430 likes | 771 Views
การ เขียนรายงานการประเมินตนเอง ประจำปี การศึกษา 2552. การประเมินตนเอง คือ. เป็น กระบวนการเรียนรู้ตนเองด้วยการทบทวนว่า หน่วยงาน ของตนได้ปฏิบัติภารกิจบรรลุผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด มี การบริหาร จัดการการ บริหารทรัพยากรและงบประมาณที่เหมาะสม เพียงใด ผล การดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับใด
E N D
การเขียนรายงานการประเมินตนเอง ประจำปีการศึกษา 2552
การประเมินตนเอง คือ เป็นกระบวนการเรียนรู้ตนเองด้วยการทบทวนว่า • หน่วยงานของตนได้ปฏิบัติภารกิจบรรลุผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด • มีการบริหารจัดการการบริหารทรัพยากรและงบประมาณที่เหมาะสมเพียงใด • ผลการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับใด • พร้อมทั้งมุ่งทบทวน ค้นหา และวิเคราะห์จุดแข็ง แนวทางการพัฒนา เพื่อหาแนวทางการสร้างเสริมความแข็งแกร่งและแนวทางปรับปรุงแก้ไขวิธีการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ตลอดจนเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันตามกระบวนการพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งที่จะได้รับผลการดำเนินงานที่มีคุณภาพยั่งยืนและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามี3ระบบย่อย คือ • การประกันคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542หมวด4มาตรา22, 23, 24, 26 และมาตรา27เพื่อตรวจว่าสถานศึกษา มีการปฏิรูปการเรียนรู้หรือยัง • การประกันคุณภาพการสอนของครู คือครูเปลี่ยนจากการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลางเป็นการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญหรือยัง • การประกันคุณภาพการบริหาร คือผู้บริหารเปลี่ยนจากการบริหารธุรการเป็นการบริหารวิชาการและบริหารการเรียนการสอนหรือยัง
มิติในการประเมิน การประเมินจะคำนึงถึง 3A และประเมินแต่ละมิติทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อสะท้อนความเป็นจริงของแต่ละมาตรฐาน 1. ความตระหนักถึงความสำคัญ (Awareness) ของการพัฒนาการศึกษาให้ได้มาตรฐาน ความเข้าใจในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น และมีจิตใจที่อยากพัฒนาให้ดีขึ้น 2. ความพยายาม (Attempt) ที่จะทำให้ความตระหนักนั้นเป็นความจริงโดยมีร่องรอยความพยายามในการปรับปรุง แก้ไข พัฒนาคุณภาพการดำเนินงานให้ดีขึ้น 3. การบรรลุผลสัมฤทธิ์ (Achievement) จากความพยายามที่ได้ดำเนินการมาและเกิดผลตามสภาพจริงในแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้
วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง/รายงานประจำปี มี3ประการ คือ 1) เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการตามมาตรา48แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542ที่ว่า “ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก”
วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานประจำปี(ต่อ)วัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานประจำปี(ต่อ) 2) เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาในการจัดทำรายงานประจำปีเพื่อแสดงถึงสัมฤทธิผลในการดำเนินงานและเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป 3) เพื่อใช้เป็นข้อมูลของหน่วยงานสำหรับการตรวจสอบคุณภาพภายใน และหน่วยงานภายนอก
หลักการเขียนรายงานการประเมินตนเองหลักการเขียนรายงานการประเมินตนเอง การเขียนรายงานการประเมินตนเอง มีหลักการสำคัญ ดังนี้ • ก่อนเขียนรายงานการประเมินตนเอง ควรศึกษารูปแบบของรายงานว่าประกอบด้วย หัวข้อใด และมีลำดับการนำเสนออย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้รายงานมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ • เขียนเสนอรายงานให้มองเห็นเป็นรูปธรรม ชัดเจน และมีความสอดคล้องกันทั้งในตัวบ่งชี้ เกณฑ์การประเมินที่กำหนด ซึ่งควรสอดคล้องกับผลการดำเนินงาน และหลักฐานอ้างอิง • ควรศึกษารายละเอียดของแต่ละหัวข้อ เพื่อให้ได้แนวทางในการเขียนรายงาน
การเขียนผลการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้การเขียนผลการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้ • เขียนผลการดำเนินงานตามที่ดำเนินการจริงในวงรอบการประเมิน • อ้างอิงหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในวงเล็บท้ายผลการดำเนินงานแต่ละประเด็น • การเสนอผลสัมฤทธิ์ที่เป็นตัวเลขต้องสอดคล้องกับหลักฐานที่อ้างอิง • เขียนผลการดำเนินงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามลำดับของเกณฑ์การประเมินการดำเนินงานในแต่ละตัวบ่งชี้ • ให้ยึดเกณฑ์การประเมินเป็นหลักในการให้คะแนน
ส่วนประกอบ รายงานการประเมินตนเอง (SAR)
ส่วนนำ ข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน ประกอบด้วย ประวัติ ปณิธาน วัตถุประสงค์ ที่ตั้ง อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ บุคลากร นักศึกษา(คณะวิชา) แผนภูมิองค์กร แผนภูมิการบริหารงาน แผนภูมิการปฎิบัติงาน งบประมาณ ความท้าทาย และสรุปผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับ ปัจจุบันและอนาคตได้
แบบฟอร์ม • ประวัติ…………………………………………… • ปณิธาน…………………………………………… • วัตถุประสงค์…………………………………………… • ที่ตั้ง……………………………………………
แบบฟอร์ม • จำนวนอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ อาคารสถานที่ • จำนวนอาจารย์ตามการแต่งตั้งของมหาวิทยาลัย
แบบฟอร์ม • จำนวนผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ • จำนวนเจ้าหน้าที่
แบบฟอร์ม • จำนวนนักศึกษาปริญญาตรี • ปริญญาโท
แบบฟอร์ม • งบประมาณที่ได้รับอนุมัติในปีการศึกษา 2552...............ได้รับอนุมัติงบประมาณเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น800,000บาท (แปดแสนบาทถ้วน)
แบบฟอร์ม • แผนภูมิองค์กร • แผนภูมิการบริหารงาน (Administrative Chart) • แผนภูมิการปฏิบัติงาน (Activity Chart)
แบบฟอร์ม • ความท้าทายเป้าหมายสูงสุดในขณะนี้ที่คณะวิชา/หน่วยงานต้องการ สถานการณ์ที่ยั่วยุหรือเร่งให้เราต้องทำอะไรบางอย่าง เป็นสิ่งที่ทดสอบความสามารถของเรา ความท้าทายอาจเป็นปัญหา/ความเสี่ยง/โอกาสพัฒนาในปัจจุบันหรือปัญหา/โอกาสแห่งความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
แบบฟอร์ม • สรุปผลการปรับปรุงตามผลการประเมินในรอบปีที่ผ่านมา
ส่วนสำคัญ ผลการดำเนินงาน เป็นส่วนผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด พร้อมคะแนนประเมินเป็นตัวชี้วัด ตามเป้าประสงค์ ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย พร้อมระบุ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ปัจจัยคุกคาม และแนวทาง การพัฒนา ในแต่ละยุทธศาสตร์
ให้ทำเครื่องหมาย ใน โดยพิจารณาจากผลดำเนินงานว่าทำได้กี่ข้อ/ระดับ แล้วเทียบกับเป้าหมายว่าได้ตามเป้าหมายหรือไม่ คำอธิบายผลการดำเนินงาน : บรรลุเป้าหมาย ไม่บรรลุเป้าหมาย มีการกำหนดปรัชญาหรือปณิธาน มีกระบวนการพัฒนากลยุทธ์ แผนการดำเนินงานและแผนปฏิบัติงานประจำปีให้สอดคล้องกันและกันและสอดคล้องกับภารกิจหลักของสถาบัน มีการกำหนดตัวบ่งชี้ของการดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมายของแต่ละตัวบ่งชี้เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงาน มีการดำเนินการตามแผนครบทุกภารกิจ มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และรายงานผลต่อผู้บริหาร มีการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างกลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน เป้าประสงค์ เป้าหมายกับแผนพัฒนาสถาบัน มีการนำผลการประเมินและผลการวิเคราะห์มาปรับปรุงกลยุทธ์และแผนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อธิบายผลการดำเนินงานในแต่ละข้อว่าดำเนินการอย่างไร พร้อมอ้างอิงหลักฐานเอกสารประกอบ หากข้อใดไม่ได้ดำเนินการ ให้บอกว่าไม่มีการดำเนินการในข้อนี้ หรือ -
ส่วนสำคัญ แนวทางการกำหนดค่าเป้าหมาย • พิจารณาจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาในแต่ละตัวชี้วัด • พิจารณาจากค่าเป้าหมายเดิม และค่าเป้าหมายในยุทธศาสตร์การพัฒนาของหน่วยงาน • พิจารณาจากเกณฑ์การประเมิน ตามระบบประกันคุณภาพ ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือประกันคุณภาพ • พิจารณาจากปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
เกณฑ์ประเมิน : ตารางเกณฑ์ประเมินเพื่อตรวจสอบว่าดำเนินงานได้กี่ข้อ/ระดับ คิดเป็นคะแนน ผลการประเมินการดำเนินงาน : • ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ มีการดำเนินการระดับ .......... เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินดังนี้ ดำเนินงานได้กี่ระดับ/ข้อ จากที่คำอธิบายผลดำเนินงานทั้ง 7 ระดับ ผลการดำเนินงาน บรรลุ/ไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ให้สรุปว่าผลการดำเนินงานบรรลุหรือไม่บรรลุ โดยลบตัวหนังสือที่ไม่ต้องการออก
นำเอาระดับ/ข้อมาเปรียบเทียบจากผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมาว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง หากไม่เพิ่มหรือลดให้เขียนว่าผลการดำเนินงานคงที่ ผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น/ลดลงเมื่อเทียบกับรอบปีการศึกษา 2551 ซึ่งมีผลการดำเนินงานเท่ากับระดับ....เกณฑ์ ....คะแนน ดังนั้นจึงถือว่าผลการดำเนินงาน มี/ไม่มีพัฒนาการ ผลการดำเนินงาน - เพิ่มขึ้น/คงที่(คะแนนเต็ม)= มีพัฒนาการ - ลดลง/คงที่(คะแนนไม่เต็ม) = ไม่มีพัฒนาการ บอกผลการดำเนินงานของปีการศึกษา 2551 โดยใช้คะแนนของ มพย.
ส่วนสำคัญ การวิเคราะห์ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน ปัจจัยที่สนับสนุนการดำเนินงานในด้านนี้ ตัวบ่งชี้นี้ หรือเป็นจุดแข็งที่ช่วยทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ เป็นการพิจารณาจุดเด่น ความเข้มแข็ง ความพร้อมของคณะวิชา / หน่วยงานในด้านต่างๆ โดยพิจารณาสภาพแวดล้อม ในคณะวิชา / หน่วยงานที่กระทบต่อการดำเนินงาน ช่วยส่งผลให้ทำงานได้ดีขึ้น ใช้งบประมาณน้อย และเกิดผลสัมฤทธิ์สูง
ส่วนสำคัญ ตัวอย่างปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน • มีพื้นที่สนับสนุนการเรียนการสอนด้านปฏิบัติการ • มีงบประมาณสนับสนุนการวิจัย/สร้างสรรค์ ทั้งในระดับคณะและมหาวิทยาลัย • บุคลากรในคณะมีความรู้ ความสามารถในการให้บริการวิชาการ ได้รับเชิญจากหน่วยงานภายนอกในการเป็นวิทยากร บรรยาย และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายผ่านสื่อต่าง ๆ • มีผลงานโดดเด่นในการสร้างองค์ความรู้ที่แสดงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยภาคใต้และสากล มีการจัดนิทรรศการ การแสดงและดนตรี เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ส่วนสำคัญ ตัวอย่างปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน • มีระบบส่งเสริม/สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างชัดเจนและจูงใจให้บุคลากรพัฒนาตนเอง • มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพที่เข็มแข็ง มีการดำเนินการตามระบบ และนำผลมาปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ส่วนสำคัญ การวิเคราะห์แนวทางสนับสนุนการดำเนินงานในอนาคต • แนวทางที่สนับสนุนการดำเนินงานในด้านนี้ในอนาคต หรือเป็นแนวทางเสริมจุดแข็งที่ช่วยทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ • เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้แก่คณะวิชา /หน่วยงานจากสภาพแวดล้อมภายนอก ที่จะส่งผลทำให้คณะวิชา / หน่วยงานประสบความสำเร็จได้ • เป็นการวิเคราะห์แนวทางที่จะส่งเสริม/สนับสนุน จุดเด่น จุดแข็ง ของคณะวิชา/หน่วยงาน ที่จะส่งผลทำให้ คณะวิชา/หน่วยงานประสบความสำเร็จ
ส่วนสำคัญ ตัวอย่างแนวทางสนับสนุนการดำเนินงานในอนาคต • หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมการแข่งขันทางด้านวิชาการและวิชาชีพในสาขาทางด้านศิลปกรรม • มีแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยจากภายนอกจำนวนมาก • มหาวิทยาลัยตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม • ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและซอฟแวร์สามารถลดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงาน ปัจจัยที่เอื้ออำนวยจากสภาพแวดล้อมภายนอก
ส่วนสำคัญ ตัวอย่างแนวทางสนับสนุนการดำเนินงานในอนาคต • จัดฝึกอบรม วิธีการถ่ายทอดความรู้ วิทยากรมืออาชีพให้อาจารย์ เจ้าหน้าที่ • จัดโครงการประกวดนวัตกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาและหา Best Practice ในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ แนวทางเสริมจุดเด่น/จุดแข็ง
ส่วนสำคัญ การวิเคราะห์อุปสรรคในการดำเนินงาน • อุปสรรคที่ทำให้การดำเนินงานในด้านนี้/ตัวบ่งชี้นี้ไม่ประสบความสำเร็จ อาจจะพิจารณาจากระดับคะแนนที่ไม่ได้ดำเนินการ • เป็นการพิจารณาจุดด้อยของหน่วยงานในด้านต่างๆโดยพิจารณาสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงานที่กระทบต่อการดำเนินงานให้ทำได้ยาก ใช้งบประมาณมากหรือเสี่ยงที่จะไม่ประสบผลสำเร็จ • เป็นการวิเคราะห์ข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่ขัดขวางการดำเนินงาน ทำให้หน่วยงานประสบความสำเร็จได้ช้า และหน่วยงานต้องรีบดำเนินการแก้ไข
ส่วนสำคัญ ตัวอย่างอุปสรรคในการดำเนินงาน • มหาวิทยาลัยอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง เปิดสอนหลักสูตรที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับหลักสูตรของคณะ ทำให้เกิดการแข่งขันในการรับนักศึกษาเข้าศึกษา • คณาจารย์มีภาระงานสอนสูงกว่าเกณฑ์ทำให้ไม่มีเวลาในการทำงานวิจัย/สร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ • เกณฑ์การจัดสรรทุนวิจัยของแหล่งต่าง ๆ มีมาตรฐานสูง ทำให้นักวิจัยใหม่ๆ ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุน • มีสถาบันหรือหน่วยงานอื่นที่มีบริการวิชาการที่ใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการให้บริการวิชาการ
ส่วนสำคัญ ตัวอย่างอุปสรรคในการดำเนินงาน • ไม่มีระบบการจัดหารายได้จากงานบริการวิชาการอย่างเป็นรูปธรรม • จำนวนกิจกรรม ค่าใช้จ่าย และมูลค่าในกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมมีน้อย เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย • บุคลากรขาดทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ในหน้าที่รับผิดชอบ
ส่วนสำคัญ การวิเคราะห์ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะหรือแนวทางแก้ไขที่จะช่วยทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับอุปสรรคที่มี เป็นผลการวิเคราะห์ที่ชี้ให้เห็นแนวทางการพัฒนาในอนาคต และข้อเสนอแนะในการวางแผนพัฒนาในปีต่อไป เพื่อให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น
ส่วนสำคัญ ตัวอย่างข้อเสนอแนะ /แนวทางแก้ไข • พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพ โดดเด่น และเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน • สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการทำวิจัยร่วมกัน • ส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนบุคลากรทางวิชาการกับทางสถาบันและองค์กรภายนอกอย่างต่อเนื่อง • เชื่อมโยงงานด้านการวิจัย และบริการการกับภารกิจทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนสำคัญ ตัวอย่างข้อเสนอแนะ /แนวทางแก้ไข • จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีโดยกำหนดโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของหน่วยงานและยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการใช้งบประมาณและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด • จัดให้มีระบบการให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและนำไปใช้กับกิจกรรมนักศึกษา และอาจพัฒนาจนถึงการสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพภายในและภายนอกคณะ
มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายใน
ส่วนสรุป ตารางผลการประเมินรายตัวบ่งชี้
ส่วนสรุป (มพย.) ตารางสรุปคะแนนเฉลี่ยตามมาตรฐาน มพย.
ส่วนสรุป (สกอ.) ตารางสรุปคะแนนเฉลี่ยตามองค์ประกอบ 10ด้าน
ส่วนสรุป (สมศ.) ตารางสรุปคะแนนเฉลี่ยตามมาตรฐาน สมศ.
หลักการอ้างอิงหลักฐานหลักการอ้างอิงหลักฐาน • ให้อ้างอิงหลักฐานตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์ดังนี้ • ตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ • ตัวเลขที่ 1: มาตรฐาน • ตัวเลขที่ 2: ลำดับตัวบ่งชี้ หรือ บอกได้ว่า 2 ตัวแรกบ่งบอกถึง ตัวบ่งชี้ที่อยู่ในมาตรฐานต่างๆ • ตัวเลขที่ 3:ลำดับเอกสาร • ตัวอย่างเช่น ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 มีหลักฐานอ้างอิง 2 ชิ้น ดังนั้น การอ้างอิงคือ ชิ้นที่ 1 คือ 1.1.1 ชิ้นที่ 2 คือ 1.1.2
หลักการอ้างอิงหลักฐานหลักการอ้างอิงหลักฐาน • 2. ตัวบ่งชี้และเกณฑ์เชิงคุณภาพ แบบ ระดับ/ข้อ • ตัวเลขตัวที่ 1 หมายถึง มาตรฐาน • ตัวเลขตัวที่ 2 หมายถึง ลำดับตัวบ่งชี้ • หรือ บอกได้ว่า 2 ตัวแรกบ่งบอกถึง ตัวบ่งชี้ที่อยู่ในมาตรฐานต่างๆ • ตัวเลขตัวที่ 3 หมายถึง ระดับ/ข้อ ของเกณฑ์ • ตัวเลขตัวที่ 4 หมายถึง ลำดับเอกสาร • ตัวอย่างเช่น ตัวบ่งชี้ 5.1 ระดับเกณฑ์ข้อ 1 มีเอกสาร 3 ชิ้น การอ้างอิง • ชิ้นที่ 1 คือ 5.1.1.1 • ชิ้นที่ 2 คือ 5.1.1.2 • ชิ้นที่ 3 คือ 5.1.1.3