570 likes | 857 Views
การประชุมชี้แจง แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556. Thailand ICT Master Plan 2009-2013. วัตถุ ประสง ค์ ของการ จัด งาน. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สาระสำคัญของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 ต่อสาธารณะ
E N D
การประชุมชี้แจงแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 Thailand ICT Master Plan 2009-2013
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน • เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สาระสำคัญของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 ต่อสาธารณะ • เพื่อทำความเข้าใจกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามแนวทางที่ระบุในแผนแม่บทฯ ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร • เพื่อทำความเข้าใจกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีฯ เพื่อแปลงแผนแม่บทฯ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
โครงสร้างการนำเสนอ • แนวคิดและกระบวนการในการจัดทำแผนแม่บทฯ • วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย • ยุทธศาสตร์และมาตรการ • ความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และวัตถุประสงค์/เป้าหมาย • กลไกในการนำแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ • โครงการเร่งด่วน
เส้นเวลาของนโยบายเทคโนโลยสารสนเทศและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารของประเทศไทยเส้นเวลาของนโยบายเทคโนโลยสารสนเทศและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารของประเทศไทย แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙ ปี พ.ศ. ๔๓ ๔๔ ๔๕ ๔๖ ๔๗ ๔๘ ๔๙ ๕๐ ๕๑ ๕๒ ๕๓ ๕๔ ๕๕ ๕๖ ๕๗ ๕๘ ๕๙ ๖๐ ๖๑ ๖๒ ๖๓ กรอบนโยบาย IT2010 (๒๕๔๔-๒๕๕๓) กรอบนโยบาย IT2020 (๒๕๕๔-๒๕๖๓) แผนแม่บท ICT ของประเทศไทย (๑) พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๙ ขยายระยะเวลา ๒๕๕๑ แผนแม่บท ICT ของประเทศไทย (๒) พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๖ แผนแม่บท ICT ของประเทศไทย (๓) พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๑ การศึกษาเพื่อประเมินกรอบนโยบาย IT 2000 งานจัดทำแผนแม่บท(๒) งานจัดทำนโยบายIT2020 ทำแผนปฏิบัติ
มติคณะรัฐมนตรี 11 กันยายน 2550 • แผนแม่บท ICT • เห็นชอบให้ขยายเวลาแผนแม่บทฉบับที่ 1 จนถึงปี 2551 (โดยแผนแม่บทฉบับที่ 2 ซึ่งกระทรวง ICT เสนอมีระยะเวลา 5 ปี คือ พ.ศ.2552-2556) • ให้กระทรวง ICT ประสานให้บุคลากรของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ • กรอบนโยบายระยะยาว • การจัดทำกรอบนโยบายICT 2020 ควรเร่งดำเนินการโดยเร็ว และให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
แนวคิดในการจัดทำแผนแม่บทฯแนวคิดในการจัดทำแผนแม่บทฯ • ทำอย่างไรประเทศไทยจะแข่งขันได้ (ด้วย ICT) และทำอย่างไรประเทศไทยจะพึ่งพาตนเอง (ด้าน ICT) ได้มากขึ้น ? • เราจะเพิ่มการใช้ประโยชน์จาก ICTให้มากกว่าที่ผ่านมาได้อย่างไร !!! • เราจะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนา ICT กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างไร!!! เน้นการใช้ stakeholders consultation
E-readiness rankings(EIU &IBM Institute for Business Value) ลำดับที่
Networked Readiness Index (WEF) ลำดับที่
World Competitiveness Yearbook: Technological Infrastructure (IMD) ลำดับที่
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับประเทศหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับประเทศ • โครงสร้างพื้นฐานด้านการเชื่อมโยงและ เทคโนโลยี (20%) • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (15%) • สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม (15%) • สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย (10%) • นโยบายและวิสัยทัศน์ของรัฐบาลต่อ ICT (15%) • การปรับใช้ ICT ของผู้บริโภคและธุรกิจ (25%) E-Readiness Rankings • โครงสร้างพื้นฐาน (20%) • ราคาที่ย่อมเยา (20%) • ความรู้ (20%) • คุณภาพ (20%) • การใช้ ICT ที่แท้จริง (20%) DAI Networked Readiness Index • สภาพแวดล้อม (1/3): ตลาด กฎระเบียบและ การเมือง โครงสร้างพื้นฐาน • ความพร้อม (1/3): ส่วนบุคคล ภาคธุรกิจ และภาครัฐ • การใช้ (1/3): : ส่วนบุคคล ภาคธุรกิจ และภาครัฐ World Competitiveness Yearbook • โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี (5%)
ทำไมการจัดอันดับความสามารถด้าน ICT จึงสำคัญ ? มิติภายนอก:เพื่อส่งเสริมธุรกิจและการลงทุนจากต่างชาติ มิติภายนอก มิติภายใน มิติภายใน: • เพื่อประเมินความสามารถ ในการแข่งขันด้าน ICT ของไทยเมื่อเทียบกับ ต่างประเทศ • เพื่อพัฒนาภาค ICT ของไทย
ตัวชี้วัดสำคัญที่ประเทศไทยได้คะแนนน้อยตัวชี้วัดสำคัญที่ประเทศไทยได้คะแนนน้อย สมาชิก บรอดแบนด์ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์พื้นฐาน คอมพิวเตอร์ E-Readiness (EIU) DAI (ITU) NRI (WEF) Tech. Infra. WCY (IMD)
ปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งอันดับการพัฒนา ICT ของประเทศไทยในทุกๆ ดัชนีคือ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ซึ่งยังมีไม่เพียงพอและยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง ทำให้การพัฒนาและการใช้ประโยชน์ของ ICT เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ การพัฒนาธุรกิจ การให้บริการของภาครัฐ ไม่สามารถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ควรให้ความสนใจกับการแก้ไขจุดอ่อนที่สำคัญโดยเร่งด่วนในช่วงของแผนแม่บทฯ ฉบับที่ 2 ได้แก่ เรื่องคน ที่ต้องพัฒนาทั้งในปริมาณและคุณภาพ และเรื่องการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ (National ICT governance) ที่ต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มิฉะนั้นแล้ว จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาในเรื่องอื่นๆ ต่อไป เนื่องจากทั้งสองประเด็นถือเป็นปัจจัย พื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนา
ขั้นตอนในการผลักดันแผนแม่บทฯขั้นตอนในการผลักดันแผนแม่บทฯ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เริ่มดำเนินงาน นำเสนอต่อคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NITC) ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๑ รับฟังความคิดเห็นสาธารณะรวม ๖ ครั้ง ๔-๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๑ ปรับปรุงแก้ไขตามข้อสังเกตของ NITC และการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ๓๐ กรกฎาคม-๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๑ เสนอ NITC พิจารณาให้ความเห็นชอบ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๒ เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ การดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ
มติคณะรัฐมนตรี 5 สิงหาคม 2552 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ ทั้ง 4 ข้อ ดังนี้ 1.เห็นชอบร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552-2556 2. ให้ทุกกระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำและ/หรือปรับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) 3. มอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (กทสช.) รับผิดชอบการดำเนินการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และเป็นหน่วยงานประสานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณ รองรับแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) รวมถึงการติดตามประเมินผลเพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมต่อไป 4. ให้หน่วยงานกลางที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรและการบริหารจัดการภาครัฐ(สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ) นำแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) มาใช้เป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการ ปรับปรุงโครงสร้าง และจัดสรรทรัพยากรทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาของแผนแม่บทฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552-2556 ต่อไป
ลำดับของการนำเสนอแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย บทที่ 2 Role ofICTin NationalDevelopmentContext บทที่ 1Intro-duction บทที่ 6Managementand Evaluation บทที่ 3 Status of ICTDevelopment บทที่ 5 Implementa-tion time- frame บทที่ 4 DevelopmentStrategies การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของแผนแม่บท ICT การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล บทนำ สถานภาพการพัฒนา ICT ของประเทศไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนา ICT ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยและบทบาทของ ICT
สรุปหลักการและประเด็นสำคัญของแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (1) • มีเป้าหมายในเชิงการพัฒนาสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • สานความต่อเนื่องทางนโยบายจาก IT2010 และแผนแม่บทฯ(ฉบับที่ 1) ที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย • เน้นแก้ไขจุดอ่อนที่สำคัญ 2 ประการเป็นลำดับแรก ได้แก่ การพัฒนาคน และการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการเร่งพัฒนาโครงข่ายความเร็วสูงให้มีการกระจายอย่างทั่วถึงและราคาเป็นธรรมเนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการพัฒนาในสังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้และนวัตกรรม ที่อาศัย ICT เป็นพลังขับเคลื่อนหลัก และเป็นสิ่งที่ประเทศไทยยังมีระดับการพัฒนาที่ด้อยกว่าหลายๆ ประเทศ
สรุปหลักการและประเด็นสำคัญของแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (2) • สอดคล้องกับทิศทาง/เป้าหมายของการพัฒนา ICT ระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสร้างโอกาสในการเข้าถึง ICT ของประชาชนภายใน พ.ศ 2558 (ค.ศ. 2015) จากการประชุม World Summit on the Information Society และเป้าหมายในการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม (Universal access to broadband) ภายในปี 2015 ตามปฏิญญากรุงเทพ • ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่มุ่งเน้นให้เกิดธรรมาภิบาล ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ ที่ต้องบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาลและการใช้ ICT ในภาครัฐ เพื่อช่วยสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
สรุปหลักการและประเด็นสำคัญของแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (3) โดยประเด็นเรื่องการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ (ยุทธศาสตร์ที่ 2) เป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อแก้ไขจุดอ่อนของการพัฒนา ICT ของประเทศที่พบจากการวิเคราะห์ SWOT ที่ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยยังมีจุดอ่อนและต้องปรับปรุงในเรื่องการบริหารจัดการ ICT ระดับชาติ เพื่อให้มีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีกลไกการทำงาน (รวมถึงการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ) ที่เอื้อให้เกิดการบูรณาการ และลดการซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงาน ส่วนประเด็นเรื่องการใช้ ICT สนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในภาครัฐ (ยุทธศาสตร์ที่ 4) เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการด้วยเช่นกัน เนื่องจากภาครัฐเป็นกลไกที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ และควรมีบทบาทเป็นผู้นำในการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารและการบริการที่ให้แก่ประชาชน ซึ่งก็ต้องมุ่งเป้าให้เกิดธรรมาภิบาลด้วย
สรุปหลักการและประเด็นสำคัญของแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (4) • ใช้แนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลด้วยการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดย - เร่งพัฒนาคนให้มีความสามารถที่จะสร้างของเพื่อใช้เองได้ และพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา และการส่งเสริมผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว - คำนึงถึงความพร้อมด้านทรัพยากร และการใช้อย่างคุ้มค่า • ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการใช้ ICTเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความได้เปรียบในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการที่ไทยมีศักยภาพ โดยเฉพาะในภาคการเกษตร การท่องเที่ยว และการบริการด้านสุขภาพ โดยใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมไทย และเอกลักษณ์ของไทย
วิสัยทัศน์ของแผนแม่บท ICT ประเทศไทยเป็นสังคมอุดมปัญญา (Smart Thailand) ด้วย ICT “สังคมอุดมปัญญา” ในที่นี้หมายถึง สังคมที่มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างชาญฉลาดโดยใช้แนวปฏิบัติของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประชาชนทุกระดับมีความเฉลียวฉลาด (Smart)และรอบรู้สารสนเทศ (Information Literacy)สามารถเข้าถึงและใช้สารสนเทศอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมมีวิจารณญาณและรู้เท่าทันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม มีการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาล(Smart Governance)เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสู่เศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้และนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและมั่นคง
วิสัยทัศน์-พันธกิจ-วัตถุประสงค์วิสัยทัศน์-พันธกิจ-วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มปริมาณและศักยภาพของกำลังคน 2. สร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ICT 3. สนับสนุนการปรับโครงสร้าง การผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า 4. สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและปัจเจกบุคคล 5. สร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรม ICT พันธกิจ 1. พัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ 2. พัฒนาโครงข่าย ICT ความเร็วสูง 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการ ICT ที่มีธรรมาภิบาล วิสัยทัศน์ “SMART” Thailand
เป้าหมาย • ประชาชนอย่างน้อย 50% มีความรอบรู้ สามารถเข้าถึงและใช้ ICT ได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน • ยกระดับความพร้อมด้าน ICTใน Networked Readiness Indexให้อยู่ในกลุ่ม Top quartile (25%) • มีสัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรม ICTต่อ GDP ไม่น้อยกว่า 15%
ยุทธศาสตร์การพัฒนา SMART Thailand ใช้ ICT เพื่อสนับสนุนให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารและบริการของรัฐ ใช้ ICT เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันอย่างยั่งยืน (Strategic Sectors, SMEs) 4 6 Hardware Software Communication พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT พัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรม ICT 3 5 บริหารจัดการ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล(Institutional arrangement, Rules and Regulation, Financing, …) 2 พัฒนากำลังคน (ICT Professionals and “Information-Literate” People) 1
ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (1) พัฒนากำลังคน การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตและใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Information Literacy) เน้นการสร้างบุคลากรทักษะสูง (highly skilled professionals)สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เน้นความสามารถในการใช้อย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ 26
กลุ่มเป้าหมายของการพัฒนากลุ่มเป้าหมายของการพัฒนา • สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรม • สนับสนุน R&D เทคโนโลยีขั้นสูง การศึกษาขั้นพื้นฐาน แรงงาน อาจารย์มหาวิทยาลัย พัฒนากำลังคน ผู้ด้อยโอกาส • จัดทำหลักสูตร/ อบรม ICT แก่ผู้สูงอายุ • ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี อุปกรณ์ เครื่องมือ และถ่ายทอดสู่ภาคการผลิต/ผู้ใช้ การศึกษานอกระบบ บุคลากรภาครัฐ • กำหนดมาตรฐานความรู้ด้าน ICT สำหรับบุคลากรทุกระดับ • จัดตั้งสถาบันพัฒนาความรู้ด้าน ICT แก่ข้าราชการ • พัฒนาความเข้มแข็งของ CIO ภาครัฐ (รวม อปท.)
ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนากำลังคน
ยุทธศาสตร์ที่ 1: พัฒนากำลังคน พัฒนากำลังคน การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลิตและใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Information Literacy) โดยสรุป.... ในช่วง 5 ปีของแผนฯ จะมุ่งเน้น • การเตรียมการด้านการศึกษาเพื่อสร้างรากฐาน/เตรียมคนไว้สำหรับการพัฒนาในอีก 5-10 ปีข้างหน้า • สร้างทักษะของคนให้เก่งขึ้น โดยเน้น learning process and skill building เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (2) บริหารจัดการICT การบริหารจัดการระบบ ICT ของประเทศอย่างมีธรรมาภิบาล • เป้าหมายสำคัญ – “Leadership and Governance” • มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรขับเคลื่อนวาระ แห่งชาติด้าน ICT สามารถประสานให้เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ • มีสภา ICT เพื่อเป็นตัวแทนของภาคเอกชนในการประสาน นโยบายและทำงานร่วมกับภาครัฐ • มีกฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการใช้ ICT • มีกระบวนการจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เน้นการ บูรณาการ ลดความซ้ำซ้อน
ยุทธศาสตร์ที่ 2: บริหารจัดการ ICT อย่างมีธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (3) โครงสร้างพื้นฐานICT การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้กระจายทั่วถึงไปสู่ประชาชนทั่วประเทศ เป้าหมายสำคัญ –“Broadband Infrastructure” • ทุกครัวเรือนและสถานประกอบการในจังหวัดศูนย์กลางความเจริญ สามารถเข้าถึงบริการ เครือข่ายความเร็วสูง • สถาบันการศึกษาระดับมัธยมขึ้นไป เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ความเร็วอย่างน้อย 10 Mbps • ห้องสมุดประชาชน/ศูนย์การเรียนชุมชน/ศูนย์สารสนเทศชุมชน เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ ความเร็วอย่างน้อย 4 Mbps • สถานพยาบาลและสถานีอนามัยในชนบทห่างไกลทั่วประเทศเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ที่ ความเร็วอย่างน้อย 4 Mbps และมีระบบการแพทย์ทางไกลที่มีประสิทธิภาพและใช้ได้จริง • มีระบบการแจ้งเตือน และการจัดการภัยพิบัติที่ทันสมัย ดำเนินการได้สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล • มีการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคมและโครงข่าย ICT ที่ทันสมัย พร้อมบุคลากรใน กิจการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสาธารณะ • มี National Information Security Plan ภายในปี 2553
ยุทธศาสตร์ที่ 3: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT
ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (4) e-Governance การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ เป้าหมายสำคัญ– “Enhance e-Services Delivery” • มีบริการพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น single window ใช้บริการได้ ผ่านสื่อหลายประเภท ออกแบบและพัฒนาโดยใช้ประชาชนเป็น ศูนย์กลาง • ทุกหน่วยงานมีช่องทางสำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะผ่านบริการออนไลน์ • ยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของ e-government services (ดูจาก e-government performance rankings) • มีการใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอย่างน้อย 30% ในโครงการ ICT ของภาครัฐ
ยุทธศาสตร์ที่ 4: การใช้ ICT ในการบริหารจัดการภาครัฐ
ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (5) อุตสาหกรรมICT ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ เป้าหมายสำคัญ – Strengthen ICT Industry • สัดส่วนของซอฟต์แวร์ที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่า 50% ของมูลค่า ตลาดในประเทศโดยรวมมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์ของไทยเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ. 2551 อย่างน้อย 30% • มูลค่าของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภายในประเทศเติบโตเป็นไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาทภายในปี 2556 • มูลค่าตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ในประเทศเติบโตไม่น้อยกว่า 165,000ล้านบาทภายในปี พ.ศ. 2556 โดยมีสัดส่วนที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่า 50%
ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (5) อุตสาหกรรมICT ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ เป้าหมายสำคัญ • เพิ่มการลงทุนในการวิจัยด้าน ICT ของภาครัฐและเอกชนอย่างน้อย15% จากปี พ.ศ. 2551 • มีเมืองที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ICT ในระดับโลกในประเทศไทย • ผู้ประกอบการ ICT ไทยได้ทำโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20% จากปีพ.ศ. 2551 • บริษัทที่ให้บริการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10%
ยุทธศาสตร์ที่ 5: ยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรม ICT
ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (6) ความสามารถในการแข่งขัน การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เป้าหมายสำคัญ –Strengthen our “Niche” • ลดค่าใช้จ่ายด้าน logistics ตามที่ระบุในยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบLogistics ของประเทศไทย • สัดส่วนสถานประกอบการ (เน้น SMEs) ที่เข้าถึงและใช้ ICT มากขึ้น • เพิ่มสถานประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และ และเพิ่มมูลค่าของ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ • เพิ่มการจ้างแรงงานด้าน ICT เป็น 200,000 คน • ยกระดับ e-Readiness Rankings เพิ่มขึ้น 10 อันดับ เน้นภาคเกษตร ท่องเที่ยว และบริการสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 6: การใช้ ICT เพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน
เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ของแผนและยุทธศาสตร์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ของแผนและยุทธศาสตร์
เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายของแผนและยุทธศาสตร์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายของแผนและยุทธศาสตร์
กลไกการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติกลไกการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จัดทำ/ปรับแผนแม่บทฯ กระทรวงและแผนปฏิบัติการ ติดตามประเมินผล กระทรวง ICT (ดำเนินการและประสาน) กระทรวง ทบวง กรม กระทรวง ทบวง กรม การนำนโยบาย ไปสู่การปฏิบัติ ดำเนินโครงการ/กิจกรรม จัดสรรทรัพยากร กระทรวง ทบวง กรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. กระทรวง ทบวง กรม
โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 1 โครงการนำร่องการจัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษา และ Finishing School เพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้และทักษะด้าน ICT ที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม โครงการส่งเสริมการผลิตบุคลากรระดับปริญญาโทสายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และวิทยาการซอฟต์แวร์ โครงการจัดตั้งสถาบันเฉพาะทางด้าน ICT เพื่อผลิตบุคลากรที่มีทักษะสูง โครงการเร่งรัดการผลิตบุคลากรด้านความมั่นคงของระบบสารสนเทศ (Information security) ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โครงการเร่งรัดการเพิ่มจำนวนบุคลากรด้าน ICT ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล โครงการสนับสนุนให้บุคลากรนักพัฒนาของไทยเข้าร่วมโครงการระดับโลก (International Forum) โครงการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับจริยธรรมในการใช้ ICT เพื่อใช้เป็นหลักสูตรภาคบังคับสำหรับการศึกษาระดับต่างๆ โครงการจัดทำมาตรฐานความรู้ด้าน ICT สำหรับข้าราชการและบุคลากรของรัฐ โครงการศึกษาแนวทางและกลไกในการประเมินและทดสอบความรู้ด้าน ICT ของข้าราชการและบุคลากรของรัฐ พัฒนากำลังคน
โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 1 โครงการจัดตั้งสถาบัน e-Government เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน ICT ให้แก่บุคลากรภาครัฐ โครงการศึกษาเพื่อประเมินผลการดำเนินมาตรการที่กำหนดให้ทุกหน่วยงานของรัฐมีผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะ โครงการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ในการใช้งาน ICT ของชุมชนผ่านศูนย์สารสนเทศชุมชน โครงการปรับปรุงการจัดทำเว็บไซต์ภาครัฐ ให้ได้ตามมาตรฐาน Web accessibility โครงการศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ closed caption ในการให้บริการสื่อโทรทัศน์สำหรับประเทศไทย โครงการส่งเสริมนวัตกรรมการวิจัยด้าน ICT สำหรับผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ โครงการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ICT ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2553-2557) พัฒนากำลังคน
โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 2 โครงการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบการผลักดันวาระด้าน ICT ของประเทศและประสานงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ โครงการจัดตั้งสภา ICT โครงการสร้างความตระหนักและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ICT และกลไกการบังคับใช้แก่ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป โครงการพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมให้มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย ICT โครงการศึกษาเพื่อประเมินผลในการบังคับใช้กฎหมายที่ออกมาแล้วทั้งหมด โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสภา CIO ภาครัฐ บริหารจัดการ ICT ระดับชาติ
โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 3 โครงการแปรสัญญาร่วมการงานของธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อส่งเสริมการแข่งขันเสรี โครงการยกร่างกฏหมายเกี่ยวกับธุรกิจบริการสื่อสารดาวเทียม และเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ โครงการนำร่องพัฒนาจังหวัดบรอดแบนด์ โครงการนำร่องเพื่อทดสอบการใช้งาน Next Generation Network โครงการพัฒนาระบบการเตือนภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล โครงการศึกษาแนวทางการเปลี่ยนผ่านระบบการแพร่ภาพกระจายเสียงจากระบบอนาลอกไปสู่ระบบดิจิทัล โครงสร้างพื้นฐาน ICT
โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 3 โครงการจัดทำฐานข้อมูลความต้องการใช้บริการ ICT และฐานข้อมูลพื้นที่ให้บริการของโครงข่ายที่มีในปัจจุบัน โครงการศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังภัยคุกคามด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการสร้างความรู้และความตื่นตัวต่อภัยอันอาจเกิดขึ้นกับโครงข่ายสารสนเทศและแนวทางในการป้องกันภัยที่เหมาะสม โครงสร้างพื้นฐาน ICT
โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 4 โครงการจัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อให้โครงข่ายภาครัฐสามารถรองรับการใช้งานและให้บริการอินเทอร์เน็ตโปรโตคอลรุ่น 6 โครงการจัดทำมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับงานด้าน ICT ของภาครัฐ โครงการจัดตั้งกรมสำรวจและจัดทำแผนที่พลเรือน โครงการจัดทำแผนแม่บทด้านโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ (National Spatial Data Infrastructure: NSDI) โครงการศึกษาเพื่อประเมินผลการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ E-Govern-ance
โครงการเร่งด่วน: ยุทธศาสตร์ที่ 5 โครงการศึกษาแนวทางและรูปแบบการจัดตั้งกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม ICT โครงการศึกษาแนวทางและรูปแบบของหน่วยงานที่รับผิดชอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์/เทคโนโลยี ด้าน ICT โครงการศึกษาแนวทางและมาตรการเพื่อกระตุ้นการขยายตลาด ICT ของประเทศไทย โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าร่วมดำเนินงานในโครงการ ICT ของภาครัฐ โครงการจัดทำฐานข้อมูลผู้ประกอบการ และตลาด ICT ของประเทศไทย และตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพเป็นคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ โครงการศึกษาแนวทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ดิจิทัลคอนเทนต์ของประเทศไทย โครงการส่งเสริมการใช้และพัฒนาโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ ICT IndustryCompeti-tiveness