1 / 16

ร่วมกับ

แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ที่สำคัญในจังหวัดลำพูน. เสนอ. ร่วมกับ. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. เข้าสู่หน้าหลัก.

Download Presentation

ร่วมกับ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ที่สำคัญในจังหวัดลำพูน เสนอ ร่วมกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เข้าสู่หน้าหลัก

  2. ลำพูน เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ยาวนาน เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวีเดิมชื่อเมืองหริภุญชัย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญชัย โดยฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี”มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญชัยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา เนื้อหาสาระ

  3. < < < < < < < < < <

  4. วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร พระบรมธาตุหริภุญชัย มีพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ เป็นเจดีย์แบบล้านนา ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตติ- บัญชร รั้วเหล็กและทองเหลือง 2 ชั้น สำเภาทองประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ ทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ ฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูปนั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชามีไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป พระบรม ธาตุนี้นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งในล้านนาไทยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในวันเพ็ญ เดือน 6 จะมีงานนมัสการและสรงน้ำพระธาตุทุกปี ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อ พ. ศ. 1440 พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์วงศ์รามัญผู้ครองนคร ลำพูนได้สร้างมณฑปครอบโกศทองคำ บรรจุพระบรมธาตุไว้ภายในและมีการสร้างเสริมกันต่อมาอีกหลายสมัย ต่อมาในปี พ.ศ. 1986 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ครองนครเชียงใหม่ได้ทรงกระทำการปฏิสังขรณ์บูรณะ เสริมองค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยการสร้างคราวนี้ได้ใช้โครงขึ้นใหม่เป็นรูปแบบลังกา เข้าสู่หน้าหลัก

  5. อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตั้งอยู่ตำบลในเมือง บริเวณสวนสาธารณะหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม ความสามารถและกล้าหาญ ได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้จนมีความรุ่งเรืองสืบมา จนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฏราชกุมาร ได้เสด็จมาทรงเปิดอนุสาวรีย์พระนางจามเทวีเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2525 เข้าสู่หน้าหลัก

  6. วัดจามเทวี หรือเดิมชื่อ วัดกู่กุด ตั้งอยู่บน ถนนจามเทวีหมู่ 5 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดลำพน เมื่อปีพ.ศ. 1298 พระนางจามเทวีนำช่างละโว้ (ปัจจุบันคือ จังหวัดลพบุรี) ไปสร้างพระเจดีย์สุวรรณจังโกฎเป็นพระเจดีย์สี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดียทุกๆด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรศิลปกรรมของลพบุรีมีพระพุทธรูปยืนอยู่ ในซุ้มพระทั้งสี่ด้าน ด้านละ 15 องค์ รวม 60 องค์ ภายในบรรจุอัฐของพระนางจามเทวี ภายในพระเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี เดิมมียอดพระเจดีย์หุ้มด้วยทองคำ รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนบนสุวรรณจังโกฏเจดีย์ได้กลายเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุที่ประประเมินค่าไม่ได้พระพุทธรูปปางต่างๆ ในแต่ละชั้นของเจดีย์แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธา และการเข้าถึงพระพุทธศาสนาของพระนางจามเทวี เข้าสู่หน้าหลัก

  7. กู่ช้างเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ที่ ชุมชนวัดไก่แก้ว ในเขตอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน บริเวณกู่ช้าง-กู่ม้าเดิมเป็นที่รกร้าง แต่มีโบราณสถานกู่ช้างเท่านั้น ที่มีรูปทรงทางศิลปกรรมที่ค่อนข้างสมบูรณ์ กู่ช้างเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุซากของพระยาช้างคู่บารมีของพระเจ้ามหันตยศพระโอรสของพระนางจามเทวีซึ่งพระยาช้างเชือก นี้มีชื่อว่า ปู่ก่ำงาเขียว ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ฐานเป็นฐานหน้ากระดาน กลมห้าชั้น ก่อด้วยอิฐสอดิน ชั้นนอกสอปูน ฐานชั้นที่ 5 เป็นฐานบัวคว่ำ รอง รับเจดีย์ทรงกระบอก ปลายสอบเข้าหากัน เจดีย์ กู่ม้าเป็น เจดีย์ก่ออิฐสอดินและมีการฉาบปูนด้านนอกเหมือนเจดีย์กู่ช้าง ลักษณะ ทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง ด้านบนเป็นบัลลังก์ ส่วนยอดหักหายไปแล้ว เข้าสู่หน้าหลัก

  8. วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตั้งอยู่ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง เป็นวัดที่สร้างมานานและถือว่าเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะมีรอยพระพุทธบาทและรอยตากผ้า เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน โดยทั่วไป ตามตำนานกล่าวว่า ในอดีตสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธ-องค์ยังทรงพระชนม์ อยู่ได้เสด็จมาสู่สุวรรณภูมิโดยพุทธนิมิตครั้งหนึ่ง พระองค์ได้เสด็จมาบริเวณวัดพระพุทธบาทตากผ้า แล้วได้ทรงอธิษฐานประทับรอยพระบาทไว้บนพื้นศิลาใหญ่ และได้ทรงรับสั่ง ให้พระอานนทเถระนำจีวรไปตากไว้บนผาลาดใกล้ ๆ ที่ประทับ บริเวณที่ตากจีวรนั้นปรากฏเป็นรอยตารางคล้ายตาจีวร วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดพระพุทธบาทตากผ้า เข้าสู่หน้าหลัก

  9. วัดป่าซางงาม ตั้งอยู่ที่ตำบลป่าซาง วัดประจำอำเภอ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมงคลสราการ ถือเป็นพระประจำอำเภอป่าซาง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่วัดนี้มีหอไตรลักษณะเป็นตึกทึบสองชั้น หลังคาลดชั้นแบบล้านนา หน้าต่างชั้นบนมีขนาดเล็ก เขียนลายเทวดา ภายในวิหารมีบุษบกไม้แกะสลัก เป็นของเก่าแก่อายุหลายร้อยปี และเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่องาม พระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 2 เมตร ภายในยังมีพิพิธภัณฑ์วัด ป่าซาง จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ กลอง เป็นต้น เข้าสู่หน้าหลัก

  10. วัดมหาวนาราม ตั้งอยู่ใกล้คูเมือง ด้านทิศตะวันตก ถ.จามเทวี ในเขตเมืองลำพูนวัดมหาวันวนารามสร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีครองหริภุญไชย พระนางจามเทวีนั้นเดิม อยู่ที่อาณาจักรละโว้ เมื่อฤๅษีวาสุเทพสร้างหริภุญไชยขึ้น พระนางจามเทวีได้เสด็จมาปกครองเป็น ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาหริภุญไชยนั้นได้พาไพร่พลที่มีความรู้สาขาต่างๆ พร้อมพระสงฆ์ ประมาณ 500 องค์มาด้วย รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญอีก 2 องค์ คือ พระแก้วขาว (พระเสตังคมณี)   และพระศิลาดำ (พระพุทธสิกขิ) เมื่อถึงหริภุญไชย พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างวัดมหาวัน เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์และนำพระศิลามาประดิษฐานไว้ด้วย (ส่วนพระแก้วขาวนั้นพระเจ้าเม็งรายแห่งล้านนาได้อัญเชิญไปเป็นพระพุทธรูป ประจำพระองค์ และประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงมั่น ใน เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน) เข้าสู่หน้าหลัก

  11. วัดพระคงฤาษี เดิมชื่อ "วัดอาพัทธาราม" ตั้งอยู่ใกล้คูเมือง ด้านทิศเหนือ ถ.จามเทวี ในเขตเมืองลำพูน พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อถวายพระภิกษุที่มาจากลังกา ใช้เป็นที่พำนักและบำเพ็ญสมณะธรรมเป็นที่บรรจุ "พระคง" ตามตำนานกล่าวว่า วาสุเทพฤาษี ได้ใช้ไม้เท้ากรีดพื้นเพื่อเขียนแผนผังเมืองลำพูนตรงพระเจดีย์นี้ พระนางจามเทวีจึงทรงสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม แล้วให้นายช่างแกะสลักเป็นรูปพระฤาษีทั้ง 4 ตนไว้ แต่ละตนถือไม้เท้าในมือ รูปปั้นแกะสลักฤาษีสร้างด้วยศิลาแดง     เมื่อทำเสร็จแล้วได้นำไปบรรจุไว้ภายในซุ้มประตูทั้ง 4 ด้านของพระเจดีย์ โดยทางทิศเหนือเป็นรูปวาสุเทพฤาษี ทิศตะวันออกเป็นรูปพระพรหมฤาษี ทิศตะวันตกเป็นรูปของพระสมณนารคฤาษี ทิศใต้เป็นรูปของสุกกทันตฤาษี ซึ่งชาวลำพูนจะจัดประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระเจดีย์องค์นี้ เข้าสู่หน้าหลัก

  12. วัดประตูลี้ ตั้งอยู่ตั้งอยู่ใกล้คูเมือง ด้านทิศใต้ ถ.จามเทวี ในเขตเมืองลำพูนคำว่า "ลี้" ภาษาล้านนาเรียกว่า หลบหลีก หรือ หนีไป ประตูลี้เข้าใจว่าคงเป็นประตูที่ใช้ในการหนีข้าศึก ซึ่งเป็นเรื่องแปลกประหลาดในครั้งโบราณ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ถ้าหากเอามะนาวโยนลงไปที่หนองน้ำวัดพระยืนมะนาวจะโผล่มาที่หนองน้ำพระอุโบสถ วัดพระธาตุหริภุญชัย ทะลุผ่านบ่อน้ำช้างมูบในวัดพระธาตุหริภุญชัยนั้นแล้ว ทะลุออกไปถึงปากบ่อง อำเภอป่าซาง อาจเป็นไปได้ว่าบริเวณประตูลี้คงมีทางลับหนีออกจากนครหริภุญชัยทางน้ำได้ วัดและพระพุทธรูปประจำประตูนี้คือ วัดประตูลี้หรือสังฆาราม หรือ มหาสัตตารามและพระลือมงคล เข้าสู่หน้าหลัก

  13. โบราณสถานวัดเกาะกลาง ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อคาว ตำบลบ้านเรือน อ.ป่าซาง โบราณสถานวันเกาะกลางเดิมชื่อว่าเป็นที่เกาะตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำปิงกับลำ น้ำสาขาที่แยกออกจากแม่ปิง ไหลอ้อมแผ่นดินตัวเกาะ แล้วกลับมารวมกันอย่างเดิม ต่อมาแม่น้ำปิงเปลี่ยนเส้นทางใหม่ เกาะกลางจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ พื้นที่ส่วนเป็นที่ตั้งของวัดเกาะกลาง รูปทรงสถาปัตยกรรมศิลป์ มีความเก่าแก่ มีโบราณวัตถุและชิ้นส่วนประติมากรรมปูนปั้น เป็นศิลปกรรมตกแต่ง สถาปัตยกรรมมากมายมีอายุร่วมสมัยกับยุคล้านนาตอนต้น หรือประมาณ 700 ปี ที่มีอิทธิพลจากศิลปะหริภุญชัย นอกจากนี้ยังขุดพบรูปแบบสถาปัตยกรรมคติทวารวดี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการขุดแต่งและบูรณะโบราณสถานวัดเกาะกลาง ให้เป็นถานที่ท่องเที่ยวทางโบราณคดี เข้าสู่หน้าหลัก

  14. วัดป่าสีเสียดตั้งอยู่ ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซางประวัติความเป็นมาของวัดนี้สร้างเมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่ได้ค้นพบในพระพุทธรูปไม้ และพระพุทธรูปแก้ว แจ้งไว้ว่า พ.ศ.1266 แสดงว่าวัดป่าสีเสียดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ วัดหนึ่งในตำบลท่าตุ้ม เดิมวัดป่าสีเสียดอยู่ทางทิศใต้ของวัดห่างจากวัดจริงประมาณ 100 เมตร สังเกตได้จากซากเจดีย์ เก่า, ผุ, หัก, พัง คำว่าป่าสีเสียด เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งมีเป็นจำนวนมาก น่าเสียดายถูกตัดและแผ้วถางเป็นทุ่งนาไปเสียมาก ไม่ทิ้งไว้ให้เหลืออีกเลย คำว่าดอกแก้วทรายมูล ค้นพบจากพระธรรม ปัจจุบันจะพบดอกแก้วยังมีความสวยงามโดดเด่น ก็เป็นต้นไม้ประจำวัดก็ว่าได้ วัดป่าสีเสียดนี้มีพระประธานประจำอยู่ ในพระวิหาร มีผู้คนมาสักการะนับถือมากมายอีกทั้งเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เข้าสู่หน้าหลัก

  15. วัดนางเกิ้ง ตั้งอยู่ ต.ท่าตุ้ม อ.ป่าซางสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ตามประวัติวัดแจ้งว่าเมื่อครั้งที่พระนางเจ้าจามเทวีได้ขึ้นครองนครลำพูน การคมนาคมในสมัยนั้นไม่ค่อยเจริญ จะต้องเดินทางด้วยเท้า ล่องเรือล่องแพ และผ่านป่าดงซึ่งมีสัตว์ดุร้ายและอันตรายมากมาย พระนางประสงค์ที่จะที่จะทำการสร้างเมืองลำพูน และได้มาหยุดพักที่บ้านศรีชุม ได้หันพระพักตร์ และยกพระหัตถ์ขึ้นป้อง ( ภาษาพื้นเมืองเรียกว่าเกิ้งหน้า ) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั้นเพื่อเป็นสักขีพยานว่า พระนางเจ้าจามเทวีได้เคยมาที่แห่งนี้แล้ว และให้เป็นฯที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนให้สืบพระศาสนาต่อไป เข้าสู่หน้าหลัก

  16. ขอขอบคุณ ท่านผู้อำนวยการ สมบัติ สาคำ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองเกิด คุณครูศิริพรรณ วงศ์ชมภู ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนบ้านหนองเกิด ที่ให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการผลิตสื่อการเรียนรู้นี้

More Related