช่าเนื่องจากการยกเลิกนั้น • ผู้เช่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกำไรหรือขาดทุนจากการผันผวนของมูลค่ายุติธรรมของมูลค่าคงเหลือ • ผู้เช่าสามารถต่อสัญญาเช่าครั้งที่สองด้วยการจ่ายค่าเช่าที่มีจำนวนต่ำกว่าค่าเช่าในตลาดอย่างเป็นนัยสำคัญ
TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • ได้เพิ่มคำนิยามเกี่ยวกับต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกให้ชัดเจนขึ้น • TAS ฉบับเดิมไม่ได้ให้ข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้เช่า TAS ฉบับนี้กำหนดให้รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้เช่าเป็นส่วนหนึ่งของจำนวนที่รับรู้เป็นสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าการเงินนั้น
TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • TAS ฉบับเดิมได้ให้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกที่เกิดกับผู้ให้เช่าโดยจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันที หรือปันส่วนไปหักจากรายได้ทางการเงินนั้นตลอดอายุสัญญาเช่าการเงินก็ได้ แต่ TAS ฉบับนี้กำหนดให้รวมต้นทุนทางตรงเมื่อเริ่มแรกเป็นส่วนหนึ่งของลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงินโดยไม่ต้องบันทึกเป็นรายการแยกต่างหาก • อ้างถึง TAS 36 (ปรับปรุง 255x) การด้อยค่าของสินทรัพย์ เพื่อให้แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์เมื่อจำเป็นซึ่ง TAS ฉบับเดิมไม่ได้กล่าวถึง • เน้นข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลสำหรับสัญญาเช่าการเงินและสัญญาเช่าดำเนินงานทั้งทางด้านผู้เช่าและผู้ให้เช่า
TAS 29 (TAS 17) สัญญาเช่า • TAS ฉบับเดิมได้กำหนดให้การเช่าที่ดินและอาคารต้องจัดประเภทเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานหรือสัญญาเช่าการเงินแล้วแต่กรณี แต่ไม่ได้กำหนดการปฏิบัติเกี่ยวกับการแยกองค์ประกอบของที่ดินและอาคาร รวมถึงการวัดค่าขององค์ประกอบนั้น แต่ TAS ฉบับนี้ได้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแยกองค์ประกอบของที่ดินและอาคาร รวมทั้งการวัดมูลค่าขององค์ประกอบที่ดินและอาคารให้ชัดเจนขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดประเภทสัญญาเช่า
TAS 30 (TAS 21) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา) • TAS ฉบับเดิมได้ทำให้เกิดข้อแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างกิจการที่เสนองบการเงินโดยรวมกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานในต่างประเทศไว้ในงบการเงิน (‘หน่วยงานในต่างประเทศ (integral foreign operations)’) และกิจการในต่างประเทศ (foreign entities) TAS 30 (TAS 21) (ฉบับปรับปรุง) ได้ปรับปรุงข้อกำหนดดังกล่าวให้มีตัวชี้วัดว่าสกุลเงินใดเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ โดยมีผลสรุปได้ว่า • ไม่มีความแตกต่างระหว่างหน่วยงานในต่างประเทศและกิจการในต่างประเทศ
TAS 30 (TAS 21) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ • TAS 30 (TAS 21) (ฉบับปรับปรุง) ได้ปรับปรุงข้อกำหนดดังกล่าวให้มีตัวชี้วัดว่าสกุลเงินใดเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ โดยมีผลสรุปได้ว่า (ต่อ) • มีวิธีการแปลงสกุลเงินเพียงวิธีเดียว (all current method) สำหรับหน่วยงานในต่างประเทศแต่ละหน่วยงาน • ยกเลิกย่อหน้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อแตกต่างระหว่างหน่วยงานในต่างประเทศและกิจการในต่างประเทศ รวมทั้งย่อหน้าที่อธิบายวิธีการแปลงค่า
TAS 30 (TAS 21) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ • การแปลงค่าสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการในต่างประเทศให้เป็นสกุลเงินที่ใช้นำเสนองบการเงินซึ่งเป็นสกุลเงินที่แตกต่างออกไป ให้ใช้วิธีดังต่อไปนี้ • สินทรัพย์และหนี้สินให้แปลงค่าด้วยอัตราปิด ณ วันที่ของแต่ละงบดุลนั้น • รายได้และค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนให้แปลงค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยนของวันที่เกิดรายการ และ • ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดให้แยกแสดงเป็นรายการต่างหากภายใต้ส่วนของผู้ถือหุ้น
TAS 32 (TAS 16) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา) คาดว่าจะใช้ปี 54 • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนซึ่งเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้ • กิจการมีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตเพื่อใช้ในการจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้เช่า หรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน • กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์มากกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
TAS 32 (TAS 16) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • กำหนดให้กิจการประเมินต้นทุนทั้งหมดของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เมื่อเกิดขึ้นตามหลักการของการรับรู้รายการโดยทั่วไป ต้นทุนดังกล่าวประกอบด้วยต้นทุนเริ่มแรกเพื่อให้ได้มาหรือก่อสร้างรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อมีการต่อเติม การเปลี่ยนแทนส่วนประกอบต่างๆ หรือการบำรุงรักษาสินทรัพย์นั้น TAS 32 (TAS 16) ฉบับเดิมกำหนดหลักการของการรับรู้รายการไว้ 2 ประการ โดยกิจการนำหลักการของการรับรู้รายการประการที่ 2 มาถือปฏิบัติกับต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลัง
TAS 32 (TAS 16) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • กำหนดให้กิจการคิดค่าเสื่อมราคาส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แต่ละส่วนที่มีนัยสำคัญแยกต่างหากจากกัน TAS 32 (TAS 16) ฉบับเดิม ไม่ได้กล่าวถึงข้อกำหนดดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง component approach • กำหนดให้กิจการวัดมูลค่าคงเหลือของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ด้วยจำนวนที่กิจการคาดว่าจะได้รับในปัจจุบันจากการจำหน่ายสินทรัพย์ในสภาพที่คาดว่าจะเป็นเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน อย่าลืมหักรายจ่ายทำให้ สท ขายออกไปได้ (สามารถใช้หน่วยงานภายในการกำหนดราคาซากได้)ให้หยุดคิดค่าเสื่อมทันที เมื่อราคาซาก > ราคาตามบัญชี และให้กลับมาคิดอีกเมื่อราคาซาก < ราคาตามบัญชี
TAS 32 (TAS 16) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • กำหนดให้กิจการเริ่มคิดค่าเสื่อมราคารายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมที่จะใช้งาน • กำหนดให้การสิ้นสุดการคิดค่าเสื่อมราคาจะเกิดขึ้นเมื่อกิจการตัดรายการสินทรัพย์นั้น หรือ โอนไปหมวดรอการขาย • กำหนดให้กิจการยังคงต้องคิดค่าเสื่อมราคาในช่วงที่กิจการหยุดใช้งานสินทรัพย์นั้นด้วย TAS 32 ฉบับเดิมไม่ได้กำหนดในเรื่องการเริ่มต้นคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ แต่กำหนดให้กิจการหยุดคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อกิจการเลิกใช้งาน และถือสินทรัพย์นั้นไว้เพื่อรอจำหน่าย
TAS 32 (TAS 16) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • กำหนดให้กิจการตัดมูลค่าตามบัญชีของส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ หากมีการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบดังกล่าว และกิจการได้รวมต้นทุนในการเปลี่ยนแทนที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าตามบัญชีของรายการนั้น TAS 32 (TAS 16) ฉบับเดิม ไม่ได้กล่าวถึงการตัดรายการส่วนประกอบที่มีการเปลี่ยนแทน แต่ตามหลักการรับรู้รายการสำหรับรายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งสินทรัพย์ตาม TAS 32 (TAS 16) ฉบับเดิม ต้นทุนในการเปลี่ยนแทนมาไม่สามารถนำมารวมเป็นมูลค่าตามบัญชีของรายการที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
TAS 33 (TAS 23) ต้นทุนการกู้ยืม • ได้ปรับปรุงถ้อยคำและแก้ไขรูปแบบใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย IAS 23 Borrowing Costs (2006) ซึ่งมีข้อแตกต่างจาก TAS ฉบับเดิมคือ • ยกเลิกข้อกำหนดเดิมที่กำหนดให้กิจการที่มีการกู้ยืมเงินต่างประเทศสามารถนำต้นทุนดอกเบี้ยในแต่ละงวด (ที่รวมผลต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว) มารวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้ไม่เกินจำนวนต้นทุนดอกเบี้ยที่ผู้กู้พึงต้องจ่าย หากสมมติว่ากู้ยืมเป็นเงินบาทที่มีเงื่อนไขคล้ายคลึงกัน ต้นทุนการกู้ยืมที่เป็นเงินตราต่างประเทศสามารถที่จะรวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้ตามที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดอื่นในมาตรฐานฉบับนี้
TAS 33 (TAS 23) ต้นทุนการกู้ยืม • ได้ปรับปรุงถ้อยคำและแก้ไขรูปแบบใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย IAS 23 Borrowing Costs (2006) ซึ่งมีข้อแตกต่างจาก TAS ฉบับเดิมคือ (ต่อ) • ยกเลิกข้อกำหนดเดิมที่กำหนดให้กิจการที่มีการกู้ยืมเงินเพื่อพัฒนาที่ดินเพื่อใช้ก่อสร้างอาคาร ให้นำต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดขึ้นไปรวมเป็นต้นทุนของอาคาร อย่างไรก็ดี วิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการรวมต้นทุนการกู้ยืมเพื่อการก่อสร้างอาคารเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ยังไม่เปลี่ยนแปลง
TAS 37 (TAS 18) รายได้ (รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา) • รายได้หมายถึงกระแสรับของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) ในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกิจการ เมื่อกระแสรับนั้นส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น • รายได้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ • TAS ฉบับนี้ใช้แทน TAS 37 (TAS 18) (ปรับปรุง 2543) และได้ยกเลิก TAS 26 เนื่องจากได้ครอบคลุมอยู่ใน TAS ฉบับนี้แล้ว
TAS 37 (TAS 18) รายได้ • ใช้แทน TAS 37 (TAS 18) (ปรับปรุง 2543) และได้ยกเลิก TAS 26 เนื่องจากได้ครอบคลุมอยู่ใน TAS ฉบับนี้แล้ว • กิจการจะรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เมื่อ • ผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายในอสังหาริมทรัพย์ไปยังผู้ซื้อแล้ว หรือ • ผู้ซื้อได้รับสิทธิประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ก่อนที่ผู้ซื้อจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย กล่าวคือความเสี่ยงและผลตอบแทนในความเป็นเจ้าของได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้วและผู้ขายไม่มีภาระที่จะต้องดำเนินการใดๆ เพิ่มเติมในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อให้งานเสร็จสมบูรณ์ตามสัญญา
TAS 37 (TAS 18) รายได้ • ใช้แทน TAS 37 (TAS 18) (ปรับปรุง 2543) และได้ยกเลิก TAS 26 เนื่องจากได้ครอบคลุมอยู่ใน TAS ฉบับนี้แล้ว (ต่อ) • หากผู้ขายมีภาระผูกพันที่จะต้องดำเนินการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญหลังจากที่ผู้ขายได้โอนสิทธิประโยชน์หรือโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ผู้ขายจะรับรู้รายได้ตามขั้นตอนของการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น อาคารหรือสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ
TAS 39 (TAS 10) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กิจการไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายการบัญชีตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี หากผลกระทบของการใช้นโยบายดังกล่าวไม่มีสาระสำคัญ เราสามารถ override TAS บางฉบับ หากทำตาม ไม่ได้ช่วยให้งบมีความถูกต้องตามควรมากขึ้น • งบการเงินจะไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี หากปรากฏว่ามีข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญ • ข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญในงวดก่อน จะต้องแก้ไขด้วยวิธีปรับย้อนหลังงบการเงินในงวดแรกหลังจากค้นพบข้อผิดพลาดดังกล่าว
TAS 39 (TAS 10) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้ใช้วิธีปรับย้อนหลังสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่เป็นไปโดยความสมัครใจ • ยังคงให้มีเงื่อนไขเกี่ยวกับ “การไม่สามารถทำได้ในทางปฏิบัติ” สำหรับการยกเว้นการแก้ไขข้อมูลเปรียบเทียบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อน
TAS 39 (TAS 10) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่กิจการกำลังจะนำมาถือปฏิบัติเมื่อกิจการเริ่มนำมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่มาปฏิบัติก่อนการบังคับใช้ • กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบหรือประมาณการผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่องบการเงินของงวดบัญชีที่มีการนำมาตรฐานการบัญชีหรือการตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ไปปฏิบัติ
TAS 39 (TAS 10) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด • กำหนดให้เปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินของรายการปรับปรุงบัญชีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาดในงวดก่อนโดยให้เปิดเผยสำหรับรายการแต่ละบรรทัดในงบการเงินที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งกำไรต่อหุ้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดหากกิจการต้องปฏิบัติตาม TAS 38 (TAS 33) เรื่อง กำไรต่อหุ้น
TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ตั้งแต่ปี 51 • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ • ไม่เป็นตัวเงิน ไม่สามารถระบุว่าจะเปลี่ยนเป็นเงินสดที่แน่นอนเท่าไร • สามารถระบุได้ และ • ไม่มีรูปร่าง • สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงิน หมายถึง เงินสดหรือสินทรัพย์ที่กิจการจะได้รับเป็นจำนวนที่ แน่นอน หรือที่สามารถทราบได้
TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • ร่าง TAS 51 (TAS 38) อยู่บนสมมติฐานว่าอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนสามารถกำหนดได้แน่นอน และมีข้อสันนิษฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนต้องไม่เกิน 20 ปีนับจากวันที่สินทรัพย์นั้นสามารถให้ประโยชน์ได้ TAS 51 ได้ตัดข้อสันนิษฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ดังกล่าวออกไป โดยกำหนดว่ากิจการจะพิจารณาว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมีอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่สามารถกำหนดได้ก็ต่อเมื่อจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องแล้วไม่พบข้อจำกัดที่สามารถคาดได้เกี่ยวกับระยะเวลาที่สินทรัพย์ดังกล่าวจะสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดสุทธิที่กิจการจะได้รับ
TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจากการทำสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่นจะต้องไม่เกินอายุสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายอื่นแต่อาจจะสั้นกว่าได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์นั้นๆ • หากสัญญาหรือสิทธิทางกฎหมายนั้นมีระยะเวลาที่จำกัดแต่สามารถต่ออายุได้อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น ต้องรวมระยะเวลาที่ต่ออายุใหม่เฉพาะกรณีที่มีหลักฐานสนับสนุนได้ว่ากิจการไม่มีต้นทุนที่เป็นนัยสำคัญจากการต่ออายุดังกล่าว
TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • กำหนดให้กิจการไม่ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ไม่สามารถกำหนดได้ • ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อกำหนดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • การนำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาใช้ประโยชน์ตามที่คาดไว้ ซึ่งรวมถึงการที่ผู้บริหารคณะอื่นจะสามารถบริหารสินทรัพย์นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ • วงจรชีวิตของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับการประมาณอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกันที่นำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะเดียวกัน
TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อกำหนดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ต่อ) • ความล้าสมัยด้านเทคนิค เทคโนโลยี การค้า หรือด้านอื่นๆ • เสถียรภาพของอุตสาหกรรมที่นำสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาใช้ประโยชน์ และการเปลี่ยนแปลงในความต้องการของตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการที่ได้จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • การโต้ตอบที่คาดว่าจะเกิดจากคู่แข่งหรือคู่แข่งในอนาคต • ระดับของรายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อดำรงไว้ซึ่งประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน และความสามารถและความมุ่งมั่นของกิจการเพื่อให้บรรลุระดับของรายจ่ายนั้นๆ
TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อกำหนดอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ต่อ) • ระยะเวลาที่กิจการสามารถควบคุมสินทรัพย์และสิทธิทางกฎหมาย หรือข้อจำกัดที่คล้ายคลึงกันในการใช้สินทรัพย์ เช่น วันครบกำหนดของสัญญาเช่าที่เกี่ยวข้อง และ • อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนขึ้นอยู่กับอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์อื่นๆของกิจการ หรือไม่
TAS 51 (TAS 38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • กำหนดให้กิจการทบทวนอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่ไม่ได้มีการตัดจำหน่ายทุกงวดบัญชี เพื่อประเมินว่ายังคงมีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดหรือไม่ที่สนับสนุนว่าอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้นไม่สามารถกำหนดได้ หากไม่มีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่สนับสนุนว่าสินทรัพย์ดังกล่าวมีอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่แน่นอน กิจการบันทึกการเปลี่ยนแปลงประมาณการอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ที่ไม่แน่นอนเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์ที่แน่นอน โดยถือเป็นการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางการบัญชี ตาม TAS 39 (ปรับปรุง 255x)
TAS 53 (TAS 37) ประมาณการหนี้สิน • ประมาณการหนี้สิน หมายถึง หนี้สินที่มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับจังหวะเวลาหรือจำนวนที่ต้องจ่ายชำระ แต่พอจะประมาณโดยอาศัยสมมติฐานและการจัดเก็บข้อมูลในอดีตได้ระดับนึง • ไม่ได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงแต่อย่างใด
TAS 52 (TAS 10) เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล • เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ในงบดุลกับวันที่ได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงิน ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเป็นไปในทางดีหรือไม่ดี เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ • เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลที่ต้องปรับปรุง คือ เหตุการณ์ที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าสถานการณ์ได้มีอยู่ ณ วันที่ในงบดุล และ • เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุลที่ไม่ต้องปรับปรุง คือ เหตุการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ได้เกิดขึ้นภายหลังวันที่ในงบดุล • ไม่ได้มีการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงแต่อย่างใด