E N D
Blended -Hybrid Learning หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
ลักษณะการเรียนแบบผสมผสาน (blended - Hybrid learning) 1. การเรียนแบบผสมผสาน (blended learning) เป็นการเรียนที่ใช้กิจกรรมที่ต้องออนไลน์และการพบปะกันในห้องเรียนจริง (hybrid) โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
ลักษณะการเรียนแบบผสมผสาน (blended - Hybrid learning) 2. การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่าง ๆ มาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ การเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด เช่น - รวมรูปแบบการเรียนการสอน - รวมวิธีการเรียนการสอน - รวมการเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอน ในชั้นเรียน
ลักษณะการเรียนแบบผสมผสาน (blended - Hybrid learning) 3. การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากัน จาก 2 รูปแบบ 3.1 สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน 3.2 การเรียนแบบออนไลน์
ลักษณะการเรียนแบบผสมผสาน (blended - Hybrid learning) อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) 1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก จะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) 2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุการเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่ 2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย - กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน - กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน - ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) 2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย - นิยามผลการกระทำของผู้เรียน - กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์ - การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด - การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน 2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย - การเลือกสรรเนื้อหาสาระ - การพัฒนากรณีต่าง ๆ - การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) 3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย - การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้ - การจัดการสอบตามหลักสูตร - การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้ายจะนำไป พิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลกับผู้เรียนอย่างแท้จริง
ข้อดีของ Blended - Hybrid Learning 1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ 2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ 3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง 4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน 5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต 6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย 7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center 8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
ข้อดีของ Blended - Hybrid Learning 9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยัง ผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว 10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้ 11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ 12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา 13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมี สมาธิในการเรียน 14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้ 15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง 16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้
ข้อจำกัดของ Blended - Hybrid Learning 1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็น อย่างรวดเร็ว 2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์ 3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน 4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง) 5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้านซอฟแวร์ Software 6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ ค่อนข้างสูง
ข้อจำกัดของ Blended - Hybrid Learning 7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต 8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียน การสอนแบบนี้ 9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียน การสอนแบบผสมผสาน 10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบ อินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ 11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to faec (เรียลไทม์)