580 likes | 906 Views
โครงการ กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ( กบช. ) : ผลกระทบและแนวทางการเตรียมความพร้อม. เสนอโดย นางสาวปาริฉัตร คลิ้งทอง เศรษฐกร 6ว สำนักนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. การสัมมนาวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 5 ประจำปี 2551 30 กรกฎาคม 2551. AGENDA.
E N D
โครงการกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.): ผลกระทบและแนวทางการเตรียมความพร้อม เสนอโดย นางสาวปาริฉัตร คลิ้งทอง เศรษฐกร 6ว สำนักนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง การสัมมนาวิชาการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ครั้งที่ 5 ประจำปี 255130 กรกฎาคม 2551
AGENDA • เหตุผลและความจำเป็น • องค์ประกอบหลักของ กบช. • ผลกระทบจาก กบช. • แนวทางการเตรียมความพร้อม
เหตุผลและความจำเป็น • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร • ความไม่เพียงพอของรายได้หลังเกษียณ • ความครอบคลุมแรงงานยังไม่ทั่วถึง • ปัญหาภาระทางการคลังของรัฐบาล 5. การส่งเสริมการออมภาคครัวเรือน
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร (1/2) ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่เข้าสูสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว • สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2568 • เพิ่มจากร้อยละ 9.4 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 18.21 ในปี 2568 • อัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุต่อประชากรวัยทำงาน (Elderly Dependency Ratio) เพิ่มสูงขึ้นถึง 2 เท่า จากร้อยละ 14.30 เป็น 28.09 • ในขณะที่อายุคาดหมายเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดเพศชายเพิ่มขึ้นจาก 67 ปี เป็น 75 ปี และเพศหญิงเพิ่มจาก 74 ปี เป็น 80 ปี
1. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร (2/2)
2. ความไม่เพียงพอของรายได้หลังเกษียณ • รายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐานหลังเกษียณอายุของคนไทยควรอยู่ที่ร้อยละ 50-60 ของเงินเดือนเดือนสุดท้าย • แรงงานส่วนใหญ่มีรายได้หลังเกษียณจากกองทุนประกันสังคม (สูตรบำนาญ 20+1.5%) โดยเฉลี่ยร้อยละ 22 ของเงินเดือนเดือนสุดท้ายซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐาน รายได้หลังเกษียณที่แรงงานได้รับจากกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ (หน่วย:บาท) ที่มา: การคำนวณโดยนักวิจัย
3. ความครอบคลุมแรงงานยังไม่ทั่วถึง (ณ สิ้นปี 50) (ล้านคน) ประชากรรวม (65.72) กำลังแรงงาน ( 36.87) ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน (28.85) 15 ปีขึ้นไป (14.15) กำลังแรงงานที่รอฤดูกาล (0.19) กำลังแรงงานปัจจุบัน (36.68) ต่ำกว่า 15 ปี (14.70) -เบี้ยยังชีพรายละ 500 บาท -สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ -การเกื้อหนุนจากชุมชน กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน(ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตน) ทำงานบ้าน (4.59) ผู้มีงานทำ (36.16) ผู้ว่างงาน (0.52) เรียนหนังสือ (4.37) นอกระบบ (21.80) ในระบบ (14.36) ชราอายุเกิน 60 ปี (4.33) มีระบบบำเหน็จบำนาญแล้ว (10.83) อื่น ๆ (0.86) เอกชน (10.91) รัฐบาล(3.17) รัฐวิสาหกิจ (0.28) อยู่ระหว่างการศึกษาโครงการระบบการออมเพื่อสวัสดิการและการชราภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติ
4. ปัญหาภาระทางการคลังของรัฐบาล รัฐบาลจะมีภาระหนี้สินจำนวนมากในอนาคต (Contingent Liability) เกิดจาก • ภาระการเลี้ยงดูผู้สูงอายุแรงงานที่ยังไม่ได้รับ ความคุ้มครองใด ๆ • แรงงานที่ได้รับความคุ้มครองแต่รายได้ที่ได้รับหลังเกษียณยังอยู่ในระดับต่ำ • ปี 2550 รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณรับภาระดูแลผู้สูงอายุ 1.8 ล้านคน (จากจำนวนผู้สูงอายุ 7.04 ล้านคน) ใช้งบประมาณไปจำนวน 10,580 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ • กองทุนประกันสังคมจะมีปัญหาเงินกองทุนหมดลงในอนาคต ซึ่งรัฐบาลมีพันธะที่จะต้องรับภาระจ่ายเงินผลประโยชน์แทนเป็น จำนวนมาก ที่มา: ส่วนนโยบายการออมและการลงทุนในภาพรวม จากฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการกระจาย อำนาจ กรุงเทพมหานคร
5. การส่งเสริมการออมภาคครัวเรือน (พันล้านบาท) ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
องค์ประกอบหลักของ กบช. • นโยบายการออมเพื่อการเกษียณอายุ/ การกำกับดูแล • การบริหารเงินกองทุน/ การจัดเก็บเงินและข้อมูล • ความครอบคลุมแรงงานและการทยอยเข้ากองทุน • อัตราสะสม/สมทบ • การเปลี่ยนถ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ • สิทธิประโยชน์ทางภาษี • การจ่ายผลประโยชน์ทดแทน
นโยบายการออมเพื่อการเกษียณอายุ/ การกำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำกับดูแล กองทุน
2. การบริหารเงินกองทุน/ การจัดเก็บเงินและข้อมูล Decentralized Collection and Investment Management, Centralized Registrar with decentralized data base ฐานข้อมูล กองทุน1 บริษัท จัดการ A กองทุน1 • สำนักงาน กบช. • ในฐานะ • นายทะเบียนกลาง • ผู้กำกับดูแล • ตรวจสอบ • ลงโทษ • รับคำร้อง • ประชาสัมพันธ์ • ติดตามให้นายจ้างเข้าระบบ ฐานข้อมูล กองทุน2 บริษัท จัดการ B กองทุน2 ทะเบียน กลาง นายจ้าง ลูกจ้าง ฐานข้อมูล กองทุน3 กองทุน3 บริษัท จัดการ C เงิน ข้อมูล คำแนะนำ บริษัทจัดการทำหน้าที่จัดตั้งกองทุน จัดการลงทุน จัดทำฐานข้อมูลสมาชิก เสนอขายกองทุน ให้คำแนะนำ ให้บริการ และรายงาน
3. ความครอบคลุมแรงงานและการทยอยเข้ากองทุน นายจ้างและลูกจ้างจ่ายฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ภายใต้วงเงินในช่วง 6,000 – 40,000 บาท • 3.1 แรงงานในระบบ • 1) ภาคเอกชนเข้ากองทุนตามขนาดสถานประกอบการ โดย • (1) สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป เริ่มในปีแรก • (2) สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 10 คนขึ้นไป เริ่มในปีที่ 6 • (3) สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป เริ่มในปีที่ 11 • 2) ภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ให้มีผลบังคับใช้ทันทีในปีแรก • 3) สถานประกอบการที่ไม่เป็นตามเงื่อนไขข้างต้น หากประสงค์จะเข้า กบช. • ก็สามารถดำเนินการได้ทันทีเช่นเดียวกัน • ทั้งนี้ ยกเว้นผู้ที่เป็นสมาชิก กบข. และสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จ่ายเข้า • กองทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของค่าจ้าง (ค่าจ้างไม่เกิน 40,000 บาท) • 3.2 แรงงานนอกระบบให้เข้า กบช. โดยสมัครใจ ดำเนินการได้ทันทีในปีแรก 4. อัตราสะสม/สมทบ
5. การเปลี่ยนถ่ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว และจ่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของค่าจ้าง (ภายใต้เพดาน 40,000 บาท) สามารถนำมาขึ้นทะเบียนเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ หรือจัดตั้ง กบช. ใหม่ก็ได้ สำหรับส่วนที่เกินร้อยละ 3 (ภายใต้เพดาน 40,000 บาท) คงเป็น ภาคสมัครใจต่อไป 6. สิทธิประโยชน์ทางภาษี • ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ EEE (ยกเว้นภาษีของเงินสะสม ผลประโยชน์ และเงินที่ได้รับจากกองทุน กรณีเกษียณสูงอายุ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต) สำหรับนายจ้างสามารถนำเงินสมทบมาหักเป็นรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง 7. การจ่ายผลประโยชน์ทดแทน • อัตราผลประโยชน์ทดแทนที่รวมกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพและ กบช. แล้วไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินเดือนเดือนสุดท้ายให้จ่ายเป็นรายงวด ส่วนที่เกินร้อยละ 50 • ให้สามารถเลือกรับเป็นรายงวดหรือเป็นก้อนได้
ผลกระทบต่อแรงงาน (1/4) 1. รายได้หลังเกษียณเพิ่มขึ้น รักษาระดับการบริโภคระดับเดิมไว้ได้ 2. ออมเงินโดยได้รับยกเว้นภาษีเงินออมและผลประโยชน์ของเงินออม 3. ภาระแรงงานเพิ่มขึ้น อีก 3% 4. การจัดตั้ง กบช. ในระยะแรกจะส่งผลให้แรงงานเข้ามาทำงาน ในระบบมากขึ้น (Formalization) 16
ผลกระทบต่อแรงงาน (2/4) รายได้หลังเกษียณเพิ่มขึ้น บำนาญรายเดือนที่สมาชิกได้รับจากกองทุนประกันสังคมและ กบช. แบ่งตามระดับค่าจ้าง หน่วย: บาท ที่มา: การคำนวณของนักวิจัย
ผลกระทบต่อนายจ้าง เพิ่มต้นทุนการผลิตในระยะสั้น หากนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบ ก็จะทำให้มีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้นอาจจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคา สร้างความจงรักภักดีให้นายจ้าง นำมาซึ่งผลผลิตที่มากกว่าในระยะยาว 18
ผลกระทบต่อเงินออมรวม (1/2) เงินออมในระบบเพื่อการเกษียณอายุ สามารถเปลี่ยนแปลงเงินออมรวมได้ จากหลายเหตุผล ได้แก่ • การจ่ายเงินสะสมในกองทุนภาคบังคับและข้อจำกัดทางการเงิน • เงินออมในกองทุนไม่มีสภาพคล่องให้กับสมาชิก จึงไม่สามารถเป็นเงินออมกรณีฉุกเฉินในอนาคตได้ ดังนั้น คนจึงออมเพื่อเหตุฉุกเฉินไว้ต่างหาก • โดยสรุป เงินออมเพื่อการเกษียณอายุ น่าจะส่งผลกระทบต่อเงินออมภาคครัวเรือน เนื่องจากความจริงที่ว่าเงินออมเพื่อการเกษียณอายุ และเงินออมภาคครัวเรือนทดแทนกันได้น้อย (Poor Substitute)
ผลกระทบต่อเงินออมรวม (2/2) ประมาณการเงินสะสมและสมทบของ กบช. แบ่งตามขนาดสถานประกอบการ (หน่วย: บาท) ที่มา: การคำนวณของนักวิจัย
ผลกระทบต่อตลาดทุน • เพิ่มปริมาณเงิน เพิ่มความต้องการลงทุน เพิ่มจำนวนการลงทุน และ เพิ่มสภาพคล่อง • เพิ่มความต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ระยะยาว • พัฒนาระบบการกำกับดูแลและความโปร่งใส • ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางการเงิน เกิดการแข่งขัน และเกิดประสิทธิภาพ • พัฒนาระบบธรรมาภิบาล
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สามารถเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดย • ขีดความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มการออมของประเทศ (gross national saving) • ให้ภาคการเงินมีความสมบูรณ์และทำให้เกิดการพัฒนาผ่านทางการเพิ่มปริมาณเงิน (supply) และเงินออมระยะยาว • พัฒนาภาครัฐและโครงสร้างทางการเงินของบริษัท • พัฒนาให้มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพของภาคธนาคาร • ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตลาดทุน • เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนและเกิดความมั่นคงของผลตอบแทน • ส่งเสริมนวัตกรรมทางการเงิน • ส่งเสริมให้เกิดระบบธรรมาภิบาลและการดำเนินการที่ดี • สามารถลดความเสี่ยงของประเทศได้ • สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงาน และสนับสนุนการนำแรงงานเข้าสู่ระบบ (formalization of the economy)
ผลกระทบต่อรัฐบาล รายจ่ายเพื่อการเกษียณอายุและสวัสดิการทางสังคมของภาครัฐ % of GDP ปี 2547 - 2550 หน่วย: ล้านบาท ที่มา: คำนวณโดยนักวิจัย และส่วนนโยบายการออมและการลงทุนในภาพรวม ลดภาระการคลังในอนาคต
แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการบังคับใช้ กบช. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แก่ • แรงงาน • นายจ้าง • รัฐบาล • ผู้ดำเนินการ 4.1 บริษัทจัดการลงทุน 4.2 หน่วยงานจัดเก็บข้อมูล 4.5 Trustee 4.6 Custodian 5. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 24
การเตรียมการของแรงงานการเตรียมการของแรงงาน • ทำความเข้าใจระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กบช. • หาความรู้ และทำความเข้าใจเรื่องการลงทุนที่มีนโยบายการลงทุน และกองทุนประเภทต่าง ๆ • พิจารณา และตัดสินใจเลือกประเภทการลงทุน / กองทุนด้วยตนเอง เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายในผลตอบแทน และระดับความเสี่ยงที่รับได้ • พิจารณา ทบทวนและปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุน / กองทุน และ/หรือ โอนย้ายกองทุนได้ตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งคุณลักษณะของตนเอง อาทิ อายุ ระยะเวลาที่เหลือในการทำงาน และปัจจัยทางเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุน ที่มา: สำนักงานสถิติ และการคำนวณของนักวิจัย
การเตรียมการของนายจ้างการเตรียมการของนายจ้าง • ส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกจ้างมีความรู้ความเข้าใจใน กบช. ตลอดจนระบบการออม / กองทุนเพื่อการเกษียณอายุโดยรวม • ร่วมกับลูกจ้างในการคัดเลือกบริษัทจัดการ ในเรื่องจำนวน และประเภทกองทุน (ตามกฎเกณฑ์ที่ กบช.กำหนด) • ดูแลให้มีการส่งข้อมูลสมาชิกให้นายทะเบียนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา • ดูแลให้มีการส่งเงินเข้า/ออกกองทุนตามเกณฑ์
จำนวนสถานประกอบการและลูกจ้างภาคเอกชนแบ่งตามขนาดสถานประกอบการจำนวนสถานประกอบการและลูกจ้างภาคเอกชนแบ่งตามขนาดสถานประกอบการ ที่มา: สำนักงานประกันสังคม
การเตรียมการของภาครัฐการเตรียมการของภาครัฐ • จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายการออมเพื่อการเกษียณอายุแห่งชาติ เพื่อประสานนโยบายทั้ง 3Pillar • ก่อตั้งสำนักงาน กบช. เพื่อกำกับดูแลกองทุน และนายจ้าง และแรงงานให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ • แบ่งหน้าที่การกำกับดูแลระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องอาทิ สำนักงาน กบช. สำนักงาน กลต. สศค. สำนักงานประกันสังคม กรมสรรพากร และ กรมการประกันภัย ในการกำกับดูแลผู้ประกอบการ การส่งเงินสะสมและสมทบเข้ากองทุน และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล 4. ประชาสัมพันธ์ จัดทำประชาพิจารณ์ และให้ความรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง
การเตรียมการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพการเตรียมการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ • แก้ไข พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 • 1. กำหนดให้เงินกองทุนจากนายจ้างและลูกจ้าง ฝ่ายละ 3% เป็นภาคบังคับ • นับตั้งแต่วันที่ กบช. มีผลใช้บังคับ • 2. เงิน 6% จะได้รับเมื่อครบอายุเกษียณเท่านั้น ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การรับเงิน • ของ กบช. • 3. ยกเลิกอัตราขั้นต่ำในการจ่ายเงินสะสม/สมทบ เข้ากองทุน • 4. สามารถหยุดจ่ายเข้ากองทุนแต่ยังคงความเป็นสมาชิกภาพไว้ได้ • 5. สามารถจัดตั้งกองทุนขาเดียวได้
การเตรียมการของสำนักงาน ก.ล.ต. • กำกับดูแลและตรวจการดำเนินงานของบริษัทจัดการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง • บริษัทจัดการ • ตัวแทนขาย / ที่ปรึกษาการลงทุน • ผู้ดูแลผลประโยชน์ • ผู้รับฝากทรัพย์สิน • นายทะเบียนสมาชิกกองทุน • ผู้สอบบัญชีกองทุน
การเตรียมการของบริษัทจัดการการเตรียมการของบริษัทจัดการ • ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับ กบช. และบริการของบริษัท • ชักชวนนายจ้าง และให้ความรู้และบริการเกี่ยวกับการแปลงสภาพกองทุน สำรองเลี้ยงชีพตามเกณฑ์ของกฎหมาย กบช. • นำเสนอนโยบายการลงทุนหลากหลายให้นายจ้าง และลูกจ้างได้พิจารณา เลือกบริษัทจัดการและประเภทกองทุน • ให้ความรู้ และนำเสนอข้อมูลการลงทุน และทางเลือกการลงทุน • รายงานผลการดำเนินงานกองทุนต่อสำนักงาน กบช. สำนักงาน กลต. และนายจ้าง • จัดส่งรายงานรายบุคคลให้แก่สมาชิกกองทุน • จัดให้มี Call Center เพื่อให้ข้อมูลและให้บริการแก่นายจ้างและสมาชิกกองทุน
การเตรียมการของ Trustee และ Custodian • ดูแลการดำเนินงานของบริษัทจัดการให้เป็นไปตามนโยบายการลงทุน ข้อบังคับกองทุน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • ให้ความเห็นชอบการลงทุนที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ • ดูแลผลการดำเนินงานของกองทุน • ให้ความเห็นชอบการคำนวณ NAV (Custodian) • เก็บรักษาทรัพย์สินของกองทุน (Custodian)
ผลกระทบต่อเงินออมรวม เงินออมในกองทุนเพื่อการเกษียณอายุของต่างประเทศ
การขาดดุล/เกินดุล และรายรับของกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพต่อ GDP ผลการศึกษาของ Mitchell Wiener (2549)
บทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายเงินออมเพื่อการเกษียณอายุแห่งชาติ • นโยบายการออมเพื่อการเกษียณอายุ/ การกำกับดูแล • กำหนดนโยบาย การออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทยทั้ง 3 ระดับชั้น • รับผิดชอบการกำหนดแผนการขยายการครอบคลุมให้เหมาะสม • เป็นศูนย์กลางในการประสานระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศ และการกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแล • กำหนดนโยบายและแผนงานการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เรื่องการออมเพื่อการเกษียณอายุ • กำหนดมาตรการจูงใจ ส่งเสริม สนับสนุน การออมรูปแบบใหม่ ๆ
นโยบายการออมเพื่อการเกษียณอายุ/ การกำกับดูแล บทบาท หน้าที่ ของสำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ • ประกาศกฎเกณฑ์ กำกับ ดูแล ตรวจสอบ กองทุน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง • คัดเลือก และตรวจสอบการดำเนินการของผู้ประกอบการ ร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลที่มีอยู่แล้ว • อนุมัติ ข้อบังคับกองทุน นโยบายการลงทุน ประเภทหลักทรัพย์และ ข้อจำกัดการลงทุน • กำหนดเกณฑ์การจัดทำทะเบียนสมาชิกกองทุน และการรายงาน และเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ • จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนสมาชิกกองทุนกลาง เพื่อสอบทานกับนายทะเบียน แต่ละกองทุน • ให้ความรู้ ความเข้าใจ และประชาสัมพันธ์เรื่องกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ • รับเรื่องการร้องเรียนและลงโทษผู้กระทำผิด
ผลกระทบต่อเงินออมรวม (3/3) ประมาณการเงิน กบช. และสัดส่วนต่อ GDP (พันล้านบาท) ที่มา: การคำนวณของนักวิจัย
รายได้ ค่าใช้จ่าย และการออมเฉลี่ยต่อครัวเรือนในประเทศไทย ที่มา: สำนักงานสถิติ และการคำนวณของนักวิจัย
บริษัทจัดการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลจากสำนักงาน กลต. ปัจจุบันมี 33 แห่ง
บริษัทจัดการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลจากสำนักงาน กลต. ปัจจุบันมี 33 แห่ง
โครงสร้างระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทยโครงสร้างระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทย ปัจจุบันระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุของประเทศไทยประกอบด้วยกองทุน 3 ระดับชั้น (Pillar) ตามโครงสร้างระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุแบบหลายชั้น (Multi-Pillar) ให้มีรายได้ที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้มีรายได้เพียงพอหลังเกษียณ ประกันการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน ไม่ให้ตกสู่ความยากจน
ความสัมพันธ์ระหว่างการออม และการลงทุนและตลาดการเงิน 46
หลักฐานจากต่างประเทศ • - Baillu & Reisen (1997) จากข้อมูล 11 ประเทศใน OECD และประเทศกำลังพัฒนา พบว่า ผลกระทบของเงินออมบำนาญต่อเงินออมรวมของประเทศเป็นในเชิงบวก และเป็นบวกมากขึ้นสำหรับผลกระทบดังกล่าวในประเทศกำลังพัฒนา • Lopez Murphy & Musalem(2004) ข้อมูลใน 43 ประเทศ OECD และประเทศกำลังพัฒนา ระบบบำนาญภาคบังคับจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งผลให้เพิ่มเงินออมรวมของประเทศ แต่ระบบบำนาญภาคสมัครใจไม่ส่งผลให้เพิ่มเงินออมรวมของประเทศ • Bebczuk & Musalem(2006) ข้อมูลของ 48 ประเทศ OECD และประเทศกำลังพัฒนาเงินออมบำนาญ 1 dollar เพิ่มเงินออมภาคครัวเรือนระหว่าง O และ 0.25 cent