510 likes | 784 Views
กฎหมาย ระเบียบ หนังสือเวียน ที่เกี่ยวข้องกับงานงบประมาณ. พ.ต.อ.หญิง วิภา อัศวแสงรัตน์. ผกก.ฝวช.งป. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณพ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
E N D
กฎหมาย ระเบียบ หนังสือเวียน ที่เกี่ยวข้องกับงานงบประมาณ พ.ต.อ.หญิง วิภา อัศวแสงรัตน์ ผกก.ฝวช.งป.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 • พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณพ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 • ระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดีหรือผู้แทนผู้บังคับบัญชาตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555 • คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 418/2552 ลง 3 ก.ย. 52 กฎหมาย ระเบียบ หนังสือเวียน ที่เกี่ยวข้องกับงานงบประมาณ
มาตรา 168 • งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินให้ทำเป็นพระราชบัญญัติ ถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณ ในปีงบประมาณก่อนนั้นไปพลางก่อน • ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และร่าง พ.ร.บ. โอนงบประมาณรายจ่าย สภาผู้แทนราษฎรจะต้องวิเคราะห์ และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 105 วัน นับตั้แต่วันที่ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมาถึง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ
มาตรา 168 • ถ้าสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นั้นไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความชอบ และให้เสนอร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวต่อวุฒิสภา • ในการพิจารณาของวุฒิสภา จะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ภายใน 20 วัน นับตั้งแต่วันที่ร่าง พ.ร.บ. นั้นมาถึงวุฒิสภา โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมใดๆไม่ได้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ
มาตรา 168 • ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมฯ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการมิได้ แต่อาจ แปรญัตติในทางลดหรือตัดทอนรายจ่าย ซึ่งมิใช่รายจ่ายตาม ข้อผูกพันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ • 1) เงินส่งใช้ต้นเงินกู้ • 2) ดอกเบี้ยเงินกู้ • 3) เงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ
มาตรา 4 • “งบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า จำนวนเงินอย่างสูงที่อนุญาตให้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันได้ ตามวัตถุประสงค์และภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย • “งบประมาณรายจ่ายข้ามปี” หมายความว่า งบประมาณรายจ่ายที่ใช้ได้เกินปีงบประมาณ ตามวัตถุประสงค์และระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย • “ปีงบประมาณ” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีหนึ่ง ถึงวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้น เป็นชื่อสำหรับปีงบประมาณนั้น พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 4 • “เงินประจำงวด” หมายความว่า ส่วนหนึ่งของงบประมาณรายจ่าย ที่แบ่งสรรให้จ่าย หรือให้ก่อหนี้ผูกพันในระยะเวลาหนึ่ง • “ส่วนราชการ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่าสำนักงาน หรือหน่วยอื่นใดของรัฐ แต่ไม่รวมตลอดถึงรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 4 • “คลัง” หมายความว่า คลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ และให้หมายความรวมถึงบัญชีเงินฝากของกระทรวงการคลัง ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย • “เงินทดรองราชการ” หมายความว่า เงินที่กระทรวงการคลังจ่ายและอนุญาตให้ส่วนราชการมีไว้ตามจำนวนที่เห็นสมควร เพื่อทดรองเป็นค่าใช้จ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง • “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ • “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 9 ทวิ • เมื่อ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมใช้บังคับแล้ว หรือเมื่อมีกรณีที่ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วไปพลางก่อน ถ้ารายจ่ายสูงกว่ารายได้ ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินได้ตามความจำเป็น แต่กรณีจะเป็นไปประการใดก็ตาม การกู้เงินตามมาตรานี้ในปีหนึ่งๆ ไม่เกิน • ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วมา แล้วแต่กรณีกับอีก • ร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนต้นเงินกู้ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 13 ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หรือรัฐมนตรีซึ่งตามกฎหมายให้มีหน้าที่กำกับฯ มีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นงบประมาณประจำปีของส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจนั้น ต่อผู้อำนวยการ ภายในเวลาที่ผู้อำนวยการกำหนด พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 17 ในกรณีความจำเป็นจะต้องจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันเกินกว่า หรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี คณะรัฐมนตรีอาจเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมต่อรัฐสภาได้ และให้แสดงถึงเงินที่พึงได้มาสำหรับจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่ขอตั้งด้วย พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 18 • รายจ่ายที่กำหนดไว้สำหรับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจใด ตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีก็ดี พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมก็ดี จะโอนหรือนำไปใช้สำหรับส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจอื่นมิได้ เว้นแต่ • มี พ.ร.บ. ให้โอน หรือนำไปใช้ได้ • ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกา รวมหรือโอนส่วนราชการเข้าด้วยกัน พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 24 บรรดาเงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญา หรือได้รับจากการใช้ทรัพย์สิน หรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของราชการ ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้น นำส่งคลังตามระเบียบ หรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฏหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
มาตรา 24 • รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินในกรณีต่อไปนี้ นำเงินนั้นไปใช้จ่ายโดยไม่ต้องนำส่งคลังก็ได้ คือ • เงินที่ได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหาย หรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน และจำเป็นต้องจ่าย เพื่อบูรณะทรัพย์สิน หรือจัดให้ได้ทรัพย์สินคืนมา • เงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานพยาบาล สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใด ที่อำนวยบริการอื่นเป็นสาธารณประโยชน์ หรือประชาสงเคราะห์ พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 4 ในระเบียบนี้ “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ “การจัดสรรงบประมาณ” หมายความว่า การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพัน ทั้งนี้ อาจดำเนินการโดยใช้การอนุมัติเงินประจำงวดหรือโดยวิธีการอื่นใด ตามที่สำนักงบประมาณกำหนด ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 4 “การโอนงบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า การโอนเงินงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณของผลผลิต หรือโครงการใดๆไปผลผลิต หรือโครงการอื่น ภายในงบรายจ่ายเดียวกัน หรือการโอนเงินต่างงบรายจ่ายในผลผลิต หรือโครงการเดียวกันภายใต้แผนงานเดียวกัน “การเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงรายการและหรือจำนวนเงินของรายการที่กำหนดไว้ภายใต้งบรายจ่ายของแผนงาน ผลผลิตหรือโครงการเดียวกัน ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 4 “แผนการปฏิบัติงาน” หมายความว่า แผนการปฏิบัติงานของ ส่วนราชการฯ ในรอบปีงบประมาณ “แผนการใช้จ่ายงบประมาณ” หมายความว่า แผนแสดงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย สำหรับส่วนราชการฯ เพื่อดำเนินงานตามแผนการปฏิบัติงาน ในรอบปีงบประมาณ “การโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่าย” หมายความว่า การโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายจากสำนักเบิกส่วนกลางไปยังสำนักเบิกส่วนภูมิภาคใด หรือจากสำนักเบิกส่วนภูมิภาคใดไปยังสำนักเบิกส่วนภูมิภาคอื่น โดยสอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 7 รายจ่ายตามงบประมาณรายจ่ายรายการใด จะกำหนดให้เบิกจ่ายในประเภทงบรายจ่ายใด ให้เป็นไปตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณที่สำนักงบประมาณกำหนด ให้หัวหน้าส่วนราชการฯ คำนวณค่าใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่ายของแต่ละผลผลิตหรือโครงการ เพื่อใช้ในการจัดทำค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิต หรือโครงการสำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณถัดไป ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 11 ให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนวันเริ่มต้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงบประมาณกำหนด ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 17 การกำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ การสำรวจ ออกแบบรูปรายการก่อสร้างโดยละเอียด การกำหนดจำนวนเนื้อที่ของที่ดิน สถานที่ตั้ง และราคา ตลอดจนการดำเนินการจัดหา ให้หัวหน้าส่วนราชการฯรับผิดชอบ ควบคุมดูแลให้การจัดหาฯ เป็นไปตามความจำเป็น เหมาะสม อย่างโปร่งใส คุ้มค่าและประหยัด รวมทั้งเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบฯที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานของทางราชการอย่างเคร่งครัด ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 20 ในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เร่งดำเนินการโอนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผนงานในเชิงบูรณาการ ผลผลิตหรือโครงการ ประเภทงบรายจ่าย และรายการในงบรายจ่ายที่ต้องดำเนินการในเขตพื้นที่จังหวัด ยกเว้นบุคลากรประเภทเงินเดือน และค่าจ้างประจำไปยังสำนักเบิกส่วนภูมิภาคนั้นๆ ตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้ โดยไม่ชักช้า แต่อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 21 • การใช้จ่ายที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายของแต่ละผลผลิต หรือโครงการภายใต้แผนงานเดียวกัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ • งบบุคลากร ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่สำนักงบประมาณกำหนดว่า เป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ และให้ถัวจ่ายกันได้ • งบดำเนินการ ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำหนดว่าเป็นรายจ่าย งบรายจ่ายนี้ และให้ถัวจ่ายกันได้ เว้นแต่รายจ่ายประเภทค่าสาธารณูปโภค ให้นำไปใช้จ่ายในประเภทอื่น ภายในงบรายจ่ายนี้ได้ หากไม่มีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 21 • งบลงทุน ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำหนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ตามรายการและวงเงินที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ไว้ในแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณด้วย ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 21 • งบเงินอุดหนุน ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำหนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้ดังนี้ • ก.ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป ให้ใช้จ่ายตามรายการและจำนวนเงินกำหนดในการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย • ข.ประเภทเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ให้ใช้จ่ายตามรายการ จำนวนเงินและรายละเอียดอื่นใดที่กำหนดในการจัดสรรงบประมาณหรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ทั้งนี้ ให้นำความใน (1) (2) และ (3) มาบังคับใช้โดยอนุโลม ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 21 • งบรายจ่ายอื่น ให้ใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ที่กำหนดว่าเป็นรายจ่ายงบรายจ่ายนี้และให้เบิกจ่ายตามรายการและจำนวนเงินที่กำหนดในการจัดสรรงบประมาณ หรือการโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ทั้งนี้ ให้นำความใน (1) (2) และ (3) มาบังคับใช้โดยอนุโลม ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 23 ในกรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีความจำเป็นต้องโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ให้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เพิ่มคุณภาพการให้บริการ พัฒนาบุคลากร เทคโนโลยี รวมทั้งจะต้องแสดงเหตุผลความจำเป็นหรือความเหมาะสมได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อประชาชน ประหยัด คุ้มค่าฯ รวมทั้งต้องสอดคล้องกับเป้าหมายการให้บริการกระทรวง และเป้าหมายยุทธศาสตร์ได้ด้วย การโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณดังกล่าวข้างต้น ต้องไม่ทำให้เป้าหมายผลผลิตหรือโครงการตามแผนการปฏิบัติงานฯ เป็นไปในทางลดลงในสาระสำคัญ และต้องไม่ทำให้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 24 หัวหน้าส่วนราชการฯ มีอำนาจโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในงบรายจ่ายใดๆ ภายใต้แผนงานเดียวกัน ยกเว้นงบบุคลากร เพื่อจัดทำผลผลิต หรือโครงการตามเป้าหมายที่ระบุในเอกสาร พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ หรือเพื่อเพิ่มเติมเป้าหมายผลผลิตหรือโครงการดังกล่าว ให้บรรลุเป้าหมายการให้บริการของกระทรวง แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 24 การโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณดังกล่าวข้างต้น ต้องไม่เป็นการกำหนดอัตราบุคลากรตั้งใหม่ รายการจัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะ รายการค่าที่ดิน หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงาน และในกรณีที่เป็นการโอนหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อจัดหาครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างจะต้องมีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทและต่ำกว่าสิบล้านบาทตามลำดับ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 25 หัวหน้าส่วนราชการฯ มีอำนาจโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายภายใต้แผนงานเดียวกันที่เหลือจ่ายจากการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายผลผลิตหรือโครงการ ตามที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ หรือจากการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ไปใช้จ่ายเป็นรายจ่ายใดๆ ได้ แต่มิให้นำไปใช้จ่ายเป็นรายการอัตราบุคลากรตั้งใหม่ รายการค่าที่ดิน หรือรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ และมิให้นำไปใช้จ่ายหรือสมทบจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงานฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณแล้ว ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 25 ในกรณีที่มีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระ หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายตามข้อผูกพันสัญญาค้างชำระ ให้โอนไปชำระเป็นอันดับแรกก่อนตามลำดับ การโอนหรือเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายดังกล่าว เพื่อจัดหาครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง จะต้องมีวงเงินต่อหน่วยต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทและต่ำกว่าสิบล้านบาทตามลำดับและการโอนหรือเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นค่าจัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะต้องเป็นการจัดหาเฉพาะเพื่อทดแทนครุภัณฑ์ยานพาหนะเดิม ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 26 ในกรณีที่ส่วนราชการฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับรายการครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่มิใช่รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ แต่ไม่อาจจัดหาได้ด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม หัวหน้าส่วนราชการฯ มีอำนาจและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายในงบรายจ่ายต่างๆ ภายใต้แผนงานเดียวกัน หรือนำเงินนอกงบประมาณไปเพิ่มวงเงินรายการครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างนับได้ไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 27 การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 28 เมื่อหัวหน้าส่วนราชการฯ ได้ใช้อำนาจตามที่ได้รับมอบหมายสั่งโอนและหรือปลี่ยนแปลงงบประมาณตามระเบียบนี้แล้ว ให้จัดทำและส่งรายการด้วยระบบ GFMIS โดยไม่ชักช้า แค่อย่างช้าต้องไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่โอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่าย ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 34 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการใดที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจได้รับการจัดสรรและได้นำไปใช้จ่ายจนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายผลผลิต โครงการหรือรายงาน และหรือจากการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วมีเงินเหลือจ่ายให้นำส่งคืนคลัง เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องนำไปใช้จ่ายในรายการอื่นๆ ให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณก่อน ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 35 เพื่อประโยชน์ในการติดตามและประเมินผล ให้ส่วนราชการฯ จัดให้มีระบบการรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณและให้จัดทำรายงาน ดังนี้ (1) รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ ตามเกณฑ์การวัดของตัวชี้วัดผลสำเร็จตามที่กำหนดไว้ ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งระบุปัญหา อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงบประมาณกำหนดและจัดส่งด้วยระบบ GFMIS เมื่อสิ้นระยะเวลาในแต่ละไตรมาส ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นไตรมาส (2) รายงานประจำปีที่แสดงถึงความสำเร็จในการปฏิบัติงานของส่วนราชการฯ ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการให้บริการของกระทรวง โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนส่งสำนักงบประมาณภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ 4 เมื่อคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติรายการ และวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณแล้วส่วนราชการฯ ดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นรายการครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้เสนอผลการจัดซื้อจัดจ้างที่ได้ดำเนินการแล้วให้สำนักงบประมาณพิจารณาความเหมาะสมของราคาก่อนทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันเว้นแต่เป็นรายการที่สำนักงบประมาณได้ให้ความเห็นชอบความเหมาะสมของราคาแล้ว (2) ในกรณีที่เป็นรายการก่อหนี้ผูกพันซึ่งเป็นรายจ่ายประจำในงบดำเนินงาน งบเงินอุดหนุน หรืองบรายจ่ายอื่น ให้ดำเนินการก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
ข้อ 6 เมื่อได้รับความเห็นชอบเกี่ยวกับความเหมาะสมของราคาจากสำนักงบประมาณแล้ว ให้ส่วนราชการฯ ดำเนินการทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันตามวงเงินและรายละเอียดที่สำนักงบประมาณกำหนด วงเงินและรายละเอียดที่สำนักงบประมาณได้ให้ความเห็นชอบแล้วจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
ข้อ 7 ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรายการ วงเงิน ระยะเวลา หรือรายละเอียดของรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ส่วนราชการดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของรายการ โดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (2) การขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันโดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพัน ให้เสนอขออนุมัติต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด และรายงานสำนักงบประมาณทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ (3) การเปลี่ยนแปลงรายการหรือการเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี โดยต้องส่งผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือรายละเอียดอื่นใดที่เกี่ยวข้อง ให้สำนักงบประมาณพิจารณาเพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วย ระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549
มาตรา 14 วรรคสอง ในกรณีที่มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด กำหนดให้การดำเนินการใดเป็นอำนาจของอธิบดีหรือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ผู้บัญชาการมีอำนาจเช่นว่านั้น ในฐานะเป็นอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในกองบัญชาการทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ต.ช. กำหนด พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547
อำนาจของผู้บัญชาการในฐานะอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรวอำนาจของผู้บัญชาการในฐานะอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรว • แห่งชาติในสิ่งที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ของ บช.นั้น • 2. เรื่องที่เป็นอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการ ของผู้บัญชาการในฐานะอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555
1. อำนาจของผู้บัญชาการในฐานะอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติราชการของ บช.ในด้านงบประมาณ ได้กำหนดแนวทางไว้ดังนี้ 1.1 การจัดทำงบประมาณ 1.1.1 ให้ ผบช.มีหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณของ บช.นั้น และจัดทำคำของบประมาณ รายจ่ายประจำปีของ บช.ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงบประมาณและ ตร.กำหนด 1.1.2 ให้ ผบช.จัดทำค่าใช้จ่ายต่อหน่วยผลผลิตหรือโครงการตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่สำนักงบประมาณและ ตร.กำหนด สำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายใน ปีงบประมาณต่อไป แนวทางปฏิบัติด้านงบประมาณ ประกอบระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วยการปฏิบัติราชการ ของผู้บัญชาการ
1.2 การบริหารงบประมาณรายจ่าย การจัดทำและการปรับปรุง แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย และการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงบประมาณและ ตร. กำหนด แนวทางปฏิบัติด้านงบประมาณ ประกอบระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วยการปฏิบัติราชการ ของผู้บัญชาการ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6 แห่งระเบียบ ก.ต.ช. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะเป็นอธิบดี หรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2551 จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติในการบริหารงานงบประมาณสำหรับ บช.ต่างๆ ไว้ดังนี้ 1.ผบช.มีอำนาจในฐานะหัวหน้าส่วนราชการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางด้านงบประมาณ ตลอดจนการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ แนวทางและวิธีการที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง สำนักงานกลางตรวจเงินแผ่นดิน กำหนดมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริการกิจการบ้านเมืองที่ดี คำสั่ง ตร.ที่ 418/2552 ลง 3 ก.ย.52เรื่องแนวทางปฏิบัติในการบริหารงบประมาณ ในอำนาจของผู้บัญชาการ
2.เรื่องดังต่อไปนี้ ต้องรับความเห็นชอบจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก่อนดำเนินการ 2.1 การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ งบบุคลาการ เป็นงบรายจ่ายใดๆ 2.2 การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ งบรายจ่ายใดๆ เป็นรายการค่าที่ดิน หรือรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปี หรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนการปฎิบัติงานและแผนการการใช้จ่ายงบประมาณหรือการโอนเปลี่ยนแปลงเนื้อหาจัดหาครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้าง วงเงินต่อหน่วยตั้งแต่หนึ่งล้านบาทและตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไปตามลำดับ หรือไปเพิ่มวงเงินรายการครุภัณฑ์ หรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่อาจจัดหาได้ด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม เกินร้อยละสิบของวงเงินที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 3.การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ โดยต้องยืนยันด้วยว่าไม่มีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระ และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายตามข้อผูกพันสัญญา คำสั่ง ตร.ที่ 418/2552 ลง 3 ก.ย.52เรื่องแนวทางปฏิบัติในการบริหารงบประมาณ ในอำนาจของผู้บัญชาการ
ข้อ 2.10 การโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ ห้ามมิให้หน่วยต่างๆ โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่ได้รับทุกงบรายจ่ายไปใช้ในรายการอื่น แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณให้เสนอขอรับความเห็นชอบจาก ตร. ก่อนดำเนินการทุกกรณี และต้องไม่มีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระเมื่อสิ้นปีงบประมาณ หนังสือ ตร.ด่วนที่สุด 0010.181/4501 ลง 21 ต.ค.56 เรื่อง แนวทางการบริหารงบประมาณ รายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2557
2.เรื่องที่สงวนไว้เป็นอำนาจของ ผบ.ตร. 1.การวางแผนสรรหากำลังพล 2.การให้ความยินยอมให้ข้าราชการดำรงโอนไปรับราชการในส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่น 3.การอนุญาตให้ข้าราชการตำรวจไปปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวนอกสังกัด ตร. 4.การจัดหายุทธภัณฑ์บางประเภท ตามที่ ตร.กำหนด ระเบียบ กตช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการ ในฐานะอธิบดีหรือแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555
ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 ข้อ 23. ส่วนราชการมีความจำเป็นการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณต้องไม่ทำให้เป้าหมายผลผลิตลดลงในสาระสำคัญและต้องไม่มีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระเมื่อสิ้นปีงบประมาณ ข้อ 24. ส่วนราชการมีความจำเป็นโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณจะต้องเป็นการโอนเปลี่ยนแปลงเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 1 ล้านบาท สิ่งก่อสร้างต่ำกว่า 10 ล้าน ข้อ 25. ส่วนราชการมีเงินเหลือจ่าย จัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะต้องเป็นการจัดหาเพื่อทดแทนครุภัฑณ์ยานพาหนะเดิมเท่านั้น หากมีหนี้ค่าสาธารณูปโภคค้างชำระ ให้โอนไปชำระเป็นอันดับแรก สรุปความเชื่อมโยงของกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
ให้อำนาจของ ผบช. ในฐานะอธิบดีหรือแทน ผบ.ตร. ในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของ บช. (ด้านงบประมาณ) ระเบียบ กตช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติราชการของผู้บัญชาการในฐานะอธิบดีหรือแทน ผบ.ตร. พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2555
2. เรื่องดังต่อไปนี้ ต้องขอรับความเห็นชอบจาก ผบ.ตร. ก่อนดำเนินการ 2.1 การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ งบบุคลากร เป็นงบรายจ่ายใดๆ 2.2 การโอนและหรือเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ งบรายจ่ายใดๆ ฯลฯ หรือการโอนเปลี่ยนแปลงเพื่อจัดหาครุภัณฑ์หรือสิ่งก่อสร้างวงเงินต่อหน่วยตั้งแต่หนึ่งล้านบาทและตั้งแต่สิบล้านบาทขึ้นไปตามลำดับ คำสั่ง ตร. ที่ 418/2552เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการบริหารงบประมาณ ในอำนาจของ ผบช.
2.10 การโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ ห้ามมิให้หน่วยต่างๆ โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่ได้รับทุกงบรายจ่ายไปใช้ในการอื่น แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณให้เสนอขอรับความเห็นชอบจาก ตร.ก่อนดำเนินการทุกกรณี โดยให้ถือปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขและหลักการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หนังสือ ตร.ด่วนที่สุด ที่ 0010.181/4501 ลง 21 ต.ค.56เรื่อง แนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557