1 / 37

รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย ธันวาคม 2551

รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย ธันวาคม 2551. งานแถลงข่าว 10 ธันวาคม 2551 ธนาคารโลก กรุงเทพฯ. ประเด็นหลักในการนำเสนอของรายงานตามติด เศรษฐกิจไทย. ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินต่อเศรษฐกิจโลก ผลกระทบต่อประเทศไทยในปี 2551 และ 2552 เราจะทำอะไรเพื่อลดผลกระทบนี้และสร้างเศรษฐกิจที่เติบโตยั่งยืน.

aldon
Download Presentation

รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย ธันวาคม 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย ธันวาคม 2551 งานแถลงข่าว 10 ธันวาคม 2551 ธนาคารโลก กรุงเทพฯ

  2. ประเด็นหลักในการนำเสนอของรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยประเด็นหลักในการนำเสนอของรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย • ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินต่อเศรษฐกิจโลก • ผลกระทบต่อประเทศไทยในปี 2551 และ 2552 • เราจะทำอะไรเพื่อลดผลกระทบนี้และสร้างเศรษฐกิจที่เติบโตยั่งยืน

  3. 1. ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินต่อเศรษฐกิจโลก

  4. ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินของโลก...ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินของโลก... • อัตราการขยายตัวของ GDPของโลกจะลดลง ที่มา: ธนาคารโลก (DECPG, ธันวาคม 2551) Note: a/ GDP ณ ราคาคงที่เหรียญสหรัฐ ปี 2543 ใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามตลาดและราคาปี 2543 b/ ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบ เบรนท์ และ West Texas Intermediate c/ ดัชนีมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมต่อหน่วยจากประเทศสำคัญ ๆ ในรูปเงินเหรียญสหรัฐ

  5. ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินของโลก...ผลกระทบของวิกฤตการณ์ทางการเงินของโลก... • สภาพคล่องทางการเงินของโลกจะอยู่ในระดับต่ำ ธนาคารจะเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ • มีการผ่อนปรนนโยบายทางการเงินเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก แต่อัตราดอกเบี้ยธนาคารอาจจะไม่ลดลงมากนัก • เงินเฟ้อของโลกจะต่ำลง • ดัชนีหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะลดลง • ค่าเงินจะอ่อนลง แต่การเคลื่อนไหวของค่าเงินคงจะไม่ผันผวนเท่าในอดีต

  6. 2. ผลกระทบต่อประเทศไทยในปี 2551 และ 2552

  7. ผลกระทบด้านการเงินที่เกิดขึ้นทันทีมีค่อนข้างสูง แต่ก็ยังน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน Closure of airports Sep 15th, Lehman declares bankruptcy ที่มา: ธนาคารโลก

  8. ผลกระทบด้านการเงินที่เกิดขึ้นทันทีมีค่อนข้างสูง แต่ก็ยังน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน Closure of airports Sep 15th, Lehman declares bankruptcy ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารโลก

  9. ผลกระทบด้านการเงินที่เกิดขึ้นทันทีมีค่อนข้างสูง แต่ก็ยังน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน Closure of airports Sep 15th, Lehman declares bankruptcy ที่มา: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและธนาคารโลก

  10. ในระยะสั้น ความอ่อนไหวของเศรษฐกิจไทยต่อปัจจัยภายนอกมีไม่มากนัก • ประเทศไทยได้ลดการสร้างหนี้ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2541 • ทุนสำรองระหว่างประเทศมีมากกว่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ • การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลากหลักทรัพย์เหลือประมาณ 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทุนสำรองระหว่างประเทศและดุลการชำระเงิน $ bn times ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

  11. ในระยะสั้น ความอ่อนไหวของเศรษฐกิจไทยต่อปัจจัยภายนอกมีไม่มากนัก • ระบบธนาคารของไทยยังมีความมั่นคง แต่ก็ยังคงต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด • การลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศมีค่าเท่ากับร้อยละ 13 ของการถือครองตราสารหนี้ทั้งหมด • การลงทุนในต่างประเทศมีน้อยกว่าร้อยละ 2 ของสินทรัพย์ทั้งหมด • ธนาคารต่างประเทศมีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 12 • หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิเท่ากับร้อยละ 3.3 ของสินเชื่อทั้งหมดในไตรมาสที่ 3 ปี 2551 เทียบกับร้อยละ 4.4 ในไตรมาสเดียวกันของปี 2550 • อัตราสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ประมาณร้อยละ 91 • ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถเพิ่มสภาพคล่องได้ เมื่อมีความจำเป็น

  12. ภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบแล้วคือภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการส่งออก ...การส่งออกขยายตัวเพียงร้อยละ 5.2 ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2545 ตลาดและสินค้าส่งออกหลักบางตัวที่มีการหดตัวลง อย่างมากในเดือนตุลาคาม 2551 (% ปีต่อปี) การขยายตัวของการส่งออก (% ปีต่อปี) ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงพาณิชย์ ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

  13. การส่งออกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 19.5 ในปี 2551... … หลังจากที่มีการเติบโตสูงถึงร้อยละ 23 ในช่วง 10 เดือนแรก โดยมีตลาดหลักคืออาเซียน และตลาดใหม่ ๆ ร้อยละของการขยายตัวของการส่งออกจำแนกโดยตลาด ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 - 2551 อัตราการขยายตัวของการส่งออกของเศรษฐกิจของเอเซียตะวันออก (% ปีต่อปี) ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา: ธนาคารโลกและหน่วยงานรัฐของแต่ละประเทศ

  14. ในปีหน้า การส่งออกจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8 โดยมีสาเหตุมาจากเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวอย่างมาก อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริงของโลกและ สัดส่วนตลาดส่งออกของไทย ที่มา: ประมาณการณ์ของกระทรวงพาณิชย์และธนาคารโลก (DECPGธันวาคม 2551) Note: 1. สัดส่วนการตลาดในปี 2550 2. เอเซียตะวันออกหมายถึงเอเซียตะวันออกและแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงญี่ปุ่น และจีน

  15. การส่งออกของสินค้าที่มีตลาดหลักคือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง …สินค้าเหล่านี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนยานยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหาร และแผงวงจรรวม ตลาดส่งออกและสินค้าส่งออกหลักบางตัว ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์

  16. การส่งออกภาคบริการโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกันการส่งออกภาคบริการโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกัน การขยายตัวของนักท่องเที่ยวรายเดือน (เทียบปีต่อปี) สัดส่วนนักท่องเที่ยวแบ่งตามสัญชาติ ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

  17. การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนจะไม่มากนักในปีหน้าการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนจะไม่มากนักในปีหน้า • การเติบโตของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์จะลดลงเนื่องจากธนาคารจะให้ความสำคัญต่อความเสี่ยงมากขึ้น (โดยจะเน้นคุณภาพของสินเชื่อ) การขยายตัวของสินเชื่อเพื่อธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ที่มา: ธนาคารแห่งแระเทศไทย

  18. การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนจะไม่มากนักในปีหน้าการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนจะไม่มากนักในปีหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ปี 2551 มูลค่าของโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากBOI ดัชนี = 50หมายถึงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ดัชนี > 50หมายถึงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจดีขึ้น ดัชนี < 50หมายถึงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจแย่ลง ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

  19. การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจะยังคงชะลอตัว เนื่องจากนักลงทุนหลักต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของโลก การลงทุนไหลเข้าโดยตรงจากต่างประเทศขั้นต้น แหล่งของเงินลงทุนไหลเข้าโดยตรงจากต่างประเทศ ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

  20. ดุลการชำระเงินจะติดลบในปีหน้าดุลการชำระเงินจะติดลบในปีหน้า …แต่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังคงอยู่ในระดับที่ไม่น่าเป็นห่วง ดุลการชำระเงิน ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มา: ประมาณการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารโลก

  21. การบริโภคภาคครัวเรือนคงจะไม่ขยายตัวมากนักการบริโภคภาคครัวเรือนคงจะไม่ขยายตัวมากนัก • ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง • ค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย • การขยายตัวของรายได้ภาคการเกษตรลดลงเนื่องจากราคาสินค้าการเกษตรลดลง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค การขยายตัวของรายได้ภาคการเกษตร ที่มา: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

  22. การลงลงของราคาน้ำมัน ราคาวัตถุดิบ และเงินเฟ้อนับเป็นข่าวดี ราคาน้ำมันดิบ ($/บาร์เรล) เงินเฟ้อ Prices for 2009-2011 are traded futures prices. Sources: US Energy Information Administration (spot prices) TradingCharts.com (futures prices) ที่มา: กระทรวงพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย

  23. คาดว่าอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริงจะอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ในปีนี้ และร้อยละ 2 ในปีหน้า อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริงปี 2550-2552 ที่มา: สภาพัฒน์และการคาดการณ์ของธนาคารโลก

  24. การชะลอตัวลงของธุรกิจจะมีผลกระทบต่อการจ้างงานของกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำการชะลอตัวลงของธุรกิจจะมีผลกระทบต่อการจ้างงานของกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ การจ้างงานรายอุตสาหกรรม ตุลาคมปี 2551 (ล้านคน) สัดส่วนของครัวเรือนคนจนแบ่งตามภาคเศรษฐกิจ ปี 2550 ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

  25. 3. เราจะทำอะไรเพื่อลดผลกระทบนี้ และสร้างเศรษฐกิจที่เติบโตยั่งยืน

  26. มาตรการระยะสั้น • มีระบบตาข่ายสังคมแก่กลุ่มผู้ว่างงาน คนจน และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม • ขยายการให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • รัฐบาลได้ออกมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 3 ชุดเพื่อลดผลกระทบจากราคาอาหารและราคาน้ำมันที่สูงในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ (ลดอัตราภาษี ให้การอุดหนุนด้านราคา และการขยายสินเชื่อ) • มาตรการที่ออกในเดือนตุลาคมมีวัตถุประสงค์เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินของโลกผ่านทางตลาดทุนและสร้างความมั่นใจว่าสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะขยายสินเชื่อให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม • มีการเสนอแผนการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติมอีก 100,000 ล้านบาท

  27. ความสมดุลย์ระหว่างผลกระทบระยะสั้นและระยะปานกลางของมาตรการรัฐเป็นสิ่งจำเป็นความสมดุลย์ระหว่างผลกระทบระยะสั้นและระยะปานกลางของมาตรการรัฐเป็นสิ่งจำเป็น • มาตรการการคลังมีความสำคัญดังนี้ • ลดผลกระทบในระยะสั้น เพื่อปกป้องกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน – ซึ่งมาตรการนี้ควรจะปรับให้ตรงกับกลุ่มผู้เป้าหมาย • ผลกระทบในระยะปานกลางถึงระยะยาว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศไทยจะยังคงอยู่และประเทศไทยก็สามารถแข่งขันได้เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

  28. เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส...เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส... • คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2554/2555 • เราควรใช้โอกาสนี้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเศรษฐกิจพร้อมที่จะขยายตัวเมื่อเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัว

  29. การลงทุนโดยภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนหลักต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศไทยการลงทุนโดยภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนหลักต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศไทย การเติบโตของการลงทุนภาคเอกชน และอัตราการใช้กำลังการผลิต ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทยและสภาพัฒน์

  30. ประเทศไทยจำเป็นต้องลดอุปสรรคต่อการลงทุนและการเพิ่มผลิตภาพของภาคเอกชนประเทศไทยจำเป็นต้องลดอุปสรรคต่อการลงทุนและการเพิ่มผลิตภาพของภาคเอกชน อุปสรรคหลักของธุรกิจและการลงทุน (2550) (ร้อยละของธุรกิจจำนวน 1043 แห่งใน 9 อุตสาหกรรมการผลิตที่ได้ทำการสำรวจ) ที่มา: Thailand Productivity and Investment Climate Study2550 (PICS2550) โดยธนาคารโลก สภาพัฒน์ และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

  31. ธุรกิจจำเป็นต้องปกป้องตนเองจากความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาค...ธุรกิจจำเป็นต้องปกป้องตนเองจากความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาค... ที่มา: PICS 2550

  32. โดยการหาความรู้เพิ่มเติมด้านการลดความเสี่ยงจากการลงทุน รวมถึงกลไกในการปรับตัว เปรียบเทียบธุรกิจที่รายงานว่าไม่ได้มีมาตรการอะไรเลยและการขาดความรู้ด้านมาตรการในการปรับตัว (ร้อยละของธุรกิจ) ที่มา: PICS 2550

  33. …แต่ประเทศไทยยังไม่มีความก้าวหน้ามากนักในด้านนี้ จำเป็นต้องพัฒนาทักษะแรงงานและความรู้เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยก้าวไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ ดัชนีเศรษฐกิจฐานความรู้ของธนาคารโลก * * * ดัชนีเศรษฐกิจฐานความรู้ คือ อัตราเฉลี่ยของดัชนี 4 ดัชนีที่วัดระดับความเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ของแต่ละประเทศ โดยประกอบด้วย 1) ระบบสถาบันและแรงจูงใจ2) การอบรมและการศึกษา 3) การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ และ 4) โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ที่มา : ธนาคารโลก

  34. การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดต้นทุนด้านการผลิตและโลจิสติกส์การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดต้นทุนด้านการผลิตและโลจิสติกส์ สัดส่วนของต้นทุนด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ต่อต้นทุนการผลิตทั้งหมดในการส่งสินค้าไปยังลูกค้า ตัวชี้วัดเชิงปริมาณแสดงถึงบริการด้านสาธารณูปโภคของประเทศไทย ที่มา: PICS 2550

  35. การลงทุนภาครัฐจำเป็นต้องขยายตัว ซึ่งประเทศไทยเองก็มีความสามารถในการเพิ่มการลงทุนภาครัฐได้ การเติบโตของการลงทุนภาครัฐที่แท้จริง(ร้อยละ) กรอบความยั่งยืนด้านการคลังของประเทศไทย (ร้อยละ) ที่มา: สภาพัฒน์ ที่มา: สำนักเศรษฐกิจการคลัง

  36. บทสรุป • ปี 2552 จะเป็นปีที่มีความท้าทายสำหรับประเทศไทย • แต่มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทยจะฝ่าฝันวิกฤตเศรษฐกิจของโลก และสามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้ • พวกเราทุกคนจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจไทยโดยปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนของประเทศ

  37. ขอบคุณ รายงานตามติดเศรษฐกิจไทยสามารถ download ได้ที่ www.worldbank.or.th

More Related