18.06k likes | 40.93k Views
เรื่อง ชนิดของคำ. วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ผู้จัดทำ นาง กัณ หา เภ กานนท์. ชนิด ของคำ. วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค (ท๔.๑ ป.๖/๑). ตัวชี้วัด. คำนาม. คำอุทาน. คำสรรพนาม. คำสันธาน. ชนิดของคำ. คำกริยา. คำบุพบท. คำวิเศษณ์. คำนาม...ใช้เรียกตามชื่อ.
E N D
เรื่อง ชนิดของคำ • วิชาภาษาไทย • ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ • ผู้จัดทำ นางกัณหา เภกานนท์
ชนิดของคำ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค (ท๔.๑ ป.๖/๑) ตัวชี้วัด คำนาม คำอุทาน คำสรรพนาม คำสันธาน ชนิดของคำ คำกริยา คำบุพบท คำวิเศษณ์
คำนาม...ใช้เรียกตามชื่อคำนาม...ใช้เรียกตามชื่อ ให้นักเรียนเลือกคำที่กำหนดเติมให้ตรงกับภาพ ชาวนา นางลำหับ ประเทศไทย ดอกบัวขาว วันสงกรานต์ รถยนต์ ป่าไม้ ม้านิลมังกร
คำนามที่ไม่ชี้เฉพาะ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ
คำนามบอกลักษณะ ฟอง ตัว คัน เล่ม ไข่ ๓ ______ สมุด ๔ ______ นก ๕ ______ รถยนต์ ๑ _____
คำนามรวมหมู่ เหล่า หมู่ ฝูง โขลง ______ นก ______ ลูกเสือ ______ชาวนา ______ช้าง
คำนามบอกอาการ ความฝัน ความรัก การเรียน การวิ่ง
คำนาม คำนาม คือ คำสำหรับเรียกคน พืช สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่มีรูปปรากฏ และสิ่งที่ไม่มีรูปปรากฏ
คำนามแบ่งเป็น ๕ ชนิด คือ ๑. คำนามที่ไม่ชี้เฉพาะ (สามานยนาม) ๒. คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม) ๓. คำนามที่บอกลักษณะของนาม (ลักษณนาม) ๔. คำนามรวมหมู่ (สมุหนาม) ๕. คำนามที่แสดงอาการต่าง ๆ (อาการนาม)
คำนามที่ไม่ชี้เฉพาะ (สามานยนาม) คือ คำนามที่เป็นชื่อทั่วไปของคน พืช สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ โดยไม่ฉพาะเจาะจง ได้แก่ บ้าน ข้าว วิทยุ อนุสาวรีย์ ทนายความ ฯลฯ เช่น บ้านของเขาอยู่ใกล้ภูเขา
คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม) คือ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ และสถานที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พระราม ทวีปยุโรป ดวงอาทิตย์ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ฯลฯ เช่น ประเทศไทยอยู่ในทวีปเอเชีย คำนามที่บอกลักษณะของนาม (ลักษณนาม) คือ คำนามที่ใช้บอกลักษณะของนามข้างหน้า ซึ่งมักจะใช้ตามหลังคำที่บอกจำนวน ได้แก่ ฉบับ ผล กิ่ง ฯลฯ เช่น วันนี้ฉันได้รับจดหมาย ๓ ฉบับ
ข้อสังเกต คำนามบอกลักษณะของนาม จะอยู่หลังจำนวนนับ ได้แก่ ไข่ ๓ ฟอง มะม่วง ๕ ผล หมวก ๒ ใบ แต่ถ้าจำนวนนับเป็นหนึ่งอาจใช้คำว่าหนึ่งตามหลังลักษณนามได้ เช่น นกตัวหนึ่ง บ้านหลังหนึ่ง ชายคนหนึ่ง เป็นต้น หรือตามหลังนามเมื่อต้องการเน้นคำนามนั้น เช่น อาหารจานนั้น หญิงคนนี้ สุนัขตัวนี้ เป็นต้น
คำนามรวมหมู่ (สมุหนาม) คือ คำนามที่บอกลักษณะของคน พืช สัตว์ และสิ่งของที่รวมกันอยู่เป็นหมวด เป็นหมู่ เป็นพวก ได้แก่ โขลง หมู่ คณะ กลุ่ม ฝูง ฯลฯ เช่น หมู่แมลงบินว่อนตอมดอกไม้ ข้อสังเกต คำนามรวมหมู่หน้าคำนามที่ประกอบอยู่ เช่น ฝูงนก คณะนักเรียน หมู่แมลง เป็นต้น
คำนามที่แสดงอาการต่าง ๆ (อาการนาม) คือ คำนามที่เกิดจากการนำคำ “การ” และ “ความ” นำหน้าคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ เพื่อแสดงความเป็นไปต่าง ๆ ของคน พืช สัตว์ และสิ่งของ ได้แก่ การเรียน การเล่น ความสูง ฯลฯ เช่น การเรียนเป็นประตูสู่อนาคต ข้อสังเกต คำว่า “การ” และ “ความ” หากนำหน้าคำชนิดอื่นนอกจาก คำกริยาและคำวิเศษณ์ถือเป็นคำสามานยนาม ไม่ใช่อาการนาม เช่น การบ้าน การเมือง ฯลฯ
ให้นักเรียนเขียนสรุปความรู้เรื่องคำนามแต่ละชนิดลงในแผนภาพให้นักเรียนเขียนสรุปความรู้เรื่องคำนามแต่ละชนิดลงในแผนภาพ คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ คำนามที่ไม่ชี้เฉพาะ ชนิดของคำนาม คำนามที่บอกลักษณะของนาม คำนามที่แสดงอาการต่าง ๆ คำนามรวมหมู่
คำแทนชื่อ ... นี้คือ สรรพนาม ให้นักเรียนเลือกชนิดของคำสรรพนามในกรอบเติมในช่องว่างให้ถูกต้องกับคำที่กำหนดได้ สรรพนามใช้แทนบุคคล สรรพนามบอกความไม่เจาะจง สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ สรรพนามใช้ชี้ระยะ สรรพนามใช้ถาม สรรพนามใช้เชื่อมประโยค
๑. ได้แก่ คำว่า ที่ • ๒. ได้แก่ คำว่า นี่ • ได้แก่ คำว่า อะไร • ได้แก่ คำว่า ใคร • ได้แก่ คำว่า บ้าง ต่าง • ได้แก่ คำว่า พระองค์ พวก • เธอ พวกเรา
คำสรรพนาม คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนคำนามแบ่งเป็น ๖ ชนิด คือ ๑. สรรพนามใช้แทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าว ๒ สรรพนามใช้ชี้ระยะ ๓. สรรพนามใช้ถาม ๔. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง ๕. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ ๖. สรรพนามเชื่อมประโยค
สรรพนามใช้แทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง (บุรุษสรรพนาม) แบ่งเป็น ๓ ชนิด ๑. สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้แทนผู้พูด เช่น ผม ฉัน อาตมา เป็นต้น ๒.สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนผู้ฟัง เช่น ท่าน เธอ คุณ เป็นต้น ๓.สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น ท่าน เขา มัน เป็นต้น
สรรพนามใช้ชี้ระยะ ใช้แทนนามเพื่อกำหนดให้รู้แน่นอนว่าอยู่ใกล้หรือไกล เช่น นี่ นั่น โน้น ตัวอย่าง โน่นเป็นสระว่ายน้ำ ข้อสังเกต สรรพนามใช้ชี้ระยะจะอยู่ตามลำพัง ทำหน้าที่เป็นประธาน หรือกรรมเช่นเดียวกับคำนาม แต่ถ้าใช้ตามหลังคำอื่นเพื่อขยายคำนั้น จะเป็นวิเศษณ์ เช่น ไทยนี้รักสงบ (นี้ ขยายคำว่า ไทย)
สรรพนามใช้ถาม มีความหมายเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ เช่น ใคร อะไร ผู้ใด ไหน ตัวอย่างใครเป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ สรรพนามบอกความไม่เจาะจง ใช้แทนนามทั่วไป ไม่กำหนดลงไปแน่นอนว่าเป็นใครหรือสิ่งใด เช่น ใคร ผู้ใด สิ่งใด อะไร ไหน
ตัวอย่าง อะไรก็ไม่สำคัญสำหรับฉันเท่าลูก ข้อสังเกต สรรพนามบอกความไม่เจาะจงและสรรพนามใช้ถามหากอยู่หลังคำนามที่ขยายจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น คนไหนที่ได้รับรางวัล (ไหน ขยายคำว่า คน)
สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ ใช้แทนนามที่กล่าวไปแล้ว เพื่อชี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง และแยกนามนั้นออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่ ต่าง บ้าง กัน เช่น เด็ก ๆ บ้างทำการบ้าน บ้างอย่างหนังสือ ข้อสังเกต ๑. บ้าง ถ้าใช้ตามหลังคำอื่นเพื่อขยายคำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น เด็กน้อยวิ่งบ้าง เดินบ้างไปตลอดทาง
๒. กัน หากทำหน้าที่เป็นกรรมหรือแทนคำนามในประโยค ถือเป็นสรรพนามบอกความชี้ซ้ำ แต่ถ้า กัน ทำหน้าที่ขยายคำกริยาที่ไม่มีกรรม หรือไม่ได้แทนคำนามที่มาข้างหน้าจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น เราไปเที่ยวกันเถิด (กัน ขยาย ไปเที่ยว ซึ่งเป็น คำกริยา) ข้อสังเกต
สรรพนามเชื่อมประโยค ใช้แทนนามที่มาข้างหน้า และเชื่อมประโยคให้รวมเป็นประโยคเดียวกัน ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ เช่น ครูชมเชยนักเรียน ที่ประพฤติดี ข้อสังเกต สรรพนามเชื่อมประโยคจะอยู่หลังคำนามหรือคำสรรพนามเท่านั้น
ให้นักเรียนสรุปความรู้เรื่องคำสรรพนามให้นักเรียนสรุปความรู้เรื่องคำสรรพนาม ๑. สรรพนามใช้แทนบุคคล ๒. สรรพนามใช้ถาม ๓. สรรพนามใช้ชี้ระยะ ๔. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง ๕. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ ๖. สรรพนามเชื่อมประโยค
คำกริยา .......สื่ออาการ บิน จับ ปลูก คลาน เกี่ยว ขัน เก็บ กระโดด
กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ (อกรรมกริยา) กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ (อกรรมกริยา) นก..... เต่า..... ไก่..... จิงโจ้.......
กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ (สกรรมกริยา ชาวเขา....ผัก ชาวประมง....ปลา ชาวนา......ข้าว ชาวสวน....ผลไม้
เป็น คล้าย ต้อง เคย เขา............ตำรวจ เป็ด...............ห่าน กริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็ม (วิกตรรถกริยา)
เหมือน กำลัง ควร เท่า ฉันสูง.............พ่อ ป้อมว่ายน้ำเก่ง....ปลา
คำช่วยกริยา (กริยานุเคราะห์) • นารี ............ร้อยพวงมาลัย • เรา.........ยืนตรงเวลาเคารพธงชาติ
คำช่วยกริยา (กริยานุเคราะห์) เด็ก ๆ ..........ดื่มนม ทุกวัน ฉัน...............ไป เที่ยวทะเล
คำกริยา • คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการของคำนามหรือสรรพนาม แบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ ๑. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรม (อกรรมกริยา) ๒. กริยาที่ต้องมีกรรม (สกรรมกริยา) ๓. กริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็ม (วิกตรรถกริยา) ๔. คำช่วยกริยา (กริยานุเคราะห์)
กริยาไม่ต้องมีกรรม (อกรรมกริยา) เป็นกริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ ในตนเอง ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น ฝนตก นกบิน คุณพ่อหัวเราะ กริยาที่ต้องมีกรรม (สกรรถกริยา) เป็นกริยาที่กริยาที่มีกรรมมารับ จึงจะได้ความสมบูรณ์ เช่น ช้างกินอ้อย ทหารยิงปืน คุณลุงปลูกต้นไม้
กริยาต้องอาศัยส่วนเติมเต็ม (วกตรรถกริยา) เป็นกริยาที่ไม่เนื้อความในตนเอง จะใช้เป็นกริยาตามลำพังไม่ได้ จะต้องมีคำนาม คำสรรพนาม หรือคำวิเศษณ์มขยายจึงจะได้ความสมบูรณ์ ได้แก่ คำว่า เหมือน คล้าย เท่า คือ ดุจ ประดุจ แปลว่า เปรียบเสมือน ฯลฯ เช่น ณรงค์เป็นทหาร เธอเหมือนแม่ปัญญาประดุจอาวุธ
คำช่วยกริยา (กริยานุเคราะห์) เป็นกริยาที่ใช้ประกอบหรือช่วยเหลือกริยาสำคัญในประโยคให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่ คง เคย ควรจะ คงจะ ให้ ต้อง กำลัง ฯลฯ เช่น ฉันเคยไปเชียงใหม่ คุณยายกำลังพักผ่อน เธอควรจะขอโทษเขา
ขยายคำ...ควรจำคำวิเศษณ์ขยายคำ...ควรจำคำวิเศษณ์ บ้านหลัง....อยู่เชิงเขา คน....มักอารมณ์ ดอกกุหลาบมีกลิ่น...
วิเศษณ์บอกเวลา (ก่อน ทุกวัน โบราณ) โป้งแปรงฟัน.............แล้เข้านอน ดาบเป็นอาวุธสมัย.... สุดารดน้ำต้นไม้......
วิเศษณ์บอกสถานที่ (บน ไกล ขวา) เขาคิดถึงการเดินทางที่แสน..... รถยนต์กำลังเลี้ยว..... น้องถูบ้านอยู่ชั้น.....
วิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน (มาก ทุก ที่หนึ่ง) ข้าว....เมล็ดมีคุณค่า มะม่วงต้นนี้มีผลดก..... เขาวิ่งแข่งได้.....เสมอ
วิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ (นี้ เหล่านี้ เอง) คน.....ชอบออกกำลังกาย ฉันจะช่วยเธอยกโต๊ะ..... สุนัขตัว.....เชื่องมาก
วิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (ใด ไหน อะไร) บ้าน.....มีหญ้ารกอาจมีงูอาศัยอยู่ สัตว์.....คุณยายก็เมตตา ผู้....จะรักเราเท่าพ่อแม่
คำวิเศษณ์ คำวิเศษณ์ คือ คำที่ขยายหรือประกอบคำอื่น เพื่อใจความชัดเจนยิ่งขั้น อาจใช้ขยายคำนาม คำสรรพนามคำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ด้วยกันเองก็ได้ คำวิเศษณ์มีหลายชนิด ในที่นี้ขอกล่าวถึงเพียง ๖ ชนิด คือ ๑. วิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณะวิเศษณ์) ๒. วิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์) ๓. วิเศษณ์บอกสถานที่ (สถานวิเศษณ์) ๔. วิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์)
๕. วิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์) ๖. วิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์) วิเศษณ์บอกลักษณะ (ลักษณะวิเศษณ์) ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ ชนิด ขนาด กลิ่น สี รส ความรู้สึก อาการ เช่น คุณยายชอบ ดอกไม้หอม (บอกกลิ่น) วิเศษณ์บอกเวลา (กาลวิเศษณ์) ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกเวลา ปัจจุบัน อดีต อนาคต เช่น เขาออกกำลังกายทุกวัน วิเศษณ์บอกสถานที่ (สถานวิเศษณ์) ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ แสดงที่ตั้ง หรือที่อยู่ เช่น เขาขับรถไปทางเหนือ
ข้อสังเกต วิเศษณ์บอกสถานที่หากมีคำนามหรือสรรพนาม มาต่อท้ายจะกลายเป็นคำบุพบท เช่น เด็กน้อยนั่งใกล้หน้าต่าง วิเศษณ์บอกปริมาณหรือจำนวน (ประมาณวิเศษณ์) ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกจำนวน คือ ๑. บอกลำดับ ได้แก่ ที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ฯลฯ เช่น เขาสอบได้ที่หนึ่งเสมอ ๒. บอกปริมาณหรือจำนวน ได้แก่ มาก น้อย บรรดา ทั้งหมด ฯลฯ เช่น เราทุกคนคิดถึงเธอ
วิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ (นิยมวิเศษณ์) ใช้ขยายคำอื่นเพื่อบอกความแน่นอนชัดเจนว่าเป็นสิ่งนี้สิ่งนั้น ได้แก่ นี่ นี้ นั้น โน้น แน่นอน ดังนั้น เฉพาะ เป็นต้น เช่น แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง ข้อสังเกต คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะจะอยู่หลังคำที่ขยาย หากทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมในประโยค ถือเป็นสรรพนามใช้ชี้ระยะ
วิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ (อนิยมวิเศษณ์) ใช้ขยายคำอื่น โดยไม่บอกกำหนดแน่นอนลงไป ได้แก่ คำวา อื่น อื่น ๆ ใด อะไร ทำไม อย่างไร ฯลฯ คำเหล่านี้จะใช้ในความบอกเล่า ไม่ใช่เป็นคำถาม เช่น ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ ข้อสังเกต คำวิเศษณ์บอกความไม่ชี้เฉพาะ ได้แก่ ใด ไหน อะไร เป็นต้น จะอยู่หลังคำที่ขยาย หากทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมใดในประโยค ถือเป็นคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ
บุพบท ..จดจำนำหน้าคำหรือข้อความ ให้นักเรียนเลือกคำบุพบทและชนิดของคำบุพบทนั้น ๆ เติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง บน ของ เพื่อ ตั้งแต่ คำบุพบท • บอกเวลา • บอกความเกี่ยวข้อง หรือความประสงค์ • บอกสถานที่ • บอกความเป็นเจ้าของ ชนิดของ คำบุพบท
นัทมาโรงเรียน..............เช้าเสมอ...........เป็นบุพบท.......................นัทมาโรงเรียน..............เช้าเสมอ...........เป็นบุพบท....................... นี่คือหนังสือ ............ฉัน.........เป็นบุพบท............