270 likes | 601 Views
รายงาน วิชา คอมพิวเตอร์ เสนอ อ . อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม. “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ”. จัดทำโดย นาย ณัฐิ วุฒิ คล้าย เจตน์ ดี นศ . ทุนการรถไฟฯ คณะบริหารและการจัดการ รหัสนักศึกษา 54100252.
E N D
รายงาน วิชา คอมพิวเตอร์ เสนอ อ.อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม
“พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ” จัดทำโดย นายณัฐิวุฒิ คล้ายเจตน์ดี นศ.ทุนการรถไฟฯ คณะบริหารและการจัดการ รหัสนักศึกษา 54100252
ความเป็นมาของกฎหมายนี้ความเป็นมาของกฎหมายนี้
เหตุผล • “เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว”
เจตนารมณ์ของกฎหมาย • ฐานความผิดและบทลงโทษ • อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ • หน้าที่ของผู้ให้บริการ
โครงสร้างของกฎหมาย • มาตรา 1 ชื่อกฎหมาย • มาตรา 2 วันบังคับใช้กฎหมาย • มาตรา 3 คำนิยาม • มาตรา 4 ผู้รักษาการ • หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (มาตรา 5-17) • หมวด 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 18-30)
นิยาม • “ระบบคอมพิวเตอร์” อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ • “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
นิยาม • “ผู้ให้บริการ” (1) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น (2) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น • “ผู้ใช้บริการ” ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
ประเภทผู้ให้บริการ 1. ผู้ให้บริการแก่บุคคลทั่วไปในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต 2. ผู้ให้บริการในการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ • กลุ่ม 1: โทรศัพท์พื้นฐานมือถือ ดาวเทียม สื่อสารไร้สาย ... • กลุ่ม 2: สถานศึกษา หน่วยงานราชการ บริษัท โรงแรม ห้องพัก ร้านอาหาร ... • กลุ่ม 3:Web hosting, Internet Data Center • กลุ่ม 4:Internet Café เกมออนไลน์ • ผู้ให้บริการ Web board, Web blog, Internet Banking, e-Commerce, Web services …
หน้าที่ของผู้ให้บริการหน้าที่ของผู้ให้บริการ • ผู้ให้บริการแต่ละประเภทมีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ตามที่ระบุในภาคผนวก ประกาศกระทรวงฯ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน
แนวนโยบายของกระทรวงไอซีทีในการปฏิบัติตามกฎหมายแนวนโยบายของกระทรวงไอซีทีในการปฏิบัติตามกฎหมาย ผลกระทบที่อาจต้องแบกรับ มาตรา 26 และ 27 ภาระ ผู้ให้บริการ Private Interests & ข้อจำกัด / ระมัดระวัง ในการใช้สิทธิมาตรา 12, 14, 16 และ 20 สิทธิของ ประชาชน ประโยชน์มหาชน / สาธารณะ Public Interests โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ของประเทศ
การเตรียมความพร้อม • การดำเนินการเพื่อมารองรับ พ.ร.บ. เช่น เตรียมการในเรื่องการออกกฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวข้อง • การจัดตั้งหน่วยงานรองรับการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
การดำเนินงานของกระทรวงไอซีทีเพื่อมารองรับตาม พ.ร.บ. • ประกาศกระทรวงฯ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ (มาตรา 26)(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23สิงหาคม 2550) • ประกาศกระทรวงฯ เรื่องหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่(มาตรา 28) (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23สิงหาคม 2550) • ประกาศกระทรวงฯ เรื่องกำหนดแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 30) (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 23สิงหาคม 2550) • ระเบียบว่าด้วยการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด(มาตรา 29 ) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 • กฎกระทรวงว่าด้วยการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์(มาตรา 19) ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาร่างของกฤษฎีกา • ประกาศกระทรวงฯ เรื่องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จำนวน 35ราย
จัดตั้งหน่วยงานมารองรับจัดตั้งหน่วยงานมารองรับ • กระทรวง ไอซีที ได้กำหนดหน่วยงานขึ้นใหม่ เป็นหน่วยงานระดับ สำนัก ใช้ชื่อว่า “สำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งจะเป็นหน่วยงานปฏิบัติที่มารองรับภารกิจตาม พ.ร.บ. • มีการเตรียมความพร้อม ทั้งด้านการพัฒนาบุคลากร และการจัดเตรียมเครื่องมือในการดำเนินการด้านนิติวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์และการสืบสวนสอบสวนภัยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ • หน้าที่หลักป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กำกับ ดูแลมิให้เกิดการกระทำความผิดอยู่เสมอ และปราบปรามการกระทำความผิด ตั้งแต่การรับแจ้งเหตุ การตรวจสอบ การดำเนินการตามกฏหมาย • หน่วยงานกลางการประสานงานการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.
กลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจ • การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องขออนุญาตศาล (มาตรา 18, 19, 20 และ 21) • ห้ามเปิดเผย/ส่งต่อ ข้อมูลที่ได้มาโดยใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.นี้ (มาตรา 22) • การเปิดเผยข้อมูล แม้โดยประมาท ทำให้ผู้อื่นล่วงรู้ก็ผิด (มาตรา 23) • ข้อมูลต่างๆ จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ถ้าเกิดจากการจูงใจ/ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. • มาตรา 28 กำหนดเกี่ยวกับการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด • ปัจจุบันมีการประกาศแต่งตั้ง แล้วจำนวน 35 ท่าน จากหน่วยงาน กระทรวง ไอซีที สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ • พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมาย อาญา มีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตาม พ.ร.บ. นี้
การประสานความร่วมมือระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่กับพนักงานสอบสวนการประสานความร่วมมือระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่กับพนักงานสอบสวน • กระบวนการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป • กระบวนการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
การประสานความร่วมมือ ตามมาตรา 29 • มาตรา 29 การจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป • กระทรวงฯ ได้จัดทำระเบียบว่าด้วยการจับ ควบคุม การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 • อาศัยอำนาจตามมาตรา 29 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ออกระเบียบนี้ โดยลงนามร่วมกัน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550
หลักเกณฑ์ความร่วมมือ การทำงานร่วมกัน มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ ดังนี้ - พนักงานเจ้าหน้าที่ - พนักงานสอบสวน - การปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน - การสอบสวนร่วมกัน
หลักเกณฑ์ความร่วมมือ(ต่อ)หลักเกณฑ์ความร่วมมือ(ต่อ) • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวน เป็นผู้รับคำร้องทุกข์ หรือคำกล่าวโทษ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น กล่าวคือเป็นความผิดที่บัญญัติไว้ในหมวด 1 แห่ง พ.ร.บ.นี้ • ในกรณีพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์ หรือคำกล่าวโทษแล้ว ให้พนักงานสอบสวนประสานงานกับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการแสวงหาพยานหลักฐานประกอบการกระทำความผิด • ในการจับ ควบคุม และค้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประสานมายังพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแล้ว ให้พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
หลักเกณฑ์ความร่วมมือ(ต่อ)หลักเกณฑ์ความร่วมมือ(ต่อ) • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินการแสวงหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดที่บัญญัติไว้ในหมวด 1 โดยมีการปฏิบัติร่วมกัน และสอบสวนร่วมกัน และมีหน้าที่ส่งมอบพยานหลักฐานที่รวบรวมได้ให้กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ จนกว่าการสอบสวนในคดีนั้นจะเสร็จสิ้น • เมื่อพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เห็นว่าการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้ว ให้พนักงานสอบสวนเป็นผู้ทำความเห็นในรายงานความเห็นทางคดี และลงลายมือชื่อ และส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อพิจารณาต่อไป
สตช. ออกหมายเรียก/หมายจับ ICT Forensic ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ของสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แถลงข่าว รับเรื่องแจ้ง เรื่องราวร้องทุกข์ ประสาน สตช. รวบรวมข้อมูล จากตังอย่างดังต่อไปนี้ - Who is - Link Chat (ITool) - Like port - ภาพลามก สตช . ค้น/ยึด/อายัด/เอาข้อมูลผู้เช่า • สำเนาข้อมูล • ใช้วิธี image ข้อมูลและระบุความผิดตาม พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ • เมื่อรู้ตัวผู้กระทำความผิด ออกหมายจับ • เมื่อยึดของกลางมาทำ image แล้ว ในการทำ forensic • - แบ่งงานกันทำ • - ICT รับมาทำในส่วนที่เกี่ยวข้อง คำร้องขอหมายค้น โดยใช้อำนาจ ม.18 ตาม พ.ร.บ. • ไอซีที+สตช. พิจารณาร่วมกันหาแนวทางการดำเนินการ ศูนย์เฝ้าระวังฯ สถานีตำรวจ/ปศท. • ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษ • ตย. การประชุม กลุ่ม ตร.+ICTโดยร่วมกันทำงานกำหนดเป้าหมาย • แฟ้มการสืบสวน • แยกเป็นรายโดเมนเนม หลังจากที่กระทรวง ICT ได้มีการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และได้พิจารณาเป็นคดีและมีการมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในคดีนั้นๆ ก็จะได้มีการดำเนินการเข้าสู่กระบวนการสืบสวนสอบสวนร่วมกัน ตามที่ได้มีบันทึกข้อตกลงระหว่าง กระทรวง ICT กับ สตช.
ข้อเสนอเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ข้อเสนอเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประกาศกระทรวงฯ เรื่องหลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ • ประเภทผู้ให้บริการ • ชนิดของข้อมูลที่ต้องจัดเก็บ • เวลาที่ต้องเริ่มเก็บ (เมื่อพ้น 30/180/360 วันนับจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา) • จัดเก็บข้อมูลจราจรตามหลักเกณฑ์ท้ายประกาศกระทรวงฯ โดยเฉพาะให้เริ่มจัดเก็บสำหรับหน่วยงานราชการ ผู้ให้บริการร้านอินเทอร์เน็ตซึ่งมีผลในวันที่ 23 สิงหาคม 2551 ครบ 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศกระทรวงฯบังคับใช้
การติดต่อสอบถาม • สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.mict.go.th • สอบถาม ร้องเรียน ผ่านทาง เบอร์โทรศัพท์ 1111 • สำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวง ICTโทรศัพท์ 02 568 2461 • การแจ้งความ ได้ตามสถานีตำรวจตำรวจ ทั่วราชอาณาจักรหรือมาแจ้งความในส่วนกลางได้ที่ กองบังคับการตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (ปศท.) หรือจะสอบถามข้อมูลก่อนได้ที่ กระทรวง ICTจะมีหน่วยงานรับเรื่องเกี่ยวกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ (เฉพาะในวันและเวลาราชการ)