1 / 37

สรุปผลงานประจำปี 2550

สรุปผลงานประจำปี 2550. สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย Hazardous Substances Logistics Association. สรุปผลงานประจำปี 2550.

Download Presentation

สรุปผลงานประจำปี 2550

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปผลงานประจำปี 2550 สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย Hazardous Substances Logistics Association

  2. สรุปผลงานประจำปี 2550 • ในรอบปี 2550สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย ได้ดำเนินกิจกรรมการต่างๆ หลายประการ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และแก้ไขปัญหาให้กับสมาชิก ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับการประกอบธุรกิจวัตถุอันตรายในประเทศไทยให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งผลงานโดยสรุป มีดังนี้

  3. งานวิชาการ • สมาคมฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดทำหนังสือ คู่มือปฏิบัติงาน การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก • จัดทำซีดี เรื่อง ข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายทางถนนของประเทศไทย หรือ Thai Provision Volume II (TP II) Concerning the Transport of Dangerous Good by Roadและคู่มือปฏิบัติงาน การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก จำนวน 2,000แผ่น โดยเผยแพร่ให้กับสมาชิก ภาครัฐ และผู้เกี่ยวข้องทั่วไป ฟรี!

  4. งานวิชาการ • สมาคมฯ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดสัมมนาเรื่อง “ การบริหารจัดการ การขนส่งวัตถุอันตราย : กรณีศึกษาของยุโรป (Management in Transportation of Dangerous Goods : EU Case Study) เพื่อให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง • ส่งผู้แทนไป เป็นวิทยากรการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการขนส่งวัตถุอันตราย แก่เจ้าพนักงานจราจร ณ ห้องประชุมกรมอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ จัดโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม • สนับสนุนกลุ่ม Responsible Care ดูแลด้วยความรับผิดชอบกลุ่มอุตสาหกรรมเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงาน Dinner Talk เรื่อง “Dow’s 2015 Sustainability Goals, Trend of Global EHS regulations, and Dow’s experiences” ณ โรงแรมดุสิตธานี

  5. งานวิชาการ • ส่งผู้แทนไปเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก” จัดโดย สมาคมประกันวินาศภัย • ส่งผู้แทนไปเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมเรื่อง “ หลักเกณฑ์การติดฉลากตามระบบ GHS และการบริหารจัดการความปลอดภัยเหตุฉุกเฉินในการขนส่งวัตถุอันตรายด้านปศุสัตว์ ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535” จัดโดย กรมปศุสัตว์ • ส่งผู้แทนไปเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมสัมมนาเรื่อง “การบริหารจัดการสารเคมีและวัตถุอันตราย” จัดโดย Siam Safety .com

  6. งานวิชาการ • ส่งผู้แทนไปเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม เรื่อง “โครงการเสริมสร้างสมรรถนะพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับการขนส่งวัตถุอันตราย” จำนวน 9 รุ่น ซึ่งจัดโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการจราจรและขนส่ง (TDRC) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และกรมโรงงานอุตสาหกรรม • ส่งผู้แทนไปเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม เรื่อง “ความปลอดภัยพื้นฐานเกี่ยวกับสารเคมีและเทคนิคการใช้อุปกรณ์ห้องการการระงับเหตุสารเคมีรั่วไหล” จำนวน 4 รุ่น จัดโดยกรมการขนส่งทางบก

  7. งานวิชาการ • จัดการสัมมนา เรื่อง “ภาครัฐกับแนวทางการบูรณาการกฎหมายวัตถุอันตรายโดยนำข้อกำหนดด้านการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทยเล่มที่ 2 ว่าด้วยการขนส่งทางบก (TP2) มาใช้” • ร่วมกับบริษัท เอส อี เอส เคม จำกัด จัดการสัมมนาเรื่อง “ความท้าทายและทางออกของการระงับอุบัติภัยจากวัตถุอันตรายในประเทศไทย”

  8. งานวิชาการ • ร่วมกับ บริษัท เอ็มซี ซิลลาบัส จำกัด ดำเนินการจัดสัมมนา จำนวน 6 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เรื่อง “กฎหมายการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม วัสดุที่ไม่ใช้แล้วและของเสียอันตรายในอุตสาหกรรม” ครั้งที่ 2 เรื่อง “ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีและแผนฉุกเฉิน (HAZMAT Emergency Response) ครั้งที่ 3 เรื่อง “การเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารงานด้วยการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน”

  9. งานวิชาการ • ครั้งที่ 4 เรื่อง “เรื่อง “แบบอย่างที่ดีสำหรับการบริหารความปลอดภัยในการขนส่งวัตถุอันตราย” • ครั้งที่ 5 เรื่อง “แนวโน้มธุรกิจการขนส่งวัตถุอันตรายของไทย” • ครั้งที่ 6 เรื่อง “การประกันภัยกับการขนส่งวัตถุอันตราย”สมาคมฯ รับเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท ทรานส์คอนซัลท์ จำกัด ในการดำเนินโครงการศึกษาพัฒนาระบบการติดตามและกำหนดมาตรการการขนส่งวัตถุอันตราย ซึ่งสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม เป็นเจ้าของโครงการ

  10. การแก้ไขปัญหาสมาชิก • ประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกับสมาชิก และผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐต่างๆ อาทิเช่น กรมการขนส่งทางบก กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กรมธุรกิจพลังงาน สำนักนโยบายและแผนการขนส่ง ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมการประกันภัย สมาคมประกันวินาศภัย ฯลฯ ในประเด็นต่อไปนี้

  11. การแก้ไขปัญหาสมาชิก • จัดทำ Schedule Planการทำงาน เสนอต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อการบังคับใช้กฎหมายประกันภัยสำหรับรถขนส่งวัตถุอันตรายเป็นตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด • จัดทำร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบแท็งก์ติดตรึง เสนอกรมโรงงานอุตสาหกรรม • จัดทำหลักเกณฑ์คุณสมบัติ คุณวุฒิ และการรับรองผู้สร้างและหน่วยตรวจ เสนอให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณากำหนดเป็นมาตรฐาน

  12. การแก้ไขปัญหาสมาชิก • จัดประชุมสมาชิก และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อระดมความคิดเห็นในการเสนอขอปรับปรุงกฎหมายสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสารละลายไฮโดรคาร์บอน • จัดประชุมสมาชิกและผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานในประะเด็น เกี่ยวกับการกำหนดเวลาทำงานของลูกจ้างในงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัย • ประชุมร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมการขนส่งทางบก เพื่อเสนอแนะให้เกิดการบูรณาการ การบังคับใช้กฎหมายวัตถุอันตราย และลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน

  13. การซ้อมแผนฉุกเฉิน 1)สมาคมฯ ให้การสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยส่งวิทยากรไปให้ ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและกู้ภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ อาสาสมัครป้องกันภัย เช่น มูลนิธิ หน่วยกู้ภัย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 7 ครั้ง • วันที่ 14 มีนาคม 2550 ณ สโมสรราชประชา ปากช่อง จัดโดย คณะอนุกรรมการจัดโครงการฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ จุดเกิดเหตุบนถนนโดยระบบการแพทย์ฉุกเฉิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย • วันที่ 13 พฤษภาคม 2550 ณ มูลนิธิมหาโพธิสามัคคีเบญจธรรม จังหวัดปราจีนบุรี จัดโดยศูนย์ปลอดภัยคมนาคม

  14. การซ้อมแผนฉุกเฉิน • วันที่ 17 พฤษภาคม 2550 ณ สโมสรราชประชา ปากช่อง จัดโดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย • วันที่ 27 พฤษภาคม 2550 การฝึกอบรมผู้ประสานงานข่าวคมนาคม และการแจ้งเหตุกู้ภัยจากการ ขนส่งวัตถุอันตรายแก่นักวิทยุสมัครเล่น อาสาสมัคร มูลนิธิ และหน่วยกู้ภัย บริเวณสหกรณ์ออมทรัพย์ครู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จัดโดย ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม • วันที่ 4 มิถุนายน 2550 ณ สโมสรราชประชา ปากช่อง จัดโดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

  15. การซ้อมแผนฉุกเฉิน • วันที่ 27 มิถุนายน 2550 ณ สโมสรราชประชา ปากช่อง จัดโดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย • วันที่ 11 กรกฎาคม 2550 ณ สโมสรราชประชา ปากช่อง จัดโดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2) กลุ่ม CATEMAG ร่วมกับบริษัท เคมเม็กอุตสาหกรรม จำกัด ทำการซ้อม แผนปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินประจำปี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550 ณ บริเวณถนนพระราม 2 จังหวัดสมุทรสาคร

  16. การแต่งตั้งตัวแทนสมาคมการแต่งตั้งตัวแทนสมาคม • ประชุมร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานผู้สร้างผู้ทดสอบบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็ก • คณะอนุกรรมการประสานการบริหารจัดการ กำกับ ดูแล การขนส่งวัตถุอันตราย ในประเด็นที่ เกี่ยวกับกฎหมายประกันภัยการขนส่งวัตถุอันตราย สำนักควบคุมวัตถุอันตราย • คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจทบทวนหลักเกณฑ์การประกันภัยจากอุบัติเหตุในการขนส่ง สังกัดสำนักควบคุมวัตถุอันตราย

  17. การแต่งตั้งตัวแทนสมาคมการแต่งตั้งตัวแทนสมาคม • คณะกรรมการกำกับการศึกษาพัฒนาระบบติดตามและกำหนดมาตรการการขนส่งวัตถุอันตราย สังกัด สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร • ประชุมร่วมกับกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดแบบตัวถัง และลักษณะเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถบรรทุกสินค้าอันตราย

  18. การแต่งตั้งตัวแทนสมาคมการแต่งตั้งตัวแทนสมาคม • ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม “โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในภาคธุรกิจ SMEs” • คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำหนดให้มีผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรเฉพาะตาม มาตรา20(2) แห่ง พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม

  19. การแต่งตั้งตัวแทนสมาคมการแต่งตั้งตัวแทนสมาคม • คณะอนุกรรมการจัดโครงการฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ จุดเกิดเหตุสังกัด คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ • คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน Thailand International Logistics Fair สังกัด กรมส่งเสริมการส่งออก • ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงานการจัดการกางของเสียอันตรายภายในประเทศ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา • การประชุมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัมนาฐานข้อมูลและเครือข่ายข้อมูลสารเคมีแห่งชาติ ระยะที่ 1 สังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม

  20. การแต่งตั้งตัวแทนสมาคมการแต่งตั้งตัวแทนสมาคม • คณะอนุกรรมการพิจารณาด้านเทคนิค และวิศวกรรมของแท็งก์ติดตรึงและบรรจุภัณฑ์ สังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม • การประชุมพิจารณากรอบแนวทางดำเนินงานตามร่าง พ.ร.บ. วัตถุอันตราย (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ในมาตราที่ 6 ซึ่งกำหนดให้ภาคเอกชนดำเนินการตรวจสอบและจัดทำรายงานผลการ ตรวจสอบ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายแทนพนักงานเจ้าหน้าที่ และให้จัดทำรายงานแทนผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก และผู้มีไว้ในครอบครอง

  21. การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารสมาคมฯ • สมาคมฯ ดำเนินการปรับปรุงหน้าเว็บไซต์สมาคม เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารให้กับสมาชิก และผู้สนใจทั่วไป • ร่วมกับกลุ่ม CATEMAG และกลุ่ม Sulfuric Group จัดบูธและบอร์ดนิทรรศการแสดงกิจกรรมของสมาคมฯ และกลุ่มภายใต้สมาคม รวมทั้งเผยแพร่เอกสารและความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตรายในงาน Thailand International Logistics Fair ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค • ส่งอีเมลล์ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้กับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง

  22. การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารสมาคมฯ • ให้ความอนุเคราะห์ Presentation ซึ่งใช้ในการฝึกอบรมเจ้าพนักงานจราจร เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2550 แก่สำนักงานทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง • ให้ความอนุเคราะห์ โบรชัวร์สัญลักษณ์และประเภทสินค้าอันตราย แก่สำนักงานทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง • นายกสมาคมฯ ให้สัมภาษณ์รายการนาทีฉุกเฉิน จัดโดย บริษัท กันตนากรุ๊ป จำกัด (มหาชน)ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์วิทยุกองทัพบกช่อง 5 ตอนกรดกำมะถัน และแก๊สแอมโมเนีย • ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลแก่คณะทำงานจัดทำคู่มือมาตรฐานโลจิสติกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  23. กิจกรรมส่งเสริมสมาชิกกิจกรรมส่งเสริมสมาชิก • สมาคมฯ ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก จัดงานแสดงเทคโนโลยีและสินค้าด้านโลจิสติกส์ Thailand International Logistics Fair 2007 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ทั้งนี้เพื่อเป็นช่องทางสำหรับสมาชิกในการเผยแพร่เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านโลจิสติกส์ รวมทั้งประชาสัมพันธ์หน่วยงานและผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาคม สมาชิก ภาครัฐ

  24. กิจกรรมส่งเสริมสมาชิกกิจกรรมส่งเสริมสมาชิก • ร่วมกับสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน และหน่วยงานต่างๆ อีก 11 หน่วยงาน เตรียมการจัดตั้งสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน หรือ Alliance for Supporting Industries Association : ASIA เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศไทย ให้มีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้น และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

  25. กิจกรรมเพื่อสังคม • ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด และหน่วยงานต่างๆ อีก 15 หน่วยงาน จัดโครงการ “พระบารมี 809 สู่ผู้ปฏิบัติงานในภาคใต้” เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 โดยจัดทำถุงของขวัญมอบให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้

  26. กิจกรรมเพื่อสังคม • สมาคมฯ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนภายใต้สถาบัน และสมาคมต่างๆ จัดการแข่งขันกอล์ฟเชื่อมความสามัคคี ณ สนามบางปูกอล์ฟ & สปอร์ตคลับ • ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการสัมมนา ซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมการส่งออก • สมาคมฯ ให้ความร่วมมือสำนักพัฒนาอุตสาหกรรม สนับสนุน ในการซื้อสลากกาชาด

  27. กิจกรรมเพื่อสังคม • สมาคมฯ ร่วมกับสำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานต่างๆ จำนวน 26 หน่วยงาน จัดทำโครงการ “รวมพลังอุตสาหกรรมทำดีเพื่อพ่อ” ภายใต้คำจำกัดความ “หนึ่งพันอุตสาหการ หนึ่งล้านคลังโลหิต เก้าล้านต้นไม้เพื่อพ่อ” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่จะทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550

  28. กราฟแสดงจำนวนสมาชิกปี 2546-2551(สิ้นสุด ณ วันที่ 27 มีนาคม 2551)

  29. ขอขอบคุณผู้สนับสนุนสมาคมฯขอขอบคุณผู้สนับสนุนสมาคมฯ

More Related