1.01k likes | 2.95k Views
JUST IN TIME. FOR OPERATOR. การผลิตแบบทันเวลาพอดี. นิยามคำว่าการผลิตแบบทันเวลาพอดี ความสูญเปล่าชนิดต่างๆ. การผลิตที่ปรับเรียบ Takt Time ระบบคัม บัง. การวางผังเครื่องจักร การเดินเครื่องหลายๆเครื่อง การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ การทำเป็นมาตรฐาน. หัวข้อที่จะนำเสนอ. Just in Time.
E N D
JUST IN TIME FOR OPERATOR การผลิตแบบทันเวลาพอดี
นิยามคำว่าการผลิตแบบทันเวลาพอดีนิยามคำว่าการผลิตแบบทันเวลาพอดี • ความสูญเปล่าชนิดต่างๆ • การผลิตที่ปรับเรียบ • Takt Time • ระบบคัมบัง • การวางผังเครื่องจักร • การเดินเครื่องหลายๆเครื่อง • การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ • การทำเป็นมาตรฐาน หัวข้อที่จะนำเสนอ Just in Time • ระบบ 5 ส • การจัดการด้วยสายตา • Poka-Yoke • การบำรุงรักษาแบบทุกคนมีส่วนร่วม
“ทำการผลิตเฉพาะสินค้าหรือชิ้นส่วนที่ลูกค้าต้องการ ภายในเวลาและปริมาณที่ลูกค้าต้องการ” • พัฒนาขึ้นครั้งแรกที่บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ จากการประยุกต์แนวคิดของระบบซุปเปอร์มาเก็ตหรือระบบดึง มาสร้างระบบการผลิตที่เรียกว่าระบบการผลิตแบบ Toyota (Toyota Production System : TPS) การผลิตแบบทันเวลาพอดี(Just-in-time) : JIT
ระบบการผลิตแบบเน้นปริมาณ(Mass Production) “การผลิตแบบปริมาณมาก มีรุ่นการผลิตที่ใหญ่ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตโดยเฉพาะในส่วนของต้นทุนทางอ้อมต่อหน่วยให้ต่ำลง” • ชิ้นส่วนและวัตถุดิบจะถูกผลิตขึ้นแล้วส่งต่อไปกระบวนการถัดไป โดยไม่ได้พิจารณาถึงความต้องการ ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT) • สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายได้มากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูง และมีเวลานำ (Lead Time) ที่สั้นลง
Waste ความสูญเปล่าหลักๆ ทั้ง 8ชนิด • ข้อบกพร่อง (Defect) • การผลิตมากเกินไป (Overproduction) • กระบวนการผลิต (Processing) • การขนส่ง(Transport) • สินค้าคงคลัง (Inventory) • การเคลื่อนไหว(Movement) • การรอคอย (Waiting) • ความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ (Unused Employee Creativity)
การผลิตมากเกินไป • การผลิตมากเกินไป เกิดจากการผลิตสินค้าที่ไม่มีการสั่งซื้อ ทำให้มีสินค้าคงคลังที่มากเกินไป • สินค้าคงคลัง ก็เป็นความสูญเปล่า ยิ่งมีมากก็ทำให้เกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตมากขึ้นตามไปด้วย • ปกปิดปัญหาที่เกิดขึ้นในสายการผลิต • ทำให้เกิดต้นทุนจม
กระบวนการ (Process)คือ การไหลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวัตถุจะถูกปรับเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป กระบวนการผลิตมีการดำเนินงานอยู่ 4 แบบ ได้แก่ • การแปรรูป (Transformation): การเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือคุณภาพ • การตรวจสอบ (Inspection) : การเปรียบเทียบกับมาตรฐาน • การขนส่ง (Transport) : การเปลี่ยนสถานที่ เคลื่อนย้าย • การจัดเก็บ (Storage) : ช่วงเวลาที่ไม่มีการทำงาน การขนส่ง หรือการตรวจสอบเกิดขึ้น การปฏิบัติการ (Operation)คือ การกระทำใดๆ ที่คนงานหรือเครื่องจักรปฏิบัติต่อวัตถุดิบหรือชิ้นงาน กระบวนการและการปฏิบัติการ
การปรับเรียบการผลิต (Leveled Production) คือ การจัดการลดความไม่สม่ำเสมอในการผลิตทั้งในส่วนของปริมาณการผลิตและลำดับการผลิต ด้วยการเฉลี่ยจำนวณชนิดและปริมาณการผลิตสินค้าในแต่ละช่วงเวลาให้ใกล้เคียงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการผลิตสินค้าที่มากเกินไป และลดเวลานำในการผลิต เพื่อรองรับต่อความต้องการที่มีหลากหลายได้ยิ่งขึ้น
ตัวอย่างแผนการผลิตประจำเดือนตัวอย่างแผนการผลิตประจำเดือน • -การสั่งซื้อของลูกค้าต่อเดือน = 35,000 • A 20,000 ชิ้น • B 10,000 ชิ้น • C 5,000 ชิ้น จะมีการจัดลำดับการผลิตให้ผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการมากและมีผลิตมากในต้นเดือนเป็นชุดใหญ่ แล้วตามด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการรองลงมาเป็นชุดๆ การกำหนดตารางการผลิตแบบShish-kebab
Takt Time : อัตราความต้องการสินค้าของลูกค้า เป็นรอบเวลามาตรฐานในการทำงาน เพื่อนำไปใช้สำหรับควบคุมการผลิต จัดสมดุล และปรับเรียบการผลิต
การจัดลำดับการผลิต หลังจากคำนวณ Takt Time แล้วสามารถนำมาหาปริมาณการผลิตของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดได้
ระบบคัมบัง (Kanban) : แผ่นป้ายที่ให้ข้อมูลข่าวสารในการสั่งงานแบบอัตโนมัติแก่พนักงานหรือผู้เกี่ยวข้อง ว่าจะผลิตหรือเคลื่อนย้ายอะไร เมื่อไร เท่าไร ที่ไหน ด้วยวิธีการอย่างไร เป็นต้น โดยคัมบังจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับชิ้นงาน อาจจะใช้อุปกรณ์อื่นๆแทนแผ่นป้ายก็ได้เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา
ชนิดของคัมบัง : มี 3 ชนิด คือ • คัมบังสั่งเคลื่อนย้าย : สั่งให้กระบวนการรับชิ้นงานมาจากกระบวนการก่อนหน้า • คัมบังการผลิต : สั่งให้กระบวนการก่อนหน้าผลิตชิ้นงานเพิ่ม • คัมบังผู้จัดส่งวัตถุดิบ : สั่งให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบจากภายนอกจัดส่งชิ้นงานเพิ่ม
ระบบดึง (Pull Production System) จะผลิตเมื่อมีความต้องการเท่านั้น ใช้คัมบังในระบบการผลิตแบบดึง โดยจะมีการผลิตชิ้นงานก็ต่อเมื่อกระบวนการถัดไปเบิกชิ้นงานออกไป ส่งผลให้เกิด “การดึง”
ระบบผลัก (Push Production System) ใช้ในการผลิตแบบชุดใหญ่ๆ (Large-lot Production) จะทำการผลิตชิ้นงานตามแผนการผลิตที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับแต่ละกระบวนการจะทำให้เกิด การผลัก ชิ้นงานไปข้างหน้าต่อๆไปตามแผนการผลิต แม้ลูกค้าไม่มีการสั่งซื้อก็ตาม ระบบนี้จึงทำให้เกิดสินค้าคงคลังมากเกินไป ซึ่งถือเป็นความสูญเปล่า
ความสูญเปล่าที่เป็นผลมาจากการวางผังตามการปฏิบัติการความสูญเปล่าที่เป็นผลมาจากการวางผังตามการปฏิบัติการ การขนถ่าย (Conveyance) พื้นที่ที่สูญเปล่า (Waste Space) ความล่าช้าจากการผลิตเป็นชุด (Lot Delays) การปรับปรุงกระบวนการและทำให้เป็นมาตรฐาน
กำจัดความสูญเปล่าจากการขนถ่ายชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิต • ระยะทางไกลๆ • วัสดุและชิ้นงานไหลผ่านกระบวนการผลิตทีละน้อยๆ • ไม่มีชิ้นงาน WIP จำนวนมาก • ประหยัดพื้นที่ • ขจัดความล่าช้าจากการผลิตเป็นชุด ทำให้ชิ้นงานไหลผ่าน • กระบวนการผลิตได้เร็วขึ้น ประโยชน์จากการวางผังตามการไหลของกระบวนการ
การหลีกเลี่ยงความสูญเปล่าของการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคนและเครื่องจักรจากวางผังเครื่องจักรตามกระบวนการผลิตการหลีกเลี่ยงความสูญเปล่าของการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคนและเครื่องจักรจากวางผังเครื่องจักรตามกระบวนการผลิต - การอบรมข้ามสายงาน (Cross-training) - การเคลื่อนไหวไปพร้อมกับงาน การเดินเครื่องจักรหลายๆเครื่อง
“ขั้นตอนการผลิตขั้นสุดท้ายจะอยู่ใกล้กับขั้นตอนแรกมากๆ ดังนั้นพนักงานจึงไม่ต้องเดินไกลเพื่อไปเริ่มต้นรอบการผลิตครั้งต่อไป” เซลล์รูปตัว U
เครื่องจักรที่มีขนาดเล็กเครื่องจักรที่มีขนาดเล็ก - เพื่อดำเนินการผลิตชิ้นงานเพียงชิ้นหนึ่ง หรือ 2-3 ชิ้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ แทน การผลิตแบบชุดใหญ่ - ลดระยะทางในการเดินและจะไม่มีพื้นที่เหลือสำหรับชิ้นงาน WIP ที่เก็บสะสมมากเกินไป - ราคาถูกกว่าเครื่องจักรใหญ่และใช้งานและซ่อมบำรุงได้ง่ายกว่า • เครื่องจักรที่มีความยืดหยุ่น - สามารถติดตั้งอย่างรวดเร็วได้โดยง่าย เพื่อให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายชนิดมากยิ่งขึ้นในช่วงกะหนึ่งๆ - สามารถเคลื่อนที่ได้ เพื่อย้ายพวกมันไปยังสถานที่อื่นๆได้ตามความจำเป็น หรือเพื่อทำการทดลองการวางผังการผลิตใหม่ เครื่องจักรที่มีความยืดหยุ่นและมีขนาดเล็ก
“ เมื่อพนักงานไม่ต้องคอยเฝ้าดูเครื่องจักรเพื่อตรวจจับปัญหาหรือเพื่อหยิบชิ้นงานออก พวกเขาก็จะมีเวลาที่จะไปทำงานที่เพิ่มมูลค่าต่อไปได้” การควบคุมตัวเองโดยอัตโนมัติ
“เพื่อให้สามารถคาดการณ์รอบการผลิตของกระบวนการได้แต่ละกระบวนการจะต้องกำหนดงานที่เป็นมาตรฐานของตนเอง”“เพื่อให้สามารถคาดการณ์รอบการผลิตของกระบวนการได้แต่ละกระบวนการจะต้องกำหนดงานที่เป็นมาตรฐานของตนเอง” งานที่เป็นมาตรฐาน ส่วนประกอบของงานทั้ง 3 ของงานที่เป็นมาตรฐาน
1. ระบบ 5ส สำหรับการจัดระบบสถานที่ทำงานและการทำให้เป็น มาตรฐาน เทคนิคเสริมสำหรับการผลิตแบบทันเวลาพอดี “ การจัดเตรียมสถานที่ทำงานเบื้องต้นที่ดีเป็นขั้นตอนแรกที่จำเป็นสำหรับโปรแกรมการปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานทุกๆโปรแกรม”
“เทคนิคการจัดการด้วยสายตาจะแสดงข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว”“เทคนิคการจัดการด้วยสายตาจะแสดงข้อมูลออกมาในรูปแบบที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว” 2. เทคนิคการจัดการด้วยสายตา
“เพื่อที่จะได้การผลิตเป็นชุดเล็กๆอย่างคุ้มค่า จะต้องเรียนรู้วิธีที่จะลดเวลาที่ต้องการใช้ในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรลง” 3. วิธีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนขนาดรุ่นได้ง่าย ขั้นตอนในการทำ SMED
“กุญแจไปสู่การมีของเสียเป็นศูนย์คือ การที่ต้องตรวจเจอและป้องกันสภาวะที่ผิดปกติก่อนที่พวกมันจะสามารถทำให้เกิดจุดบกพร่องขึ้นได้” 4. องค์ประกอบของการควบคุมคุณภาพให้มีของเสียเป็นศูนย์
“ TPM ช่วยปรับปรุงประสิทธิผลของอุปกรณ์ด้วยวิธีการหลากหลายแบบซึ่งเกี่ยวข้องกับทุกคนในบริษัท โดยเฉพาะคนงานที่อยู่หน้างานจะมีบทบาทหลักในกิจกรรม TPM ที่เรียกว่า การบำรุงรักษาด้วยตนเอง” 5. การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) เพื่อให้เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อถือได้
“เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตแบบทันเวลาพอดี จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ตัววัดซึ่งจะเสริมแนวทางการดำเนินงานแบบใหม่ให้แข็งแกร่งขึ้น” ตัวอย่างของการวัดสมรรถนะที่ใช้ในการผลิตแบบ JIT : - อัตราส่วนการเพิ่มคุณค่า (Value-added Ratio) - เวลานำในการผลิต (Production Lead Time) - ระดับสินค้าคงคลัง (Inventory Level) - เวลาที่ใช้ในการติดตั้งเครื่องจักร (Setup Time) - ระยะเคลื่อนย้าย (Distance Moved) - อัตราของเสีย (Defect Rate) - ค่าประสิทธิผลของเครื่องจักรโดยรวม (Overall Equipment Effectiveness : OEE) วิธีการวัดความเป็นเลิศแบบใหม่
Questions & Comments ….THANK YOU….