760 likes | 987 Views
หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557. กรกฎาคม 2556 สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ. ประเด็นนำเสนอ. งบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติปีงบประมาณ 2557 ที่ได้รับ กรอบ ในการกำหนดแนวทางการ บริหารกองทุน หลักประกันสุขภาพ แห่งชาติปีงบประมาณ 2557
E N D
หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557 กรกฎาคม 2556 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประเด็นนำเสนอ • งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 ที่ได้รับ • กรอบในการกำหนดแนวทางการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 • หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557
งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557 ที่ได้รับ
งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี2557-ที่จะได้รับ
รายการงบเหมาจ่ายรายหัวปี 2557-ที่จะได้รับ
(ร่าง) สรุปข้อเสนอกรอบวงเงินตามแนวทางบริหารจัดการปี 2557รายการที่ 1. งบอัตราเหมาจ่ายรายหัว นิ่ว
รายการที่ไม่รวมในงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ2557รายการที่ไม่รวมในงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ2557 นโยบายค่าแรงของรัฐบาล • ค่าครองชีพสำหรับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 15,000 บาทต่อเดือนและค่าแรงขั้นต่ำที่ 300 บาทต่อวัน ของลูกจ้างชั่วคราว • การปรับลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการหรือพนักงานของกระทรวงสาธารณสุข • การปรับบันไดเงินเดือนข้าราชการ (คาดว่าจะดำเนินการในปี 2556)
กรอบในการกำหนดแนวทางการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2557
กรอบและแนวคิดในการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการปีงบประมาณ 2557(1) • กรอบตามกฎหมาย -> ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 • มาตรา 18(1), 18(4), 18(13) ,38, 41, 46, 47 • ตามแนวคิดพื้นฐานของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า • ความเป็นธรรมตาม Health Need ของประชาชน และพื้นที่ดำเนินการ • ประสิทธิผลและคุณภาพของผลงานบริการสาธารณสุข • การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการร่วมดำเนินงานหลักประกันสุขภาพและการบริการสาธารณสุข • ประสิทธิภาพการบริหารค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
กรอบตามกฎหมายในการกำหนดแนวทางการบริหารกองทุนกรอบตามกฎหมายในการกำหนดแนวทางการบริหารกองทุน ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ • มาตรา ๑๘ • คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ • (๑) กำหนดมาตรฐานการให้บริการของหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ และกำหนดมาตรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ • (๔) กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน • (๑๓) จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจำทุกปี มาตรา ๓๘ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรียกว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ให้ใช้จ่ายเงินกองทุนโดยคำนึงถึงการพัฒนาการบริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ที่ไม่มีหน่วยบริการเพียงพอหรือมีการกระจายหน่วยบริการอย่างไม่เหมาะสมด้วย
กรอบตามกฎหมายในการกำหนดแนวทางการบริหารกองทุน (ต่อ) • มาตรา ๔๑ • ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหารือผู้กระทำผิดได้ แต่ยังไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๔๖ หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา ๔๔ และหน่วยบริการที่รับส่งต่อผู้รับบริการ มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง ต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา ๑๘(๑๓) ก่อน และอย่างน้อยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ • อาศัยราคากลางที่เป็นจริงของโรคทุกโรคมาเป็นฐานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน • ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร • คำนึงถึงความแตกต่างในภารกิจของหน่วยบริการ • คำนึงถึงความแตกต่างในกลุ่มผู้รับบริการและในขนาดของพื้นที่บริการที่หน่วยบริการรับผิดชอบ
กรอบตามกฎหมายในการกำหนดแนวทางการบริหารกองทุน (ต่อ) • มาตรา ๔๗ • เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน
แนวทางการบริหารกองทุนตามกรอบกฎหมาย (1)ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
แนวทางการบริหารกองทุนตามกรอบกฎหมาย (2)ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
สรุปกรอบและแนวคิดในการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ ปีงบประมาณ2557
หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557
หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2557 จำนวน 6 รายการ ตามที่ได้รับงบประมาณ • บริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว • บริการสุขภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ • บริการสุขภาพผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง • บริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง(บริการ 2nd prevention สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง) • ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยบริการ(หน่วยบริการที่จำเป็นต้องให้บริการในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย) • ค่าตอบแทนกำลังคนด้านการสาธารณสุข(หน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข)
บริการทางการแพทย์ เหมาจ่ายรายหัว
1.1 บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป
1.1 กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2557 หากจ่ายตามเงื่อนไขในปีแล้วมีเงินเหลือ ให้จ่ายให้หน่วยบริการสำหรับบริการผู้ป่วยนอก ตามจำนวนประชากรที่ลงทะเบียนและผลงานบริการผู้ป่วยนอก ข้อ (1) และ (2) สำหรับ สปสช.เขต13 – กรุงเทพมหานคร ให้สามารถกำหนดแนวทางเป็นอย่างอื่นได้ แต่อย่างน้อยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและได้ข้อมูลตามที่กำหนดและต้องเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการผู้ป่วยนอก โดยแนวทางการจ่ายต้องผ่านความเห็นของของ อปสข. แนวทางการบริหารจัดการ • จำนวน 1,056.96 บาทต่อผู้มีสิทธิ การบริหารจัดการแบ่งเป็น 3 รายการย่อย ได้แก่
1.1 กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2557(1)จ่ายแบบเหมาจ่ายต่อผู้มีสิทธิ (1.1) จำนวน 1,001.87 บาทต่อผู้มีสิทธิ จ่ายตามจำนวนประชากรที่ลงทะเบียน โดยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1.1 กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2557 (1) จ่ายแบบเหมาจ่ายต่อผู้มีสิทธิ(ต่อ) (1.2) สำหรับ สปสช.เขต13 – กรุงเทพมหานคร ให้สามารถกำหนดแนวทางเป็นอย่างอื่นได้ แต่อย่างน้อยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและได้ข้อมูลตามที่กำหนดและต้องเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการผู้ป่วยนอก โดยแนวทางการจ่ายต้องผ่านความเห็นของของ อปสข. (1.3) สำหรับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. อาจต้องเกลี่ยงบที่ได้รับไปสนับสนุนหน่วยบริการที่จำเป็นต้องให้บริการในพื้นที่กันดารและพื้นที่เสี่ยงภัย(พื้นที่ Hardship) (1.4) ให้ สปสช.สนับสนุนการจัดการเกี่ยวกับบริการ OP ส่งต่อในจังหวัด
1.1 กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 2557(2)จ่ายตามผลงานบริการ แนวทางการบริหารเหมือนปี 2556 โดยปรับบางส่วนให้ชัดเจนขึ้น ได้แก่ (2.1) จำนวนเงิน 18.09 บาทต่อผู้มีสิทธิ แบ่งเป็น 2 ส่วน(ตามสัดส่วนปี 2556) คือ • ไม่น้อยกว่า 17.28 บาทต่อผู้มีสิทธิ ให้จ่ายตามจำนวนผลงานและตามคุณภาพของการให้บริการ โดยใช้ข้อมูล OP/PP individual records • ไม่เกิน 0.81 บาทต่อผู้มีสิทธิ สำหรับการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดทำข้อมูลผู้รับบริการ และจ่ายสำหรับข้อมูลด้านการเงินการคลังของหน่วยบริการ (2.2) สำหรับ สปสช.เขต 13 – กรุงเทพมหานคร ให้สามารถกำหนดแนวทางเป็นอย่างอื่นได้ แต่อย่างน้อยต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและได้ข้อมูลตามที่กำหนดและต้องเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการผู้ป่วยนอก โดยแนวทางการจ่ายต้องผ่านความเห็นของ อปสข.
1.1 กรอบแนวทางการบริหารงบ OP-ทั่วไปปี 25573) จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ(ต่อ) จำนวน 37 บาทต่อผู้มีสิทธิแนวทางการบริหารจัดการเน้นให้เกิดคุณภาพบริการปฐมภูมิมากขึ้น และกระตุ้นการบริหารเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ(District Health System) ให้เข้มแข็ง รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน หรือกิจกรรมเพื่อสังคม (Social enterprise)ในการจัดบริการปฐมภูมิ โดยปี 2557 การบริหารจัดการแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1) จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ(32 บาทต่อผู้มีสิทธิ ) • กำหนด Quality and Outcome Framework(QOF) ของบริการปฐมภูมิ เพื่อเป็นทิศทางวัดผลการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ประกอบด้วย 4 ด้าน • ด้านบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค • ด้านบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ • ด้านการพัฒนาองค์กร การเชื่อมโยงบริการระบบส่งต่อ และการบริหารระบบ • ด้านบริการที่จำเป็นตอบสนองปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และบริการเสริมในพื้นที่ • บริหารจัดการเป็น global budget ระดับเขต ตามจำนวนประชากร UC • ให้บูรณาการงบประมาณรายการนี้กับงบ P&P ที่จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ P&P • มีเกณฑ์ตัวชี้วัดกลาง และสามารถเพิ่มเติมเกณฑ์ระดับพื้นที่ได้ โดยเป็นข้อเสนอจากคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิระดับเขต และต้องผ่านความเห็นชอบของ อปสข. • แนวทางการจ่ายเงินให้แก่หน่วยบริการ (CUP) ต้องผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. • สำหรับการจ่ายเงินให้หน่วยบริการปฐมภูมิในแต่ละ CUP ให้จัดสรรโดยคณะกรรมการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการระดับอำเภอ ( DHS: District health system)
(ร่าง)ตัวชี้วัดคุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ (ตัวชี้วัดกลาง)(Quality and Outcome Framework :QOF) ปี2577 QOF หมายเหตุ : คัดเลือกจากตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข และ Smart healthและจะมีการหารือร่วมกับสธ.ต่อไป
แผนการบริหารการบูรณาการงบกองทุนโดยใช้เกณฑ์คุณภาพและผลงาน (QOF) บริการปฐมภูมิ งบตามเกณฑ์คุณภาพและผลงานบริการปฐมภูมิ -งบบริการการแพทย์แผนไทย -งบบริการฟื้นฟูระดับชุมชน(CBR) - งานบริการโรคเรื้อรังระดับชุมชน งบ P&P จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ P&P ปี2557-2559 ปี2557-2559 ปี2558-2559
ส่วนที่ 2) งบเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบบริการปฐมภูมิ (5 บาทต่อผู้มีสิทธิ) เป็นงบสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการปฐมภูมิ โดยสนับสนุนดำเนินการตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ค.ศ. 2007 (six building blocks primary health care system strengthening )โดย • จำนวน 1 บาทต่อผู้มีสิทธิบริหารจัดการภาพรวมระดับประเทศ • จำนวน 4 บาทต่อผู้มีสิทธิ บริหารจัดการเป็นวงเงินระดับเขต ตามจำนวนประชากร UC
แนวทางการบริหารงบเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบบริการปฐมภูมิแนวทางการบริหารงบเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบบริการปฐมภูมิ • เป็นงบสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการปฐมภูมิให้มีศักยภาพ และมีคุณภาพตามแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อการเข้าถึงบริการของประชาชน และตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนตามบริบทของพื้นที่ • แนวทางสนับสนุนตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ค.ศ. 2007 (six building blocks primary health care system strengthening ) ได้แก่ • สนับสนุนความเข้มแข็งเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System :DHS) • สนับสนุนรูปแบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง และพื้นที่พิเศษเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการตามบริบท • สนับสนุนการผลิต จัดหา และกำลังคนที่จำเป็นและขาดแคลนตามบริบทพื้นที่(มาตรา 38วรรค 2) • สนับสนุนการจัดการข้อมูลสารสนเทศ และการตรวจสอบผลงานและคุณภาพหน่วยบริการ • สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านยา วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จำเป็นในพื้นที่ • ส่งเสริมนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และ อปท. • สนับสนุนกลไกการพัฒนาระบบคุณภาพบริการปฐมภูมิ (PCA) • เป็นงบที่จัดสรรให้หน่วยบริการ สปสช.สาขาจังหวัด หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดำเนินงานของ สปสช./สปสช.เขต • การดำเนินงานสามารถบูรณาการกับงบสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการของบริการอื่นๆ ในพื้นที่(จังหวัด) เช่น P&Pทั่วไปทันตกรรมและบริการแพทย์แผนไทยได้ • ดำเนินงานโดยความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข องค์กรวิชาชีพ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.2 บริการผู้ป่วยในทั่วไป
1.2 กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2557(1) แนวทางบริหารจัดการส่วนใหญ่เหมือนปี 2556 โดยมีการปรับบางส่วนดังนี้ • จำนวนงบบริการผู้ป่วยในทั่วไปปี 2557 • ให้เกลี่ยงบจำนวน 0.10 บาทต่อผู้มีสิทธิ ไปเป็นรายการย่อย “เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการ” (เนื่องจากไม่ได้รับงบประมาณในปี 2557) • ให้รวมบริการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วเพื่อนำนิ่วออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ โดยตัดงบจากรายการบริการกรณีเฉพาะจำนวน 9.69 บาทต่อผู้มีสิทธิ มารวมไว้ที่รายการผู้ป่วยในทั่วไป ทำให้งบบริการผู้ป่วยใน รวมเป็น 1,027.94 บาทต่อผู้มีสิทธิ งบบริการผู้ป่วยในทั่วไป = 1,018.35-0.10+9.69=1,027.94 บาทต่อผู้มีสิทธิ
1.2 กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2557(2) • บริหารเป็น global budget (GB) ที่ระดับเขต โดย 2.1) กรณีการใช้บริการตามระบบศูนย์ประสานการส่งต่อ (กรณีสำรองเตียง) กรณีการเข้ารับบริการผู้ป่วยในตามมาตรา 7 (กรณีที่มีเหตุอันสมควร หรือกรณีอื่น ๆ ตามที่ระบุในข้อบังคับมาตรา 7ที่มีการใช้บริการจากหน่วยบริการในระบบและนอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) และกรณีบริการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วเพื่อนำนิ่วออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ ให้ใช้ค่าผลรวมของน้ำหนักสัมพัทธ์ที่ปรับค่าแล้ว (Adjusted relative weight : adjRW) ที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2557 2.2) ผู้ป่วยในทั่วไปอื่นๆ ให้คำนวณ GB โดย 55%ตาม workload และ 45% ตามโครงสร้างอายุ(เหมือนปี 2556) 2.3) ให้คำนวณกำหนดเป็นวงเงินแต่ละเขตประจำปีตั้งแต่เริ่มต้นปีงบประมาณ โดยใช้ข้อมูลผลการให้บริการที่เกิดขึ้นและจำนวนประชากรสิทธิที่เป็นปัจจุบัน
2. กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2557(3) • การจ่ายชดเชยให้หน่วยบริการ 3.1) ให้กันเงินเพื่อตามจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการได้ไม่เกิน 20 บาทต่อผู้มีสิทธิโดยให้ อปสข. พิจารณาแนวทางการจ่ายตามข้อเสนอของ สปสช.เขต และที่เหลือให้จ่ายด้วยระบบ DRGsversion 5 3.2) การจ่ายตามระบบ DRGs ให้จ่ายตามการใช้บริการที่เกิดขึ้น ภายใต้เพดาน global budget ระดับเขตของแต่ละเขต • อัตราการจ่าย ส่วนใหญ่เหมือนปี 2556โดยกรณีบริการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วเพื่อนำนิ่วออกจากระบบทางเดินปัสสาวะแบบผ่าตัด/แบบส่องกล้องให้ใช้ระบบ DRG สำหรับรักษาด้วยเครื่องสลายนิ่วให้เป็นจ่ายด้วยราคากลางตามเงื่อนไขบริการและอัตราที่ สปสช.กำหนด
1.2 กรอบแนวทางบริหารงบ IP-ทั่วไปปี 2557(4) • การบริหารการจ่ายค่าใช้จ่ายให้หน่วยบริการ 5.1)ให้ สปสช.เขต สามารถกำหนดอัตราจ่ายต่อ adjRWเบื้องต้นที่อัตราหนึ่ง โดยผ่านความเห็นชอบจาก อปสข. 5.2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเงินกองทุน ให้ปิด global budget ระดับเขตภายใน 30 กันยายน 2557(ปิด GB ของปี 2557) โดย • ให้ใช้ข้อมูลผลงานบริการผู้ป่วยใน (sum adjRW) ปี 2557 จำนวน 10 เดือน (กค.56-สค.57) และอาจใช้ข้อมูลของปีที่ผ่านมาร่วมด้วยก็ได้ในประมาณการเป็น 12 เดือน เป็นฐานในการคำนวณอัตราจ่ายในการปิด GB • สำหรับหน่วยบริการสังกัด สป.สธ. เพื่อให้การจ่ายผลงานประจำปี 2557 สนับสนุนสภาพคล่องของหน่วยบริการ จึงขอใช้ผลการประมาณการบริการผู้ป่วยใน 12 เดือนตามข้อ (1) เป็นผลงานประจำปี 2557 สำหรับจ่ายเงิน GB ระดับเขต • กรณีการจ่ายตามข้อ (1) – (2) แล้ว หากมีเหตุใดๆ ที่ทำให้มีรายจ่ายเพิ่มเติมภายหลัง ให้หักงบจาก GB ระดับเขตของปีถัดไป หรือหากมีเงินเหลือ ให้ อปสข. พิจารณาจัดสรรส่วนที่เหลือให้หน่วยบริการเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขต่างๆ ได้ • กรณีข้อมูลการใช้บริการในปีงบประมาณ 2557 ที่หน่วยบริการส่งภายหลังจากปิด Global budget ของปี 2557 แล้ว หน่วยบริการจะได้รับค่าใช้จ่ายจาก Global budget ระดับเขตของปีถัดไป
1.3 บริการกรณีเฉพาะ (ค่าใช้จ่ายสูง/ อุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉิน/ บริการโรคเฉพาะ)
1.3 กรอบแนวทางบริหารงบบริการกรณีเฉพาะปี 2557(1)
1.3 กรอบแนวทางบริหารงบบริการกรณีเฉพาะปี 2557(2) แนวทางบริหารจัดการส่วนใหญ่เหมือนปี 2556 โดยมีการปรับบางส่วนดังนี้ • ย้ายบริการรักษาผู้ป่วยโรคนิ่วเพื่อนำนิ่วออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ ไปบริหารจัดการรวมกับงบบริการผู้ป่วยในทั่วไป (9.69) • ให้เกลี่ยงบระหว่างบริการกรณีเฉพาะต่างๆ ของงบรายการนี้ได้ • หาก “งบรายการบริการกรณีเฉพาะ” เหลือหลังจากที่จ่ายตามเงื่อนไขในปีแล้ว ให้จ่ายให้หน่วยบริการสำหรับบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในตามจำนวนประชากรที่ลงทะเบียนและผลงานบริการผู้ป่วยใน
1.4 บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
กรอบแนวทางบริหารงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ปี 2557 P&P Capitation ( 288.88 บาท x ปชก. ทุกสิทธิ 64.871ล้านคน) คำนวณจาก 383.61 บาท/ปชก.UC 48.852 ล้านคน (1) NPP & Central procurement (23 บ./คน) (4) สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ (7.50บ./คน) (3) P&P Basic Services (192 บ./คน) (2) P&P Area Health Services (66.38 บ./คน) หักเงินเดือน กองทุนฯท้องถิ่น (45.00 บ./คน) Capitation +workload (162 บ./คน) Quality Performance (20 บ./คน) P&P Dental (10 บ./คน) จังหวัด/เขต (21.38 บ./คน+ส่วนที่เหลือจากจัดสรรกองทุนฯท้องถิ่น) หน่วยบริการ/อปท.,/ หน่วยงานต่างๆ • สำหรับ สปสช.เขต13 – กรุงเทพมหานคร ให้สามารถบูรณการการบริหารจัดการงบส่วนที่ (2) และ (3) และกำหนดแนวทางเป็นอย่างอื่นได้ แต่ต้องเป็นค่าใช้จ่ายบริการ P&P เพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ตามที่กำหนด และได้ข้อมูลตามที่กำหนด โดยแนวทางการจ่ายต้องผ่านความเห็นของของ อปสข. • หากจ่ายตามเงื่อนไขในปีแล้วมีเงินเหลือ ให้จ่ายให้หน่วยบริการสำหรับบริการ P&P ตามจำนวนประชากรที่ลงทะเบียนและผลงานบริการ P&P
กรอบแนวทางบริหารงบบริการ P&P ปี 2557 (1) แนวทางบริหารจัดการส่วนใหญ่เหมือนปี 2556 โดยมีการปรับบางส่วนดังนี้ • สำหรับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) รายบุคคลและครอบครัว โดยงบประมาณจำนวน 288.88 บาทต่อคนไทยทุกคน (บาทต่อคน) แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้ • P&P ที่บริหารระดับประเทศ (NPP & Central procurement ) • P&P สำหรับบริการระดับพื้นที่ (P&P area health services) • P&P สำหรับบริการพื้นฐาน (P&P basic services) • สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ P&P
กรอบแนวทางบริหารงบบริการ P&P ปี 2557(2) • สำหรับ สปสช.เขต13 – กรุงเทพมหานคร ให้สามารถบูรณการการบริหารจัดการงบส่วนที่ (2) และ (3)และกำหนดแนวทางเป็นอย่างอื่นได้ แต่ต้องเป็นค่าใช้จ่ายบริการ P&P เพื่อให้เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ตามที่กำหนด และได้ข้อมูลตามที่กำหนด โดยแนวทางการจ่ายต้องผ่านความเห็นของของ อปสข. • หากจ่ายตามเงื่อนไขในปีแล้วมีเงินเหลือ ให้จ่ายให้หน่วยบริการสำหรับบริการ P&P ตามจำนวนประชากรที่ลงทะเบียนและผลงานบริการ P&P
กรอบแนวทางบริหารงบบริการ P&P ปี 2557ส่วนที่ (1) P&P ที่บริหารระดับประเทศ จำนวน 23 บาทต่อคน เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ
กรอบแนวทางบริหารงบบริการ P&P ปี 2557ส่วนที่ (2) P&P สำหรับระดับพื้นที่ จำนวน 66.38 บาทต่อคน เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ
กรอบแนวทางบริหารงบบริการ P&P ปี 2557ส่วนที่ (3) P&P สำหรับบริการพื้นฐาน จำนวน 192 บาทต่อคน เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ
กรอบแนวทางบริหารงบบริการ P&P ปี 2557ส่วนที่ (4)สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ P&P) • จำนวน 7.50 บาทต่อคน เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ • การกำกับติดตามและประเมินผล • การพัฒนาระบบสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการ (พัฒนาระบบ กลไกการบริหารจัดการ/การบริการ ศักยภาพบุคลากร ระบบข้อมูลสารสนเทศ) • พัฒนาศักยภาพองค์กรเอกชน/ภาคประชาชน และระบบสุขภาพชุมชน • แนวทางบริหารจัดการ • ไม่น้อยกว่า 6 บาทต่อคน บริหารจัดการเป็น global budget ระดับเขต โดย สปสช.เขต • ส่วนที่เหลือบริหารจัดการระดับประเทศโดย สปสช.
ตัวชี้วัดบริการ P&P จากงบบริการ P&Pของกองทุนปี 2557 • ยึดตัวชี้วัดบริการพื้นฐาน 20 ตัวและแผนงานส่งเสริมป้องกันตามกลุ่มวัย (8Flagships) ของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก แต่จะมีการหารือเพื่อกำหนดตัวชี้วัดบริการ P&P เท่าที่จำเป็น โดย • เลือกเฉพาะที่สะท้อนผลบริการ P&P รายบุคคลและครอบครัว • เพิ่มเติมให้ครบถ้วน สำหรับบางบริการ P&P รายบุคคลและครอบครัว • จะเสนอคณะอนุกรรมการส่งเสริมและป้องกันโรคพิจารณาต่อไป • ตัวอย่างข้อเสนอตัวชี้วัดที่จะปรับปรุง
1.5 บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์
กรอบการบริหารงบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ ปี 2557 เหมือนปี2556 งบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ (14.95 บาทต่อผู้มีสิทธิ) งบบริการฟื้นฟูและอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ (ไม่น้อยกว่า 13.45 บาทต่อผู้มีสิทธิ) งบสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการ (ไม่เกิน 1.50 บาทต่อผู้มีสิทธิ) • สำหรับหน่วยบริการองค์กรคนพิการ และกองทุนฟื้นฟูฯ ระดับจังหวัด • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดบริการของหน่วยบริการตามความพร้อม • ส่งเสริมศักยภาพองค์กรคนพิการ/ผู้ดูแล • ส่งเสริมระบบบริการในชุมชนร่วมกับอปท. • ส่งเสริมกำลังคนด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ • ส่งเสริมการจัดบริการรูปแบบใหม่และพัฒนาองค์ความรู้ • สำหรับหน่วยบริการ และกองทุนฟื้นฟูฯ ระดับจังหวัด • ค่าอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ(จัดหา ผลิต ซ่อม) • ค่าบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการผู้สูงอายุ ผู้ป่วย sub acute(บริการผู้ป่วย OPD และในชุมชน) • ค่าฝึกการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ