341 likes | 1.09k Views
วิชา การเงินส่วนบุคคล. ผู้สอน อ.ธารทิพย์ แก้วธรรมา 083-9893218. การประเมิน คะแนน 100 คะแนน 1. สอบกลางภาคเรียน 20 คะแนน 2. สอบปลายภาคเรียน 20 คะแนน 3. จัดทำรายรับ-รายจ่าย 20 คะแนน
E N D
วิชา การเงินส่วนบุคคล ผู้สอน อ.ธารทิพย์ แก้วธรรมา 083-9893218
การประเมิน คะแนน 100 คะแนน 1. สอบกลางภาคเรียน 20 คะแนน 2. สอบปลายภาคเรียน 20 คะแนน 3. จัดทำรายรับ-รายจ่าย 20 คะแนน 4. สรุปข่าวสาร 20 คะแนน 5. มาเรียน + แบบฝึกหัด 20 คะแนน
บทที่ 1 ความหมายและความสำคัญของการเงิน
ความหมายของเงิน “เงิน” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายถึง วัตถุที่ใช้วัดราคาในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันวัตถุที่มีตราของรัฐ ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ได้แก่เหรียญกระษาปณ์และธนบัตร วัตถุที่ใช้ให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนชำระหนี้ เราอาจสรุปได้ว่า เงินใช้สำหรับแลกเปลี่ยนสินค้าและชำระหนี้ ได้ตามกฎหมาย
ความสำคัญของเงิน เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าเงินไม่ใช่สิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของ มนุษย์ เพราะในปัจจุบันเป็นปัจจัยจำเป็นอื่นๆ และปัจจัยฟุ่มเฟือยอื่นๆ ที่มนุษย์ต้องการนำมาเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ดังนั้น บุคคลใดที่มีเงินน้อยก็จะสามมารถซื้อหาปัจจัยต่างๆได้เท่าที่มี เงินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อมนุษย์ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการซื้อขายอลกเปลี่ยน ตามที่ตนเองต้องการได้
หน้าที่ของเงิน 1.เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน 2.เงินเป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่า 3.เงินเป็นตัวเก็บรักษามูลค่า 4.เงินเป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ในอนาคต
แหล่งที่มาของรายได้และค่าใช้จ่ายแหล่งที่มาของรายได้และค่าใช้จ่าย เนื่องจากเรามีปัจจัยในการซื้อหาแลกเปลี่ยนแตกต่างกัน จึงทำให้มนุษย์แต่ละคนมีความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการ มาตอบสนองของตนเองได้แตกต่างจากบุคคลอื่น เราจึงต้องทำ ความเข้าใจกับปัจจัยต่างๆเหล่านี้ เพื่อให้สามารถวางแผนการใช้จ่าย และการจัดทำงาบประมาณได้เหมาะสมกับสภาพการเงินของตนเอง
ปัจจัยที่กำหนดรายได้ของบุคคลปัจจัยที่กำหนดรายได้ของบุคคล สามารถสรุปปัจจัยที่เกี่ยวกับรายได้ของบุคคลต่างๆได้ดังนี้ 1.อายุ เป็นปัจจัยสำคัญประการแรกที่กำหนดรายได้ของบุคคล ซึ่ง สามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยเริ่มตั้งแต่แรกจนถึงวัยเด็กซึ่งเป็นวัยที่ ยังไม่สามารถหารายได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากเด็กยังไม่มีกำลัง ความคิด ประสบการณ์ และต้องการดูแลจากผู้ปกครอง แต่สำหรับบางคนอาจ ใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมานานทำงานที่มีประโยชน์และมีรายได้สูง ก็ได้
2.การศึกษา ระดับการศึกษาเป็นเครื่องกำหนดรายได้ของบุคคล ผู้ที่เรียนจบในระดับสูงคือผู้ได้ศึกษา เรียนรู้ และสั่งสมวิชา คามรู้ต่างๆ ไว้มาก จึงทำงานที่มีความยากซึ่งต้องใช้ความรู้และ ความสามารถสูงจึงได้รับรายได้สูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่า ส่วนพนักงานสำนักงานจะต้องจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป และระดับผู้บริหารจะต้องจบการศึกษาระดับ ปริญญา
3.อาชีพ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการศึกษา เมื่อนักเรียน นักศึกษาจบการศึกษาในวิชาสาขาต่างๆ ก็จะต้องเลือกที่ทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ตนเองได้เรียนมา เช่น ผู้ที่จบสาขาวิชาบัญชี เป็นพนักงานบัญชี ผู้ที่เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ก็ต้องเป็นพนักงานเขียน- โปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4.คุณสมบัติเฉพาะตัว แต่ละบุคคลจะมีคุฯณสมบัติเฉพาะตัวที่ แตกต่างกันออกไป อาจมีสาเหตุมาจากสภาพแว้ล้อม ประสบการณ์ และลักษณะนิสัยของแต่ละบุคคล ได้แก่ ทัศนนิสัย ค่านิยม ความชำนาญ ขวัญและกำลังใจ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อรายของบุคคลได้คือ ความขยัน และอดทนแตกต่างกัน คุณสมบัติต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ กำหนดลักษณะลักษณะนิสัยและความประพฤติของแต่ละบุคคลให้ แตกต่างกันทำให้มีโอกาสในความก้าวหน้าและประสบความสำเร็จ ที่ต่างกัน
แหล่งรายได้ของบุคคล รายได้ คือ ผลตอบแทนที่จากการทำงานรอประกอบอาชีพต่างๆ ซึ่งแต่ละบุคคลอาจจะได้รับรายได้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน และอาจ มีแหล่งที่มาของรายได้แตกต่างกัน และอาจมีแหล่งที่มาของรายได้ หลายทาง โดนสามารถจำแนกแหล่งของรายได้บุคคลได้ ดังนี้
1.เงินเดือนหรือค่าจ้าง เป็นรายได้ที่เกิดจากการทำงานประจำซึ่ง นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเมื่อครบกำหนดในรอบเดือนซึ่งนายจ้างได้ตกลง อัตราเงินเดือนให้กับลูกจ้างตั้งแต่ก่อนเริ่มทำงานหรืออาจจะเป็น การจ่ายเงินในรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้แล้วก็ได้ 2.รายได้จากสวัสดิการ เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากลูกจ้าง ได้รับจากนายจ้างซึ่งเป็นนโยบาย ของบริษัทที่มอบให้เป็นสวัสดิการแก่ พนักงาน ได้แก่ค่ารักษาพยาบาล ของขวัญ วันเกิด ค่าเล่าเรียน เป็นต้น
3.รายได้จากการดำเนินธุรกิจ สำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว จะไม่รายได้เป็นประจำเหมือนกับพนักงานบริษัทหรือรัฐบาล แต่จะเป็นรายได้ที่อยู่ในรูปของกำไรจากการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งอาจไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความสามารถในการดำเนินธุรกิจ สภาพเศรษฐกิจ และ ปัจจัยอื่นๆ 4.รายได้พิเศษ เป็นรายได้ที่เกิดจากการทำงานเสริมนอกเวลา จากการทำงานปกติซึ่งนอกจากจะเป็นบุคคลในวัยทำงานแล้วนักเรียน ก็สามารถทำงานพิเศษเพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระให้แก้ผู้ปกครองได้ ได้แก่ พนักงานเสิร์ฟอาหาร สอนพิเศษ รับจ้างพิมงาน
5.รายได้ดอกเบี้ยต่างๆ ปัจจุบันรายได้เกิดจากดอกเบี้ยมี หลายรูปแบบ ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยหุ้นสหกรณ์ เป็นต้น รายได้ที่เกิดขึ้นแต่ละแหล่งอาจจะมีความแตกต่างกันด้วยปัจจัย หลายประการนอกเหนือจากปัจจัยที่กำหนดรายได้ของบุคคล เช่น สภาพเศรษฐกิจ หากสภาพเศรษฐกิจไม่ดีอาจทำหมีรายได้ต่ำ อัตราได้ ขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายของบุคคลปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายของบุคคล 1.จำนวนรายได้ 2.อายุ 3.รูปแบบการดำรงชีวิต 4.สิ่งแวดล้อม
การวางแผนการใช้จ่ายบุคคลการวางแผนการใช้จ่ายบุคคล การวางแผนการใช้จ่ายส่วนบุคคล หมายถึง การคิดคำนวณ และกำหนดงบประมาณการใช้จ่ายของแต่ละบุคคลเพื่อซื้อสิ้นค้าและ บริการให้สอดคล้องกับรายได้ที่ตนเองมีคาดว่าจะได้รับในอนาคต ด้วยความรอบคอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหารายจ่ายไม่พอกับรายได้ และเป็นการวางแผนมีให้เงินออมสำหรับเงินออมสำหรับใช้จ่ายเมื่อเกิด ความจำเป็นในอนาคต
การวางแผนการใช้จ่ายที่ดีการวางแผนการใช้จ่ายที่ดี 1.ต้องซื้อหรือไม่ 2.ควรซื้ออย่างไร 3.ควรซื้อเมื่อไรและควรซื้อที่ไหน 4.การพิจารณาเกี่ยวกับผู้ขาย
การวางแผนการซื้อสินค้าที่ชาญฉลาดการวางแผนการซื้อสินค้าที่ชาญฉลาด 1.ต้องรู้ให้แน่ชัดว่าเราต้องการอะไร 2.ฝึกฝนให้เป็นคนช่างเปรียบเทียบ 3.ศึกษาข้อมูลจากแนะนำหรือพนักงานขายสินค้า 4.ศึกษาข้อมูลจากฉลากสินค้า 5.คำนึงถึงความประหยัดและคุณค่า 6.ตรวจสอบใบเสร็จเงินและความถูกต้องของสัญญาซื้อขาย 7.การซื้อด้วยเงินสด
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคลความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล งบประมาณ หมายถึง การจัดทำงบประมาณรายได้ รายจ่ายและ เงินออมโดยมีวัตถุประสงค์จะควบคุมการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับการ ดำรงชีพ และ เป็นการใช้เงินรายได้ที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถจัดสรรเงินเพื่อการออมได้ อย่างเหมาะสมอีกด้วย
ประโยชน์การจัดทำงบประมาณส่วนบุคคลประโยชน์การจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล 1.งบประมาณจะทำให้ผู้บริโภคต้องตัดสินใจได้ว่าเขาต้องการ ทำอะไรมากที่สุด ตามรายได้ที่มีอยู่ 2.ช่วยให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยอยู่ภายในแห่งรายได้ของ ผู้บริโภค ไม่คิดจะมีหนี้สินผูกพัน 3.ช่วยให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายย่างไม่จำเป็นหรือสิ้นเปลือง 4.ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเก็บเงินออมไว้ใช้ตามเป้าหมายได้ 5.งบประมาณที่ทำเก็บไว้ยังสามารถใช้เปรียบเทียบ อ้างถึง ในการใช้จ่ายซื้อสิ่งของปีต่อปีได้เป็นอย่างดี
การจัดทำงบประมาณส่วนบุคคลการจัดทำงบประมาณส่วนบุคคล 1.งบรายได้และรายจ่ายส่วนบุคคล 2.การบันทึกรายการทรัพย์สินส่วนบุคคล 3.บันทึกรายการภาษี 4.บันทึกรายการหลักฐานการมีกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดิน 5.บันทึกหลักฐานในการประกันภัย 6.บันทึกหลักฐานมนการลงทุน