200 likes | 1.18k Views
โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot and Mouth Disease : HFMD). สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ปี 2552. จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ปี2552 มีผู้ป่วยทั้งปีทั่วประเทศ รวม 8,806 ราย เสียชีวิต 3 ราย มีรายงานต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี และมีรายงานผู้ป่วยสูงสุดในเดือนมิถุนายน
E N D
โรคมือเท้าปาก (Hand, Foot and Mouth Disease : HFMD)
สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ปี 2552 • จากรายงานของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ปี2552 มีผู้ป่วยทั้งปีทั่วประเทศ รวม 8,806 ราย เสียชีวิต 3 ราย • มีรายงานต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี และมีรายงานผู้ป่วยสูงสุดในเดือนมิถุนายน • กลุ่มอายุที่พบ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี • มีการเกิดโรคในภาคเหนือสูงสุด รองลงมาคือภาคกลาง ภาคใต้ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 10 อันดับแรก คือ น่าน ลำปาง กรุงเทพฯ พะเยา สุโขทัย สมุทรปราการ ระยอง สมุทรสาคร นนทบุรี และ พังงา
สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ปี 2553 • มกราคมถึงเมษายน2553 พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 6,083 รายไม่มีผู้เสียชีวิต • ร้อยละ 90 เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี • พบผู้ป่วยมากที่สุด ในภาคกลาง และภาคใต้ • ในช่วงเปิดภาคเรียนที่สภาพอากาศเข้าสู่ฤดูฝน อาจจะทำให้สถานการณ์โรคมือ เท้าปาก ระบาดมากขึ้นได้
สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในต่างประเทศ ปี 2553 • ตั้งแต่มกราคม-มิถุนายน 2553 มีการเกิดโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศ จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ฮ่องกง
สาเหตุ จากการติดเชื้อไวรัสที่เจริญเติบโตในลำไส้ เรียกว่า เอนเทอโรไวรัส โรคนี้พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า5ปี)พบน้อยมากในเด็กวัยรุ่น
การติดต่อมักติดต่อโดยการได้รับเชื้อจากอุจจาระ ฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วยเข้าสู่ปาก การติดต่อทางน้ำหรืออาหารมีโอกาสเกิดได้น้อย การแพร่ติดต่อเกิดขึ้นค่อนข้างง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย และแม้อาการทุเลาลงแล้ว ก็ยังอาจแพร่เชื้อได้บ้าง
อาการ • หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย • ต่อมาอีก1-2 วัน จะพบตุ่มหรือผื่นนูนสีแดงเล็ก (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ (มักอยู่ที่ด้านข้างของนิ้ว) ฝ่าเท้า (มักอยู่ที่ส้นเท้า) อาจพบที่บริเวณอื่น เช่น หัวเข่า ข้อศอก หรือก้นได้ ในปากจะพบเป็นตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก หรือกระพุ้งแก้ม ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส บริเวณรอบ ๆ อักเสบและแดงกดแล้วเจ็บ ซึ่งต่อมาจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปาก ทำให้รับประทานอาหารได้น้อย • อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติได้เอง ภายใน 7-10 วัน
ลักษณะตุ่มใสที่พบบนฝ่ามือ เท้า ในเพดานปาก ลิ้น
วิธีการรักษา - รักษาตามอาการ หากมีไข้ ก็ให้ยาลดไข้ ซึ่งโดยปกติ ไข้จะลดภายใน 2-3 วัน - สำหรับตุ่มที่ขึ้นบริเวณมือและเท้า หากเด็กไม่แกะเกาจนทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไร เพราะจะค่อยๆ หายไปเองภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากมีการแกะ เกา จนเกิดการติดเชื้อก็ต้องใช้ยาทารักษาต่อไป
การป้องกัน โดยการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เป็นประจำหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก และก่อนการรับประทานอาหารหรือป้อนอาหารเด็ก รวมถึงการไม่คลุกคลีใกล้ชิด ใช้ภาชนะอาหาร หรือของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ร่วมกับการรักษาความสะอาดทั่วๆไป การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัวให้ถูกสุขลักษณะ
หากพบเด็กป่วยควรทำอย่างไรหากพบเด็กป่วยควรทำอย่างไร แยกเด็กป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5 - 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น แต่หากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ เป็นต้น ต้องรีบพาไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที
หากมีเด็กป่วยจำนวนมากในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ควรทำอย่างไร มาตรการช่วงที่เกิดโรคระบาดต้องเน้นการสกัดกั้นการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งอาจมีความจำเป็นจะต้องประกาศเขตติดโรคและปิดสถานที่ เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กอ่อน โรงเรียนเด็กเล็ก(อาจรวมถึงสระว่ายน้ำ สถานที่แออัด) เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับเด็กป่วย และเน้นการล้างมือบ่อยๆ รวมทั้งการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อในโรงพยาบาลและบ้านเรือนที่มีผู้ป่วย ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้จัดการสถานรับเลี้ยง ควรดำเนินการ ดังนี้...
แจ้งการระบาดไปยังหน่วยงานบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปสอบสวนการระบาด ให้ความรู้ และคำแนะนำ • เผยแพร่คำแนะนำเรื่อง โรคมือเท้าปาก แก่ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อ โดยเฉพาะการล้างมือและการรักษาสุขอนามัยของสภาพแวดล้อม และควรแยกของใช้ไม่ให้ปะปนกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร ฯลฯ • เฝ้าระวัง โดยตรวจเด็กทุกคน หากพบคนใดที่มีอาการโรคมือ เท้า ปาก ต้องรีบแยกออกและให้หยุดเรียน 7-10 วัน หรือจนกว่าจะหายป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังเด็กคนอื่น ๆ
ควรรีบพาเด็กป่วยไปพบแพทย์ควรรีบพาเด็กป่วยไปพบแพทย์ • พิจารณาปิดห้องเรียนที่มีเด็กป่วยหรือปิดทั้งโรงเรียนชั่วคราว • ทำความสะอาด อุปกรณ์รับประทานอาหาร, ของเล่นเด็ก, ห้องน้ำ, สระว่ายน้ำ และให้มั่นใจว่าน้ำมีระดับคลอรีนที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน
ทำความสะอาดสถานที่เพื่อฆ่าเชื้อโรค บริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม สระว่ายน้ำ ครัว โรงอาหาร บริเวณที่เล่นของเด็ก สนามเด็กเล่น โดยใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว (20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร) หรือน้ำยาทำความสะอาดที่ใช้ตามบ้านเรือน แล้วเช็ดล้างด้วยน้ำสะอาด ทำความสะอาดของเล่นเครื่องใช้เด็กด้วยการซักล้างแล้วผึ่งแดดให้แห้ง หยุดใช้เครื่องปรับอากาศ เปิดประตู หน้าต่าง ผ้าม่าน ให้แสงแดดส่องทั่วถึง
จะทำลายเชื้อได้อย่างไรจะทำลายเชื้อได้อย่างไร • โดยแสงอัลตราไวโอเล็ต ในสภาพที่แห้ง เชื้อจะมีชีวิตอยู่ไม่นาน • โดยการต้มที่ 50-60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที • น้ำยาซักล้างทั่วไป โซเดียมไฮโปคลอไรด์ (Sodium Hypochlorite) 1% หรือ กลูตาราลดีไฮด์ (Glutaraldehyde), ฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) 0.3%และคลอรีนผสมน้ำ 0.1 ppm (part per million) หากทำลายเชื้อในอุจจาระจะต้องใช้คลอรีนที่เข้มข้นมากกว่านี้ • โดยวิธีทำให้ปราศจากเชื้อ (pasteurization), steam sterilization, Ethylene Oxide Sterilization(ETO) และ hydrogen peroxide gas plasma