310 likes | 530 Views
สรุปการติดตามประเมิน กระบวนการทำงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรคในจังหวัด ปีงบประมาณ 2551. สุริยะ วงศ์คงคาเทพ เพชรศรี ศิรินิรันดร์, จีรพัฒน์ ศิริชัยสินธพ สร้อยทอง เตชะเสน, พรทิพย์ ศิริภานุมาศ, สิริกุล วงษ์สิริโสภาคย์. รูปแบบการประเมิน ผลการประเมิน
E N D
สรุปการติดตามประเมิน กระบวนการทำงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรคในจังหวัด ปีงบประมาณ 2551 สุริยะ วงศ์คงคาเทพ เพชรศรี ศิรินิรันดร์, จีรพัฒน์ ศิริชัยสินธพ สร้อยทอง เตชะเสน, พรทิพย์ ศิริภานุมาศ, สิริกุล วงษ์สิริโสภาคย์
รูปแบบการประเมิน ผลการประเมิน การบริหารงบประมาณ การวิเคราะห์สภาพปัญหา กระบวนการจัดทำแผน การนำแผนสู่การปฏิบัติ ข้อเสนอแนะ การพัฒนากระบวนการทำงานส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันควบคุมโรค การติดตามประเมิน ประเด็นการนำเสนอ
รูปแบบการประเมิน • กำหนดประเด็น และคณะทำงานลงไปประเมินตามประเด็นที่กำหนด สะท้อนข้อมูลที่เป็นปัญหาได้ระดับดีถึงปานกลาง(8 เขต) • กำหนดประเด็น แต่ประเมินพร้อมกับการตรวจนิเทศงานปกติ หรือให้จังหวัดรายงานทางเอกสารสะท้อนปัญหาได้ดีถึงปานกลาง สะท้อนปัญหาทั่วไป(3 เขต) • ไม่ได้กำหนดประเด็น ไม่ได้ลงประเมิน(2 เขต)
ภาพรวมการบริหารงบประมาณภาพรวมการบริหารงบประมาณ
ระดับจังหวัด งบ Non-UCกระทรวง/กรม งบ PPAเขต งบ PPAจังหวัด งบ อบจ. งบอื่น: สสส. Global Fund ระดับอำเภอ งบ PPAจังหวัด จัดสรรให้ อ. งบ PPCนอกกองทุนสุขภาพ ต. งบ PPE ภาพรวมการบริหารงบประมาณ ระดับตำบล: งบ PPCกองทุนสุขภาพตำบล อบต.
ระดับจังหวัด ประชุม ฝึกอบรม นิเทศงาน จัดงานมวลชน รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ค่าใช้จ่ายสำนักงาน ระดับอำเภอ ประชุม อบรม จนท. อสม. ผู้นำท้องถิ่น ฯ ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ชุดทดสอบ เวชภัณฑ์สนับสนุน ต. ค่าตรวจชันสูตรงานตรวจคัดกรองต่างๆ ภาพรวมการบริหารงบประมาณ ระดับตำบล: อบรม
งบประมาณด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใน จ. ปี 2551 ( ล้านบาท )
กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล • มีคณะกรรมการบริหารกองทุน นายก อปท. เป็นประธาน • สอ.เป็นแกนกำหนดปัญหาและเขียนโครงการ • ประชุมประชาคมกำหนดปัญหาและเขียนโครงการ • ความชำนาญในการวิเคราะห์ปัญหา • ความสามารถเฉพาะตัวของเจ้าหน้าที่
การวิเคราะห์สภาพปัญหา และ ทบทวนการดำเนินงาน
การวิเคราะห์สภาพปัญหาและการดำเนินงานการวิเคราะห์สภาพปัญหาและการดำเนินงาน • จังหวัดทุกแห่งรายงานตนเองว่ามีการวิเคราะห์สภาพปัญหาโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เช่น อุบัติการณ์โรค ข้อมูลป่วย/ตาย รายงาน ระบบเฝ้าระวังโรค และข้อมูลตัวชี้วัด • พื้นที่รายงานว่ามีแหล่งข้อมูลจากแฟ้มครอบครัว ฐานบริการรายบุคคล • ระดับจังหวัดมีศักยภาพการวิเคราะห์มากที่สุด • การวิเคราะห์ยังผิวเผิน ยังไม่เข้าใจในสาเหตุของปัญหา • มีการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานเพื่อนำมาใช้ประโยชน์น้อยมาก
กระบวนการจัดทำแผน 1. แผนยุทธศาสตร์ หรือแผนกลยุทธ์ • มาตรการที่ปฏิบัติและพิสูจน์ว่าได้ผลในวงกว้าง และประสิทธิผลเมื่อนำไปใช้จริง 2. แผนปฏิบัติการ • การจัดสรรและกระจายงบประมาณภายในจังหวัด /การบริหารงบระดับอำเภอและตำบล • คุณภาพของแผนปฏิบัติ : กิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย • ความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ หรือแผนกลยุทธ์ • การบูรณาการโครงการ • การจัดสรรงบสนับสนุนภายในจังหวัด อำเภอ (CUP) กองทุนสุขภาพตำบล
คุณภาพของแผน ประเมินจาก 3องค์ประกอบ • การวิเคราะห์สภาพปัญหาและสาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง • การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะดำเนินการ • มาตรการหรือกิจกรรมดำเนินงานที่ระบุในแผน “ อยู่ในระดับที่ควรปรับปรุงเป็นส่วนใหญ่ ”
การจำแนกแผนงานตามลักษณะของปัญหาการจำแนกแผนงานตามลักษณะของปัญหา • ปัญหาบางเรื่องยังไม่มีแผนรองรับ เช่น Teenage pregnancyพัฒนาการไม่สมวัย ไม่ถูกบรรจุในแผนยุทธศาสตร์จังหวัด ทั้งที่เป็นปัญหาค่อนข้างรุนแรง • ปัญหาที่เกิดใหม่หรือเริ่มให้ความสนใจ เช่น วัณโรค ภาวะอ้วนลงพุง แต่ยังขาดมาตรการรองรับที่ได้ผลจริงจัง • ปัญหาสำคัญที่ยังแก้ไม่ตก เช่น ไข้เลือดออก พฤติกรรมสุขภาพกับ NCD พฤติกรรมบริโภคอาหารไม่ปลอดภัย พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ ขาดความต่อเนื่องของนโยบาย มาตรการซ้ำๆไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการวิเคราะห์เพื่อทางเลือกใหม่
แผนระดับอำเภอและตำบล • ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด • ดุลยพินิจของผู้บริหารระดับอำเภอ • ความเหมาะสมของมาตรการแก้ปัญหา • ตกร่อง • กองทุนสุขภาพตำบลมักเป็นเฉพาะเรื่องที่จับต้องได้ในมุมมองของผู้บริหารท้องถิ่น
การนำแผนสู่การปฏิบัติการนำแผนสู่การปฏิบัติ
กระบวนการนำแผนไปสู่การปฏิบัติกระบวนการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ • ความเข้าใจในสถานการณ์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขของผู้ปฏิบัติ • ความร่วมมือต่างหน่วยงาน ท้องถิ่น องค์กรชุมชน เหมาะสมสอดคล้องกับบทบาทของหน่วยงานหรือไม่ • สัดส่วนความก้าวหน้าของการใช้จ่ายงบประมาณ • ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร
การนำแผนสู่การปฏิบัติการนำแผนสู่การปฏิบัติ • ผู้ปฏิบัติเข้าใจว่าได้ลงมือทำกิจกรรม ถือเป็นการบรรลุเป้าหมาย แต่ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงทำ หรือทำแล้วมีผลต่อการแก้ปัญหาอย่างไร เช่น การมีหมู่บ้านนำร่องครบถ้วนตามเกณฑ์เป็นเป้าหมาย การจัดตั้งชมรมต่างๆ • กิจกรรมตรวจคัดกรอง และลดพฤติกรรมเสี่ยง กลายเป็นกิจกรรมพื้นฐานของหน่วยปฏิบัติ • โครงการที่ใช้มาตรการปรับพฤติกรรมเสี่ยงเช่นเดียวกันไม่บูรณาการ เช่นโครงการลดอ้วนลงพุง โครงการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทำให้เกความสับสนในระดับปฏิบัติ • ขาดการติดตามกำกับและประเมินผลการดำเนินงานที่ชัดเจน
ข้อสรุป • กระบวนการทำงานภายในจังหวัด • การปฏิบัติงานในพื้นที่ • การติดตามประเมินของเขต
กระบวนการทำงานภายในจังหวัดกระบวนการทำงานภายในจังหวัด • กระบวนการจัดทำแผน และนำแผนสู่การปฏิบัติ • 75% จัดทำแผนยุทธศาสตร์ อยู่ในกรอบมาตรฐานและขั้นตอนการทำงานแต่แผนปฏิบัติเฉพาะเรื่องยังขาดความชัดเจน ยังไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายกิจกรรมไม่เจาะจง • การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพและจุดอ่อนการดำเนินงานไม่ชัดเจน การกำหนดปัญหาของจังหวัด ยังอิงกับตัววัดของส่วนกลาง ตัววัดส่วนกลางซ้ำซ้อน
กระบวนการทำงานภายในจังหวัดกระบวนการทำงานภายในจังหวัด • การบริหารจัดการในภาพรวมค่อนข้างเป็นไปตามกระบวนการที่กำหนด • 73% ให้อำเภอทำแผนเองโดยมีกรอบให้ • 17% มีพิมพ์เขียวจากจังหวัดให้อำเภอ • เกือบทุกจังหวัดรวมศูนย์การพิจารณาที่จังหวัด
กระบวนการทำงานภายในจังหวัดกระบวนการทำงานภายในจังหวัด • มีช่องว่างระหว่างจังหวัด อำเภอ และตำบล ปรากฏในทุกขั้นตอน จังหวัดยังไม่ได้ติดตามการทำงานระดับปฏิบัติอย่างใกล้ชิด • 92% ติดตามผลโดยให้อำเภอส่งรายงานผลตามตัวชี้วัดเท่านั้น • 46% เสนอผลลัพธ์กิจกรรมตามตัวชี้วัดเท่านั้น • การประเมินผลของจังหวัด ส่วนใหญ่ประเมินตามตัวชี้วัด 3 กลุ่ม คือ e-inspection, composite indicatorsและตัววัดตามยุทธศาสตร์จังหวัด • ความสามารถในการ Coachingจากจังหวัดยังต้องพัฒนา
การปฏิบัติในพื้นที่ • ใช้ข้อมูลระบาดวิทยาแบบผิวเผิน แต่วิเคราะห์สาเหตุน้อย ข้อมูลเชิงลึกมีน้อย เช่น เหตุใดอัตราคนอ้วนพื้นทีคล้ายคลึงกัน แต่สถิติแตกต่างกันมาก ผู้ปฏิบัติ “รู้” ว่าต้องทำอะไร อย่างไร แต่ไม่รู้ว่าทำไปทำไม • ประสิทธิภาพการใช้งบประมาณ ตอบไม่ได้ เช่น เรื่องไข้เลือดออกใช้งบเยอะมาก
การปฏิบัติในพื้นที่ • พื้นที่กองทุนสุขภาพตำบล ยังทำงานไม่เป็นระบบ ไม่สามารถผลิตงานที่มีคุณภาพจริงๆ ขณะที่บางพื้นที่เห็นว่าความร่วมมือไปได้ดี แผนปฏิบัติในพื้นที่กองทุน และไม่มีกองทุน ต่างกัน 50% • ตำบลที่ไม่มีกองทุนเป็นตำบลเล็กๆ แต่ต้องนำงบ PPCของตำบลเหล่านั้นไปเกลี่ยทำงานทั้งอำเภอ
การติดตามประเมินของเขตการติดตามประเมินของเขต • ทักษะของผู้ประเมินมีความหลากหลายมาก การประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นจริงยังสับสนกับการนิเทศงาน และมองภาพรวมของการใช้งบประมาณจากแหล่งต่างๆ ของจังหวัดไม่ออก • ผู้ประเมินจับประเด็นไม่เกาะติดกับตัวปัญหา สับสนระหว่างการประเมินภาพรวมทั่วไป กับปัญหาเฉพาะเรื่อง เช่น บางขั้นตอน เช่น กระบวนการจัดทำแผน งานกองทุนฯ
ข้อเสนอแนะ • ควรพัฒนาคุณภาพในกระบวนการทำงานระดับจังหวัด อย่าง เร่งด่วน ใน 3 ขั้นตอน • การวิเคราะห์สภาพปัญหา • การจัดทำแผน • การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ
ข้อเสนอแนะ 2. บูรณาการการทำงานเพื่อให้งาน PP เป็นเอกภาพตั้งแต่ระดับประเทศ เขต จังหวัด และพื้นที่ เน้นบูรณาการในทุกมิติ • บูรณาการระหว่างนโยบายกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ • บูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสาขาโดยใช้ปัญหาสุขภาพเป็นตัวตั้ง • บูรณาการการใช้ทรัพยากรทั้งบุคลากรและงบประมาณ
ข้อเสนอแนะ 3. ควรเลือกประเด็นการติดตามประเมิน ควรให้สอดคล้องกับปัญหาที่มีความสำคัญในพื้นที่ และขยายขอบเขตไปเรื่องมะเร็งและสุขภาพจิต 4. ควรปรับกระบวนการประเมินด้วยตัวชี้วัด ให้มีตัวชี้วัดหลายระดับ เปิดโอกาสให้พื้นที่สร้างตัววัด และรู้จักการประเมินจุดสำคัญ (Critical point)ที่อยู่นอกตัววัด
ข้อเสนอแนะ • พัฒนาขีดความสามารถระดับเขต ทั้งสำนักเขตตรวจราชการ และศูนย์วิชาการเขต ในการกำกับดูแล นิเทศงาน ให้คำปรึกษา (Coaching) และประเมินผลของจังหวัด มีทักษะการประเมินกระบวนการทำงานจริงมากกว่าตัวชี้วัดผลสำเร็จอย่างเดียว • สร้างกลไกในส่วนกลาง/กรม เพื่อบริหารการพัฒนาระบบการทำงานของจังหวัด เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ