1 / 41

วิชา งานเครื่องมือกล ผู้สอน อาจารย์ไพโรจน์ แสงศรีมณีวงศ์

วิชา งานเครื่องมือกล ผู้สอน อาจารย์ไพโรจน์ แสงศรีมณีวงศ์. หลักการทำงานของเครื่องกลึง ชุดหัวเครื่องกลึง (Head Stock) ชุดส่วนที่อยู่ซ้ายสุดของเครื่อง ใช้ในการขับหัวจับ หรือขับชิ้นงานให้หมุนด้วยความเร็วรอบต่าง ๆ มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

anneke
Download Presentation

วิชา งานเครื่องมือกล ผู้สอน อาจารย์ไพโรจน์ แสงศรีมณีวงศ์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา งานเครื่องมือกล ผู้สอน อาจารย์ไพโรจน์ แสงศรีมณีวงศ์

  2. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง ชุดหัวเครื่องกลึง (Head Stock) ชุดส่วนที่อยู่ซ้ายสุดของเครื่อง ใช้ในการขับหัวจับ หรือขับชิ้นงานให้หมุนด้วยความเร็วรอบต่าง ๆ มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ • ชุดส่งกำลัง (Transmission) เครื่องกลึงจะส่งกำลังขับงานกลึงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Motor)โดยส่งกำลังผ่านสายพานลิ่ม (V-Belt) และผ่านชุดเฟือง (Gear) mสามารถปรับความเร็วรอบได้ระดับต่าง ๆ เพื่อไปขับเพลาหัวจับงาน (Spindle) ให้หมุน

  3. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง สำหรับเครื่องกลึงรุ่นเก่าจะปรับความเร็วรอบของเพลาหัวจับงานโดยใช้ล้อสายพาน (Pulley) ที่มีหลายขั้น ซึ่งแต่ละขั้นจะให้ความเร็วรอบแตกต่างกัน ส่งกำลังด้วยชุดเฟือง การส่งกำลังด้วยสายพาน

  4. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • ชุดเฟืองทด (Gears) ใช้ทดความเร็วรอบในการกลึงมี 2 ชุด คือ ชุดที่อยู่ภายในหัวเครื่องและชุดที่อยู่ภายนอกหัวเครื่องกลึง ชุดเฟืองภายในหัวเครื่องกลึงชนิดยันศูนย์ (HEAD GEAR)

  5. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • แขนปรับความเร็วรอบ (Spindle Speed Selector) เป็นแขนที่อยู่ส่วนบนหรือส่วนหน้าของเครื่องใช้สำหรับโยกเฟืองที่อยู่ภายในหัวเครื่องให้ขบกันเพื่อให้ได้ความเร็วรอบต่าง ๆตามต้องการ แสดงคันโยกปรับความเร็วรอบ

  6. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • แขนปรับกลึงเกลียว (Lead Screw and Thread Rang Level) เป็นแขนสำหรับปรับเฟืองในชุดกล่องเฟือง (Gear Box) เพื่อกลึงเกลียวโดยที่เพลากลึงเกลียวหมุนขับป้อมมีดให้เดินกลึงเกลียวบนชิ้นงาน แขนปรับกลึงเกลียว

  7. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • ชุดเพลาหัวเครื่องกลึง (Spindle) มีลักษณะรูปทรงกระบอกเจาะรูกลวงตลอดด้านหน้าจะเป็นรูเรียวแบบมอร์สเพื่อใช้ประกอบกับหัวศูนย์ เพลาหัวเครื่องกลึงใช้จับกับหัวจับเครื่องกลึง มี 4 แบบ คือเพลาหัวเครื่องกลึงแบบเกลียว เพลาหัวเครื่องกลึงแบบเรียว เพลาหัวเครื่องกลึงแบบลูกเบี้ยว และเพลาหัวเครื่องกลึงแบบสกรูร้อย แสดงชุดเพลาหัวเครื่อง

  8. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • ชุดแท่นเลื่อน (Carriage) ชุดแท่นเลื่อน เป็นส่วนประกอบที่ใช้ควบคุมและรองรับเครื่องมือตัดเพื่อให้เครื่องมือตัดของเครื่องกลึงเลื่อนไป-มาในทิศทางตามแนวยาวหรือตามขวางของสะพานแท่นเครื่อง ชุดแท่นเลื่อนมีส่วนประกอบสำคัญ2 ส่วน คือ ชุดแคร่คร่อม (Saddle) และชุดกล่องเฟือง (Apron) 1. แคร่คร่อม (Saddle) เป็นส่วนที่อยู่บนสะพานแท่นเครื่อง (Bed) เพื่อรองรับชุดป้อมมีด และชุดกล่องเฟือง แคร่คร่อมสามารถเลื่อนไป-มาในแนวนอน ซึ่งใช้ในงานกลึงปอก

  9. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง 2. แท่นเลื่อนขวาง (Cross Slide) เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแคร่คร่อม สามารถเลื่อนไป-มาด้วยสกรู ใช้ในการกลึงปาดหน้า หรือป้อนลึก 3. แท่นเลื่อนบน (Compound Rest) เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นปรับองศา สามารถเลื่อนไป-มา ด้วยชุดสกรู ใช้ในการกลึงเรียว (Taper) หรือกลึงมุมต่าง ๆ หรือใช้ทำหน้าที่เช่นเดียวกับแท่นเลื่อนขวาง ที่ปรับองศา เป็นส่วนที่ยึดอยู่บนแท่นเลื่อนขวางและอยู่ใต้แท่นเลื่อนบน สามารถปรับเป็นองศาต่าง ๆ

  10. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • ชุดกล่องเฟือง (APRON) ประกอบด้วยเฟืองทด ใช้ในกรณีกลึงอัตโนมัติ ชุดกล่องเฟืองประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังรูปที่ 4.20 1. มือหมุนแท่นเลื่อน (Traversing Hand Wheel) ใช้สำหรับหมุนชุดแท่นเลื่อนให้เคลื่อนที่ในแนวซ้าย – ขวา 2. แขนโยกป้อนกลึงอัตโนมัติ (Fed Selector) ใช้สำหรับโยกป้อนกลึงอัตโนมัติ 3. แขนโยกกลึงเกลียว (Lead screw Engagement Lever) ใช้สำหรับโยกกลึงเกลียว

  11. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง 4. ปุ่มดึงสำหรับกลึงเกลียว (Controls Forward or Reverse) ใช้สำหรับดึงเปลี่ยนชุดเฟืองกลึงเกลียว 5. ปุ่มดึงสำหรับกลึงปอกผิวอัตโนมัติ (Feed Lever) ใช้สำหรับดึงเปลี่ยนทิศทางการเดินป้อนอัตโนมัติของแท่นเลื่อนขวางหน้าหลัง ชุดกล่องเฟือง (Apron) ส่วนประกอบชุดกล่องเฟือง

  12. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • ป้อมมีด (Tool Post) เป็นส่วนที่อยู่บนสุดใช้จับยึดมีดกลึง มีดคว้าน สำหรับกลึงงานป้อมมีดมีหลายชนิด เช่น ชนิดมาตรฐาน (Standard-type Lathe Tool Post) ชนิดสะพาน 4 มีด (Four-way Turret Tool Post) และชนิดสะพานมีดทางเดียว เป็นต้น

  13. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • ชุดท้ายแท่น (Tail Stock) เป็นส่วนที่อยู่ด้านขวามือ ท้ายสุดของเครื่องกลึง ใช้สำหรับจับยันศูนย์ (Lathe Center) เพื่อใช้ประคองงานกลึงที่ยาว ๆ ไม่ให้สั้น หรือหัวจับส่วน (Drill Chuck) เพื่อจับดอกสว่าน (Drill) ดอกเจาะยันศูนย์(Center Drill) เป็นต้น นอกจากนี้ยันศูนย์ท้ายแท่น ยังสามารถเยื้องศูนย์ เพื่อใช้ในการกลึงเรียวที่มีความยาวมาก ๆ ได้อีกวิธีหนึ่งยันศูนย์ท้ายแท่นสามารถเลื่อนไป-มา และล็อกได้ทุกตำแหน่งบนสะพานแท่นเครื่อง

  14. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • สะพานแท่นเครื่อง (Bed) เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุด ใช้รองรับส่วนต่างๆของเครื่องกลึงทำจากเหล็กหล่อส่วนบนสุดจะเป็นรายเลื่อน (BedWay)ที่เป็นรูปตัววี คว่ำและส่วนแบน รางเลื่อนจะผ่านมาชุบผิวแข็งและขุดระดับมากแล้วจึงสึกหรอยากส่วนล่างสุดของสะพานแท่นเครื่องจะเป็นฐานรองและส่วนที่เก็บระบบปั๊มน้ำหล่อเย็น สะพานแท่นเครื่อง

  15. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • ระบบป้อน (Feed Mechanism) เป็นชุดที่มีความสัมพันธ์กับระบบส่งถึงการทำงานของเครื่องกลึง ซึ่งสามารถปรับความเร็วของเพลาหัวเครื่องได้ สามารถปรับอัตราป้อนกลึงตามแนวยาวและแนวขวาง ให้มีความหยาบหรือละเอียดสามารถกลึงอัตโนมัติและยังสามารถกลึงเกลียวได้ทั้งระบบอังกฤษ (หน่วยเป็นนิ้ว) และระบบเมตริก (หน่วยเป็นมิลลิเมตร) ระบบป้อนประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ คือ ชุดเฟืองป้อน ชุดเฟืองขับ เพลาป้อน และเพลานำ พัง ซึ่งแต่ละส่วนนี้จะมีการทำงานที่สัมพันธ์กันตลอดเวลา

  16. หลักการทำงานของเครื่องกลึงหลักการทำงานของเครื่องกลึง • ระบบน้ำหล่อเย็น (Cooling Pump) จะอยู่ที่ฐานรองของเครื่องกลึง ซึ่งจะประกอบด้วยปั๊ม (Pump) ที่จุ่มอยู่ในถังของน้ำหล่อเย็น และสายยางน้ำหล่อเย็นที่โผล่ขึ้นมา และจับยึดอยู่บนชุดแท่นเลื่อน ซึ่งจะพ่นน้ำหล่อเย็นตรงกับงานตลอดเวลา

  17. การบำรุงรักษาเครื่องกลึงการบำรุงรักษาเครื่องกลึง ระบบการหล่อลื่น 1. การหล่อลื่นในส่วนของ HEAD STOCK และส่วนชุดหีบเฟืองป้อนการหล่อลื่นนั้นควรมี่จะ เติมน้ำมันหล่อลื่นให้พอดีขีดบนกระจกน้ำมันที่กำหนดไว้ หรือประมาณ ¾ ของหลอดแก้ว 2. การหล่อลื่นในชุดเฟืองส่งกำลังให้ทำการเปิดฝาครอบสายพานและหมั่นตรวจสอบเป็นประจำ 3. การหล่อลื่นส่วน CARRIAGE ในการหล่อลื่น ในการหล่อลื่นแบบ HEAD PUMP

  18. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องกลึงความปลอดภัยในการใช้เครื่องกลึง 1. ตรวจสอบส่วนต่าง ๆ ของเครื่องกลึงทุกครั้งก่อนการทำงาน ว่าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานอย่างปลอดภัย ถ้ามีข้อบกพร่องให้แจ้งผู้ควบคุมแก้ไขทันที 2. ต้องสวมแว่นตานิรภัยทุกครั้งที่ปฏิบัติงานบนเครื่องกลึง 3. ก่อนเปิดสวิตซ์เครื่อง ต้องแน่ใจว่าจับงาน จับมีดกลึง แน่น และถอดประแจขันหัวจับออกแล้ว 4. สวิตซ์หรือปุ่มนิรภัยต่าง ๆ ของเครื่องกลึง เช่น ที่หัวเครื่อง เบรกที่ฐานเครื่องต้องอยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงาน

  19. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องกลึงความปลอดภัยในการใช้เครื่องกลึง 5. ขณะกลึงจะมีเศษโลหะออกมา ห้ามใช้มือดึงเศษโลหะเป็นอันขาด ให้ใช้เหล็กขอเกี่ยวหรือแปรงปัดแทน 6. ห้ามสวมถุงมือขณะทำงานกลึง รวมทั้งแหวน นาฬิกา เสื้อผ้าที่หลวม หรือเน็คไท ซึ่งหัวจับงานจะดึงเข้าหาหัวจับ จนเป็นอันตรายได้ 7. ต้องถอดประแจขันหัวขับออกทุกครั้งที่ขันหรือคลายหัวจับแล้วเสร็จ 8. ระวังชุดแท่นเลื่อนจะชนกับหัวจับงาน เพราะจับงานสั้นจนเกินไป

  20. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องกลึงความปลอดภัยในการใช้เครื่องกลึง 9. ห้ามจับมีดกลึงออกมาจากชุดป้อมมีดยาวเกินไป และไม่ควรเลื่อนแท่นเลื่อนบนออกมาให้ห่างจากจุดกึ่งกลางมากเกินไป จะทำให้ป้อมมีดไม่แข็งแรงและมีดสั่นได้ 10. ห้ามใช้มือลูบหัวจับเพื่อให้หยุดหมุนให้ใช้เบรกแทนและห้ามใช้มือลูบชิ้นงานเพราะคมงานอาจจะบาดมือได้ 11. การถอดและจับยึดหัวจับ (Chuck) จะต้องใช้ไม้รองรับที่สะพานแท่นเครื่องเสมอ 12. ต้องหยุดเครื่องทุกครั้งที่จะถอดจับหรือวัดชิ้นงาน

  21. หลักการทำงาน ของเครื่องไสนอน 1. กลไกภายในของเครื่องไสนอน กลไกภายในของเครื่องไสทั่วๆ ไปมีการขับเคลื่อนด้วย Link ร่วมกับชุดเฟือง ที่รับกำลังขับจากมอเตอร์ ส่งผ่านมาที่เฟืองขับ (Pinion Drive From Gear Box) แล้วส่งผ่านไปล้อเฟืองตัวใหญ่ (Bull Wheel) ซึ่งจะประกอบร่วมกับRocker Arm ส่งกำลังขับผ่านไปยัง Compensating Link จะดัน Ram ทำให้เคลื่อนที่ไป – กลับ ทำให้มีดไสซึ่งอยู่ในป้อมมีดตัดเฉือนชิ้นงานออก

  22. หลักการทำงาน ของเครื่องไสนอน 2. การเคลื่อนที่ของ Ram จังหวะเดินหน้า และจังหวะถอยกลับของ Ram จะเคลื่อนที่ไป – กลับ ในขณะที่ Crank Gear มีทิศทางการหมุนเป็นวงกลม ถ่ายทอดการหมุนมายัง Crank Pin และ Rocker Arm ตามภาพ A จังหวะการเคลื่อนที่ของ Ram มี 2 จังหวะคือ จังหวะเดินหน้าและจังหวะถอยกลับ ในช่วงจังหวะถอยกลับนี้จะมีระบบ Quick Return อย่างง่าย ๆ ช่วยลดเวลาในการถอยกลับของ Ram และตำแหน่งนี้จะอยู่ในมุมของ Rocker Arm อยู่ในจุดที่ชักกลับ เมื่อ Crank pin เคลื่อนที่จากจุด A ผานจุดB ไปยังจุด C (ดูภาพ B) Ram จะเคลื่อนที่เดินหน้าเท่ากับความยาวในช่วงชักที่ตั้งระยะไว้ เมื่อเคลื่อนที่จากจุด C ผ่านจุด D มายังจุด A Ram จะเคลื่อนที่ถอยกลับมา ณ ตำแหน่งเดิม จากรูปเห็นว่า ช่วงโค้ง ABC ยาวกว่าช่างโค้ง CDAดังนั้นในจังหวะช่วงเดินหน้าจะใช้เวลามากกว่าจังหวะ ช่วงถอยกลับและเป็นการป้องกันไม่ให้มีดทื่อเร็วได้อีกด้วย

  23. หลักการทำงาน ของเครื่องไสนอน 3. วิธีตั้งและปรับความยาวช่วงชัก เปลี่ยนความยาวของระยะชักให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ตำแหน่ง Crank pin ใน Crank Gear จะต้องเลื่อนออกจากจุดศูนย์กลางซึ่งเป็นจุดที่ระยะชักมีค่าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นจุดที่ระยะชักมีค่าเป็นศูนย์ไปยังเส้นรอบวง จะเป็นจุดที่มีความยาวของระยะชักมีค่าความยาวมากที่สุด การปรับแต่งความยาวของช่วงชักนี้อาศัยหลักการของระยะการหนีศูนย์ปรับด้วยเกลียว โดยการหมุนปรับด้วยมือผ่าน Bevel Gear ซึ่งปลายเพลาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อเอาไว้ใส่ประแจหมุน Crank pin จะมี Sliding Block ประกอบอยู่ตัว Sliding Block จะยึดติดแน่นกับ Dovetail Block ด้วยตัวDovetail Block นี้จะมีแกนเกลียวสวมอยู่และหมุนอยู่กับที่ได้ ดังนั้นเมื่อหมุนสลักเกลียวก็จะเป็นตัวทำให้ Dovetail Block เคลื่อนที่ และเปลี่ยนตำแหน่งของ Crank pin บน Crank Gear ทำให้ความยาวช่วงชักเปลี่ยนไป

  24. หลักการทำงาน ของเครื่องไสนอน

  25. หลักการทำงาน ของเครื่องไสนอน

  26. หลักการทำงาน ของเครื่องไสนอน

  27. การบำรุงรักษาเครื่องไสการบำรุงรักษาเครื่องไส 1 .ทำความสะอาดเครื่องจักรทุกครั้งหลังจากการปฏิบัติงาน 2. หยอดน้ำมันหล่อลื่นตามจุดต่าง ๆ ทุกครั้งก่อนการทำงาน 3. ตรวจระดับน้ำมันในห้องเกียร์อยู่เสมอ 4. ใช้น้ำมันหล่อลื่นให้ตรงตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดมา 5. บันทึกการหล่อลื่นประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ตามจุดที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดโดย เคร่งครัด

  28. ความปลอดภัยในงานไส 1. ไม่จับยึดเครื่องมือ และอุปกรณ์ในขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงาน 2. ปัดเศษโลหะออกด้วยแปรง หลังจากเครื่องหยุดนิ่ง 3. เมื่อเครื่องจักรกำลังทำงานห้ามออกจากบริเวณที่ปฏิบัติงาน 4. ใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง 5. เมื่อเครื่องจักรชำรุดหรือเกิดอุบัติเหตุต้องรายงานให้ผู้ควบคุมทราบทันที6. ต้องระมัดระวังในการจับยึดเครื่องมือมีคมและไม่ใช้เครื่องมือที่แตกร้าว 7. หยุดเครื่องก่อนเปลี่ยนความเร็วในการไส 8. ปรับตำแหน่งของกลไกป้อนอัตโนมัติก่อนปิดสวิตช์ 9. ห้ามหยุดมีดก่อนจะชักกลับสุดยกเว้นเกิดเหตุสุดวิสัย 10. ต้องแน่ใจก่อนว่าชิ้นงานถูกจับยึดอย่างถูกต้องยึดแน่นปลอดภัยและกลไกป้อนอยู่ในตำแหน่ง ปกติ

  29. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด การทำงานของเครื่องกัด(MILLING OPERATION) ผู้ผลิตจะออกแบบมาให้เหมาะกับความต้องการของการใช้งานโดยยึดถือความสะดวกในการทำงานและประโยชน์การใช้งานเป็นหลัก ขึ้งอยู่กับองค์ประกอบหลังดังนี้ 1. ชนิดของเครื่องกัด (TYPE OF MACHINE) 2. ชนิดของมีดกัด (TYPE OF MILLING CUTTERS) 3. อุปกรณ์ช่วยจับและอุปกรณ์ช่วยงานพิเศษต่าง ๆ (THE AND SPEED OF SPINDLE) ทั้งหมดเมื่อทำงานพร้อมกันแล้วจะแบ่งเป็นงานหลักใหญ่ ๆ ได้ ดังนี้

  30. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  31. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  32. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  33. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  34. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  35. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  36. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  37. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  38. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  39. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  40. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

  41. หลักการทำงานของเครื่องกัดหลักการทำงานของเครื่องกัด

More Related