1 / 93

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550. Chudchai Chamchan, PhD. Crime Investigation Division Provincial Police Region 5 Sub : Hi-Tech Crime Center ). หัวข้อการบรรยาย. กฎหมาย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ กับสถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบัน

chaka
Download Presentation

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 Chudchai Chamchan, PhD. Crime Investigation Division Provincial Police Region 5 Sub : Hi-Tech Crime Center)

  2. หัวข้อการบรรยาย กฎหมาย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ กับสถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบัน การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ จับ-ไม่จับ ดูอย่างไร? Data Privacy แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์

  3. วิวัฒนาการทางอาชญากรรมวิวัฒนาการทางอาชญากรรม - โลกาภิวัตน์ - การมนุษย์เศรษฐกิจ -การแข่งขัน(โอกาส) -โลกไร้ดุลภาพ การค้าประเวณี ในสถานบริการ www. / Tel สังคม (เดิม) สังคม (ใหม่) ยาเสพติด กลุ่มเฉพาะ การเลียนแบบ(สื่อ) -การเรียนรู้แบบเท่าทัน -Self-hood -การใช้เทคโนโลยีแบบทันสมัยแต่ไม่พัฒนา

  4. Computer – Related Crime • วิวัฒนาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ • จากแนวความคิดที่ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องติดต่อสื่อสารได้ และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ จาก 1 เครื่อง ไปสู่เครื่องข่าย (เป็นสมาชิก) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ 1) ระดับพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ เช่น ระบบการเงินผ่านคอมพิวเตอร์ / โทรศัพท์ 2) ทำให้เกิดสินทรัพย์ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา 3) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสังคม คือ สังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรม และสังคมเทคโนโลยีและข้อมูล สู่สังคมแบบอุดมปัญญา 4) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการใช้พลัง เช่น มีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม และการร่วมกันก่อการร้าย รวมไปถึงการสร้างสื่อ (ชุมนุม /ประท้วง)

  5. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ • คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ เป็นการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูล โดยที่ผู้กระทำไม่ได้รับอนุญาต การลักลอบแก้ไข ทำลาย คัดลอกข้อมูล ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด แม้ไม่ถึงกับเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่เป็นการกระทำที่ผิดระเบียบกฎเกณฑ์ จรรยาบรรณของการใช้คอมพิวเตอร์นั้นๆ • การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ • ทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย • ทำให้ผู้กระทำได้รับผลตอบแทน • การกระทำผิดกฎหมายใดๆ • ใช้ความรู้เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มาประกอบการกระทำผิด • ใช้ผู้มีความมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ในการสืบสวน ติดตามเพื่อจับกุถม

  6. ความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับอาชญากรรมความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับอาชญากรรม • คอมพิวเตอร์ เป็นเป้าหมายในการก่ออาชญากรรม เช่น การลักทรัพย์ • คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการก่ออาชญากรรม (ภาพถ่ายแผนที่) • อาชญากรรมที่เกิดกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ เช่น การสร้างไวรัสคอมพิวเตอร์ / การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา • คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชญากรรม เช่น การใช้ในการโอกนเงินจากบัญชีธนาคารจากบัญชีหนึ่งไปสู่อีกบัญชีหนึ่ง จำหน่ายสื่อ/วัตถุลามก ฯลฯ

  7. สาเหตุที่ทำให้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ถูกละเลย “ไม่ได้รับความสนใจ” • ความเป็นส่วนตัว Impersonal จึงไม่มีผลกระทบต่อจิตใจและความรู้สึก • การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การโอนเงินผิดกฎหมาย การฉ้อโกงด้านการสื่อสาร มีความแตกต่างกับอาชญากรรมแบบ(เดิม) **ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่คุ้นเคยและเข้าใจเป็นอย่างดี • อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์แตกต่างกับอาชญากรรมรูปแบบทั่วไป (เฉพาะกลุ่ม) • อาชญากรรมฯ เกี่ยวพันกับ ระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งต้องใช้ความรู้ + ทรัพย์สิน ทำให้บุคคลไม่มีความรู้เกี่ยวกับ IT เกิดความไม่กล้าเข้าไปยุ่งเกี่ยว • บุคคลโดยส่วนมากมองอาชญากรรมเป็น “มิติเดียว” คือ เกิดเป็นครั้งคราวๆ ไม่ได้คิดว่าจะเกิดความรุนแรง การกระจาย เสียหายปริมาณมาก • เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทำให้ยากต่อการเรียนรู้และเข้าถึง (ใช้งบประมาณสร้างผู้เชี่ยวชาญ)

  8. (ต่อ) • ผู้เสียหาย กลับจะตกเป็นผู้ที่ถูกประนาม ว่า เป็นผู้เปิดช่องโอกาสให้กับอาชญากรทำผิดเอง หรือว่า ผู้เสียหายถูกตำหนิว่า “ไม่มีการวางระบบรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม” หรือ “ไม่กล้าเปิดเผยว่า ระบบของตนถูกบุกรุกทำลาย” • ทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สามารถประเมินราคาความเสียหายได้อย่างแน่ชัด ทำให้ไม่รู้สึกถึงความรุนแรงของคนทั่วไป • พนักงานเจ้าหน้าที่ฯ ไม่มีความรู้ ความชำนาญหรือความสามารถพอเพียง • บุคคลทั่วไปให้ความสนใจนอกมาก เพราะไม่กระทบกับตนเอง • เจ้าหน้าที่มักจะใช้ความรู้ความเข้าใจในอาชญากรรมเดิมมาใช้สืบสวนฯ จึงทำให้มองข้ามไปโดยไม่พบการกระทำผิด • เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีความเตรียมพร้อมรองรับอาชญากรรมใหม่ • ปัจจุบันนี้ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีผลกระทบไม่ทำกับอาชญากรรมด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

  9. บุคคลที่ “เสี่ยง” ต่อ สถานการณ์ภัยคุกคามอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ • พวกหัดใหม่ คือ ชอบลองของ • พวกจิตวิปริต คือ ชอบทำลาย • กลุ่มที่ประกอบอาชญากรรมในลักษณะองค์กรคือ หาข่าวสารขององค์กร(เจ้าหน้าที่ตามไม่ทันอาชญากรรม) • พวกมืออาชีพ ***ขณะนี้ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ **** • พวกหัวพัฒนา คือ ใช้ความรู้ในการแสวงหาเงินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย • พวกช่างคิดช่างฝัน คือ สร้างความเชื่อในสิ่งสิ่งใดอย่างรุนแรง (สื่อ/ลัทธิ) • พวก Hacker คือ เข้าไปเพื่อแสดงว่าตนเองมีความรู้ Cracker คือ หาผลประโยชน์จากการบุกรุก

  10. ประเภทอาชญากรรมด้วยคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบัน) • ข้อมูลทางการทหารและข้อมูลทางราชการลับ • จารกรรมทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลด้านธุรกิจ • จารกรรมทางการเงินและทำให้เกิดความติดขัดทางด้านพาณิชย์ • การโต้ตอบเพื่อล้างแค้น • การก่อการร้าย เช่น ทำลายข้อมูล ก่อกวนการทำงานของระบบ เสนอข้อมูลผิด • การเข้าสู่ระบบเพียงเพื่อแสดวงให้เห็นว่ามีความสามารถทำได้

  11. ภัยที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตภัยที่เกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ต • การจำหน่ายสินค้า เช่น โทรศัพท์ฯ (ความผิดทางการฉ้อโกง) • กรณีคนซื้อหลอกคนขาย เช่น การหลอกมาเพื่อปล้น • กรณีละเมิดลิขสิทธ์ เช่น การคัดลอกจาก www. อื่น แล้วนำมาเป็นของตนเอง • การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น มีการซื้อบัญชี(ชั่วโมง) การใช้ แต่ได้ถูกแอบไปใช้หมด โดยมีคนนำเลขประจำตัวผู้ใช้ และรหัสลับ ไปเขียนในเว็บบอร์ด ***เด็กที่ทราบก็ใช้กันสนุก*** ดังนั้นก็ต้องมีการตรวจสอบ • พบว่า มีผู้เอาไปใช้จริง แล้วก็ให้ ผู้ให้บริการตรวจสอบ ** หลังจากนั้นก็ไปสืบว่า คนที่เอาไปเล่นเป็นเด็กมีฐานะ  จึงนำข้อมูลเหล่านี้ไปขู่เพื่อจะให้มอบทรัพย์สิน + ไม่ให้เกิดการแจ้งความ (ตกลงยินยอมชำระเงิน เพื่ออนาคตเด็ก)

  12. (ต่อ) • สาวขายบริการ คือ มีหนุ่มๆ สนใจก็จะนัดมาให้บริการ (นวด) • มีนักศึกษา chat คือ ร้อนเงิน บัตรหาย แต่เหยื่อ คาดไม่ถึง  ให้ยืมบัตร ATM เพราะเงินไม่มีแต่พบว่า ถูกนำเอา เลขที่บัญชีเปิดขายโทรศัพท์ ให้โอนเงินมา แล้วก็ถอนเงินออกไป (กลายเป็นผู้ต้องหาโดยไม่ได้ตั้งใจ) • การให้เบอร์โทรศัพท์ ถ่ายคลิปไว้ดูเล่น  เกิดการแก้แคล้น โดยนำข้อมูลไปเขียนในเว็บบอร์ด “เหงาจังอยากมีคู่นอน”

  13. พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หัวข้อหลักที่น่าสนใจ ความผิดที่ถูกกำหนดขึ้นใหม่ให้ครอบคลุมการกระทำผิด พยานหลักฐานและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บหลักฐาน อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่

  14. ความผิดตาม พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ • มุ่งกระทำต่อความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ • การรักษาความลับ (Confidentiality) • บูรณภาพของข้อมูล (Integrity) • ความพร้อมใช้ (Availability) • การเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม • ผู้กระทำความผิด และ ผู้สนับสนุน • ความผิดเกี่ยวกับการดำเนินการของผู้ให้บริการ

  15. การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  16. นิยาม : ระบบคอมพิวเตอร์ “ระบบคอมพิวเตอร์”หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ

  17. การกระทำความผิดตาม มาตรา 5 มาตรา 5 สิ่งใด เงื่อนไข กระทำ ใคร

  18. ระบบต้องมีมาตรการในการป้องกันระบบต้องมีมาตรการในการป้องกัน 1. 2. 3. 4. ไม่ได้ระบุว่าต้องผ่านมาตรการป้องกัน เข้าไปในระบบ มีความหมายครอบคลุม ทั้งการเข้าถึงทางอุปกรณ์ (Hardware) โดยตรง และ การเข้าถึงจากระยะไกล การวินิจฉัยเรื่องคำว่า “เข้าถึง” และ “พยายาม” ( เพื่อระงับมิให้เกิดความเสียหายขึ้น ก่อนที่ระบบจะถูกเข้าถึงได้อย่างสมบูรณ์) การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น

  19. การเปิดเผยมาตรการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบการเปิดเผยมาตรการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  20. การเปิดเผยข้อมูลในส่วนใด ถือว่าเป็นความผิด 1. 2. 3. ต้องมีเจตนาโดยมิชอบในการเปิดเผยหรือไม่ ต้องเกิดความเสียหาย หรือโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย การเปิดเผยมาตรการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ

  21. การเข้าถึงข้อมูลของบุคคลอื่นโดยมิชอบการเข้าถึงข้อมูลของบุคคลอื่นโดยมิชอบ มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  22. การพิจารณาว่าเป็นการเข้าถึงระบบ หรือการเข้าถึงข้อมูลจะพิจารณาอย่างไร 1. 2. การเข้าถึงสื่อสำหรับจัดเก็บข้อมูล (Storage Media) ที่ยังมิได้นำไปเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ

  23. การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  24. การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์

  25. การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือทำลายข้อมูล มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  26. รบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  27. จุดประสงค์เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ไม่เป็นปกติ เช่น ช้าลง , ให้บริการได้น้อยลง 1. 2. 3. การขัดขวางหรือรบกวนทางกายภาพแก่ฮาร์ดแวร์ (Hardware) การขัดขวางหรือรบกวนระยะไกล เช่น การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิเสธการทำงาน (Denial Of Service) รบกวนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

  28. Distributed Denial of Service

  29. Spam Mail มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลง แหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

  30. การเผยแพร่ชุดคำสั่งที่ใช้ในการกระทำความผิดการเผยแพร่ชุดคำสั่งที่ใช้ในการกระทำความผิด มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  31. การนำข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์การนำข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน

  32. การนำข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์การนำข้อมูลที่ไม่เหมาะสมเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็น ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

  33. การให้ความสนับสนุนของผู้ให้บริการการให้ความสนับสนุนของผู้ให้บริการ มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม มาตรา ๑๔

  34. ภาพตัดต่อ มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้

  35. หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ • ประเภทของผู้ให้บริการ • การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต • การให้บริการจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ • หน้าที่ของผู้ให้บริการ • จัดเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ • จัดเก็บข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ • จัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ • กำหนดจุดประสานงานเพื่อทำงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่

  36. การจัดเก็บข้อมูลของผู้ให้บริการการจัดเก็บข้อมูลของผู้ให้บริการ มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

  37. อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ • อำนาจในการสืบสวนสอบสวน • อำนาจในการรับคำร้องทุกข์ กล่าวโทษ • อำนาจในการระงับการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะสม • การประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ จับ ควบคุม ตรวจค้น และ ทำสำนวนการสอบสวน • ข้อจำกัดของการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่

  38. อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ • มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้อง • เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการ • สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ • ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ • สั่งให้ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ • ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ • ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ • ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็น

  39. ข้อจำกัดในการดำเนินการ ตาม พ.ร.บ. ฯ การทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) สั่งยึดหรืออายัดไว้เกิน 30 มิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้อง ต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกิน 60 วัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

  40. การระงับการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมการระงับการเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนพนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

  41. กระบวนการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่กระบวนการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง

  42. ข้อจำกัดการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ข้อจำกัดการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ • มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และ สอบสวน ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด และหาตัวผู้กระทำความผิด

  43. มาตรา 22 การเปิดเผยข้อมูลของพนักงานเจ้าหน้าที่ • ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มา ตามมาตรา 18 ให้แก่ผู้ใด ความในวรรคหนึ่ง มิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่ง หรือได้รับอนุญาตจากศาล พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  44. มาตรา 23 กระทำโดยประมาท ให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูล • พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใด กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มา ตามมาตรา 18 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  45. มาตรา 24 ล่วงรู้ข้อมูลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาและเปิดเผยต่อผู้อื่น • ผู้ใด ล่วงรู้ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มา ตามมาตรา 18 และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

  46. มาตรา 25 การนำเอาข้อมูลมาใช้เป็นพยานหลักฐาน • ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐาน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือ กฎหมายอื่น อันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

  47. กรณีศึกษาการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์กรณีศึกษาการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ • กรณีคนร้ายใช้โปรแกรมไม่พึงประสงค์ ประเภทโทรจัน ในการดักรับข้อมูลที่อยู่ระหว่างการส่ง และ เข้าสู่ระบบของธนาคารอิเลคทรอนิคส์

  48. ช่องโหว่การบังคับใช้กฎหมายช่องโหว่การบังคับใช้กฎหมาย

  49. ล่อซื้อ - ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตราที่ ๖๖ ความผิดตามพรบ.ลิขสิทธิ์ เป็นความผิดอันยอมความได้ คือ เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้ตัวผู้กระทำความผิด มิฉะนั้นจะขาดอายุความร้องทุกข์ - หากผู้เสียหายมีส่วนร่วม หรือก่อให้เกิดการกระทำความผิดขึ้น ก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีได้ สรุป การล่อซื้อและการส่งหน้าม้า จึงเป็นกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจฟ้อง

More Related