2.57k likes | 11.85k Views
ตัวอย่างแบบทดสอบปรนัย. ไพรศิลป์ ปินทะนา หลักสูตรการวัดผลและการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การอบรมการออกข้อสอบ วัดผล ประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ให้คณาจารย์ในภาควิชามนุษยศาสตร์ ครั้งที่ 2 วันที่ 23 กรกฎาคม 2553 ณ โรงแรมเมอร์เคียว อ.เมือง จ.เชียงใหม่.
E N D
ตัวอย่างแบบทดสอบปรนัยตัวอย่างแบบทดสอบปรนัย ไพรศิลป์ ปินทะนา หลักสูตรการวัดผลและการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การอบรมการออกข้อสอบ วัดผล ประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ให้คณาจารย์ในภาควิชามนุษยศาสตร์ ครั้งที่ 2 วันที่ 23 กรกฎาคม 2553 ณ โรงแรมเมอร์เคียว อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการศึกษา 1. แบบทดสอบ (Test) 2. การสังเกต (Observation) 3. การสัมภาษณ์ (Interview) 4. การสอบถาม–การสำรวจรายการ(Questionair &Checklist) 5. การบันทึก (Record) 6. แบบสอบจินตภาพ (Projective Technique ) 7. สังคมมิติ (Sociometry ) 8. การปฏิบัติจริง( Performance test) 9. การจัดลำดับคุณภาพ (Rating – scale )
การเลือกเครื่องมือเพื่อประเมินด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย
การเลือกเครื่องมือเพื่อประเมินด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย
การเลือกเครื่องมือเพื่อประเมินด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย
แบบทดสอบอัตนัย (Subjective test) • เป็นข้อคำถาม คำสั่ง ให้ผู้ตอบใช้ความรู้ ความสามารถคิดและเขียนด้วยภาษาของตนเอง • ใช้วัดสติปัญญาและทักษะขั้นสูง วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า • การตรวจขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของผู้ตรวจ • แบบทดสอบปรนัย (Objective test) • มีคำตอบคงที่ จำกัดตายตัว กำหนดแนวการตอบไว้ชัดเจน • มีเฉลยและกำหนดการให้คะแนนคงที่ตายตัว • มีความเป็นปรนัยสูง (ใช้ภาษาชัดเจนการตรวจให้คะแนนและการแปลความหมายคะแนน) แบบทดสอบจำแนกตามลักษณะการตรวจ
ตัวอย่างแบบทดสอบปรนัย 1. แบบเติมคำหรือเติมความให้สมบูรณ์ (Completion) 2. แบบถูกผิด (True – False) 3. แบบจับคู่ (Maching) 4. แบบเลือกตอบ (Multiple choice )
ความเป็นปรนัย (Objectivity) 1. ข้อคำถามที่ผู้ตอบอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน 2. ใครก็ตามตรวจแล้วให้คะแนนตรงกัน 3. เมื่อนำคะแนนที่ได้มาแปลความหมายจะแปลได้ตรงกัน
แบบทดสอบปรนัย 1.แบบเติมคำหรือเติมความให้สมบูรณ์ (Completion) 10 แบบ
1.แบบเติมคำหรือเติมความให้สมบูรณ์ (Completion)
1.แบบเติมคำหรือเติมความให้สมบูรณ์ (Completion)
1.แบบเติมคำหรือเติมความให้สมบูรณ์ (Completion)
1.แบบเติมคำหรือเติมความให้สมบูรณ์ (Completion)
1.แบบเติมคำหรือเติมความให้สมบูรณ์ (Completion)
1.แบบเติมคำหรือเติมความให้สมบูรณ์ (Completion)
ข้อเสนอแนะในการสร้างแบบทดสอบปรนัย (แบบเติมคำ) 1.เขียนคำสั่งให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้ตอบ ตอบอย่างไร ตอบที่ไหน 2.เขียนคำถามหรือข้อความโดยให้มีคำที่มาเติมเพียงคำหรือข้อความเดียว อย่าให้มีการตีความหลายแง่ หลายมุม 3.ไม่ควรลอกข้อความจากหนังสือ แล้วมาตัดข้อความบางตอนออก 4.ในการให้คะแนนในช่องว่างที่เว้นไว้ให้เติมคำตอบเท่ากัน 5.อย่าให้คำตอบที่จะเติมนั้นมีทางตอบได้หลายทาง 6.สิ่งที่เว้นไว้ให้เติม ควรจะต้องเป็นสิ่งสำคัญในวิชานั้น ๆ 7.ช่องว่างที่เว้นไว้ให้เติมคำตอบควรมีความยาวที่พอๆกัน และสะดวกในการเขียนตอบ 8.พยายามหลีกเลี่ยงคำที่เป็นการแนะคำตอบ
การตรวจให้คะแนน 1.ถ้าข้อสอบข้อใดมีการเว้นให้ตอบหลายแห่งในแต่ละข้อ ควรกำหนดคะแนนให้เท่ากันในแต่ละแห่ง 2. เมื่อสร้างเสร็จต้องรีบเฉลยคำตอบ เพื่อไม่ให้ผิดพลาด 3. ไม่ควรมีการหักคะแนนเมื่อตอบผิด ( ติดลบ )
แบบทดสอบปรนัย 2.แบบถูกผิด (True – False) 3 แบบ
ข้อเสนอแนะในการสร้างแบบทดสอบปรนัย (แบบถูกผิด) • อย่าซ้อนข้อความจนทำให้ผู้ตอบ งงหรือ สงสัย • ถ้าข้อสอบยาว ให้พยายามนำจุดสำคัญไว้ตอนท้าย • พยายามหลีกเลี่ยงการลอกข้อความจากหนังสือเป็นตอน ๆ • ควรหลีกเลี่ยงคำแสดงปริมาณที่คลุมเครือ • ใช้ข้อความหรือประโยคที่ถูกไม่ควรใช้ภาษาอ้อมค้อมหรือยืดยาว จัดรูปภาษาให้เด่นชัด จับจุดได้ง่าย • เป็นข้อความที่ถูกหรือผิด เป็นสากล(รู้กันโดยทั่วไป) • ไม่ควรใช้ประโยคปฏิเสธ หากจะใช้ให้เขียนโดยแสดงให้เด่นชัด • หลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละข้อ
การตรวจให้คะแนน ควรกำหนดให้เท่ากันทุก ๆ ข้อ ถ้าต้องการหักคะแนนข้อที่ผิด (ป้องกันการเดา) ก็ควรบอกให้ผู้ตอบทราบล่วงหน้า ควรมีการทำเฉลยไว้ล่วงหน้า
แบบทดสอบปรนัย 3.แบบจับคู่ (Matching)
3.แบบจับคู่ (Maching) ตัวยืน ตัวเลือก
3.แบบจับคู่ (Maching) ตัวยืน ตัวเลือก
ข้อเสนอแนะในการสร้าง 1.ข้อสอบแต่ละชุดไม่ควรมากเกินไป ไม่ควรเกิน 12 ข้อ ต่อ 1 ชุด และตัวเลือกด้านขวาไม่ควรน้อยกว่า 6 ข้อ 2.ตัวยืนอาจใช้ข้อความ/ประโยคยาว ๆ ก็ได้ แต่ตัวเลือกควรสั้น เพราะผู้ตอบต้องอ่านหลายครั้ง 3.พยายามใช้รูปภาพให้มาก เพราะจะทำให้ไม่เบื่อหน่าย 4.ตัวให้เลือกที่เป็นจำนวน ตัวเลข ควรเรียงจากน้อยไปหามาก 5.ควรมีตัวให้เลือกที่เป็นตัวลวงที่ดีอย่างน้อย 3 ตัว 6.ตัวเลือกประเภทเดียวกันควรจัดเข้าไว้ในชุดเดียวกัน
ข้อเสนอแนะในการสร้าง 7.ตัวยืนและตัวเลือกควรอยู่ในหน้าเดียวกัน 8.การเขียนคำสั่งควรคำนึงถึง • ความชัดเจน • ควรแจ้งให้ทราบว่าตัวเลือกจะใช้เพียงครั้งเดียว 9. ให้แต่ละชุดของคำถามเป็นเรื่องราวเดียวกัน เป็นแนวทางเดียวกัน
แบบทดสอบปรนัย 4.แบบเลือกตอบ (Multiple choice ) เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้ตอบเลือก • ให้ผู้ตอบเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ใกล้เคียง เหมาะสม/ดีที่สุด เพียงคำตอบเดียว • ส่วนประกอบมี 2 ส่วน ตัวคำถาม ตัวเลือก (ตัวถูก ตัวลวง)