360 likes | 1.39k Views
ผู้จัดทำ. นางสาวผการัตน์ มาคง เลขที่ ๑๑ นางสาว อริศรา รัตนศิริ วิวัฒนา เลขที่ ๑๓ นางสาว กมลวรรณ บุตรทรัพย์ เลขที่ ๑๔ นางสาวชุติมา สินสถาน เลขที่ ๑๘ นางสาวฐิติรัตน์ ทองทาก เลขที่ ๒๓ นางสาวกลิ่นสุดา นาคชม เลขที่ ๓๒ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๖/๓. วรรณคดีสมัยสุโขทัย.
E N D
ผู้จัดทำ นางสาวผการัตน์ มาคง เลขที่ ๑๑ นางสาวอริศรารัตนศิริวิวัฒนา เลขที่ ๑๓ นางสาวกมลวรรณ บุตรทรัพย์เลขที่ ๑๔ นางสาวชุติมา สินสถาน เลขที่ ๑๘ นางสาวฐิติรัตน์ ทองทาก เลขที่ ๒๓ นางสาวกลิ่นสุดา นาคชม เลขที่ ๓๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๓
วรรณคดีสำคัญสมัยสุโขทัยวรรณคดีสำคัญสมัยสุโขทัย ศิลาจารึกหลักที่ 1 ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) สุภาษิตพระร่วง ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (นางนพมาศ) มังรายศาสตร์ (วินิจฉัยมังราย)
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง บางทีเรียกว่า จารึกหลักที่ 1 เป็นจารึกที่สำคัญและยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เพราะการใช้ภาษาในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั้นเข้าลักษณะสากลที่ว่า ภาษาของคนโบราณมักใช้ถ้อยคำพื้นๆ ประโยคที่ใช้กินความเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางตอนมีเสียงของคำสัมผัส ฟังไพเราะเข้าลักษณะของวรรณคดีได้ ปัจจุบันศิลาจารึกจัดแสดงไว้ที่ห้องประวัติศาสตร์ชาติไทยในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ผู้แต่งสันนิษฐานว่าผู้แต่งอาจมีมากกว่า 1 คน เพราะเนื้อเรื่องใน หลักศิลาจารึกแบ่งได้เป็น 3 ตอนตอนที่ 1 ใช้คำแทนชื่อว่า กู เข้าใจว่าพ่อขุนรามคำแหงคงจะทรงแต่งเองตอนที่ 2 และ 3 เข้าใจว่าจะต้องเป็นผู้อื่นแต่งเพิ่มเติมภายหลัง ความมุ่งหมาย เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ในสมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะการปกครอง ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร ตลอดจนบรรยายถึงความเจริญรุ่งเรือง และความสมบูรณ์พูนสุขของกรุงสุโขทัย ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้วที่มีลักษณะเป็นภาษาไทยแท้ เป็นประโยคสั้นๆ กะทัดรัด บางตอนมีเสียงสัมผัสคล้องจองกันบ้างระหว่างวรรค
ศิลาจารึกหลักที่ 1 เนื้อหาสาระ ตอนที่ 1เป็นเรื่องราวของพ่อขุนรามคำแหงทรงเล่าประวัติของพระองค์ตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชย์ ใช้คำแทนชื่อว่า "กู" เป็นพื้น จึงเป็นทำนองอัตชีวประวัติ ตอนที่ 2เนื้อเรื่องเป็นการเล่าเหตุการณ์ต่างๆ และขนบธรรมเนียมของกรุงสุโขทัย การสร้างพระ แท่นมนังคศิลา การสร้างวัดมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาลัย และการประดิษฐ์อักษรไทย ตอนที่ 3เนื้อเรื่องเป็นการกล่าวสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของกรุงสุโขทัยที่แผ่กว้างออกไป
ตัวอย่าง "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้ญิ่งโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก" "เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม" http://www.siambestname.com/name_history.php
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) หนังสือไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือสำคัญสมัยกรุงสุโขทัยที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน เป็นวรรณคดีทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก เดิมเรียกว่า "เตภูมิกถา หรือไตรภูมิกถา" ในการพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2455 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น "ไตรภูมิพระร่วง" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัยให้คู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ความมุ่งหมาย 1. เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมความกตัญญู 2. เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรมและช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาไว้ให้ยั่งยืน ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว
ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา) เนื้อหาสาระ เริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี ต่อไปมีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง วันเดือนปีที่แต่ง บอกชื่อคัมภีร์ บอกความมุ่งหมายในการแต่ง แล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง 3 ว่า "อันว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมจะเวียนวนไปมาและเกิดในภูมิ 3 อันนี้แล" คำว่า "ไตรภูมิ" แปลว่า สามแดน คือ กามภูมิ , รูปภูมิ , และอรูปภูมิ ทั้ง 3 ภูมิแบ่งออกเป็น 8 กัณฑ์ คือ
1. กามภูมิ มี 6 กัณฑ์ คือ 1.1. นรกภูมิ เป็นแดนนรก 1.2. ดิรัจฉานภูมิ เป็นแดนของสัตว์ที่เจริญตามขวาง 1.3. เปรตภูมิ เป็นแดนของเปรตที่เคยเป็นมนุษย์และทำความชั่วเกิดเป็นเปรต 1.4. อสุรกายภูมิ เป็นแดนของยักษ์มารหรือผีที่หลอกมนุษย์ให้ตกใจกลัว 1.5. มนุสสภูมิ เป็นแดนของมนุษย์ 1.6. ฉกามาพจร เป็นแดนของเทวดาที่ยังเกี่ยวข้องในกาม มี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิก, ดาวดึงส์ , ยามะ , ดุสิต , นิมมานรดี , ปรนิมมิตวสวดี 2. รูปภูมิ มี 1 กัณฑ์ คือ รูปาวจรภูมิ เป็นแดนของพรหมที่มีรูป แบ่งเป็น 16 ชั้น ตามภูมิธรรม เรียกว่า โสฬส พรหม 3. อรูปภูมิ มี 1 กัณฑ์ คือ อรูปาวจรภูมิ เป็นแดนของพรหมไม่มีรูป มีแต่จิต แบ่งเป็น 4 ชั้น
ตัวอย่างในไตรภูมิพระร่วงตัวอย่างในไตรภูมิพระร่วง ผลแห่งการทำบาป "คนผู้ใดกล่าวคำร้ายแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศีลและพ่อแม่และผู้เฒ่าผู้แก่ครูปาทยาย คนผู้นั้นตาย ไปเกิดในนรกอันได้ขื่อว่า สุนักขนรกนั้นแล ในสุนักขนรกนั้นมีหมา 4 สิ่ง หมาจำพวกหนึ่งนั้นขาว หมาจำพวกหนึ่งนั้นแดง หมาจำพวกหนึ่งนั้นดำ หมาจำพวกหนึ่งนั้นเหลือง และตัวหมาผู้นั้นใหญ่เท่าช้างสารทุกตัว ฝูงแร้งแลกาอันอยู่ในนรกนั้นใหญ่เท่าเกวียนทุกตัว ปากแร้งแลกาแลตีนนั่น เทียรย่อมเหล็กแดงลุกเป็นเปลวไฟอยู่มิได้เหือดสักคาบ แร้งแลกาหมาฝูงนั้นเทียรย่อมจิกแหก http://www.learners.in.th/blogs/posts/316891
สุภาษิตพระร่วง สุภาษิตพระร่วงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บัญญัติพระร่วง" เป็นสุภาษิตที่เก่าแก่ ได้รับการจดจำกันมาหลายชั่วคนแล้ว เพิ่งมาบันทึกไว้เป็นหลักฐานครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หรือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกวีในสมัยนั้นได้รวบรวมและแต่งเติมเสริมต่อให้ครบถ้วนแล้วจารึกไว้ที่ผนังวิหารด้านในทางทิศเหนือหน้ามหาเจดีย์ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2379 ต่อมาหอพระสมุดได้รวบรวมไว้ในหนังสือประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ
ผู้แต่ง สันนิษฐานกันว่าพ่อขุนรามคำแหงเป็นผู้พระราชนิพนธ์ ความมุ่งหมาย เพื่อสั่งสอนประชาชน ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นร่ายสุภาพ ตอนจบเป็นโคลงสี่สุภาพกระทู้ 1 บท เนื้อหาสาระ เริ่มด้วยพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทรงมุ่งหวังประโยชน์ในภายหน้า จึงทรงบัญญัติสุภาษิตเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติประชาชน มีสุภาษิต ทั้งหมด 158 บท http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/PRR12.htm
ตัวอย่างบางตอน เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่ อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน อย่าริร่านแก่ความ เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หน้าศึกอย่านอนใจ ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน การเรือนตนเร่งคิด อย่านั่งชิดผู้ใหญ่ อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์ ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย หว่านพืชจักเอาผล เลี้ยงคนจักกินแรง น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ ที่ซุ้มเสือจงประหยัด มีสินอย่าอวดมั่ง ผู้เฒ่าสั่งจงจำความ ครูบาสอนอย่าโกรธ โทษตนผิดพึงรู้ อย่าขอของรักมิตร ชอบชิดมักจางจาก ภายในอย่านำออก ภายนอกอย่านำเข้า อาสาเจ้าจนตัวตาย อาสานายจงพอแรง ยอข้าเมื่อเสร็จกิจ ยอมิตรเมื่อลับหลัง อย่าขุดคนด้วยปาก อย่าถากคนด้วยตา อย่าพาผิดด้วยหู อย่าเลียนครูเตือนด่า อย่าริกล่าวคำคด คนทรยศอย่าเชื่อ อย่ามักง่ายมิดี อย่าตีงูให้แก่กา อย่ารักเหากว่าผม อย่ารักลมกว่าน้ำ อย่ารักถ้ำกว่าเรือน อย่ารักเดือนกว่าตะวัน
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (นางนพมาศ) ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีชื่อเรียกว่า นางนพมาศบ้าง เรวดีนพมาศบ้าง เป็นหนังสือที่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับสมัยที่แต่ง นักวรรณคดีมีความเห็นตรงกันว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นหนังสือที่แต่งเติมหรือแต่งใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้เค้าเรื่องเดิม ทั้งนี้เพราะมีเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น การกล่าวถึงชนชาติอเมริกัน การกล่าวถึงปืนใหญ่ซึ่งไม่มีในสมัยนั้น ถ้อยคำสำนวนเป็นถ้อยคำใหม่ มีคำกลอนซึ่งเกิดขึ้นหลังสมัยกรุงสุโขทัยอยู่ด้วย
ผู้แต่ง นางนพมาศเป็นธิดาของพระศรีมโหสถและนางเรวดี มีรูปสมบัติและคุณสมบัติที่งดงาม ได้รับการอบรมจากบิดา มีความรู้ทางอักษรศาสตร์ พุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ การช่างของสตรี ตลอดจนการขับร้องดนตรี ถวายตัวเป็นสนมทำหน้าที่ขับร้องถวาย ได้เป็นพระสนมเอกของพระยาลิไท ตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ความมุ่งหมาย เพื่อแสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ และจริยธรรมของผู้รับราชการฝ่ายใน ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว มีกลอนดอกสร้อยแทรกอยู่ 5 บท
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (นางนพมาศ) เนื้อหาสาระ แบ่งออกได้เป็น 5 ตอน คือ 1. กล่าวถึงชาติและภาษาต่างๆ 2. ยอพระเกียรติพระร่วง เล่าชีวิตของชาวสุโขทัยและสถานที่บางแห่ง3. ประวัติของนางนพมาศเอง 4. คุณธรรมและการปฏิบัติหน้าที่ของนางสนม 5. พระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (เดือนสิบสอง) , พระราชพิธีวิสาขะและพระราชพิธีจรดพระนังคัล (เดือนหก) , พระราชพิธีอาษาฒมาส (เดือนแปด) , พระราชพิธีอาสวยุช (เดือนสิบเอ็ด) เป็นต้น
ตัวอย่างบางตอน 1. ข้อปฏิบัติของข้าราชการฝ่ายใน "อย่าทำรีๆ ขวางๆ ให้เขาว่า อย่าทำเซ่อๆ ซ่าๆ ให้ท่านหัว อย่าประพฤติตัวเก้อๆ ขวยๆ ให้คนล้อ อย่าทำลับๆ ล่อๆ ให้เขาถาก อย่างทำโปกๆ ปากๆ ให้ท่านว่ากิริยาชั่ว จงแต่งตัวให้งามต้องตาคน จะประพฤติตนให้ต้องใจท่านทั้งหลาย จงฝากตัวมูลนายให้กรุณา จงระวังเวลาราชการ….." http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/trang/rootjarin_ch/sec04p05.html
มังรายศาสตร์ (วินิจฉัยมังราย) มังรายศาสตร์เป็นหนังสือใบลานที่เก่าแก่ที่สุด ต้นฉบับเดิมเขียนเป็นภาษาไทยเหนือ มังรายศาสตร์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วินิจฉัยมังราย หมายความว่าเป็นคำพิพากษาของพระเจ้ามังราย
มังรายศาสตร์ (วินิจฉัยมังราย) ผู้แต่ง พระเจ้ามังรายหรือพระยามังราย กษัตริย์แห่งอาณาจักรลานนาไทยพระราชโอรสของพระเจ้าลาวเม็ง เจ้าแห่งวงศ์หิรัญนคร ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อเจริญวัย พระราชบิดามีรับสั่งให้ไปครองนครเชียงราย พระเจ้ามังรายก็ทรงทำหน้าที่ในการปกครองได้อย่างดีเยี่ยม ทรงตีเมืองหริภุญไชยที่อยู่ในการครอบครองของมอญได้สำเร็จ ขณะมีพระชนมายุได้ 43 พรรษา เมื่อขึ้นครองราชย์ปกครองอาณาจักรลานนา พระองค์ได้ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ความมุ่งหมาย เพื่อใช้ในการพิจารณาคดีความ ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว
เนื้อหาสาระ มังรายศาสตร์เป็นหนังสือกฎหมายที่ได้รวบรวมเรียบเรียงมาจากหนังสือธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์กฎหมายเก่าแก่ของอินเดีย ที่ถูกมอญดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพของตนไปบ้างแล้ว ตอนแรก กล่าวถึงการสืบสันตติวงศ์ลานนา การสร้างเมืองเชียงใหม่และวัตถุประสงค์ในการแต่ง คำนำ ใช้คำว่าสิทธิสวัสดี กล่าวถึงกฎหมายที่ได้รู้มาแต่โบราณ พระเจ้ามังรายจึงบัญญัติไว้เพื่อให้ท้าวพระยาทั้งหลายผู้เป็นลูกหลานเหลน และเสนาอมาตย์ผู้ปกครองเมืองสืบไปได้รู้จักผิดรู้จักชอบ
ตอนที่สอง กล่าวถึงเรื่องระเบียบการปกครอง ซึ่งสมัยนั้นได้มีการจัดการปกครองออกเป็นหมู่ๆ หมู่ละ 10 คนบ้าง 100 คนบ้าง 1,000 คนบ้าง 10,000 คน 100,000 คนบ้าง โดยมีหัวหน้าทำหน้าที่ในการปกครองในแต่ละหมู่ ตอนที่สาม กล่าวถึงเรื่องของตัวบทกฎหมาย ที่มีคำอธิบายพร้อมเหตุผลประกอบ มีจริยธรรมสอดแทรก และมีลักษณะของความยืดหยุ่นเพื่อความเหมาะสมอีกด้วย มังรายศาสตร์ (วินิจฉัยมังราย)
ตัวอย่างบางตอน "ในการรบผู้ใดหลบหนีละทิ้งผู้บังคับบัญชา ให้ฆ่าเสีย ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นมีดังนี้ ไพร่ นายสิบ นายห้าสิบ นายร้อย เจ้าพัน เจ้าหมื่น เจ้าแสนและพระยา เมื่อฆ่าแล้วให้ริบครอบครัวทรัพย์สินทั้งสิ้น เพื่อมิให้ผู้อื่นดูเยี่ยมอย่าง" "เดิมเป็นไพร่เอาตัวไม่รอด จึงเข้าไปเป็นข้าของขุนท้าวพระยา ต่อมาพ่อแม่พี่น้องผู้เป็นไพร่ตาย โดยไม่ได้สั่งเสียเรื่องมรดกไว้ หากมันจะไปขอรับมรดกไม่ควรให้รับ ยกเว้นกรณีที่ผู้ตายสั่งให้ไว้ ก็ให้รับมรดกเท่าที่สั่งไว้ได้ เพราะว่ามันเอาตัวไม่รอดจะพลอยพาพี่น้องอื่นล่มจมไปด้วย"