340 likes | 802 Views
PISA(Program in International Student Assessment). เป็นโครงการประเมินผลนักเรียนระดับนานาชาติโดย OECD ที่วัดความรู้และทักษะของนักเรียนอายุ 15 ปี ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และประเมินต่อเนื่องกันทุก 3 ปี. การประเมินผลนานาชาติ - PISA. กรอบการประเมินของ PISA.
E N D
PISA(Program in International Student Assessment) เป็นโครงการประเมินผลนักเรียนระดับนานาชาติโดยOECDที่วัดความรู้และทักษะของนักเรียนอายุ 15 ปี ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และประเมินต่อเนื่องกันทุก 3 ปี
การประเมินผลนานาชาติ - PISA
การอ่าน (Reading Literacy) ความรู้และทักษะที่จะเข้าใจเรื่องราวและสาระของสิ่งที่ได้อ่าน คิดวิเคราะห์ แปลความ ตีความ ประเมินสาระที่ได้อ่านและสะท้อนออกมาเป็นความคิดของตน นิยาม การอ่าน
สมรรถนะการอ่าน การค้นสาระ • ค้นหาหรือสรุปสาระสำคัญจากเรื่องที่อ่าน • ตีความหรือแปลความจากเรื่องที่อ่าน • วิเคราะห์เนื้อหาหรือข้อความที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ การตีความ • วิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอของข้อความ • ประเมินและให้ความเห็นหรือโต้แย้งด้วยมุมมองของตนเองต่อบทความที่อ่าน การวิเคราะห์ และประเมิน
ตึกสูง ตัวอย่างข้อสอบ: การค้นสาระ ตึกสูง” เป็นบทความจากนิตยสารของนอร์เวย์ ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2006 คำถาม: ขณะที่บทความนี้ตีพิมพ์ในนิตยสาร ตึกใดในรูปที่ 2 สร้างเสร็จแล้วและสูงที่สุด …………………………… คำถาม: เรดิสัน SAS พลาซ่าในเมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ สูงเพียง 117 เมตร ทำไมจึงนำตึกนี้มาใส่ในรูปที่ 2 ……………………………
ตัวอย่างข้อสอบ: การค้นสาระ คำถาม: จากสถานีรถไฟใต้ดินสถานีใด ที่นักเรียนสามารถขึ้นทั้ง รถเมล์ระหว่างเมืองและรถไฟระหว่างเมืองได้ ………………………………………… คำถาม: บางสถานี เช่น สถานีสุดตะวันตก สถานี สวนสัตว์ และสถานีอิสรภาพ มีการแรเงาสีเทาล้อมรอบสถานี การแรเงาแสดงว่าสถานีเหล่านี้คืออะไร …………………………………………
ป้ายประกาศในซุปเปอร์มาเก็ตป้ายประกาศในซุปเปอร์มาเก็ต การแจ้งเตือนการแพ้ถั่วลิสง ขนมปังกรอบไส้ครีมมะนาว วันที่แจ้งเตือน : 4 กุมภาพันธ์ ชื่อผู้ผลิต:บริษัท ไฟน์ฟู้ดส์ จำกัด ข้อมูลผลิตภัณฑ์:ขนมปังกรอบไส้ครีมมะนาว125 กรัม (ควรบริโภคก่อน18 มิถุนายน และ ควรบริโภคก่อน 1 กรกฎาคม) รายละเอียด: ขนมปังกรอบบางอย่างในรุ่นการผลิตเหล่านี้ อาจมีชิ้นส่วนของถั่วลิสงผสมอยู่ แต่ไม่แจ้งไว้ในรายการส่วนผสม คนที่แพ้ถั่วไม่ควรรับประทานขนมปังกรอบนี้ การปฏิบัติของผู้บริโภค:ถ้าท่านซื้อขนมปังกรอบนี้ไป ท่านสามารถนำมาคืน ณ ที่ที่ท่านซื้อ เพื่อรับเงินคืนได้เต็มจำนวน หรือโทรสอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1800 034 241 ตัวอย่างข้อสอบ: การตีความ คำถาม: จุดประสงค์ของป้ายประกาศนี้คืออะไร 1. เพื่อโฆษณาขนมปังกรอบไส้ครีมมะนาว 2. เพื่อบอกประชาชนว่าขนมปังกรอบผลิตเมื่อใด 3. เพื่อเตือนประชาชนเกี่ยวกับขนมปังกรอบ 4. เพื่ออธิบายว่าจะซื้อขนมปังกรอบไส้ครีม มะนาวได้ที่ไหน
ตัวอย่างข้อสอบ: การวิเคราะห์และประเมิน การแปรงฟันของคุณ ฟันของเราสะอาดมากขึ้นและมากขึ้นเมื่อเรายิ่งแปรงนานขึ้นและแรงขึ้นใช่หรือไม่? นักวิจัยชาวอังกฤษบอกว่าไม่ใช่ เขาได้ทดลองหลายๆ ทางเลือก และท้ายที่สุดก็พบวิธีที่สมบูรณ์แบบในการแปรงฟัน การแปรงฟัน 2 นาทีโดยไม่แปรงฟันแรงจนเกินไปให้ผลที่ดีที่สุด ถ้าคุณแปรงฟันแรงคุณกำลังทำร้ายเคลือบฟันและเหงือกโดยไม่ได้ขจัดเศษอาหารหรือคราบหินปูน เบนท์ฮันเซน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการแปรงฟัน กล่าวว่าวิธีจับแปรงสีฟันที่ดีก็คือจับให้เหมือนจับปากกา “เริ่มจากมุมหนึ่ง และแปรงไปตามฟันจนหมดแถว” เธอบอกว่า “อย่าลืมลิ้นของคุณด้วย! มันสามารถสะสมแบคทีเรียได้มากทีเดียว ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก” คำถาม: ทำไมในเรื่องจึงกล่าวถึงปากกา 1. เพื่อช่วยให้เราเข้าใจว่าควรจับแปรงสีฟันอย่างไร 2. เพราะเราเริ่มจากมุมหนึ่งเหมือนกันทั้งปากกาและแปรงสีฟัน 3. เพื่อแสดงว่าเราสามารถแปรงฟันได้หลายๆ วิธี 4. เพราะเราควรแปรงฟันอย่างจริงจังเช่นเดียวกับการเขียน
บอลลูน การบันทึกสถิติความสูงของบอลลูนอากาศร้อน นักบินชาวอินเดีย วิเจย์พัต สิงหาเนีย ได้ทำลายสถิติความสูงของบอลลูนอากาศร้อน ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 เขาเป็นบุคคลแรกที่พาบอลลูนลอยไปถึง 21,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล สถิติระดับความสูงที่บันทึกได้: 21,000 ม. ช่องตามยาวสามารถเปิดให้อากาศ ร้อนออกได้ เพื่อลดความสูง ออกซิเจน:เพียง 4% ของระดับพื้นดิน ขนาดปกติของบอลลูนอากาศร้อนทั่วไป สถิติเดิม: 19,800 m ความสูง: 49 m อุณหภูมิ: –95 °C บอลลูนมุ่งหน้าออกทะเล ในตอนแรก เมื่อปะทะกับกระแสลมแรงจึงถูกพัดกลับมาอยู่เหนือแผ่นดินอีกครั้ง เส้นใย: ไนลอน เครื่องบินจัมโบ้เจ็ท: 10,000 m การเติมอากาศ: 2.5 ชั่วโมง ขนาด: 453,000 m3 (ขนาดปกติของบอลลูนอากาศร้อนปกติ 481 m3) นิวเดลี จุดที่ลงจอดโดยประมาณ น้ำหนัก: 1,800 kg 483 km กระเช้า: สูง: 2.7 m กว้าง: 1.3 m ห้องโดยสารเป็นแบบปิดและปรับความดัน มีหน้าต่างเป็นฉนวน มุมไบ สร้างด้วยอลูมิเนียมเช่นเดียวกับเครื่องบิน วิเจย์พัต สิงหาเนีย สวมชุดอวกาศระหว่างการเดินทาง ตัวอย่างข้อสอบ: การวิเคราะห์และประเมิน คำถาม: การนำภาพเครื่องบินจัมโบ้เจ็ทมาใส่ไว้ในเนื้อเรื่องมีจุดประสงค์อะไร ………………………………………… ………………………………………… …………………………………………
คณิตศาสตร์ (Mathematics Literacy) สมรรถนะของการเข้าใจบทบาทของคณิตศาสตร์ที่มีต่อโลก ตัดสินใจในประเด็นต่างๆ บนพื้นฐานของคณิตศาสตร์ คิดปัญหาในโลกที่อยู่ในสถานการณ์ต่างๆ ออกมาในรูปของปัญหาคณิตศาสตร์ และแก้ปัญหาเชิงคณิตศาสตร์ นิยาม คณิตศาสตร์
สมรรถนะทางคณิตศาสตร์ • ระบุตัวแปรหรือประเด็นที่สำคัญจากสถานการณ์ในโลกจริง • รับรู้ถึงโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ในปัญหาหรือสถานการณ์ • ทำปัญหาหรือสถาณการณ์ให้อยู่ในรูปอย่างง่าย หรือแปลงโมเดลทางคณิตศาสตร์ การกำหนดปัญหาทางคณิตศาสตร์ • เลือกและใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ • ใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์หาวิธีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา • ประยุกต์ใช้ข้อเท็จจริง กฎ ขั้นตอนและโครงสร้าง ในการแก้ปัญหา การนำกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปใช้ • นำผลที่ได้จากการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตจริง • ประเมินความเหมาะสมของวิธีแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ในบริบทของความเป็นจริง • ระบุและวิจารณ์ข้อจำกัดของรูปแบบที่ใช้ในการแก้ปัญหา การแปลผลลัพท์ทางคณิตศาสตร์
คอนเสิร์ตร็อค ตัวอย่างข้อสอบ: การกำหนดปัญหาทางคณิตศาสตร์ สนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 100 เมตร คูณ 50 เมตร ถูกจองไว้สำหรับแสดงคอนเสิร์ตร็อค บัตรคอนเสิร์ตขายได้หมดและสนามเต็มไปด้วยแฟนเพลงที่ยืนดู การประมาณจำนวนผู้เข้าชมคอนเสิร์ตที่มีจำนวนใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดเป็นเท่าใด 1. 2000 2. 5000 3. 20000 4. 50000 5. 100000
ขยะ ตัวอย่างข้อสอบ: การแปลผลลัพท์ทางคณิตศาสตร์ ในการทำการบ้านเรื่องสิ่งแวดล้อม นักเรียนได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ระยะเวลาการสลายตัวของขยะชนิดต่างๆ ที่ประชาชนทิ้งได้ดังนี้ คำถาม นักเรียนคนหนึ่งคิดที่จะแสดงข้อมูลเหล่านี้เป็นกราฟแท่ง จงให้เหตุผลมาหนึ่งข้อว่า ทำไมกราฟแท่งจึงไม่เหมาะสมในการแสดงข้อมูลเหล่านี้ ……………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………
ลูกเต๋า ลูกที่ 1 ลูกที่ 2 ลูกที่ 3 ตัวอย่างข้อสอบ: ปริภูมิและรูปทรงสามมิติ ทางซ้ายมือมีภาพของลูกเต๋าสองลูก ลูกเต๋า คือ ลูกบาศก์ที่มีจำนวนจุดอยู่บนด้านทั้งหก ซึ่งเป็นไปตามกฎ คือ ผลบวกของจำนวนจุดที่อยู่บนหน้าตรงข้ามเท่ากับเจ็ดเสมอ คำถาม ทางด้านขวา จะมีลูกเต๋าสามลูกวางซ้อนกันอยู่ลูกเต๋าลูกที่ 1 มองเห็น มี 4 จุดอยู่ด้านบน จงหาว่า บนหน้าลูกเต๋าที่ขนานกับแนวนอนห้าด้าน ซึ่งท่านมองไม่เห็น (ด้านล่างของลูกเต๋าลูกที่ 1 ด้านบนและล่างของลูกเต๋าลูกที่ 2 และลูกที่ 3) มีจำนวนจุดรวมกันทั้งหมดกี่จุด ......................................
การลดระดับ CO2 การปล่อยก๊าซในปี 1990 (CO2 ล้านตัน) การปล่อยก๊าซในปี 1998 (CO2 ล้านตัน) สหรัฐอเมริกา รัสเซีย ญี่ปุ่น แคนาดา ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป เยอรมันนี เนเธอร์แลนด์ เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงระดับการปล่อยก๊าซจากปี 1990 ถึง 1998 -35% -4% -16% +11% +10% +13% +8% +15% ตัวอย่างข้อสอบ: ปริมาณ นักวิทยาศาสตร์หลายคน กลัวว่าการเพิ่มของก๊าซ CO2ในชั้นบรรยากาศของเราทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงแผนภูมิด้านข้างแสดงระดับการปล่อยก๊าซ CO2ในปี 1990 (แท่งไม่มีสี) ในประเทศ (หรือภูมิภาค) ต่างๆ และระดับการปล่อยก๊าซ CO2ในปี 1998 (แท่งทึบ) และเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงระดับการปล่อยก๊าซ ระหว่างปี 1990 และ 1998 (แสดงด้วยลูกศร และตัวเลขเป็น %) คำถาม: ในแผนภูมิอ่านได้ว่า การเพิ่มระดับการปล่อยก๊าซ CO2ในสหรัฐอเมริกา จากปี 1990 ถึง 1998 เป็น 11% จงแสดงการคำนวณว่าได้ 11% มาอย่างไร …………………………………………………………………. ………………………………………………………………….
งานวัด 4 1 10 2 8 6 ตัวอย่างข้อสอบ: ความไม่แน่นอนและข้อมูล ร้านเล่นเกมในงานวัดร้านหนึ่ง มีการเล่นเกมที่เริ่มด้วยหมุนวงล้อ ถ้าวงล้อหยุดที่เลขคู่ ผู้เล่นจะได้หยิบลูกหินในถุง วงล้อและลูกหินที่อยู่ในถุง แสดงในรูปข้างล่างนี้ • คำถาม: • ผู้เล่นจะได้รับรางวัลเมื่อเขาหยิบได้ลูกหินสีดำสมพรเล่นเกม 1 ครั้ง • ความเป็นไปได้ที่สมพรจะได้รับรางวัลเป็นอย่างไร • เป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับรางวัล • เป็นไปได้น้อยมากที่จะได้รับรางวัล • เป็นไปได้ที่จะได้รับและไม่ได้รับรางวัลเท่ากัน • เป็นไปได้มากที่จะได้รับรางวัล • ได้รับรางวัลแน่นอน
วิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) สมรรถนะที่จะใช้ความรู้และการคิดเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อระบุ ปัญหา และลงความเห็น จากประจักษ์พยาน เพื่อความเข้าใจและการตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นของโลกธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้นกับโลก นิยาม วิทยาศาสตร์
สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ • รู้ว่าประเด็นปัญหาหรือคำถามใด ตรวจสอบได้ด้วยวิทยาศาสตร์ • บอกคำสำคัญสำหรับการค้นคว้า • รู้ลักษณะสำคัญของการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ การระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ • ใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ สร้างคำอธิบายที่สมเหตุสมผลและ สอดคล้องกับประจักษ์พยาน • บรรยายหรือตีความปรากฏการณ์และพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงในเชิงวิทยาศาสตร์ • ระบุได้ว่าคำบอกเล่า คำอธิบาย และการพยากรณ์ใดที่สมเหตุสมผล การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ • ตีความหลักฐานประจักษ์พยานหรือข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ลง ข้อสรุป และสื่อสารข้อสรุป • ระบุข้อตกลงเบื้องต้น ประจักษ์พยานที่อยู่เบื้องหลังข้อสรุป • แสดงให้เห็นว่าเข้าใจแนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ไปใช้ในสถานการณ์หรือบริบทต่างๆ • สะท้อนถึงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีนัยต่อสังคม การใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์
เสื้อผ้า ตัวอย่างข้อสอบ: การระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ จงอ่านข้อความต่อไปนี้แล้วตอบคำถาม บทความเกี่ยวกับเสื้อผ้า นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษคณะหนึ่ง ได้พัฒนาผ้า “ฉลาด” เพื่อที่จะช่วยให้เด็กพิการสามารถสื่อสารด้วย “คำพูด” ได้ เด็กใส่เสื้อกั๊กที่ทำด้วยเส้นใยพิเศษนำไฟฟ้าได้และเชื่อมต่อไปยังเครื่องสังเคราะห์เสียง จะสามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่เขาต้องการสื่อสาร โดยการแตะลงบนผ้าที่มีความไวต่อการสัมผัสเท่านั้น วัสดุนี้ทำด้วยผ้าธรรมดาและเคลือบรูพรุนด้วยเส้นใยที่มีคาร์บอนสอดไส้อยู่ จึงสามารถนำไฟฟ้าได้ เมื่อมีแรงกดลงบนผ้า สัญญาณแบบต่างๆ จะถูกส่งไปตามเส้นใยและไปแปลงสัญญาณ ชิพคอมพิวเตอร์จะอ่านได้ว่าส่วนใดของผ้าถูกแตะแล้วก็จะไปทำให้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่ทำงาน เครื่องมือดังกล่าวมีขนาดไม่เกินกว่ากล่องไม้ขีด 2 กล่องเท่านั้น “ส่วนที่ฉลาด ก็คือ วิธีการทอและการส่งสัญญาณผ่านทางเส้นใย เราสามารถทอเส้นใยนี้ให้กลมกลืนเข้าไปในลายผ้าซึ่งทำให้เราไม่สามารถมองเห็นมัน” นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งกล่าว ผ้านี้สามารถซัก บิด หรือหุ้มห่อสิ่งต่างๆ โดยไม่เกิดความเสียหาย และนักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวด้วยว่าผ้านี้สามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ในราคาถูก
เสื้อผ้า ตัวอย่างข้อสอบ: การระบุประเด็นทางวิทยาศาสตร์ (ต่อ) คำถาม: คำกล่าวอ้างดังต่อไปนี้ สามารถทดสอบในห้องปฏิบัติการได้หรือไม่ จงเขียนวงกลมล้อมรอบคำว่า “ได้” หรือ “ไม่ได้”ในแต่ละข้อ
วิวัฒนาการ ตัวอย่างข้อสอบ: การใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันม้าส่วนใหญ่จะดูเพรียวลมและสามารถวิ่งได้เร็ว นักวิทยาศาสตร์ได้พบฟอสซิลโครงกระดูกของสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายกับม้า พวกเขาคิดว่าฟอสซิลเหล่านั้นเป็นบรรพบุรุษของม้าในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถตรวจสอบช่วงเวลาที่ฟอสซิลเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ได้ด้วย ตารางข้างล่างนี้ แสดงข้อสนเทศของฟอสซิลสามชนิดและม้าในยุคปัจจุบัน
วิวัฒนาการ ตัวอย่างข้อสอบ: การใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ (ต่อ) คำถาม: ข้อสนเทศใดในตารางที่แสดงว่า ม้าในยุคปัจจุบันมีวิวัฒนาการมาจากซากฟอสซิลทั้งสามชนิดในตาราง จงอธิบาย ………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………….
ความเร็วลม ความเร็วลม ความเร็วลม ความเร็วลม 4. 1. 2. 3. 0 0 0 0 ธ.ค. ม.ค. ธ.ค. ม.ค. ม.ค. ธ.ค. ม.ค. ธ.ค. ตัวอย่างข้อสอบ: ระบบเทคโนโลยี การผลิตพลังงานจากลม คนจำนวนมากเชื่อว่าลมสามารถเป็นแหล่งของพลังงานทดแทนน้ำมันและถ่านหินซึ่งเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าในรูปกังหันลมที่ใช้ลมหมุนใบพัด การหมุนนี้ทำให้พลังงานไฟฟ้าเกิดขึ้นโดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ถูกหมุนด้วยกังหันลม คำถาม: กราฟข้างล่างนี้ แสดงความเร็วลมเฉลี่ยตลอดปีในสี่บริเวณต่างกัน กราฟรูปใดชี้บอกบริเวณที่เหมาะสมในการตั้งเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังลม
ลิปมัน ตัวอย่างข้อสอบ: กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตารางข้างล่างนี้ แสดงส่วนผสมที่แตกต่างกันสองสูตร ของเครื่องสำอางที่นักเรียนสามารถทำเองได้ ลิปสติกจะแข็งกว่าลิปมันซึ่งอ่อนและเป็นมันกว่า คำถาม: ในการทำลิปมันและลิปสติก น้ำมันและไขถูกผสมเข้าด้วยกัน แล้วเติมสีผสมอาหารและสารแต่งรสชาติลิปสติกที่ทำจากส่วนผสมนี้จะแข็งและใช้ยาก นักเรียนจะเปลี่ยนสัดส่วนของส่วนผสมอย่างไรเพื่อทำให้ลิปสติกอ่อนลงกว่าเดิม ………………………………………………………………………………………………………………………
กันแดด ตัวอย่างข้อสอบ: กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีนาและดนัย สงสัยว่าผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดใดจะปกป้องผิวของพวกเขาได้ดีที่สุด ผลิตภัณฑ์กันแดดมีค่าการปกป้องแสงแดด (SPF)ที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งเป็นส่วนประกอบของแสงแดดได้ดีเพียงใด ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงจะปกป้องผิวได้นานกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF ต่ำ มีนาคิดหาวิธีเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดต่างๆ เธอและดนัยจึงได้รวบรวมสิ่งต่อไปนี้ แผ่นพลาสติกใสที่ไม่ดูดกลืนแสงแดดสองแผ่น กระดาษไวแสงหนึ่งแผ่น น้ำมันแร่ (M) และครีมที่มีส่วนประกอบของซิงค์ออกไซด์ (ZnO) และสารกันแดดสี่ชนิด ใช้ชื่อ S1 S2 S3 และ S4 มีนาและดนัยใช้น้ำมันแร่เพราะว่ามันยอมให้แสงแดดส่วนใหญ่ผ่านไปได้ และใช้ซิงค์ออกไซด์เพราะกันแสงแดดได้เกือบสมบูรณ์ ดนัยหยดสารชนิดละหนึ่งหยดลงภายในวงกลมที่เขียนไว้บนแผ่นพลาสติกแผ่นหนึ่ง แล้วใช้แผ่นพลาสติกแผ่นที่สองวางทับด้านบน ใช้หนังสือเล่มใหญ่ๆ กดทับบนแผ่นพลาสติกทั้งสอง จากนั้น มีนาวางแผ่นพลาสติกทั้งสองบนกระดาษไวแสง กระดาษไวแสงมีสมบัติเปลี่ยนสีจากเทาเข้มเป็นสีขาว (หรือสีเทาอ่อนมากๆ) ขึ้นอยู่กับว่ามันจะถูกแสงแดดนานเท่าใด สุดท้ายดนัยนำแผ่นที่ซ้อนกันทุกแผ่นไปไว้ในบริเวณที่ถูกแสงแดด
กันแดด ตัวอย่างข้อสอบ: กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คำถาม: กระดาษไวแสงที่มีสีเทาเข้ม จะจางลงเป็นสีเทาอ่อนเมื่อถูกแสงแดดเล็กน้อย และเป็นสีขาวเมื่อถูกแสงแดดมากๆ แผนผังใดที่แสดงแบบรูปที่อาจเกิดขึ้นได้จากการทดลอง จงอธิบายด้วยว่าทำไมนักเรียนจึงเลือกข้อนั้น คำตอบ: …………….. คำอธิบาย:………………………………………………………………………………………………………………………….........................................................................................
ข้อสอบตามลักษณะการตอบข้อสอบตามลักษณะการตอบ 1 เลือกตอบ 2 เลือกตอบแบบเชิงซ้อน 3 เขียนตอบแบบสั้น/ปิด 4 เขียนตอบแบบอิสระ
ลักษณะการประเมินของ PISA 1 ไม่ถามเนื้อหาสาระโดยตรงตามหลักสูตร 2 เน้นวัดสมรรถนะด้านต่างๆ 3 เน้นการคิดวิเคราะห์และหาคำอธิบาย เป็นข้อสอบทั้งแบบเขียนตอบและเลือกตอบ 4