190 likes | 366 Views
AEC 200. หัวข้อ5 แนวคิดเศรษฐศาสตร์มหภาค. บทที่ 5.1 ผลผลิตและรายได้ประชาชาติ 3 ชม. 5.2 การผันผวนทางเศรษฐกิจ การว่างงานและภาวะเงินเฟ้อ 3 ชม. 5.3 การใช้จ่ายของรัฐ การเก็บภาษี และนโยบายเศรษฐกิจ 3 ชม. บทที่ 5.1 ผลผลิตและรายได้ประชาชาติ. วัตถุประสงค์.
E N D
AEC 200 หัวข้อ5 แนวคิดเศรษฐศาสตร์มหภาค บทที่ 5.1 ผลผลิตและรายได้ประชาชาติ 3 ชม. 5.2 การผันผวนทางเศรษฐกิจ การว่างงานและภาวะเงินเฟ้อ 3 ชม. 5.3 การใช้จ่ายของรัฐ การเก็บภาษี และนโยบายเศรษฐกิจ 3 ชม.
บทที่ 5.1 ผลผลิตและรายได้ประชาชาติ วัตถุประสงค์ • อธิบายดัชนีผู้บริโภค (CPI)และ GDP deflator และวิธีวัด • อธิบายการที่รายได้รวม ค่าใช้จ่ายรวม และผลผลิตรวมเท่ากัน • อธิบายวิธีการวัด GDP • อธิบายความแตกต่างระหว่าง stocks ของทุนและความมั่งคั่ง และ flow ของการผลิต รายได้ การลงทุน และการออม • อธิบาย GDP ที่แท้จริง (real GDP) • อธิบายข้อจำกัดของการเติบโต real GDP ในฐานะเป็นตัววัดมาตรฐานการครองชีพ
GDP (Gross Domestic Product)หรือผลิตภัณฑ์ในประเทศ เป็นมูลค่าของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผลิตขึ้นในประเทศทั้งหมด (สินค้า + บริการ) ในช่วงเวลาหนึ่ง (มักเป็น1ปี) * เราวัดมูลค่าที่เกิดขึ้นภายในอาณาเขตของประเทศ GNP (Gross National Product) ผลิตภัณฑ์รวมประชาชาติ * เราวัดมูลค่าที่เกิดขึ้นตามสัญชาติเช่น GNP ของไทย = GDP + รายได้ที่คนไทยสร้างไว้ในต่างแดน- รายได้ที่คนต่างชาติสร้างไว้ในประเทศไทย
บัญชีรายได้ประชาชาติ วิธีคำนวณหารายได้ประชาชาติมี 3 วิธี (1)ทางด้านผลผลิต (product approach) คือการคำนวณโดยหาค่าของ GNP หรือ GDP (2)ทางด้านรายได้ (income approach) คือการคำนวณจากรายได้ของผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต คือเงินเดือนค่าแรงค่าเช่าดอกเบี้ยกำไรค่าเสื่อมราคาและภาษีทางอ้อมซึ่งได้มาณเวลาใดเวลาหนึ่ง (3)ทางด้านรายจ่าย (expenditure approach) คือการคำนวณทางด้านรายได้รวมทั้งการสะสมทุนซึ่งเป็นผลเหลือจากการใช้จ่ายและการเก็บสะสมไว้เพื่อลงทุนในช่วงเวลาถัดไป (รายจ่ายสิ้นเปลือง + การสะสมทุนของรัฐ) ทั้ง 3 วิธีควรให้คำตอบเท่ากันแต่เป็นไปได้ที่อาจคลาดเคลื่อนได้ (discrepancy) ทางสถิติ
ประเภทของรายได้ (1) ค่าตอบแทนแรงงาน (2) รายได้จากกิจการที่ไม่ใช่นิติบุคคล (3) รายได้จากทรัพย์สินที่ครัวเรือน & สถาบันการกุศลได้รับ (4) การออมของบริษัทและรัฐวิสาหกิจ (5) ภาษีทางตรงของบริษัท (6) รายได้จากทรัพย์สินและกิจการของรัฐ + กำไรของรัฐวิสาหกิจ (7) ดอกเบี้ยจากหนี้สาธารณะ (8) ดอกเบี้ยจากหนี้ของผู้บริโภค (1) + .... (6) – (7) และ (8) = รายได้ประชาชาติ (National income)
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิตการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านผลผลิต ตามหลักสหประชาชาติมี 11 สาขาการผลิตซึ่งสร้าง GDP 1.สาขาเกษตรกรรม(พืช, ปศุสัตว์, ประมง, ป่าไม้) 2.สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน 3.สาขาอุตสาหกรรม 4.สาขาก่อสร้าง 5.สาขาการไฟฟ้าและประปา 6.สาขาการคมนาคมและขนส่ง 7. สาขาการค้าและขายปลีก 8. สาขาการธนาคารประกันภัยและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 9. สาขาที่อยู่อาศัย 10. สาขาบริหารราชการและป้องกันประเทศ 11. สาขาบริการ
GNP = GDP + รายได้สุทธิซึ่งได้รับจากต่างประเทศ NI = GNP-ภาษีทางอ้อมหลังจากหักเงินอุดหนุนแล้ว-ค่าเสื่อมราคา
การคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่ายการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย รายจ่ายประชาชาติเป็นการแสดงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นได้ให้หมดสิ้นเปลืองไปซึ่งใช้ไปในด้าน :- 1. การอุปโภคบริโภคของประชาชน (C) 2. การซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล (G) 3. การสะสมทุนเบื้องต้นในประเทศ (I) 4. การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ 5. สินค้าและบริการขาออกสุทธิ (x - m) • การวัดด้วยวิธีนี้มีปัญหาหลายประการ (ให้นักศึกษาอ่านเอง) • ต้องไม่รวมเงินโอน (ในส่วนของ G) • GNP ไม่ใช่เครื่องวัดสวัสดิการของประชาชนที่ดี (ประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิต/ช่องว่างรายได้และความไม่เสมอภาค)
ทุน, Flow, Stock และการลงทุน GDP (ต่อ) Flows และ Stocks 1.Flows คือปริมาณต่อหน่วยเวลาเช่นค่าเสื่อมทุน 2.Stocks คือปริมาณที่มีอยู่ณเวลาหนึ่งเช่นทุน(capital) ทุน (capital) :- ต้นไม้ในสวน, เครื่องมือ, โรงเรือน, วัตถุดิบคงคลังสินค้าระหว่างผลิตที่จะนำไปใช้ในการผลิตสินค้าขั้นสุดท้าย
GDP (ต่อ) ค่าเสื่อม (depreciation) การลดลงของทุนอันเป็นผลจากการเสื่อมสภาพ/ไม่ทันสมัย ถือว่าเป็นcapitalconsumption Gross Investment (GI) : จำนวนที่เพิ่มขึ้นของทุน (capital stock) และการทดแทนค่าเสื่อม Net Investment : จำนวนที่เพิ่มขึ้นของ capital stock = GI – depreciation
GDP (ต่อ) ความมั่งคั่ง (Wealth) ความมั่งคั่ง : เป็น stock ทางเศรษฐศาสตร์มหภาคหมายถึงมูลค่าของสรรพสิ่งทั้งปวงที่ประชาชนเป็นเจ้าของโดยเกี่ยวสัมพันธ์กับรายได้ซึ่งได้มา (flow)
GDP(ต่อ) การไหลเวียนของรายได้และรายจ่าย s การออม ครัวเรือน T ภาษี รัฐบาล รัฐยืม ทรัพยากร C Y ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดสินค้า ตลาดการเงิน I NX การยืมจากต่างประเทศ I C ต่างประเทศ Y G ธุรกิจ NX การยืมของเอกชน GDP (ต่อ) G แปลจาก Michael Parkin
GDP (ต่อ) รายได้ = รายจ่าย y = C + I + G + NX
GDP (ต่อ) การให้มูลค่าต่อผลิตผล มูลค่าเพิ่ม (value added) เป็นมูลค่าของผลิตผลจากธุรกิจลบด้วยมูลค่าของสินค้าระหว่างกลาง (intermediate good) ซึ่งธุรกิจซื้อมาจากธุรกิจอื่น
มูลค่าเพิ่มและรายจ่ายขั้นสุดท้ายมูลค่าเพิ่มและรายจ่ายขั้นสุดท้าย เกษตรกร (F) มูลค่าเพิ่มของ F โรงสี (M) มูลค่าของ ข้าวเปลือก VAของ M โรงงานขนม (B) มูลค่าข้าวสาร VAของ B ร้านขายปลีก มูลค่าขนม VAของ GR ผู้บริโภค มูลค่าขนม / ค่าใช้จ่ายขั้นสุดท้ายสำหรับขนม
ระดับราคาและเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้อเป็นเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงของระดับราคา จากปีหนึ่งไปยังอีกปีหนึ่ง มี 2 ดัชนี • ดัชนีราคาผู้บริโภค (consumer price index : CPI) • GDP deflator
CPI : การวัด วัดค่าเฉลี่ยของระดับราคาสินค้าและบริการที่ครัวเรือนในเมืองซื้อ ต้องมีปีฐาน
ตัวอย่างวิธีคำนวณ CPI อย่างง่าย 1750 CPI 2325 X 100 = X 100 1750 1750 = 100 = 132.85
GDP Deflator : เป็นตัววัดค่าเฉลี่ยของระดับราคาของสินค้าทุกชนิดที่รวมอยู่ใน GDP GDP Deflator = GDP ราคาตามค่าตัวเงิน GDP ที่แท้จริง X 100 = Nominal GDP real GDP X 100 • Nominal GDP คือ GDP ราคาตลาดในปีที่วัดค่า (current price) • GDP ที่แท้จริง เป็น GDP เทียบกับในปีฐาน