1.86k likes | 3.46k Views
การดำเนินการตามตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545. พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 119 ตอนที่ 98 / 1 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 254 6.
E N D
การดำเนินการตามตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 119 ตอนที่ 98/1 ก วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546
เหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริม การพัฒนาฝีมือแรงงาน 1. การเปิดเสรีทางการค้า 2. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3. การแข่งขันทางเศรษฐกิจทวีความรุนแรง 4. การบริหารจัดการทางการผลิต การค้าและการบริการ 5. ความต้องการแรงงานฝีมือมีเพิ่มขึ้น 6. ข้อจำกัดของภาครัฐในการผลิตแรงงานฝีมือให้ทันความต้องการ - งบประมาณ - บุคลากร 7. ข้อจำกัดของภาครัฐในการผลิตแรงงานฝีมือให้ตรงความต้องการ - ภาคเอกชนมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยกว่า - สถานประกอบกิจการบางแห่งมีเทคนิคเฉพาะที่เป็นความลับ
กำลังการลงทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานไม่เพียงพอกำลังการลงทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาฝีมือแรงงานไม่เพียงพอ ความเข้าใจในกระบวนการและความสามารถในการพัฒนาฝีมือแรงงานไม่เพียงพอ ขาดแคลนองค์ความรู้ในเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีข้อจำกัดอันเกิดจากข้อกฎหมายบางฉบับ สถานประกอบกิจการบางส่วนที่มีศักยภาพในการช่วยพัฒนาฝีมือแรงงานขาดการมีส่วนร่วมเท่าที่ควร ข้อจำกัดในการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการ ช่วยพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ร.บ. ส่งเสริมการฝึกอาชีพ พ.ศ. 2537 ไม่เอื้ออำนวยเพียงพอต่อการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือ แรงงานให้มากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มมาตรการจูงใจด้านการยกเว้นภาษีเงินได้จากการฝึกอบรมฝีมือ แรงงาน และสิทธิประโยชน์ด้านต่างๆ รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือ แรงงาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงาน
สิทธิและประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการจากการฝึกอบรมฝีมือแรงงานสิทธิและประโยชน์ของผู้ประกอบกิจการจากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 1. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นกรณีพิเศษ สำหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ผู้ประกอบกิจการตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 %สำหรับค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปในการจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 2. สามารถนำจำนวนผู้เข้ารับการฝึกไปนับสัดส่วน 50%ในการส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน กรณีมีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปในปีนั้นๆ
3. ได้รับยกเว้นจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ (เฉพาะกรณีฝึกเตรียมเข้าทำงาน) 4. ได้รับยกเว้นจากกฎหมายโรงเรียนเอกชน 5. มีสิทธินำคนต่างด้าว ซึ่งเป็นช่างฝีมือแรงงานหรือผู้ชำนาญการเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อมาเป็นครูฝึก (พร้อมคู่สมรสและบุคคลซึ่งอยู่ในอุปการะ)
6. ได้รับคำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในด้านต่างๆ 7. สิทธิและประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง กรณีการฝึกอบรมในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงาน 1. มีสิทธิและประโยชน์เช่นเดียวกับกรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกทั่วไป 2. ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับ เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการฝึกอบรม 3. มีสิทธิหักค่าไฟฟ้าและค่าประปาเป็นจำนวน 2 เท่า ของ ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการอบรมในศูนย์ฝึกฯ 4. สิทธิและประโยชน์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปยกเว้นภาษีเงินได้การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปยกเว้นภาษีเงินได้ กรณีขอยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีกร้อยละ 100 ให้นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหักออกจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี ตัวอย่าง *มีรายจ่ายในการลงทุนทั้งหมด 1,000 บาท (รวมค่าฝึกอบรม 200 บาท) *มีรายได้ 3,000 บาท หักค่าใช้จ่ายออก 100 % เพื่อเป็นกำไรสุทธิก่อนคำนวณภาษี(ปกติ) 3,000–1,000=2,000 บาท (100%แรก) นำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมหักออกจากกำไรสุทธิก่อนคำนวณภาษี 2,000–200 =1,800 บาท (เพิ่มอีก100%) ต้องเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิเพียง 1,800 บาท
การฝึกอบรมฝีมือแรงงานการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เพื่อข้อยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100% มี 3 ประเภท (เป็นลูกจ้าง) 1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน 1)ฝึกเอง 2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ 2)ส่งไปฝึกภายนอก (ไม่ใช่ลูกจ้าง) 1)บุคคลทั่วไป ฝึกเอง 3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน 2)บุคคลทั่วไป ส่งไปฝึกภายนอก 3)รับนักเรียน นักศึกษาฯฝึกงาน
การยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (Inhouse Training) *หลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึก อบรมนั้นต้องได้รับความเห็นชอบการกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงจะนำไปยกเว้นภาษีเงินได้กับสรรพากร* ตาม มาตรา 4 (2) ตามพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 437)พ.ศ. 2548 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 148)
การยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน(ต่อ) การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก (Public Training) กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะให้ความเห็นชอบเฉพาะหลักสูตร เพื่อนับจำนวนผู้รับการฝึกในการประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเท่านั้น *ส่วนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้ยื่นต่อกรมสรรพากรเอง* ตาม มาตรา 4 (1) ตาม พระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่ 437)พ.ศ. 2548 ประกอบกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการกำหนดสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่รับลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม
การยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ต่อ) การฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีดำเนินการฝึกเอง (Inhouse Training) *ต้องได้การรับรองหลักสูตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานก่อนแล้วจึงนำค่าใช้จ่ายไปขอยกเว้นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรเอง ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548
การยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ต่อ) การฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก(Public Training) *หลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึก อบรมนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจึงจะนำไปยกเว้นภาษีเงินได้กับสรรพากรได้* ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548ประกอบกับมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545
การยกเว้นภาษีเงินได้เพิ่มอีก 100 % จากการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ต่อ) การรับนักเรียนนิสิตหรือ นักศึกษาหรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาฝึก เข้ารับการฝึก ตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 437) พ.ศ. 2548 *ต้องได้การรับรองหลักสูตรจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานก่อนแล้วจึงนำค่าใช้จ่ายไปขอยกเว้นภาษีเงินได้กับกรมสรรพากรเอง
ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างไม่ถึง 100 คน สามารถดำเนินการจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ตามหมวด 1) และยื่นขอรับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่าย เพื่อขอยกเว้นภาษีได้เพิ่มอีก 100 %ได้ ซึ่งไม่เข้าข่ายต้องส่งเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
การฝึกอบรมฝีมือแรงงานการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน มี 3 ประเภท 1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน 2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ 3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน
1. การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน หมายถึง การที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้ ลูกจ้างได้ฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพิ่มเติมในสาขาอาชีพที่ลูกจ้างได้ปฏิบัติงานอยู่ตามปกติเพื่อให้ลูกจ้างได้มีความรู้ความสามารถทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นสูงขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการ 1.1 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง) 1.2ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก)
1.1 ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง) เงื่อนไข เสนอหลักสูตรรายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ(ก่อนดำเนินการฝึกอบรม หรือหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว) กรณีที่ให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการฝึกการออกหนังสือ รับรองจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างส่ง รายละเอียด และหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรแล้ว
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ 1.หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 1) ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างให้มีความรู้ ความสามารถทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นเพิ่มขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการนั้น - ไม่ใช่การประชุมหรือสัมมนา (ที่ไม่ได้ให้ความรู้แก่ผู้รับการฝึกอบรม) - ไม่ใช่การฝึกอบรมหลักสูตรที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการฝึก เช่น หลักสูตรการดูแลครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรการศึกษา เช่น ปริญญาโท ปริญญาตรี ปวส. ปวช. เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรที่มีลักษณะการเรียนแบบ E-learning , Self-learning เป็นต้น 2) ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง 3) ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหลักสูตร
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ 4) จำนวนผู้รับการฝึกอบรมให้แบ่งกลุ่ม ดังนี้ 4.1) กรณีการฝึกอบรมโดยการบรรยายกลุ่มละไม่เกิน 100 คน 4.2) กรณีการฝึกอบรมโดยการจัดกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 50 คน ต่อวิทยากร 1 คน 4.3) กรณีการฝึกอบรมทักษะฝีมือซึ่งต้องมีภาคปฏิบัติ กลุ่มละไม่เกิน 25 คน ต่อวิทยากร 1 คน 2.สถานที่ฝึก 1) ฝึกในสถานประกอบกิจการหรือหน่วยผลิต 2) ฝึกในสถานที่อื่นเช่นเช่าสถานที่ภายนอกเพื่อใช้ฝึกอบรม ซึ่งอาจเป็นทั้งของทาง ราชการหรือเอกชน 3)ฝึกในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานซึ่งการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานจะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ รายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมลูกจ้าง กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง 1) ค่าตอบแทนวิทยากร 2)ค่าลิขสิทธิ์ของหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 3) ค่าจ้างล่ามระหว่างการฝึกอบรม 4) ค่าแปลเอกสารประกอบการฝึกอบรม 5) ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรมหรือตำรา 6) ค่าจ้างถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม 7) ค่าถ่ายล้างอัดและขยายรูปภาพค่าบันทึกภาพและเสียง ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ 8) ค่าจัดทำหรือค่าเช่าสื่อการฝึกอบรมได้แก่สื่อในลักษณะแผ่นโปร่งใสเทปเสียงเทปวีดีโอซีดีวีซีดีดีวีดีซีดี-รอมแผ่นภาพสไลด์และรวมถึงชุดทดลองชุดสาธิตหุ่นจำลองที่ไม่มีลักษณะคงสภาพเข้าข่ายเป็นการลงทุน ในกรณีเช่าสื่อการฝึกอบรมจะต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม 9) ค่าวัสดุเครื่องมือต่างๆที่จะใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน จะต้องมีลักษณะการใช้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรนั้นๆทั้งนี้วัสดุเครื่องมือดังกล่าวจะต้องไม่ปะปนกับที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของผู้ขอรับความเห็นชอบโดยจะต้องระบุรายการจำนวนและราคาของวัสดุเครื่องมือนั้นให้ชัดเจน 10) ค่าเช่าเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม ต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตร ที่จัดฝึกอบรม
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ 11) ค่าเช่าสถานที่จัดการฝึกอบรม 12) ค่าเช่าที่พักค่าอาหารค่าเครื่องดื่มและอาหารว่างสำหรับ ผู้รับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างฝึกอบรมยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 13) ค่าจ้างพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อ เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยวยกเว้นค่าเครื่องบิน 14) ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ-ส่งผู้รับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างการฝึกอบรม 15) ค่าจ้างเหมาพาหนะไปดูงานที่กำหนดไว้ในหลักสูตรภายในประเทศยกเว้นค่าเครื่องบิน 16) ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศของวิทยากร กรณีจ้างจัด ค่าฝึกอบรมซึ่งเป็นการจ้างจัดให้กับสถานประกอบกิจการเป็นการเฉพาะ จะต้องอยู่ภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเช่นเดียวกับกรณีดำเนินการฝึกเอง
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ *การแนบสำเนาหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพื่อประกอบการพิจารณา* 1. ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่มีรายการถูกต้องสมบูรณ์ ต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน พร้อมระบุชื่อหลักสูตร / รุ่น / วันที่อบรม / จำนวนเงินให้ชัดเจน (กรณีใบเสร็จรับเงินของโรงแรมให้แนบ ใบแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายของค่าที่พักและอาหารประกอบด้วย) 2. กรณีใบสำคัญรับเงินที่ให้บุคคลเป็นผู้รับเงินในการจ้างทำของหรือเป็นค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจ้างทำอาหาร เป็นต้น ต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจนพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน 3. กรณีบิลเงินสดต้องมีชื่อผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินชัดเจน (ให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับเงินมาด้วย)
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ 4. หลักฐานค่าใช้จ่ายที่เป็นสำเนา ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ 5. ผู้มีอำนาจลงนามเป็นผู้ยื่นคำขอ หรือสำเนาเอกสารหลักฐาน คือ ผู้มีอำนาจในนิติบุคคลนั้น หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1. ผู้ดำเนินการฝึกซึ่งเป็นนายจ้างยังคงมีหน้าที่ต่อลูกจ้างตามกฎหมาย เกี่ยวกับแรงงานสัญญาจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2. ถ้าฝึกเกิดจากการร้องขอของลูกจ้างและมีการตกลงกันเป็นหนังสือ หากจัดฝึกนอกเวลาทำงานปกติหรือในวันหยุด ให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ ลูกจ้างผู้เข้ารับการฝึกไม่น้อยกว่าค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามจำนวนชั่วโมงที่ฝึก 3. ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรม หรือค่าตอบแทนในลักษณะใดๆ จากผู้รับการฝึก
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ การดำเนินการ ผู้ประกอบกิจการ อาจดำเนินการยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตรก่อนฝึก หรือหลังฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ แต่หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว ต้องยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่าย ที่ใช้ในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย พร้อมแนบหลักสูตร กำหนดการฝึกอบรมและหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรตามที่จ่ายจริง เสนอต่อนายทะเบียนให้ความเห็นชอบภายใน60 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกแต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีดำเนินการฝึกเอง)ต่อ แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ดำเนินการฝึกเอง) 1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับ ฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย / ฝป 1) 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง (แบบ ฝย / ฝป 2 - 1) 3. ใบลงทะเบียนผู้รับการฝึกอบรม (แบบ ฝย / ฝป 3) สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด
1.2ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก)1.2ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(กรณีส่งไปฝึกอบรมภายนอก) เงื่อนไข เสนอหลักสูตรรายละเอียดที่เกี่ยวข้องและรายการค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ(ก่อนดำเนินการฝึกอบรม หรือหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว) กรณีที่ให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการฝึกการออกหนังสือ รับรองจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างส่ง รายละเอียด และหลักฐานค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแต่ละหลักสูตรแล้ว
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อ 1.หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม 1) ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานของลูกจ้างให้มีความรู้ ความสามารถทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพนั้นเพิ่มขึ้น โดยหลักสูตรต้องมีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์กับกิจการนั้น - ไม่ใช่การประชุมหรือสัมมนา (ที่ไม่ได้ให้ความรู้แก่ผู้รับการฝึกอบรม) - ไม่ใช่การฝึกอบรมหลักสูตรที่เป็นเรื่องส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการฝึก เช่น หลักสูตรการดูแลครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรการศึกษา เช่น ปริญญาโท ปริญญาตรี ปวส. ปวช. เป็นต้น - ไม่ใช่หลักสูตรที่มีลักษณะการเรียนแบบ E-learning , Self-learning เป็นต้น 2) ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง 3) ผู้รับการฝึกต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหลักสูตร
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อ 2.สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต้องเป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนหรือสถานฝึกอบรม ฝีมือแรงงานของทางราชการ หรือหน่วยฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่เป็นมูลนิธิสมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและต้องเป็นการฝึกอบรมภายในประเทศ สิทธิประโยชน์ทางภาษี นายทะเบียนจะให้ความเห็นชอบเฉพาะหลักสูตร เพื่อนับจำนวนผู้รับการฝึกในการประเมินเงินสมทบกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้ยื่นต่อกรมสรรพากรเอง
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อ หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1. ผู้ดำเนินการฝึกซึ่งเป็นนายจ้างยังคงมีหน้าที่ต่อลูกจ้างตามกฎหมาย เกี่ยวกับแรงงานสัญญาจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 2. ถ้าฝึกเกิดจากการร้องขอของลูกจ้างและมีการตกลงกันเป็นหนังสือ หากจัดฝึกนอกเวลาทำงานปกติหรือในวันหยุด ให้นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ ลูกจ้างผู้เข้ารับการฝึกไม่น้อยกว่าค่าจ้างในเวลาทำงานปกติตามจำนวนชั่วโมงที่ฝึก 3. ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรมหรือค่าตอบแทนในลักษณะใดๆ จากผู้รับการฝึก
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อ การดำเนินการ ผู้ประกอบกิจการ อาจดำเนินการยื่นคำขอรับความเห็นชอบหลักสูตร ก่อนฝึก หรือหลังฝึกอบรมเสร็จสิ้นแล้วก็ได้ แต่หลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมแล้ว ต้องยื่นคำขอรับความเห็นชอบ หลักสูตร รายละเอียดที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการฝึกอบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบ โดยจัดทำรายงานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย พร้อมแนบหลักสูตร กำหนดการฝึก อบรมและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องตามที่ฝึกจริง เสนอต่อนายทะเบียนให้ความ เห็นชอบภายใน 60 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกแต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป - หลักฐาน รายละเอียดต่างๆเป็นสำเนา ต้องรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ - ผู้มีอำนาจลงนามเป็นผู้ยื่นคำขอ หรือสำเนาเอกสารหลักฐาน คือ ผู้มีอำนาจในนิติบุคคลนั้น หรือ ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
ฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน(ส่งไปฝึกภายนอก)ต่อ แบบฟอร์มการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน (อบรมภายนอก) 1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย / ฝป 1) 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ กรณีส่งไปรับการฝึกกับสถานฝึกอบรมอื่น (แบบ ฝย / ฝป 2 - 2) 3. ขอให้แนบหลักฐานการฝึกอบรมที่สามารถระบุได้ว่า การฝึกอบรมนั้นถึง 6 ชั่วโมง และบุคคลใดไปรับการฝึก เช่น ตารางการฝึกอบรม, โบวชัวร์, ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น มาในแต่ละหลักสูตร สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด
2. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ หมายถึง การที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้ ลูกจ้างได้ฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพิ่มเติมในสาขาอาชีพอื่นที่ลูกจ้างมิได้ปฏิบัติงานอยู่ตามปกติ เพื่อให้ลูกจ้างได้มีความรู้ ความสามารถที่จะทำงานในสาขาอาชีพอื่นนั้นได้ด้วย ดังนี้ 1. การฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพทั้ง ฝึกอบรมภายใน และส่งไปฝึกภายนอก ใช้เงื่อนไขและแบบฟอร์มเช่นเดียวกับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานเว้นแต่ 2. ระยะเวลาการฝึกอบรมต้องไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง
3. การฝึกเตรียมเข้าทำงาน หมายถึง จัดฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไป ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของตน เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานก่อนเข้าทำงานซึ่งหลักสูตรต้องสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น แบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ 1.1ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) 1.2ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) 1.3รับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการ ส่งมาเข้ารับการฝึก
การฝึกเตรียมเข้าทำงานการฝึกเตรียมเข้าทำงาน ผู้ประกอบกิจการ ฝึกอบรมให้บุคคลทั่วไป 1.3 รับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือบุคคลที่ทางราชการส่งมาเข้ารับการฝึก 1.1 ดำเนินการจัดฝึกเอง 1.2 ส่งไปฝึกภายนอก (สถานศึกษา/ สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน)
1.1 ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการฝึก(ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45) 1.สถานที่ฝึก 1) ฝึกในสถานประกอบกิจการหรือหน่วยผลิต 2) ฝึกในสถานที่อื่นเช่นเช่าสถานที่ภายนอกเพื่อใช้ฝึกอบรม ซึ่งอาจเป็นทั้งของทาง ราชการหรือเอกชน 3)ฝึกในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานซึ่งการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานจะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 2.คุณสมบัติครูฝึกเตรียมเข้าทำงาน 2.1) กรณีที่มีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพที่ฝึก 1) ได้รับวุฒิบัตรมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสาขาอาชีพที่ฝึก หรือ 2) สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึก หรือ 3) สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึก และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 2 ปี
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 2.2) กรณีที่ไม่มีมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพที่ฝึก ครูฝึกเตรียมเข้าทำงานต้องมีคุณสมบัติตามข้อ2.1(2)หรือข้อ2.1(3)หรือต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1)สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกและมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 4 ปีหรือ 2)สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3หรือเทียบเท่าขึ้นไปและมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 7 ปีหรือ 3)สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือเทียบเท่าขึ้นไปและมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาอาชีพที่ฝึกไม่น้อยกว่า 10 ปีหรือ 4)ต้องมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพที่ฝึก โดยสาขาอาชีพนั้นต้องเป็นสาขาอาชีพที่ขาดแคลนหรือเป็นสาขาอาชีพที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ2.1และข้อ2.2ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการสอนไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงเว้นแต่มีประสบการณ์ในการสอนไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 4.ระยะเวลาการฝึกอบรม ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรตามสาขาอาชีพ ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง 5.อุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรม ซึ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วและที่ต้องหามาเพิ่มเติมในภายหลังต้องมีตามความจำเป็น เพียงพอเหมาะสมกับจำนวนผู้รับการฝึกอยู่ในสภาพที่ดีและปลอดภัยสำหรับการฝึก ในแต่ละหลักสูตร 6.วิธีการและมาตรฐานการวัดผลการฝึก ต้องจัดให้มีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติหรือด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งต้องกำหนดเกณฑ์ผ่านการฝึกโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1) จัดให้มีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการฝึก 2)ทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึก 3)ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก 4) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรมหรือค่าตอบแทนในลักษณะ ใดๆ จากผู้รับการฝึก(มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45) 5)จัดทำทะเบียนประวัติผู้รับการฝึกไว้เป็นหลักฐาน 6)ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้รับการฝึกที่สำเร็จการฝึก
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงานกรณีฝึกเอง 1. ระยะเวลาการฝึก 2. เวลาฝึกเวลาพักและวันหยุดของผู้รับการฝึก 3. เบี้ยเลี้ยงระหว่างรับการฝึก 4. สวัสดิการตลอดจนมาตรการเกี่ยวกับสวัสดิภาพของผู้รับการฝึก 5. หลักเกณฑ์การลา 6. เงื่อนไขการเลิกสัญญาการฝึก 7. หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันเกิด จากการฝึก 8. หลักเกณฑ์การรับเข้าทำงานและค่าจ้างเมื่อสำเร็จการฝึก 9. การให้ความยินยอมในการทำสัญญาการฝึกในกรณีผู้รับการฝึกเป็นผู้เยาว์ 10. รายการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก 1. ระยะเวลาฝึก - ไม่เกินวันละ8ชั่วโมง - งานที่อาจเป็นอันตรายไม่เกินวันละ7ชั่วโมง 2. เวลาพัก - ไม่น้อยกว่าวันละ1ชั่วโมงหลังจากฝึกติดต่อกันไม่เกิน 4ชั่วโมง 3. วันหยุด - วันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ1วัน - วันหยุดตามประเพณี - วันหยุดชดเชย 4. การลาป่วย - มีสิทธิลาป่วยได้ตามความเป็นจริงไม่เกินที่กำหนดในหลักสูตร 5.ข้อห้ามในการฝึก - ห้ามรับผู้รับการฝึกที่มีอายุต่ำกว่า15ปีบริบูรณ์ - ห้ามฝึกหญิงหรือเป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า18ปีบริบูรณ์ฝึกงานที่อันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ 6. การจ่ายเบี้ยเลี้ยง - ผู้ดำเนินการฝึกจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้รับการฝึกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดอัตราเดียวกันโดยจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ1ครั้ง 7. สวัสดิการ - จัดน้ำสะอาดสำหรับดื่มห้องน้ำและห้องส้วม - ช่วยเหลือหรือให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อผู้รับการฝึกประสบ อันตรายหรือเจ็บป่วยในระหว่างการฝึก - จัดให้มีการระบายอากาศทางระบายน้ำและสิ่งโสโครก แสงสว่าง ทางออกฉุกเฉินในอาคารที่ฝึก 8. ความปลอดภัยการทำงาน - จัดให้มีเครื่องมือป้องกันอันตรายสำหรับการฝึกซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อ สุขภาพหรือร่างกายของผู้รับการฝึก จัดให้มีอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม - จัดทำประกันอุบัติเหตุจากการฝึกให้แก่ผู้รับการฝึกให้ได้รับประโยชน์ไม่น้อย กว่าที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) ต่อ แบบฟอร์มการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีดำเนินการฝึกเอง) 1. คำขอรับความเห็นชอบเกี่ยวกับการดำเนินการฝึกเตรียม- เข้าทำงาน (แบบ ฝต 1 – 1) 2. สัญญาการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (แบบ ฝต 2) 3. แบบแจ้งผู้สำเร็จการฝึกเตรียมเข้าทำงาน (แบบ ฝต 3) 4. สถานที่ยื่นคำขอ - กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานกรุงเทพมหานคร - จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด
1.2ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) จัดทำรายหลักสูตรและรายการค่าใช้จ่ายในการฝึก อบรมเสนอต่อนายทะเบียนเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหลังจากฝึกอบรมเสร็จสิ้น(ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45) 1. สถานที่ฝึก สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต้องเป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานของทางราชการ หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นการจัดฝึกอบรมให้แก่บุคคลเป็นการทั่วไป และต้องเป็นการฝึกอบรมฝีมือแรงงานภายในประเทศ
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) ต่อ 2.ระยะเวลาการฝึกอบรม ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรตามสาขาอาชีพ ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง หน้าที่ของผู้ดำเนินการฝึก 1)ทำสัญญาการฝึกเป็นหนังสือกับผู้รับการฝึก 2)ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้รับการฝึก เช่นเดียวกับ การฝึกเตรียมเข้าทำงานกรณีดำเนินการฝึกเอง เช่น 2.1 การจ่ายเบี้ยเลี้ยง ผู้ดำเนินการฝึกจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้รับการฝึกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุดอัตราเดียวกันโดยจ่ายไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง 3) ห้ามเรียกหรือรับเงินค่าฝึกอบรมหรือค่าตอบแทนในลักษณะ ใดๆ จากผู้รับการฝึก(มาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ 45)
ฝึกเตรียมเข้าทำงาน (กรณีส่งไปรับการฝึกภายนอก) ต่อ รายค่าใช้จ่ายในการฝึกฝึกเตรียมเข้าทำงาน กรณีส่งไปฝึกภายนอก 1)ค่าธรรมเนียมเข้าอบรมหรือค่าลงทะเบียน ให้หมายความรวมถึงค่าอาหารค่าที่พักค่าเดินทางเพื่อเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมและค่าใช้จ่ายในการดูงานในประเทศหรือต่างประเทศตามที่กำหนด ในหลักสูตร (ถ้ามี) ที่สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน เรียกเก็บ 2)ค่าพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยวยกเว้นค่าเครื่องบิน 3)ค่าเช่าที่พักเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมในกรณีสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานไม่ได้จัดสถานที่พักให้