590 likes | 1k Views
บทบาทของห้องปฏิบัติการกับการเข้าสู่อาเซียน (AEC) การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ. สุดา นันทวิทยา ผู้อำนวยการสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ.
E N D
บทบาทของห้องปฏิบัติการกับการเข้าสู่อาเซียน (AEC)การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ สุดา นันทวิทยา ผู้อำนวยการสำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ
การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ การนำเข้า ส่งออก เป็นความจำเป็นต่อระบบการตรวจสอบรับรองสินค้าเพื่อรองรับความต้องการและความปลอดภัยของผู้บริโภค เมื่อเข้าสู่อาเซียน รวมทั้งป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการเมื่อเข้าสู่อาเซียน
การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการเมื่อเข้าสู่อาเซียนการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการเมื่อเข้าสู่อาเซียน การผลักดันให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลกเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งในส่วนของผู้ประกอบการต่างสนใจในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการมีบทบาทสำคัญ ในการแสดงถึงสินค้ามีคุณภาพมาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการยอมรับในความสามารถตามมาตรฐานสากล
Standardization= Definition of properties, dimensions, tolerances, etc. Metrology= Guarantee of exact and reliable measurements Testing = Analysis of properties, ingredients, characteristics, etc. Quality Management = Reliable application of quality standards Certification = Conformity with requirements defined in standards Accreditation= Recognition of technical competence Metrology Standards Testing Quality
National Quality System Customer Product (Shrimp) MSTQ - System Farm to Fork System sanitary surveillance Technical Regulations IAF ILAC Accreditation Ministry Product with Certificate ISO Guide 62, 65, etc PAC APLAC HACCP Shrimp Farm Certification ISO 9000 Process - products - processes Good Practices Processing ISO 14000 ISO CODEX Standardization Deep freezing ACCSQ Certificate Testing Laboratories ISO/IEC 17025 Transport Intercomparisons Proficiency tests ISO 17025 trazeability BIPM Metrology APMP - Calibration - Reference materials Simplified example: Shrimp Certification for Export
Quality Assurance of MeasurementProcess RM Data Accept/ Use Reference Material Quality Control Quality Assessment Measurement Process Sample Data Sample QC Sample QC Data Required Accuracy / Precission Level Not Accept/ Repeat 10
International Recognition BIPM/APMP ILAC/APLAC Metrology in Chemistry National Accreditation Body NMI CRM ISO/IEC 17025 ISO/IEC 17043 Accredited calibration laboratories ISO Guide 34 Accredited RM Producer ISO Guide34 Internal calibration and testing laboratories CRM/RM Industry needs reliable measurement results
What is Proficiency Testing? Proficiency Testing is the evaluation of participant performance by means of interlaboratory comparisons. ISO/IEC 17043:2010 Conformity assessment — General requirements for proficiency testing
Proficiency Testing(PT) 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 LAB1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 400 300 500 900 600 1000 100 700 PT Provider 200 800 LAB2 LAB3 LAB4 LAB5 1)PT items LAB50 LAB100 LAB500 LAB600 LAB700 2)PT test results LAB1000 Participants 3)Evaluation of LAB Performance Z Score
Evaluation of LAB Performanceby Z Score ⎜z ⎜ ≤ 2.0 satisfactory 2.0 < ⎜z ⎜ < 3.0 questionable ⎜z ⎜ ≥ 3.0 unsatisfactory
Q1.การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการมีความสำคัญอย่างไรQ1.การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการมีความสำคัญอย่างไร A1.ให้การรับรองว่าห้องปฏิบัติการมีความสามารถในการดำเนินงานตามขอบข่ายงานที่ระบุ ได้รับการยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการในระดับประเทศและระดับสากล ความเชื่อถือได้ในความแม่นของผลการทดสอบ ประหยัดเวลาค่าใช้จ่ายในการทดสอบซ้ำ ช่วยลดปัญหาการกีดกันทางการค้า คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 2.ห้องปฏิบัติการควรเริ่มต้นอย่างไรเพื่อจัดทำระบบการบริหารงานคุณภาพของห้อง ปฏิบัติการ A 2.ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการควรจะร่วมกำหนดนโยบายคุณภาพของห้องปฏิบัติการ รวมถึง เป้าหมาย, วัตถุประสงค์, แผนงานหรือโปรแกรมและตัวชี้วัดที่เหมาะสมกับขอบข่ายในระบบการบริหารงานคุณภาพ คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 3.ห้องปฏิบัติการควรมีการจัดองค์กรอย่างไร A 3.ห้องปฏิบัติการต้องเป็นนิติบุคลที่มีความรับผิดชอบตามกฎหมายพร้อมด้วยมีบุคลากรด้านการบริหารและด้านวิชาการที่มีอำนาจหน้าที่และทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 3.ห้องปฏิบัติการควรมีการจัดองค์กรอย่างไร A 3.ห้องปฏิบัติการต้องเป็นนิติบุคลที่มีความรับผิดชอบตามกฎหมายพร้อมด้วยมีบุคลากรด้านการบริหารและด้านวิชาการที่มีอำนาจหน้าที่และทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน ผู้บริหารด้านวิชาการและผู้จัดการด้านคุณภาพรับผิดชอบให้มั่นใจว่ามีการนำระบบการบริหารไปใช้และปฏิบัติตามตลอดเวลา คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 4.ห้องปฏิบัติการควรมีรูปแบบการบริหารงานอย่างไร A 4.ห้องปฏิบัติการต้องจัดทํา นำไปใช้ และรักษาไว้ซึ่งระบบการบริหารที่เหมาะสมกับขอบข่ายกิจกรรมของห้องปฏิบัติการ กำหนดถ้อยแถลงนโยบายคุณภาพไว้รวมถึงข้อผูกพันของผู้บริหารห้องปฏิบัติการที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตาม ISO/IEC17025 และปรับปรุงประสิทธิผลของระบบการบริหารอย่างต่อเนื่อง คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 5.ห้องปฏิบัติการต้องจัดทำขั้นตอนการควบคุมเอกสารและบันทึกหรือไม่ อย่างไร A 5.ห้องปฏิบัติการต้องจัดทํา และรักษาขั้นตอนการดําเนินงานในการควบคุมเอกสารและบันทึกทั้งหมดของระบบการบริหารงาน เอกสารทั้งหมดของระบบการบริหารงานที่ออกให้แก่บุคลากรในห้องปฏิบัติการต้องได้รับการทบทวนและอนุมัติโดยผู้มีอํานาจก่อนนําออกใช้ เอกสารและบันทึกในระบบการบริหารงานที่จัดทําโดยห้องปฏิบัติการต้องมีการชี้บ่งอย่างเป็นระบบ คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 6. ห้องปฏิบัติการควรให้บริการลูกค้าอย่างไร A 6.ห้องปฏิบัติการต้องเต็มใจในการให้ความร่วมมือกับลูกค้าเพื่อทําความเข้าใจในคําร้องขอของลูกค้าโดยยังคงรักษา ความลับต่อลูกค้าอื่นห้องปฏิบัติการต้องแสวงหาและวิเคราะห์ข้อคิดเห็นจากลูกค้าทั้งแง่บวกและลบในการปรับปรุงระบบการบริหารงาน กิจกรรมการทดสอบ และการบริการลูกค้า คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 7.บุคลากรของห้องปฏิบัติการต้องมีการฝึกอบรมในเรื่องใดบ้าง A 7.ห้องปฏิบัติการต้องมั่นใจในความสามารถของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเฉพาะทาง โดยพิจารณาจากการศึกษา การฝึกอบรม ประสบการณ์ และความชํานาญที่เหมาะสม ห้องปฏิบัติการต้องระบุความต้องการฝึกอบรม และจัดให้มีการฝึกอบรมที่สัมพันธ์กับงานในปัจจุบันและที่จะทําต่อไปของห้องปฏิบัติการ คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 8.สถานที่และภาวะแวดล้อมมีผลต่อความถูกต้องของผลการทดสอบด้วยหรือไม่ A 8.ห้องปฏิบัติการต้องมั่นใจว่า ภาวะแวดล้อมจะไม่ทำให้ผลการทดสอบใช้ไม่ได้หรือเกิดความเสียหายต่อคุณภาพที่ต้อง การของการวัดใดๆ หากมีกิจกรรมที่เข้ากันไม่ได้ต้องมีการแบ่ง แยกพื้นที่ข้างเคียงออกจากกันอย่างมีประสิทธิผล โดยมี มาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนหรือรบกวนซึ่งกันและกัน คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 9.ห้องปฏิบัติการสามารถใช้วิธีทดสอบของห้องปฏิบัติการเองได้หรือไม่ A 9.ห้องปฏิบัติการต้องใช้วิธีทดสอบ ที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า และเหมาะสําหรับการทดสอบ โดยต้องเลือกใช้วิธีการที่มีการตีพิมพ์ในมาตรฐานระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศก่อนวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาจัดทําขึ้นเอง หรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการรับมาใช้ อาจนํามาใช้ได้ ถ้าเหมาะสมกับงานนั้น และได้รับการตรวจสอบแล้วว่าใช้ได้ คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 10.ห้องปฏิบัติการต้องปรับเปลี่ยนหรือจัดหาเครื่องมือทดสอบใหม่หรือไม่ A 10.ห้องปฏิบัติการต้องจัดให้มีอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดสําหรับใช้ในการทดสอบที่จําเป็นต่อการปฏิบัติการที่ถูกต้องของการทดสอบ และต้องสามารถให้ผลการทดสอบที่มีค่าความแม่นตามที่ต้องการ คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 11.ความสอบกลับได้ของการวัดหมายถึงอะไร เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง A 11.ห้องปฏิบัติการต้องจัดให้มีความสอบกลับได้ของการวัด ของห้องปฏิบัติการไปยัง หน่วยมาตรฐานสากล(SI) โดยการสอบเทียบ หรือการเปรียบเทียบเชื่อมโยงไปยังมาตรฐาน ปฐมภูมิที่สัมพันธ์กันของหน่วย SI แบบไม่ขาดสาย และ/หรือ สอบกลับได้ไปยังมาตรฐานการวัดที่เหมาะสม เช่น วัสดุอ้างอิงรับรอง คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 12.ห้องปฏิบัติการควรมีการจัดการกับตัวอย่างทดสอบอย่างไร A 12.ห้องปฏิบัติการต้องรักษาความสมบูรณ์ของตัวอย่างทดสอบและปกป้องผลประโยชน์ของห้องปฏิบัติการและ ลูกค้าโดยกำหนดขั้นตอนการดําเนินงานที่เหมาะสมในการ ขนส่ง การรับ การจัดการ การป้องกัน การเก็บรักษา คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 13. ห้องปฏิบัติการจะมีความมั่นใจว่าผลการทดสอบของตนเองเชื่อถือได้อย่างไร A 13.ห้องปฏิบัติการต้องมีการประกันคุณภาพของผลการทดสอบโดยการควบคุมคุณภาพเพื่อเฝ้าระวังความใช้ได้ของการทดสอบ มีการวิเคราะห์ข้อมูลการควบคุมคุณภาพ และเมื่อพบการออกนอกเกณฑ์ที่กำหนด ต้องมีแผนการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันการรายงานผลการทดสอบที่ไม่ถูกต้อง คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 14. ห้องปฏิบัติการจะรายงานผลการทดสอบอย่างไร และควรมีรายละเอียดอะไรบ้าง A14.ห้องปฏิบัติการต้องรายงานผลการทดสอบอย่างถูกต้อง ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และตรงตามวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามคําแนะนําที่ระบุในวิธีการทดสอบ ประกอบด้วยข้อมูลได้แก่ ชื่อหัวเรื่อง “รายงานผลการทดสอบ” ชื่อและที่อยู่ของห้องปฏิบัติการและลูกค้า การชี้บ่งเฉพาะของรายงานผลการทดสอบ วิธีทดสอบ ลักษณะตัวอย่าง วันเดือนปีที่รับตัวอย่าง การอ้างถึงแผนการชักตัวอย่าง ผลการทดสอบ ชื่อ ตำแหน่ง และลายเซ็นของผู้ที่มีอํานาจหน้าที่ในการออกรายงานผลการทดสอบ รวมทั้งข้อความที่ระบุว่ารายงานนี้มีผลเฉพาะตัวอย่างที่ทดสอบเท่านั้น คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 15. หากพบงานทดสอบที่ไม่เป็นไปตามที่ห้องปฏิบัติการกำหนด ควรมีการจัดการอย่างไร A 15.เมื่อพบงานทดสอบที่ไม่เป็นไปตามที่ห้องปฏิบัติการกำหนดหรือความต้องการของลูกค้าที่ได้ตกลงกันไว้ ห้องปฏิบัติการต้องมั่นใจว่ามีการดำเนินการต่อไปนี้ ได้แก่ การมอบหมายความรับผิดชอบในการบริหารงานที่ไม่เป็นไปตามที่กําหนด การประเมินความสําคัญของงานที่ไม่เป็นไปตามที่ กําหนด การปฏิบัติการแก้ไขโดยทันที และหากจําเป็นต้องมีการแจ้งให้ลูกค้าทราบ และเรียกงานนั้นกลับคืน คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 16. หากพบข้อบกพร่องในเรื่องต่างๆ ห้องปฏิบัติการจะแก้ไขอย่างไรและมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่องได้หรือไม่ A 16.หากพบข้อบกพร่องในระบบการบริหารงานหรือการปฏิบัติงานด้านวิชาการ ห้องปฏิบัติการต้องมอบหมายผู้รับผิดชอบที่เหมาะสมในการสอบสวนหาต้นเหตุของปัญหา เลือกวิธี และการปฏิบัติการที่คาดว่าจะแก้ปัญหาและป้องกันการเกิดซ้ำ ห้องปฏิบัติการต้องเฝ้าระวังการปฏิบัติ การแก้ไขเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติการแก้ไขมีประสิทธิผล คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 17. ห้องปฏิบัติการควรมีการตรวจติดตามและทบทวนการทำงานของตนเองอย่างไร A 17.ห้องปฏิบัติการต้องทําการตรวจติดตามคุณภาพภายในกิจกรรมของตนเป็นระยะๆ เพื่อทวนสอบว่าการดําเนินงานต่างๆ ของห้องปฏิบัติการยังคงเป็นไปตามข้อกําหนดของระบบการบริหารงาน และเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 การตรวจติดตามคุณภาพภายในดังกล่าว ต้องดําเนินการโดยบุคลากรที่มีคุณสมบัติและได้รับการฝึกอบรมแล้ว และเป็นอิสระจากกิจกรรมที่ตรวจติดตาม คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 18.ห้องปฏิบัติการสามารถปรับปรุงระบบการบริหารงานอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร A 18.ห้องปฏิบัติการต้องปรับปรุงประสิทธิผลของระบบการบริหารอย่างต่อเนื่อง โดยใช้นโยบายคุณภาพ วัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ ผลการตรวจติดตามคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล การปฏิบัติการแก้ไข การปฏิบัติการป้องกัน และการทบทวนการบริหาร คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
Q 19. เมื่อห้องปฏิบัติการมีการดำเนินงานเป็นไปตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025 แล้ว ห้องปฏิบัติการจะยื่นขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการอย่างไร คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025 A 19.ห้องปฏิบัติการสามารถยื่นแบบคำขอรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบที่กรอกข้อมูลแล้วพร้อมทั้งเอกสารคู่มือคุณภาพและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ที่สำนักฯ ซึ่งทำหน้าที่ประเมินและให้การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการในการทดสอบที่ระบุ
Q 20. ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองความสามารถแล้วจะคงได้รับการรับรองตาม ISO/IEC 17025 ตลอดไปได้หรือไม่ A 20.หลังจากได้รับการรับรองแล้ว เพื่อยืนยันว่าห้อง ปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองแล้วยังคงรักษาระบบการบริหารงาน ตามข้อกำหนด ISO/IEC 17025 อย่างต่อเนื่อง ห้องปฏิบัติการต้องถูกตรวจติดตามการรับรองและตรวจประเมินใหม่ สำนักฯ กำหนดให้มีการตรวจติดตามการรับรองทุกปี และการตรวจประเมินใหม่ทุก 3 ปี คำถามและปัญหาในการจัดทำระบบการบริหารงานตาม ISO/IEC 17025
อำนาจหน้าที่ พระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ.2551 กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้รับมอบหมายเมื่อ 3 มิถุนายน 2553 ให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติการมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ในการดำเนินการรับรอง 1. ห้องปฏิบัติการทดสอบ 2. ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ 3. ผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความสัมพันธ์ของระบบคุณภาพต่อการแข่งขันทางการค้าในตลาดเสรีความสัมพันธ์ของระบบคุณภาพต่อการแข่งขันทางการค้าในตลาดเสรี กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้รับมอบหมาย ตามพ.ร.บ.การมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ. 2551 รับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ 1. ระบบงานห้องปฏิบัติการทดสอบ 2. ระบบงานผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญ 3. ระบบงานผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง ลงนามการยอมรับร่วม APLAC MRA พฤษภาคม 2549 ลงนามการยอมรับร่วม ILAC MRA พฤศจิกายน 2549
International Laboratory Accreditation Cooperation(ILAC) M RA Asia Pacific Laboratory Cooperation(APLAC) MRA PT provider? Accreditation body calibration laboratories testing laboratories ISO/IEC 17025 ISO/IEC15189 RM Producer inspection bodies 36
Multilateral Mutual Recognition Arrangement: MLA Accreditation of Laboratory APLAC Asia Pacific Laboratory Accreditation Cooperation ILAC International Laboratoryn Accreditation Cooperation EA EuropeanCo-operation forAccreditation IAACInter-AmericanAccreditationCooperation SADCASouthern AfricanDevelopmentCooperation forAccreditation
การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 สาขาสิ่งแวดล้อม สาขาอาหาร อาหารสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง สาขาภาชนะบรรจุอาหารและวัสดุที่เกี่ยวข้อง สาขาเคมีภัณฑ์(เฉพาะที่ไม่ใช้ทำยา) สาขาน้ำตาลและผลิตภัณฑ์น้ำตาล สาขายางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง สาขาพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก
การรับรองความสามารถผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 สาขาการทดสอบทางการแพทย์ สาขาการทดสอบ สาขาสอบเทียบ
การรับรองความสามารถผู้ผลิตวัสดุอ้างอิงการรับรองความสามารถผู้ผลิตวัสดุอ้างอิง ตาม ISO Guide34 สาขาการทดสอบทางการแพทย์ สาขาการทดสอบ สาขาสอบเทียบ
การเตรียมความพร้อม: พัฒนาศักยภาพของหน่วยรับรองให้เข้มแข็ง การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการภายในประเทศ การรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการในอาเซียน เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันที่อาเซียนตกลงยอมรับ การก้าวเข้าสู่อาเซียนในปี 2558การแข่งขันทางการค้าในตลาดเสรี
การก้าวเข้าสู่อาเซียนในปี 2558การแข่งขันทางการค้าในตลาดเสรี การมอบใบรับรองฯ ให้แก่หน่วยงานอาเซียนFood and Nutrition Research Institute, Proficiency Testing Laboratory, Philippinesแสดงให้เห็นถึงการยอมรับในระบบการรับรองห้องปฏิบัติการในระดับสากลแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศด้วย
Food and Nutrition Research Institute, ProficiencyTesting Laboratory, Philippines
PTT Referrence Material Producer
ความร่วมมือ ด้านผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 1.หน่วยงานการประกันคุณภาพและการทดสอบ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 2.ศูนย์ความร่วมมือเวียดนาม-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม การก้าวเข้าสู่อาเซียนในปี 2558การแข่งขันทางการค้าในตลาดเสรี