270 likes | 463 Views
โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2550). ความเป็นมา. ปี พ.ศ. 2549-2550 นโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางขับเคลื่อน.
E N D
โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2550)
ความเป็นมา • ปี พ.ศ. 2549-2550 นโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางขับเคลื่อน • การพัฒนาเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เป็นรูปแบบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรมและเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการทำการเกษตรให้พออยู่พอกิน • การถ่ายทอดองค์ความรู้โดยโดยปราชญ์ชาวบ้านเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ง่ายต่อความเข้าใจ • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดสรรงบประมาณ 60 ล้านบาท ให้ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 40 ศูนย์ ใน 27 จังหวัดอบรมเกษตรกรทั้งสิ้น 22,943 คน • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขยายผลการเรียนรู้ตามโครงการฯ พร้อมกับสนับสนุนการพัฒนาปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน
งบประมาณดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 งบประมาณทั้งสิ้น 324.0 ล้านบาท แบ่งเป็น งบเงินอุดหนุน 294.0 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่น 30.0 ล้านบาท
วัตถุประสงค์ของโครงการวัตถุประสงค์ของโครงการ • เพื่อขยายผลการเรียนรู้ของเกษตรกรโดยศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านให้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา • เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ของปราชญ์ชาวบ้านให้มีความพร้อม มีศักยภาพในการฝึกอบรมความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกร
แผนการดำเนินงาน 1) แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ใช้งบเงินอุดหนุน) • กิจกรรมที่1 ฝึกอบรมความรู้แก่เกษตรกร จำนวน 75,000 รายโดยศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 150 ศูนย์
คุณสมบัติเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2551 • มีที่ดินเพื่อทำการเกษตร (ของตนเอง/เช่า/บุคคลอื่นให้ทำกิน) • มีอายุตั้งแต่ 15 ปี เป็นต้นไป • มีความเชื่อมั่นศรัทธาในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีอาชีพการเกษตร เป็นหลัก • สมัครใจ ตั้งใจจริง • สามารถเข้ารับการฝึกอบรม ณ ศูนย์เครือข่ายฯ ได้ตลอดหลักสูตร • ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ฯ ในปีงบประมาณ 2550 มาก่อน • เกษตรกรสามารถเข้ารับการฝึกอบรม ณ ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ได้เพียง 1 ศูนย์ Company Logo
แนวคิดการฝึกอบรมโดยศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านแนวคิดการฝึกอบรมโดยศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน • ถ่ายทอดความรู้โดยการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน และเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้รับความรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงจากผู้ประสบความความสำเร็จในการประกอบอาชีพทางการเกษตร • ถ่ายทอดความรู้ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ ประสบการณ์และกระบวนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมินิเวศน์/ภูมิสังคม
หลักสูตรการฝึกอบรม อย่างน้อยต้องประกอบด้วย • การปรับทัศนคติ/แนวคิด/พฤติกรรม ให้สามารถดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • วิธีการผลิตโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ/องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น • วิธีทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎี/ปฏิบัติ และศึกษาดูงาน • การจัดทำแผนการใช้ที่ดิน/แผนการจัดการชีวิตอย่างพอเพียง • การจัดทำบัญชีครัวเรือน จัดฝึกอบรมเกษตรกรได้ไม่เกิน 50 คน/รุ่น ยกเว้นแต่มีความพร้อม ให้จัดฝึกอบรมได้ไม่เกิน 100 คน/รุ่น โดยให้ กษ.จ. เป็นผู้พิจารณา
การอบรมหลักสูตร 3 วัน 2 คืน เหมาจ่าย 2,100 บาท ต่อคน • การอบรมหลักสูตร 4 วัน 3 คืน เหมาจ่าย 2,550 บาท ต่อคน • การอบรมหลักสูตร 5 วัน 4 คืน เหมาจ่าย 3,000 บาท ต่อคน ค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายสำหรับการฝึกอบรม รวมค่าใช้จ่ายสำหรับ • ค่าพาหนะเดินทางไป-กลับ ของผู้เข้ารับการอบรม 500 บาท/คน • ค่าอาหารมื้อหลักสำหรับผู้เข้ารับการอบรมวันละ 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อ • ค่าที่พักตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม หากไม่มีให้หักค่าใช้จ่ายออก 200บาท/คน/วัน • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เครื่องเขียนในการฝึกอบรม • ค่าตอบแทนและค่าพาหนะวิทยากร • ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นสำหรับการฝึกอบรม เป็นไปตามระเบียบสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุน โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551
แผนการดำเนินงาน (ต่อ) • กิจกรรมที่2 ฝึกอบรมเกษตรกรอาสา จำนวน 1,000 ราย โดยศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน (เฉพาะเกษตรกรและศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการเมื่อปี 2550 ต่อเนื่องถึงปี 2551) 1) แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ใช้งบเงินอุดหนุน)
คุณสมบัติเกษตรกรอาสา ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตร ตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2551 ศูนย์ละ 5% จากเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมในปีงบประมาณ 2550 แต่ไม่เกิน 40 คน/ศูนย์ • มีอายุตั้งแต่ 20 ปี เป็นต้นไป • เป็นเกษตรกรที่เคยผ่านการฝึกอบรมของโครงการเมื่อปีงบประมาณ 2550 และเป็นผู้ที่นำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติจริง • ต้องเป็นเกษตรกรที่มีวุฒิภาวะความเป็นผู้นำ กล่าวคือ มีความเฉลียวฉลาด ขยัน อดทนตลอดจนความสามารถในการสร้างค่านิยมร่วม ก่อให้เกิดความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มคน • ต้องเป็นเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมแบบเข้มข้น เพื่อเป็นผู้นำในการขยายผลการขับเคลื่อนการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ฯ
แผนการดำเนินงาน (ต่อ) • กิจกรรมที่3การพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 1) แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ใช้งบเงินอุดหนุน)
การพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน • ศูนย์จัดทำแผนพัฒนาและปรับปรุง เสนอให้คณะกรรมการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านพิจารณา อนุมัติ คณะกรรมการฯ ประกอบด้วย กษ.จ. ชลประทานจังหวัด เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ประมงจังหวัด และเจ้าหน้าที่ สนง.กษ.จ. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติแผน และกำหนดวงเงินค่าใช้จ่าย ตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด ศูนย์ฯ เป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง โดยแต่งตั้งวิทยากรหรือ ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ 3 คน เป็นกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและตรวจรับ
ศูนย์จัดทำแผนการติดตามผลการนำความรู้ไปปฏิบัติ ให้ กษ.จ. พิจารณาอนุมัติ ศูนย์ฯ ติดตามผลการนำความรู้ไปปฏิบัติ ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ร่วมแก้ไขปัญหาทางการเกษตรกับเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม ณ ที่อยู่และหรือแปลงเกษตรกรรม ศูนย์รายงานผลการติดตามและให้ข้อเสนอแนะให้ กษ.จ. ทราบ ค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายละไม่เกิน 100 บาท ต่อการติดตามเกษตรกรหนึ่งราย จ่ายเป็นงวด ๆ ตามผลงานที่ได้ติดตามพร้อมข้อเสนอแนะ (จ่ายหลังจากได้รับรายงาน) เป็นไปตามระเบียบสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนโครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2551
2) แผนงานการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (งบรายจ่ายอื่น) ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม ดังนี้ • กิจกรรมการบริหารจัดการโครงการฯ โดย สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
กิจกรรมการบริหารงานโครงการ โดย กษ.จ. • คัดเลือกศูนย์ฯ และเกษตรกรเข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมจัดทำทะเบียนศูนย์ฯ และเกษตรกร • รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของแต่ละศูนย์ฯ • ติดตามและรายงานผลความก้าวหน้า ประสานการดำเนินงานโครงการ • ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินกิจกรรมการรวมกลุ่มและ สร้างเครือข่ายจากการดำเนินงานปีที่ผ่านมา • เงินงบประมาณกิจกรรมการบริหารงานโครงการจะมาก/น้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนศูนย์ฯ ที่มีในแต่ละจังหวัด • ได้โอนให้ สนง.กษ.จ. ไปแล้ว 2 งวด
2) แผนงานการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (งบรายจ่ายอื่น) • กิจกรรมการบริหารจัดการโครงการฯ โดยกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรฯ
กิจกรรมการบริหารงานโครงการ โดย กนท. • จัดทำประชาสัมพันธ์ การชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการ ทั้งศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และ เจ้าหน้าที่ กษ.จ. • ผลิตและเผยแพร่ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านผ่านสื่อโทรทัศน์/จัดทำบัญชีรับ-จ่าย/เอกสารองค์ความรู้ • กำกับดูแลและอำนวยการ การประสานงาน ติดตามความก้าวหน้า การรายงานผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการสรุปผลโครงการ (จัดสัมมนาในส่วนกลางและในระดับภูมิภาค) • ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ นำผลไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์ และข้อเสนอในเชิงนโยบาย
ผลการดำเนินงาน • คัดเลือกศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน พร้อมเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมในโครงการได้ครบทั้ง 75 จังหวัด ทั่วประเทศ • ปรับหลักสูตรการฝึกอบรมได้ครบถ้วน ตามที่กำหนดในระเบียบฯ • ศูนย์ฯ เริ่มดำเนินการจัดฝึกอบรมเกษตรกรตามแผนที่นำเสนอ • รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แล้ว คิดเป็น 95% • โอนเงินให้ศูนย์ฯไปแล้ว 128 ศูนย์ ใน 68 จังหวัด 2 งวด รวมทั้งสิ้น 177,156,750 บาท • ตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ เพื่อรับฟังปัญหา/ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน
ปัญหา/อุปสรรค • หนังสือสั่งการที่กำหนดไว้ก่อนหน้าที่ระเบียบฯ จะมีผลบังคับใช้ • การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ไม่ได้ทำการเกษตรเป็นหลัก • การปรับแผนการฝึกอบรมของศูนย์ฯ เพื่อให้เบิกจ่ายเงินได้รายละ 3,000 บาท • การปรับปรุงศูนย์ฯ ที่ต้องมีการก่อสร้าง ต่อเติม เช่น ห้องน้ำ เป็นต้น
การดำเนินงานในขั้นต่อไปการดำเนินงานในขั้นต่อไป • จัดสรรงบให้ศูนย์ฯ เดิมที่เข้าร่วมโครงการในปี 50 ที่ยังจัดสรรไปไม่เต็มวงเงิน และโอนเงินสำหรับศูนย์ที่ได้รับคัดเลือกเพิ่มเติม • จัดสรรงบให้ศูนย์ สำหรับการฝึกอบรมเกษตรกรอาสา 1,000 คน จำนวน 3,000,000 บาท • จัดสรรงบตามแผนการติดตามเกษตรกรที่ผ่านการอบรมแล้ว 7,500,000 บาท • จัดสรรงบเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน
การบูรณาการงาน/โครงการ ระดับส่วนกลาง • คณะกรรมการบูรณาการงาน/โครงการกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียงชุมชน และกิจกรรมการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ภายใต้แผนงบประมาณขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท(ผตร.สิงห์ทอง ชินวรรังสี:ประธานกรรมการ ผอ.ส่วนเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สผง.:กรรมการและเลขานุการ) ทำหน้าที่: พิจารณาบูรณาการงาน/โครงการและงบประมาณ จัดทำกรอบแผนงาน/โครงการและงบประมาณที่เชื่อมโยงงาน/โครงการและงบประมาณ จัดทำหลักสูตรชี้แจงข้าราชการพร้อมจัดทำคู่มือประกอบการปฏิบัติงาน
การบูรณาการงาน/โครงการ ระดับจังหวัด • การแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 444/2550 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 • ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นที่ปรึกษา เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เป็นประธานกรรมการ พร้อมหัวหน้าส่วนในสังกัดกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนศูนย์ปราชญ์ ฯ • มีหน้าที่กำกับ ดูแล และบริหารจัดการแผนงาน/โครงการในลักษณะบูรณาการให้ได้อย่างมีประสิทธิผล
ศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชน Node : ปศุสัตว์ Node : พัฒนาที่ดิน Node : ประมง Node : พืช การเชื่อมโยงกิจกรรมศูนย์เรียนรู้ของรัฐและศูนย์ปราชญ์ ศูนย์เครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้าน
การบูรณาการงาน/โครงการ • การจัดหาเกษตรกรเข้าเรียนรู้ร่วมกัน ทำงานในพื้นที่จังหวัดแบบ มีส่วนร่วม ดังนี้ ศูนย์เรียนรู้ฯ ส่งเกษตรกรเข้ารับการอบรมในศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ตามเป้าหมาย 22,000 คน • ศูนย์ปราชญ์ ฯ เสนอแนะให้เกษตรกรที่ประสงค์เข้าอบรมที่ศูนย์เรียนรู้ ฯ ได้ • การตรวจสอบ/กำกับ การดำเนินงานโครงการ ยกเลิก/ระงับ การดำเนินงานของศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านได้
โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 • ขยายผลการฝึกอบรมเกษตรกร เกษตรกรอาสาและพัฒนาปรับปรุงศูนย์ฯ โดยศูนย์เครือข่ายปราชญ์ 150 ศูนย์ทั้งศูนย์เดิมฯและศูนย์ฯ ใหม่ ขึ้นอยู่กับการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินโครงการในปี 2551 ทั้งนี้ หากศูนย์ใดไม่มีศักยภาพเพียงพอจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการต่อเนื่องในปี 2552 ได้ • วงเงินงบประมาณ 350 ล้านบาท
ขอขอบคุณ กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2629-8973, 0-2282-9217 โทรสาร 0-2281-3958, 0-2281-6599