260 likes | 575 Views
ชุดโครงการศึกษาพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของครอบครัวไทย กรมอนามัย ปีงบประมาณ 2557. ความสำคัญของปัญหา. เด็กในวัยนี้มีการเจริญเติบโตร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาเร็วมาก (วีร พงษ์ ฉัต รานนท์ , 2546 ) พัฒนาการเด็กไทยปกติ 70.3% ล่าช้าด้านภาษา กล้ามเนื้อมัดเล็ก
E N D
ชุดโครงการศึกษาพัฒนาการเด็กปฐมวัยของครอบครัวไทยกรมอนามัยปีงบประมาณ 2557
ความสำคัญของปัญหา • เด็กในวัยนี้มีการเจริญเติบโตร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาเร็วมาก (วีรพงษ์ฉัตรานนท์, 2546) • พัฒนาการเด็กไทยปกติ 70.3% ล่าช้าด้านภาษา กล้ามเนื้อมัดเล็ก (สำนักส่งเสริมสุขภาพ, 2554) • พัฒนาการวัยเด็ก เป็นพื้นฐานสำคัญการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ในทุกวัย (ประคิณ สุจฉายาและคณะ,2547) • ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการองค์รวมเด็กปฐมวัย การศึกษา รายได้ คุการเลี้ยงดู (ลัดดา เหมาะสุวรรณ, 2546, สุธรรม นันทมงคลและคณะ,2544) • คุณภาพบริการและการเข้าถึงบริการของบุคคล การมีส่วนร่วมของ ชุมชน ท้องถิ่นในการจัดการพัฒนามีผลต่อพัฒนาการเด็ก • การเลี้ยงดูเด็กแบบรักสนับสนุนและใช้เหตุผล เห็นแบบอย่างที่ดี มีความ สัมพันธ์ทางบวกกับจิตลักษณะและพฤติกรรมของคนดีที่เก่งและมีความสุข (ดุจเดือน พันธุมาวิน,2552)
วัตถุประสงค์ 1.ศึกษาศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยในปัจจุบันและการ พยากรณ์ผลกระทบในอนาคต 2. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย 3. ศึกษาความคิด ทัศนคติ ความคาดหวังและพฤติกรรมต่อ การเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของครอบครัวไทย 4. ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน ท้องถิ่นต่อพัฒนาการเด็ก 5. ศึกษาคุณภาพบริการอนามัยแม่และเด็กของสถานบริการฯที่มีต่อ ผลลัพธ์สุขภาพเด็ก
ขอบเขตการวิจัย ประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บิดา หรือ มารดา หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก อย่างน้อย 6 เดือนอย่างต่อเนื่อง และเด็กปฐมวัยศึกษาเด็กตามข้อแนะนำราชวิทยาลัยกุมาร กลุ่ม 1 อายุ 9 เดือน – 12 เดือน กลุ่ม 2 อายุ 18 เดือน – 24 เดือน กลุ่ม 3 อายุ 30 เดือน – 36 เดือน กลุ่ม 4 อายุ 42 เดือน – 48 เดือน
กรอบแนวคิดการศึกษา ปัจจัยทางประชากร ทางชีวภาพ ของมารดาและเด็ก และสิ่งแวดล้อม ความคิด ทัศนคติ ความคาดหวังและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัว พัฒนาการเด็กปฐมวัย - สมวัย - สงลัยล่าช้า การมีส่วนร่วมของ ชุมชน ท้องถิ่น คุณภาพบริการของสถานบริการและการเข้าถึงบริการ ผลกระทบที่คาดหมาย Cost Benefits Long term affects
กรอบแนวคิดในการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อ 1 ปัจจัยด้านชีวภาพ ธาลัสซีเมีย เอดส์ ธัยรอยด์ นน.แม่ นน.ทารกแรกเกิดBA คลอดก่อนกำหนด ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม - รายได้,การศึกษา,อาชีพของผู้เลี้ยงดู - การปฏิบัติตัวและสุขภาพมารดา - สุขภาพเด็ก ภาวะโภชนาการเจ็บป่วย - การเข้าถึงบริการ และคุณภาพบริการฯ ปัจจัยด้านจิตวิทยา - ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ - อารมณ์ ความวิตกกังวลช่วงตั้งครรภ์ - สัมพันธภาพในครอบครัว - การเลี้ยงดูเด็ก พัฒนาการ -สมวัย -ล่าช้า
รูปแบบการศึกษา การศึกษาเชิงปริมาณ: วัตถุประสงค์ข้อ 1,2 การศึกษาเชิงคุณภาพ : วัตถุประสงค์ข้อ 3,4 ,5
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างการศึกษาเชิงปริมาณ ประชากรตัวอย่าง 1.1 ผู้เลี้ยงดูเด็ก ได้แก่ พ่อ หรือแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก อย่างน้อย 6 เดือน อย่างต่อเนื่อง 1.2 เด็กปฐมวัยอายุแรกเกิด – 5 ปี ในพื้นที่เป้าหมาย กลุ่ม 1 อายุ 9 เดือน – 12 เดือนเต็ม กลุ่ม 2 อายุ 18 เดือน – 24 เดือนเต็ม กลุ่ม 3 อายุ 30 เดือน – 36 เดือนเต็ม กลุ่ม 4 อายุ 42 เดือน – 48 เดือนเต็ม
2. ขนาดตัวอย่างใช้สูตรดังนี้ N = จำนวนเด็ก 0-5 ปี การสำมะโนประชากรปี 2553 (4,548,245) กำหนดขนาดตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (k = 1.96) ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ไม่เกิน 10%(E’≤0.10) P = 0.5/Q = 1-P n = 10,400
การสุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบ Stratified Three-stage Sampling โดยมีกรุงเทพมหานคร/เขตบริการสุขภาพเป็นชั้นภูมิ และมีจังหวัดในแต่ละเขตบริการสุขภาพ/เขตในกรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง เขตแจงนับ (EnumerationArea : EA) เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง และเด็กอายุ 0-5 ปี เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สาม กลุ่ม 1 อายุ 9 เดือน –12 เดือนเต็ม จำนวน 5 ราย ต่อ EA กลุ่ม 2 อายุ 18 เดือน –24 เดือน จำนวน 5 ราย ต่อ EA กลุ่ม 3 อายุ 30 เดือน –36 เดือน จำนวน 5 ราย ต่อ EA กลุ่ม 4 อายุ 42 เดือน – 48 เดือน จำนวน 5 ราย ต่อ EA
กลุ่มตัวอย่างการศึกษาเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างการศึกษาเชิงคุณภาพ สุ่มอย่างง่าย โดยจับฉลากครอบครัวที่มีลูกใน 4 กลุ่มวัย กลุ่มที่ 1 จำนวน 4 คน จากครอบครัวขยายเด็กที่พัฒนาการสมวัย 2 คน และล่าช้า 2 คน/เขต จากครอบครัวเดี่ยว เด็กที่พัฒนาการสมวัย 2 คน และล่าช้า 2 คน/เขต กลุ่มที่ จำนวน 4 คน จากครอบครัวขยายเด็กที่พัฒนาการสมวัย 2 คน และล่าช้า 2 คน/เขต จากครอบครัวเดี่ยว เด็กที่พัฒนาการสมวัย 2 คน และล่าช้า 2 คน/เขต กลุ่มที่ 3 จำนวน 4 คน จากครอบครัวขยายเด็กที่พัฒนาการสมวัย 2 คน และล่าช้า 2 คน/เขต จากครอบครัวเดี่ยว เด็กที่พัฒนาการสมวัย 2 คน และล่าช้า 2 คน/เขต กลุ่มที่ 4 จำนวน 4 คน จากครอบครัวขยายเด็กที่พัฒนาการสมวัย 2 คน และล่าช้า 2 คน/เขต จากครอบครัวเดี่ยว เด็กที่พัฒนาการสมวัย 2 คน และล่าช้า 2 คน/เขต
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา วัตถุประสงค์ 1,2 • แบบสัมภาษณ์ พ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงเด็ก • สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก กราฟประเมินการเจริญเติบโต • น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง • (เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต กองโภชนาการ กรมอนามัย, 2543) • แบบทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัย Denver llซึ่งประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ • ด้านสังคมและการช่วยตนเอง • ด้านการใช้กล้ามเนื้อหมัดเล็กและปรับตัว • ด้านภาษา • ด้านกล้ามเนื้อหมัดใหญ่
การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิค ใช้ตารางไขว้(Cross Tabulation) เพื่ออธิบายลักษณะทางประชากร ความรู้ ทัศนคติ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อค้นหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็ก โดยใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยทวิคูณ(Binary Logistic Regression) ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์เนื้อหา
วิธีดำเนินงาน/ระยะเวลาวิธีดำเนินงาน/ระยะเวลา จัดทำแบบสัมภาษณ์ พร้อมนำไปทดสอบเครื่องมือ (ตุลาคม - ธันวาคม 2556) จัดทำหนังสือขอความร่วมมือ อำนวยความสะดวกในการเก็บ ข้อมูลจากโรงพยาบาลเป้าหมาย (มกราคม 2557) อบรมเชิงปฏิบัติการ “ชี้แจงรายละเอียดการศึกษาและการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ” แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ (8-10 มกราคม 2557) ดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่เป้าหมาย ใช้เวลา 7-10 วันต่อจังหวัด (มกราคม – พฤษภาคม 2557) นำมาวิเคราะห์และประมวลผล(พฤษภาคม – กรกฎาคม 2557) เขียนรายงานการศึกษาวิจัย (สิงหาคม – กันยายน 2557)
ประโยชน์ที่จะได้รับ พยากรณ์แนวโนม้พัฒนาการเด็กและผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษาต่อสังคมไทย รูปแบบ มาตรการการส่งเสริมพัฒนาการ เด็กปฐมวัยของครอบครัวไทย ข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาการ เด็กปฐมวัยไทย
เด็กปฐมวัย หมายถึงเด็กที่มีอายุ แรกเกิด - ต่ำกว่า 6 ปี พัฒนาการ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ของร่างกาย (Ruction maturation) ตามอายุ ตลอดจนพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงถึงความก้าวหน้าตามลำดับ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ด้านภาษา ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านสังคมและการช่วยเหลือตัวเอง พัฒนาการสมวัย (ปกติ)หมายถึงเด็กสามารถผ่าน ข้อทดสอบตามแบบประเมินพัฒนาการเด็กทุกข้อ พัฒนาการสงสัยล่าช้าหมายถึงเด็กไม่ผ่านข้อทดสอบตามแบบประเมินพัฒนาการเด็กตั้งแต่ 1 ข้อ เป็นต้นไป
ครอบครัว หมายถึงกลุ่มของบุคคลที่มาอยู่ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น กิจกรรมทำงานบ้าน กิจกรรมการเลี้ยงดูเด็กเป็นต้น ผู้เลี้ยงดูเด็ก หมายถึง พ่อ หรือแม่ หรือคู่สามีคนใหม่ หรือปู่ ย่า ตา ยาย ญาติ หรือ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งดูแลเด็กเป็นประจำอย่างน้อย 6 เดือน การอบรมเลี้ยงดูเด็ก หมายถึงวิธีการ กิจกรรม การแสดงออกของผู้เลี้ยงดูเด็ก ซึ่งปฏิบัติต่อเด็กประจำ ได้แก่ การอบรมสั่งสอน การเล่านิทาน การร้องเพลงกล่อมเด็ก การเล่นกับเด็ก การฝึกทักษะเด็กต่างๆ เพื่ออยู่ในสังคม
การตรวจเอกสาร • ทฤษฎีเกี่ยวกับการเจริญเติบโต พัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก 1.1 ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ • ทฤษฎี Psychosocial developmental stage ของแอริค แอริคสัน • งานวิจัยภายในและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาการเด็กปฐมวัยและการเลี้ยงดู
ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิด ของจีน เพียเจท์ (JeanPiaget)เชื่อว่า “จุดศูนย์การของความฉลาด คือความสามารถในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม (Reflex) ระบบประสาทสัมผัส (sensory) และการเคลื่อนไหว (motor) ในระยะแรกของชีวิตเด็กจะใช้ศักยภาพทางชีวภาพเป็นสื่อ ในการเรียนรู้และพัฒนาความคิดเกี่ยวกับโลกและบุคคล ในช่วงวัยต่อๆมา เด็กจะใช้ความสามารถดังกล่าวในการพัฒนาความคิดอย่างซับซ้อน และเป็นขั้นตอนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ” ที่มา : ศรีเรือน แก้วกังวาน (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 54.
ทฤษฎี Psychosocial developmental stage แอริค แอริคสัน (Erik Erikson. 1902) แนวคิด : ลักษณะสัมพันธภาพที่บุคคลมีกับกลุ่มต่างๆ เช่น พ่อ แม่ เพื่อน สามี ภรรยา และข้อขัดแย้งทางสังคมจิตวิทยา (Psychosocial crises) ที่เกิดจากความสัมพันธ์นั้นๆ เป็นจุดกระตุ้น หล่อหลอมให้บุคคลมีพฤติกรรมและพัฒนาบุคลิกภาพ ในรูปแบบต่างๆ ตามลำดับวัย ตั้งแต่เกิดจนวัยสูงอายุ อย่างเป็นขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ความไว้วางใจแย้งกับความสงสัยน้ำใจผู้อื่น (trust vs. mistrust) ช่วงแรกเกิดถึง 18 เดือน สร้างให้เด็กมีความมั่นใจ มีคุณค่า ก่อเกิดความไว้วางใจผู้อื่น หากเด็กได้รับการตอบสนอง ไม่ผ่านช่วงนี้ เด็กต่อต้าน ขี้ระแวง อารมณ์รุนแรง
ขั้นตอนที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองขัดแย้งกับความละอายใจและไม่แน่ใจ (autonomy vs. shame and doubt)(18 เดือน - 3 ปี) ต้องการความเป็นอิสระ สร้างวินัย การรอคอยเหตุและผล เด็กได้รับการตอบสนอง ไม่ผ่านช่วงนี้ ย้ำคิดย้ำทำ ต่อต้านสังคม ลึกลับ ไม่ยอมเคารพกฎระเบียบของสังคม
ขั้นตอนที่ 3 ความคิดริเริ่มแย้งกับความรู้สึกผิด (initiative vs. guilt) (อายุ 3-6 ปี) อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง รู้จักใช้ความคิดฝัน และมีความคิดสร้างสรรค์ ซุกซน หากพัฒนาไม่พ้นวัยนี้ เด็กจะเกิดความรู้สึกผิดและกลัวการถูกลงโทษ จนอาจพัฒนาบุคลิกภาพแบบ “รู้สึกผิด” (guilt personality) หรือเป็นคนชอบหลีกหนีความจริงโดยใช้ความคิดฝัน หรืออาจชอบแสดงความก้าวร้าว อวดดีเพื่อให้ได้ สิ่งที่ตนปรารถนา
ตัวอย่างงานวิจัย ศิริกุล อิศรานุรักษ์ และคณะ (2544) ที่ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาของมารดา รายได้ครอบครัว ภาวะวิกฤต ในครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กอายุ 3 - <6 ปี Isaranurug S et al. (2005) พบว่าระดับการศึกษาของบิดาและการมีสิ่งแวดล้อมที่บ้าน รวมทั้งการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก
ศิริกุล อิศรานุรักษ์ และปราณี สุทธิสุคนธ์ (2550) พบว่า การอบรมเลี้ยงดูที่เน้นในการให้ความรัก ความอบอุ่น ยอมรับความคิดเห็นของเด็ก ใช้เหตุผลในการอบรมสั่งสอน มีความ สม่ำเสมอในบทบาทของการให้รางวัลและการลงโทษจะมีผลเชิงบวกต่อพัฒนาการเด็ก Nanthamongkolchai S et al (2007) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูมีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กอายุ 3 - 6 ปี โดยเด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบผสมมีโอกาสที่จะมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัยเป็น 1.9 เท่าของเด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
ปัญหาการวิจัย สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยในปัจจุบันเป็นอย่างไร พฤติกรรมการด้านอนามัยแม่และเด็กของมารดาไทยเป็นอย่างไรในปัจจุบัน ปัจจัยอะไรที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาเด็กปฐมวัยไทย ผลของการเลี้ยงดูของครอบครัวต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยอย่างไร