390 likes | 900 Views
การยกร่าง ข้อกำหนดของท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. โดย พรพรรณ ไม้สุพร ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย WWW.anamai.moph.go.th/laws/index.htm. รัฐธรรมนูญ. พระราชบัญญัติ. พระราชกำหนด. กฎกระทรวง /ประกาศกระทรวง. พระราชกฤษฎีกา. ข้อกำหนดของท้องถิ่น
E N D
การยกร่าง ข้อกำหนดของท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดย พรพรรณ ไม้สุพร ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย WWW.anamai.moph.go.th/laws/index.htm
รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎกระทรวง /ประกาศกระทรวง พระราชกฤษฎีกา ข้อกำหนดของท้องถิ่น • ข้อบัญญัติ กทม./เมืองพัทยา • เทศบัญญัติ • ข้อบัญญัติจังหวัด • ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
กฎหมาย • เป็นกติกา • เป็นเครื่องมือ เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกัน อย่างเป็นปกติสุข • เป็นข้อบังคับ • ข้อบังคับของรัฐ • กำหนดความประพฤติ • พฤติกรรมของมนุษย์ • มีสภาพบังคับ
การยกร่างข้อกำหนดของท้องถิ่นการยกร่างข้อกำหนดของท้องถิ่น ข้อกำหนดของท้องถิ่น หมายถึง ข้อบังคับหรือกฎหมายที่องค์กรปกครองท้องถิ่นเป็นผู้ออก โดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่า(แม่บท) หลักการ 1. ต้องมีกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ 2. ออกข้อกำหนดท้องถิ่นเกินกว่าอำนาจที่กฎหมายแม่บทให้ไว้ไม่ได้ 3. ต้องออกตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด 4. หลัก “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด”
ขั้นตอนการบัญญัติกฎหมายแต่ละประเภทขั้นตอนการบัญญัติกฎหมายแต่ละประเภท
องค์ประกอบในการยกร่างองค์ประกอบในการยกร่าง 1. ต้องชัดเจนในปัญหา ตามข้อเท็จจริงของท้องถิ่น 2. ต้องชัดเจนต่อบทบัญญัติ 3. ต้องชัดเจนต่อเทคโนโลยีทางวิชาการ ในการแก้ปัญหา 4. ต้องประเมินความเป็นไปได้ ในทางปฏิบัติ
โครงสร้างของร่างข้อกำหนดของท้องถิ่นโครงสร้างของร่างข้อกำหนดของท้องถิ่น ส่วนประกอบโดยทั่วไป 1) ชื่อ 2) บทนำ (การอ้างอิงอำนาจแห่งกฎหมาย) 3) บทนิยามศัพท์ (ขอบเขตความหมาย) 4) บทบังคับ 5) บทกำหนดโทษ (ต้องตามแม่บท) 6) บทเฉพาะกาล 7) บทท้าย 8) ส่วนแนบท้าย
(ร่าง) ... ชื่อ ข้อกำหนดของท้องถิ่น ... เรื่อง ...................... พ.ศ. .... โดยที่เห็นเป็นการสมควรตราข้อบัญญัติ......(ใส่ชื่อ อปท. )...........…………....ว่าด้วย…..……….(ใส่ชื่อเรื่อง).................................... อาศัยอำนาจตามความในมาตรา……..(ม.60/ม.71)... แห่งพระราชบัญญัติ.............(ที่จัดตั้งราชการส่วนท้องถิ่นนั้น) …… และมาตรา .....แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ... (ชื่อราชการส่วนท้องถิ่นนั้น) ... โดยความเห็นชอบของ ...(สภาท้องถิ่น) ...และ...(ผู้ว่าราชการจังหวัด/นายอำเภอ)...จึงตรา ... (ข้อกำหนดของท้องถิ่น) ... ไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ...(ข้อกำหนดของท้องถิ่นนี้) เรียกว่า “ข้อบัญญัติ.....เรื่อง..... พ.ศ. ....”
กิจการที่ควบคุมด้วยการขออนุญาตโดยการตราข้อกำหนดของท้องถิ่นกิจการที่ควบคุมด้วยการขออนุญาตโดยการตราข้อกำหนดของท้องถิ่น ม.19 กิจการเก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยที่ ดำเนินเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน ด้วยการคิดค่าบริการ(ม.20,54,55,58,63และ65) ม.33 กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ม.32,54,55,58,63และ65) ม.34 การจัดตั้งตลาด (ม.35,37,54,55,58,63และ65) ม.38 สถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสม อาหารที่มีพื้นที่เกินกว่า 200 ตารางเมตร (ม.40,54,55,58,63และ65) ม.41 การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (ม.43,54,55,58,63และ65)
กิจการที่มิได้ควบคุมด้วยการขออนุญาตในการตราข้อกำหนดของท้องถิ่นกิจการที่มิได้ควบคุมด้วยการขออนุญาตในการตราข้อกำหนดของท้องถิ่น หนังสือรับรองการแจ้ง(ม. 48)กรณีสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือ สถานที่สะสมอาหารที่มีพื้นที่ไม่เกินกว่า 200 ตารางเมตร ตราไว้ในข้อบัญญัติเดียวกับพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร (ม.40, โดยเพิ่ม ม. 48 และ 50, 54,55,58,63และ65) การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ (กฎหมายจัดตั้ง ม.60/71และ กฎหมาย สธ. ม. 29) การควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย (กฎหมายจัดตั้ง ม.60,50/ 71,67 และ กฎหมาย สธ. ม. 20) การจัดการน้ำเสียในอาคารโดยการติดตั้งบ่อดักไขมัน (กฎหมายจัดตั้ง ม.60/71และ กฎหมาย สธ. ม. 20)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ • มาตรา ๒๙การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้ • กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย • บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสองให้นำมาใช้บังคับกับกฎที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยโดยอนุโลม
ข้อ 2 ...(ข้อกำหนดของท้องถิ่นนี้)... ให้ใช้บังคับในเขต...อปท. ... ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ............ ข้อ 3 ... (การยกเลิกกฎหมายเก่า) ... บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน ข้อ 4 ... (การยกเว้นการบังคับใช้ถ้ามี) ... บทนิยามศัพท์ ข้อ 5 ...(ในข้อบัญญัติ) ... นี้ “ ....…..…....... “ หมายความว่า…….. “ ......……....... “ หมายความว่า……..
โครงสร้างของร่างข้อกำหนดของท้องถิ่นโครงสร้างของร่างข้อกำหนดของท้องถิ่น ส่วนประกอบโดยทั่วไป แบ่งไว้ดังนี้ 1) ชื่อ 2) บทนำ (การอ้างอิงอำนาจแห่งกฎหมาย) 3) บทนิยามศัพท์ (ขอบเขตความหมาย) 4) บทบังคับ ? 5) บทกำหนดโทษ (ต้องตามแม่บท) 6) บทเฉพาะกาล 7) บทท้าย 8) ส่วนแนบท้าย
บทบังคับ คือ รายละเอียดข้อห้าม/ข้อปฏิบัติ ตามกฎหมาย (1) บทบังคับตามที่กฎหมายแม่บทกำหนดไว้ (2) บทบังคับที่กฎหมายให้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม
(1) บทบังคับตามที่กฎหมายแม่บทกำหนดไว้ • อำนาจการควบคุมดูแลของรัฐ • อำนาจการอนุญาตประกอบกิจการ • คุณสมบัติของใบอนุญาต • ข้อปฏิบัติของผู้ได้รับใบอนุญาต • การพักใช้ใบอนุญาต • การเพิกถอน ผลของการเพิกถอนใบอนุญาต • อำนาจตามมาตรา 45 * อายุ * พื้นที่การใช้ * การแสดงไว้ในที่เปิดเผย * การต่ออายุ * การขอรับใบแทน * การเลิก โอนกิจการ
(2) บทบังคับที่กฎหมายให้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม • หลักเกณฑ์ วิธีการ มาตรฐานด้านสุขลักษณะ เพื่อควบคุม/แก้ไขปัญหาที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ • หลักเกณฑ์ วิธีการในการออกใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้ง/การต่ออายุ/การขอรับใบแทน • ค่าธรรมเนียม/ค่าบริการ
ข้อกำหนดด้านสุขลักษณะข้อกำหนดด้านสุขลักษณะ • 1. เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต • เกี่ยวกับที่ตั้ง/สถานที่ • ให้มีอุปกรณ์ เครื่องมือที่ปลอดภัย • ให้มีระบบการบำบัด/ป้องกันมลพิษ • ฯลฯ 2. เพื่อควบคุมในระหว่างดำเนินกิจการ • การดูแลรักษาสถานที่ • การดูแลอุปกรณ์/เครื่องมือ • การดูแลระบบฯให้มีการใช้การได้ดี • สุขวิทยาส่วนบุคคล • กรรมวิธีการทำ ผลิต เก็บ สะสม จำหน่าย • ฯลฯ
หมวด 1 บททั่วไป ข้อ 6 ................................................? หมวด 2 หลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ (มีกฎกระทรวงแล้วบางเรื่อง?) ข้อ 7 ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องจัดให้ได้ตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) สถานที่ ที่ตั้ง ... (2) อุปกรณ์ เครื่องมือ ... (3) ระบบการบำบัด /ป้องกันมลพิษ ... (4) คุณสมบัติของบุคลากร ... ฯลฯ
ข้อ 8 ในระหว่างดำเนินกิจการ ผู้ประกอบกิจการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้ (1) การดูแลสถานที่ ... (2) การดูแลเครื่องมือ /อุปกรณ์ ... (3) การดูแลระบบบำบัด /ป้องกันมลพิษ ... (4) สุขวิทยาส่วนบุคคล ... (5) กรรมวิธีการทำ การผลิต การเก็บ การสะสม การจำหน่าย ฯลฯ
หมวด 3 หลักเกณฑ์การอนุญาต ข้อ 9 ผู้ขอรับใบอนุญาต… ต้องยื่นคำขอตามแบบแนบท้าย และต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดง … ข้อ 10 …(หลักเกณฑ์การต่ออายุ การขอรับใบแทน การแสดง ใบอนุญาตในสถานประกอบการ) ... หมวด 4 อัตราค่าธรรมเนียม อัตราค่าบริการ ข้อ 11 ... อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการหรือการออกใบ อนุญาต หรือการออกหนังสือรับรองการแจ้ง ให้เป็นไปตามบัญชีท้าย ข้อกำหนดของท้องถิ่นนี้ ...
(ข้อ 12 ... อัตราค่าบริการขั้นสูงที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัด สิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยจะเรียกเก็บได้ ให้เป็นไปตามบัญชีท้ายข้อกำหนดของท้องถิ่นนี้ ...) หมวด 5 บทกำหนดโทษ ข้อ 13 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อกำหนดของท้องถิ่นนี้ ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (หรือจะใส่รายละเอียดเลขมาตรา / ขนาดระวางโทษลงไปก็ได้)
หมวด 6 บทเฉพาะกาล ... (ถ้ามี) ข้อ 14 .................................…………... ข้อ 15 ให้ ... (เจ้าพนักงานท้องถิ่น) ... รักษาการให้เป็นไปตาม...(ข้อกำหนดของท้องถิ่น) ... นี้ และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งหรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตาม... (ข้อกำหนดของท้องถิ่น) ... นี้ ประกาศ ณ วันที่ ................… ( .................................. ) เห็นชอบ ... (เจ้าพนักงานท้องถิ่น) ... ( .............................) ตำแหน่ง ......................
มีตัวอย่างร่างข้อกำหนดของท้องถิ่นทุกเรื่องมีตัวอย่างร่างข้อกำหนดของท้องถิ่นทุกเรื่อง
ขั้นตอนการยกร่างฯ 1. สำรวจ & ประเมินปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม 2. ตรวจสอบบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 3. เสนอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ความเห็นชอบในการ ยกร่างฯ เพื่อแก้ปัญหานั้นๆ 4. แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างฯ - จพง.สาธารณสุข (ท้องถิ่น/สสจ./ศูนย์อนามัย) - อาจารย์สถาบันการศึกษา - นิติกร (ท้องถิ่น/สสจ./สำนักงานจังหวัด) - ผู้แทนฝ่ายผู้ประกอบการ (ตามความเหมาะสม) - อื่นๆ ตามความเหมาะสม
ขั้นตอนการยกร่างฯ (ต่อ) 5. ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการเสนอความ คิดเห็น” 6. เมื่อยกร่างฯแล้วเสนอผ่านเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าสู่การพิจารณาของ “สภาท้องถิ่น” 7. เมื่อสภาท้องถิ่นเห็นชอบให้ติดประกาศฯ เพื่อบังคับใช้ต่อไป
การใช้มาตรการกฎหมาย 1) ออกข้อกำหนดท้องถิ่น และ ประกาศใช้ 2) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ “ข้อกำหนดท้องถิ่น” 3) ประชุมชี้แจงผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในข่ายควบคุม เข้าใจเหตุผลความจำเป็น ของข้อกำหนดฯ ขั้นตอนการควบคุมของท้องถิ่นและการลงโทษ 4) ดำเนินการตรวจตรา & พบเหตุแนะนำ & แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่น 5) เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่ง 7) ดำเนินคดี กรณีฝ่าฝืน/ดื้อแพ่ง
WEB SITE ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 0-2590-4175, 0-2590-4223, 0-2590-4252, 0-2590-4256 โทรสาร 0-2591-8180 http://laws.anamai.moph.go.th/index.htm