180 likes | 251 Views
IC 3901. การวิจัยเพื่อพัฒนาทางคอมพิวเตอร์1. "RESEARCH FOR COMPUTER DEVELOPMENT1". คำอธิบายรายวิชา.
E N D
IC 3901 การวิจัยเพื่อพัฒนาทางคอมพิวเตอร์1 "RESEARCH FOR COMPUTER DEVELOPMENT1"
คำอธิบายรายวิชา ศึกษางานวิจัย วิธีการทำวิจัย การกำหนดหัวข้อ การกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย การวางแผนการวิจัย การเขียนโครงร่างการวิจัย การสร้างแบบงานวิจัย การสร้างและใช้เครื่องมือ การลำดับขั้นตอนในการวิจัย การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การสรุปผลการวิจัย
ผู้สอน อ.อัญชณา อุประกูล ห้องพัก 4156
การประเมิน • คะแนนการเข้าเรียน + ส่งงานที่มอบหมาย 30 คะแนน • การนำเสนอหัวข้อและรายงาน 60 คะแนน • คะแนนการสอบ final 10 คะแนน TOTAL = 100 คะแนน
เกณฑ์การประเมิน(ตัดเกรด)เกณฑ์การประเมิน(ตัดเกรด)
การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อแสวงหาคำตอบสำหรับปัญหาหรือคำถามการวิจัยที่กำหนดไว้หรือเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ ข้อดีของการวิจัย คือ สามารถนำผลไปใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง (ถ้าได้มีการนำไปใช้) ข้อเสียของการวิจัย คือ ต้องใช้เวลา และทรัพยากรต่างๆ มาก ต้องมีความรุ้และยึดระเบียบวิธีวิจัยอย่างเคร่งครัด
ขั้นตอนการวิจัยโดยทั่วไปขั้นตอนการวิจัยโดยทั่วไป การกำหนดปัญหา / หัวข้อวิจัย การสุ่มหรือเลือกกลุ่มตัวอย่าง support การค้นคว้าและทบทวนเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนดตัวแปรและสมมุติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล การเลือกแบบการวิจัย สรุปผล และเขียนรายงาน
การกำหนดปัญหา การวิจัยที่ดีควรจะต้องเริ่มต้นด้วยด้วยปัญหาหรือคำถามเสมอ เพราะการกำหนดปัญหาหรือคำถามเป็นจุดเริ่มต้นในการทำให้เกิดกระบวนการในขั้นต่อๆไป และการวางแผนในแต่ละขั้นตอนนั้นขึ้นกับคำถามในการวิจัย ตัวอย่างเช่น ในการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรพบว่าในการให้อาหารถ้ามีการให้อาหารกุ้งในเวลากลางคืนด้วยจะทำให้กุ้งมีการเติบโตดีและได้ผลผลิตเร็วกว่าการให้อาหารแต่ตอนกลางวัน แต่ปัญหาที่พบคือในการให้อาหารในตอนกลางคืนเกษตรกรไม่สามารถออกมาให้อาหารกุ้งได้เนื่องจากในการให้อาหารต้องให้เป็นเวลา และเกษตรกรมีความเหนื่อยล้าเพราะในตอนกลางคืนเป็นเวลาที่ต้องพักผ่อน ดังนั้นหัวข้อวิจัยนี้คือ การสร้างเครื่องให้อาหารกุ้ง
การเลี้ยงกุ้ง ปัญหา ; ให้อาหารกุ้งเพียงกลางวันต้องใช้เวลาในการเลี้ยง 1 เดือนจึงจะได้ผลผลิตดี การแก้ ; ถ้าให้อาหารกุ้งทั้งกลางคืนกุ้งก็จะใช้เวลาในการเลี้ยงน้อยลง (ประมาณครึ่งเดือน) BUT; ไม่สามารถให้กลางคืนได้เพราะเหนื่อย THEREFORE ; สร้างเครื่องให้อาหารกุ้ง(ตั้งเวลาได้)
การมองวิทยุแล้วนึกถึงปัญหาการมองวิทยุแล้วนึกถึงปัญหา พัฒนารูปแบบ การใช้งานการพกพา ความสะดวกสะบาย ประโยชน์ใช้สอย
ตัวอย่างการมองปัญหาในการซักผ้าตัวอย่างการมองปัญหาในการซักผ้า คนซักผ้าลำบาก สร้างเครื่องซักผ้า
สรุปลำดับขั้นตอนในการกำหนดหัวข้อสรุปลำดับขั้นตอนในการกำหนดหัวข้อ ขั้นตอนที่ 1ยกปัญหาในกลุ่มปัญหาทั้งหมดเพื่อกำหนดเป็นหัวข้อ ขั้นตอนที่ 2สังเกตการณ์การเกิดปัญหาของปัญหาที่เลือกเป็นหัวข้อในขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 3ตรวจสอบปัญหา เพื่อทำให้สามารถสร้างความคิดสำหรับการแก้ปัญหาในอนาคต ขั้นตอนที่ 4หากพบว่าข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่เหมาะสมในการเป็นหัวข้อของการวิจัย กลับไปในขั้นตอนที่ 1 เพื่อกำหนดหัวข้อใหม่ หากค้นพบรูปแบบการเกิดปัญหาในขั้นตอนที่ 3 นำรูปแบบนั้นไปคิดหาข้อคิดในการแก้ไขต่อไป
สำหรับการวิจัยทั่วไป ขั้นตอนการเลือกปัญหาหรือหัวข้อวิจัยถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากว่าจะเป็นตัวกำหนดขั้นตอนอื่นๆ นั่นคือ ถ้าเลือกปัญหาหรือหัวข้อวิจัยไม่ดีแล้ว แม้จะดำเนินการวิจัยในขั้นตอนอื่นๆ ได้ดีหรือสมบูรณ์ถูกต้องเพียงใดก็ยากที่จะทำให้งานวิจัยเรื่องนั้นๆ มีคุณค่าได้ (แก้ปัญหาไม่ถูกจุด) การเลือกนวัตกรรม เช่นเดียวกับการเลือกปัญหาวิจัย หรือดำเนินการอื่นๆ ที่ควรพิจารณาโดยยึดหลัก 1.ความรู้ 2.ความสามารถ 3.ความถนัด 4.ความสนใจของผู้ทำ รวมทั้งผู้รับ
ลักษณะของนวัตกรรมที่เหมาะสมลักษณะของนวัตกรรมที่เหมาะสม 1.สร้างและใช้งานได้ง่ายหรือไม่ 2.ประหยัดในการสร้างหรือไม่ 3.ดูแลรักษาง่ายหรือไม่ 4.คุ้มค่าหรือไม่ 5.เมื่อพิจารณาในกลุ่มผู้ใช้มีความเหมาะสมหรือไม่ 6.เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับนวัตกรรมตัวอื่นๆ มีความเป็นไปได้หรือเหมาะสมกว่ากันอย่างไร
การค้นคว้าหาเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้องการค้นคว้าหาเอกสารการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.ในการค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องเอกสารที่ค้นคว้าต้องมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำหรือเนื้อหา หลักการ ทฤษฎี เป็นต้นที่ใช้ในการวิจัย 2.ต้องค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วย ในกรณีที่ไม่มีเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงก็ใช้เอกสารที่มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของเราบ้างไม่มากก็น้อย 3.เอกสารที่เกี่ยวข้องและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องควรเป็นเอกสารที่ทันสมัยไม่ควรเกิน 10 ปี (กรณีที่จะใช้เอกสารเก่ากว่านี้ได้ต้องมีข้อยกเว้นกรณีจำเป็นจริงๆเช่นไม่มีผู้แต่งใหม่) นั่นคือเอกสารต้องมีความทันสมัย 4.ถ้าหากเป็นเอกสารหรือฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาประวัติ ความมีชื่อเสียงของผู้แต่งหรือผู้เกี่ยวข้อง บรรณาธิการ สำนักพิมพ์ ฯลฯด้วย (ต้องมีความเป็นมาตรฐาน)
5.เอกสารที่ค้นนั้นที่มาของเอกสารควรมีความน่าเชื่อถือ เช่นวารสารทางวิชาการ งานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ ตำรา เทคโนโลยีสารสนเทศ (ฐานข้อมูลจากห้องสมุดอัตโนมัติ หรือฐานข้อมูลจากซีดีรอม หรือจากอินเตอร์เน็ต)และจากบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญหรืผู้มีประสบการณ์ เป็นต้น โดยเอกสารที่ค้นคว้าควรให้ครอบคลุมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ 6.กรณีที่เป็นเรื่องสากลทั่วไป ควรค้นคว้าทั้งจากในประเทศและต่างประเทศอย่าละเลยเอกสารจากต่างประเทศ เพราะข้อจำกัดทางภาษาเนื่องจากเอกสารจากต่างประเทศมักจะมีหลากหลาย และมาตรฐานสูง
กรณีที่มีการค้นคว้าจากเอกสารเก่า และเอกสารนั้นยังไม่ได้มีการวิจัยต่อ ควรระบุดังนี้ วิจัย หลักการ (2532 ) กล่าวว่า …………………………………………………………………………………………………………………………………ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังไม่มีผู้ศึกษาเพิ่มเติมแต่อย่างใด หรือ วิจัย หลักการ (2532 ) กล่าวว่า …………………………………………………………………………………………………………………………………ซึ่งแนวคิดดังกล่าวยังได้รับการยอมรับจนถึงปัจจุบัน
การบ้าน • ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 2-3 คน ลองหาปัญหาที่สนใจ • 2. วันที่ 13 ตุลาคม แจ้งชื่อสมาชิกในกลุ่มในชั้นเรียน • 3. วันที่ 20 ตุลาคม แจ้งชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาพร้อมกับหัวข้อปัญหาวิจัยในชั้นเรียน