590 likes | 1.06k Views
One Vision. การเตรียมความพร้อมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558. One Identity. One Community. ชาญวิทย์ ไกรฤกษ์ รองเลขาธิการ ก.พ. 21 กันยายน 2554. 1. สิ่งท้าทายราชการ. ในประเทศ. นอกประเทศ. เศรษฐกิจ. เศรษฐกิจ. ความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ. สังคม. การเมือง. ภาวะโลกร้อน.
E N D
One Vision การเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558 One Identity One Community ชาญวิทย์ ไกรฤกษ์ รองเลขาธิการ ก.พ. 21 กันยายน 2554 1
สิ่งท้าทายราชการ ในประเทศ นอกประเทศ เศรษฐกิจ เศรษฐกิจ ความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ สังคม การเมือง ภาวะโลกร้อน เทคโนโลยีสารสนเทศ การแข่งขัน ระดับภูมิภาค การรวมตัว ระดับภูมิภาค ระบบราชการ 2
Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อ 8 สิงหาคม 1967 (พ.ศ. 2510) 3
“....เศรษฐกิจที่แตกแยกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแต่ละประเทศดำเนินการตามจุดประสงค์ของตนภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด โดยมีความขัดแย้งระหว่างประทศในภูมิภาค นำมาซึ่งความอ่อนแอของภูมิภาค อาเซียนควรจัดสรรศักยภาพที่มีของภูมิภาคอันอุดมสมบูรณ์นี้ด้วยการร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ....” คำกล่าวของนายนาร์ชิโช รามอส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ ในการลงนามใน “ปฏิญญาอาเซียน” วันที่ 8 สิงหาคม 2510 ที่ประเทศไทย 4
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ 5
ความเป็นมาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนความเป็นมาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน เดือนธันวาคม 2540 ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสาร "วิสัยทัศน์อาเซียน 2020" กำหนดเป้าหมายหลัก 4 ประการ เพื่อมุ่งพัฒนาอาเซียนไปสู่ "ประชาคมอาเซียน" (ASEAN Community)ให้เป็นผลสำเร็จภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่งจะประกอบด้วย "เสาประชาคมหลักรวม 3 เสา" ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน รวมทั้งจัดโครงสร้างองค์กรของอาเซียน รองรับภารกิจและพันธกิจ 6
ความเป็นมาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนความเป็นมาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน • วันที่ 7 ตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนเห็นชอบปฏิญญาอาเซียนคองคอร์ดสอง ที่เมืองบาหลี อินโดนีเซีย เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2563 • วันที่ 13 มกราคม 2550 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ลงนามในปฏิญญาเซบูกำหนดให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 • วันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ ตกลงให้มีการจัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 2558 ทั้งสามเสาหลัก • วันที่ 1 มีนาคม 2552 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ ชะอำ หัวหินผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรอง “ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน(ค.ศ. 2009-2015)” เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 7
ASEAN Connectivity ด้านประชาชน ด้านกฎระเบียบ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ASEAN Community 2015 ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน ASEAN Politicaly-Security Community ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน ASEAN Socio-Cultural Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ASEAN Economic Community 8
ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน 1.ใช้ข้อตกลงและกลไกของอาเซียนเพิ่มศักยภาพ ในการแก้ไขข้อพิพาทภายในภูมิภาคแลตั้งรับภัยคุกคาม ความมั่นคงในรูปแบบใหม่ ๆ ร่วมกัน 2.ริเริ่มกลไกใหม่ ๆ ในการส่งเสริมความมั่นคง และกำหนดรูปแบบใหม่สำหรับความร่วมมือด้านความมั่นคง 3.กำหนดมาตรการป้องกันข้อพิพาท การแก้ไขข้อพิพาท และการยุติข้อพิพาท ร่วมกัน 4.ส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลอันไม่กระทบต่อ ความเป็นอิสระของประเทศสมาชิก ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศและความร่วมมือ ทางทหารกับประเทศนอกภูมิภาค เป้าหมาย 9
เป้าหมาย 1.ให้คนในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร 2.แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจาก การรวมตัวทางเศรษฐกิจ 3. ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง 4.สร้างเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน ประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน 10
1.เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน พร้อมลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ 2.ทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว 3.ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการพัฒนา 4.ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน เป้าหมาย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 11
Master Plan of ASEAN Connectivity แผนแม่บทความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ความเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐาน ความเชื่อมโยงทางกฎระเบียบ ความเชื่อมโยงทางประชาชน 12
1.ความเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐาน1.ความเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐาน 13
2.ความเชื่อมโยงทางกฎระเบียบ2.ความเชื่อมโยงทางกฎระเบียบ 14
2.ความเชื่อมโยงทางกฎระเบียบ2.ความเชื่อมโยงทางกฎระเบียบ 15
3.ความเชื่อมโยงทางประชาชน3.ความเชื่อมโยงทางประชาชน 16
3.ความเชื่อมโยงทางประชาชน3.ความเชื่อมโยงทางประชาชน 17
นโยบายรัฐบาล(แถลงต่อรัฐสภาวันที่ 23 สิงหาคม 2554) • นำประเทศไทยสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง • เร่งดำเนินการตามข้อผูกพันในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคง ตลอดจนการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในและภายนอกภูมิภาค • ส่งเสริมความร่วมมือและเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาคมอาเซียน • สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน • เตรียมความพร้อมขอบทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความมั่นคง 18
แผนการบริหารราชการแผ่นดิน2555 - 2558 • นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง • ฟื้นฟูสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ รวมทั้งลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและการขยายฐานภาษีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 • เร่งยกระดับฝีมือแรงงานเพื่อนาไปสู่เป้าหมายให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้แรงงานมีฝีมือ ทั้งระบบและเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานภายใต้ประชาคมอาเซียนในปี 2558 • ส่งเสริมพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รวมทั้งเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 • ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเลิศในด้านผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ในภูมิภาคเอเชีย 19
การเตรียมการของสำนักงาน ก.พ. 20
ปี 2524 ที่ประชุมอาเซียนได้ก่อตั้ง “การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการราชการพลเรือน” (ASEAN Conference on Civil Service Matters : ACCSM ให้เป็นกลไกหนึ่งของสมาคมอาเซียน 21
“แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ.2552 - 2558” Blueprint for The ASEAN Socio-Cultural Community 2009 - 2015 A. การพัฒนามนุษย์ (Human Development) B. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) C. ความยุติธรรมและสิทธิ (Social Justice and Rights) D. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Ensuring Environmental Sustainability) E. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building the ASEAN Identity) F. การลดช่องว่างการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) 22
A.การพัฒนามนุษย์ A 1. การให้ความสำคัญกับการศึกษา (21 มาตรการ) A 2. การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8 มาตรการ) A 3. การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม (4 มาตรการ) A 4. การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ (6 มาตรการ) A 5. การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเชิงประยุกต์ (8 มาตรการ) A 6. การเสริมสร้างทักษะการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (3 มาตรการ) A 7. การพัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ (8 มาตรการ) 23
แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ข้อ A การพัฒนามนุษย์ รัฐบาลไทยมอบหมายให้ สำนักงาน ก.พ. รับผิดชอบ ข้อ A 7 พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ 24
A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ • เน้นการจัดตั้งระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีความรับผิดชอบและมีความน่าเชื่อถือ โดยการเพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรบุคคลในระบบราชการของอาเซียน และเพิ่มความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน 25
A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการมาตรการ พัฒนายุทธศาสตร์เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการการประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการด้านพลเรือน (ACCSM WORK PLAN 2008-2015) โดยส่วนที่สำนักงาน ก.พ. รับผิดชอบ เช่น การพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ การพัฒนาภาวะผู้นำ ให้ ACCSM สนับสนุนการประสานงานในอาเซียนเพื่อให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสาธารณ มีธรรมาภิบาล รวมทั้งสนับสนุนการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านเหล่านี้ประจำทุกปี โดยให้เริ่มตั้งแต่ปี 2551 26
A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการมาตรการ เสริมสร้างขีดความสามารถของ ASEAN Resource Center ภายใต้ ACCSM เพื่อพัฒนาและจัดฝึกอบรมเพื่อช่วยประเทศสมาชิกอาเซียน พัฒนาผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรเพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลในการฝึกอบรมและเสริมสร้างขีดความสามารถของราชการพลเรือน พัฒนาหลักสูตรอบรมให้เหมาะสมสำหรับเพศและการพัฒนา และหลักสูตรพัฒนาหลักจริยธรรมและธรรมาภิบาล สำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 27
A7. พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการมาตรการ จัดโครงการฝึกอบรมโดยเน้นการเสริมสร้างขีดความ สามารถเพื่อแลกเปลี่ยนกันในระบบราชการอาเซียนภายใต้การประชุม ACCSM กระชับความร่วมมือเพื่อบรรลุการพัฒนาราชการพลเรือนที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีความสามารถ น่าเชื่อถือและตอบสนองต่อระบบราชการในอาเซียน โดยดำเนินกิจกรรมผ่าน ARC กรอบความร่วมมือรายสาขา และกิจกรรมระดับภูมิภาคที่สนับสนุนการดำเนินการของ ACCSM จัดทำนโยบายและโครงการพัฒนาราชการพลเรือนที่ยั่งยืน เพื่อให้ ACCSM WORK Plan 2008-2015 บรรลุผลสำเร็จ เน้นความโปร่งใส ซื่อสัตย์ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมทางเพศ 28
การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ. (การพัฒนาสมรรถภาพระบบราชการ) ระบบราชการไทย ระบบราชการ ประเทศสมาชิก พัฒนากฎหมาย ข้าราชการพลเรือน ให้ความร่วมมือภายใต้ ACCSM/ARC พัฒนากลไก/เครื่องมือ บริหารบุคคล พัฒนาข้าราชการ (ยุทธศาสตร์พัฒนา ฯ 52 – 55) โครงการเตรียมข้าราชการ สู่ประชาคมอาเซียน 55 - 58 29
การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ.ปัจจุบัน จัดอบรมหลักสูตรประจำปี ASEAN Middle Management and Leadership Development จัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ตามคำขอของประเทศสมาชิก เช่น หลักสูตร HR Strategic Management แก่ข้าราชการกัมพูชา จัดอบรมภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศสมาชิกอาเซียน 19 โครงการ ระหว่างปี 2553 – 2555 ด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้าน HR Professional และด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ ดำเนินโครงการความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับสิงคโปร์ (การจัดอบรมร่วมกัน การแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อเพิ่มประสบการณ์การณ์ทำงาน การจัดทำหลักสูตรออนไลน์ร่วมกัน ฯ ล ฯ) ในฐานะ ARC 30
การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ.ปัจจุบัน เป็นเจ้าภาพจัดประชุมประจำปี(ตามลำดับอักษร) เข้าร่วมประชุมประจำปี โดยนำเสนอ Country Paper, Technical Paper นำเสนอข้อคิดเห็นใหม่ ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการพลเรือน นำประสบการณ์การพัฒนาระบบราชการของประเทศสมาชิกมาปรับใช้กับราชการไทย ร่วมกำหนด ACCSM Blueprint 2008 – 2012 และปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว ให้การสนับสนุนประเทศสมาชิกตามที่ร้องขอ เช่น สนับสนุนที่ปรึกษาระบบราชการ ในฐานะ ACCSM 31
การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ.(การเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน 2558) ดำเนินการในบทบาทของ ARC และ ACCSM อย่างต่อเนื่อง ปีงบประมาณ 2554 ปรับปรุง/สร้างหลักสูตรอบรมทั้งที่เป็นหลักสูตรเฉพาะและหลักสูตรพื้นฐาน เน้นการสร้างความตื่นตัว/ความตระหนัก ปรับเปลี่ยนทัศนคติ รับทราบ เข้าใจ ถึงที่มา แนวคิด เป้าหมาย และผลกระทบของอาเซียนและการมีประชาคมอาเซียน เปิดตัวแนวทางการเตรียมความพร้อมในเวทีต่าง ๆ สอดแทรกเรื่องประชาคมอาเซียนไว้ในหลักสูตรฝึกอบรมหลัก ๆ บรรจุเรื่องการเตรียมความพร้อมข้าราชการ ฯ ไว้ในแผนบริหารราชการแผ่นดิน 32
การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ.(การเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน 2558) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป 33
คุณลักษณะของบุคลากรภาครัฐที่พึงประสงค์สู่การรวมตัวของประชาคมอาเซียนคุณลักษณะของบุคลากรภาครัฐที่พึงประสงค์สู่การรวมตัวของประชาคมอาเซียน มีความเป็นนานาชาติ มีความเป็นมืออาชีพ มีความเป็นผู้สนับสนุน 34
มีความเป็นนานาชาติ • มีทัศนะเชิงบวกต่ออาเซียนและประชาคมอาเซียน • มีทัศนคติต่อประเทศสมาชิกในลักษณะ “ภูมิภาคนิยม” มองว่า “คนในประชาคมอาเซียนคือพลเมืองของภูมิภาค มีความเท่าเทียมกัน และต้องพึ่งพากัน” • มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียนและประชาคมอาเซียน รวมทั้งประเทศสมาชิก • มีทักษะด้านภาษาอังกฤษในระดับของการสนทนา เจรจาต่อรอง การเขียนข้อกฎหมาย การจัดทำข้อเสนอโครงการ การเข้าใจคำศัพท์เฉพาะ การเข้าใจภาษาของประเทศสมาชิกโดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานในตะเข็บชายแดน 35
มีความเป็นนานาชาติ • มีทักษะการเจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ รู้เป้าหมายในการเจรจา รู้ข้อมูลเชิงลึกของคู่เจรจา รู้เทคนิคการเจรจา เข้าใจสถานการณ์ • มีทักษะด้านการประชุมนานาชาติระดับสากล (ประเด็น เป้าหมาย ภาษา การจัด การทำบันทึกการประชุม) • มีทักษะในการอ่านและเข้าใจข้อตกลง/กฎหมายระหว่างประเทศ/กฎหมายของประเทศสมาชิก รวมทั้งการปรับใช้กับบริบทของไทย 36
มีความเป็นมืออาชีพ • ทำงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์โดยยึดเป้าหมายร่วมกัน ไม่ยึดติดกับกฎระเบียบ • มีการสั่งสมความรู้ความเชี่ยวชาญในงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจอาเซียน และสามารถถ่ายทอดความรู้ความเชี่ยวชาญนั้น ๆ ให้แก่เพื่อนร่วมงาน • มีขั้นตอนการทำงานที่โปร่งใส ได้มาตรฐาน มีความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน • มีจิตสำนึกของการทำงานเป็นทีม มีการสร้างเครือข่ายกับทุกภาคส่วนและกับประเทศสมาชิก • มีความเข้าใจและสามารถกำหนดมาตรฐานการทำงานที่เป็นสากล 37
มีความเป็นผู้สนับสนุนมีความเป็นผู้สนับสนุน • มีภาวะผู้นำเชิงรุก โดยมียุทธศาสตร์ในการนำภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคมให้ตระหนักและเข้าใจเรื่ออาเซียนและประชาคมอาเซียน เพื่อให้ภาครัฐสามารถดำเนินบทบาทเชิงรุกในการนำประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและการแข่งขันได้ตามพันธะกรณี • เข้าใจความต้องการของภาคเอกชนและประชาชน พร้อมที่จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากข้อตกลงของประชาคมอาเซียน • สามารถให้บริการได้อย่างมีมาตรฐานระดับสากล โปร่งใส คล่องตัว มีประสิทธิภาพประสิทธิผล 38
ความรู้ที่ข้าราชการต้องมีความรู้ที่ข้าราชการต้องมี ปรับทัศนคติ ความรู้เรื่องอาเซียน ความรู้เรื่องประเทศ สมาชิกอาเซียน • ความเป็นมา/เป้าหมายของสมาคมอาเซียน • กฎบัตรอาเซียน • ความเป็นมา/เป้าหมายของประชาคมอาเซียน • แผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในแต่ละเสา • ฯ ล ฯ • ประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิก • สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองของประเทศสมาชิก • จุดเด่นของแต่ละประเทศ • ฯ ล ฯ ความรู้เฉพาะเรื่อง ตามภารกิจ ของส่วนราชการ + นโยบายต่างประเทศ ของไทย 39
ทักษะที่ข้าราชการต้องมีทักษะที่ข้าราชการต้องมี ทักษะทั่วไป ทักษะเฉพาะ • ภาษาอังกฤษ(การฟัง เขียน พูด) • การประชุมนานาชาติ • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย • การเจรจาต่อรอง • การบริหารความเสี่ยง • การติดต่อประสานงาน • ฯ ล ฯ • ภาษาประเทศเพื่อนบ้าน • การวิเคราะห์ตลาด/การวิเคราะห์คู๋แข่ง • การวางแผนเชิงกลยุทธ • การยกร่าง MOUสัญญาระหว่างประเทศ • การบริหารแรงงานต่างด้าว • การวางแผนกำลังคนเชิงกลยุทธ • ฯ ล ฯ 40
มติ ก.พ. (10 ตุลาคม 2554) จุดมุ่งหมาย 1. เพื่อให้ข้าราชการเกิดความตระหนักรู้ถึงความจำเป็นที่ต้องมีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2. เพื่อให้ข้าราชการตระหนักรู้ เข้าใจ และรับผิดชอบภารกิจที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนตามที่ได้รับมอบหมาย 3. เพื่อให้ข้าราชการและส่วนราชการได้มีแนวทางในการพัฒนาตนเองเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
นโยบาย 1. ให้การเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียนถือเป็นนโยบายของทุกส่วนราชการ 2. ทุกส่วนราชการต้องมีผู้รับผิดชอบและหน่วยงานที่ชัดเจนในการเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน 3. ทุกส่วนราชการต้องมีแผนเตรียมความพร้อมข้าราชการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 4. ให้ข้าราชการได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะทั้งหลักสูตรพื้นฐานและหลักสูตรเฉพาะตามแนวทางการดำเนินการที่ ก.พ. กำหนด 5. ให้สำนักงาน ก.พ. ให้คำปรึกษาแนะนำ จัดทำกรอบและแนวทางการอบรม และสนับสนุนส่งเสริมความรู้ที่จำเป็นต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับข้าราชการ 6. ให้มีการทดสอบความรู้และทักษะพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียนในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการ 7. ให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณในการเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่ประชาคมอาเซียน
หลักสูตรการอบรมที่จะดำเนินการหลักสูตรการอบรมที่จะดำเนินการ
ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐที่ควรปรับปรุงระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐที่ควรปรับปรุง Recruitment/Selection • Specific selection/track • OCSC talent scholarship • ASEAN internship program • Basic skill • Functional Skill • Basic knowledge Learning Development • Executive Program • Middle level Program • ASEAN Specialist Program • General staff Performance Management • Performance evaluation • Competency – based management Others • Laws/regulations adjustment • ASEAN Unit establishment • etc 49
ตัวอย่างความรับผิดชอบของหน่วยงาน(ตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน)ตัวอย่างความรับผิดชอบของหน่วยงาน(ตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน) 50